การเข้าหาอัลกุรอ่าน คัมภีร์แห่งพระเจ้า


3,259 ผู้ชม



การเข้าหาอัลกุรอ่าน คัมภีร์แห่งพระเจ้า

วิธียืนหยัดให้มั่นคงในศาสนาของอัลลอฮฺ

มุหัมมัด ศอลิหฺ อัล-มุนัจญิด


วิธียืนหยัดเพื่อการยืนที่มั่นคง(ในดีนของอลัลอฮ์)

ส่วนหนึ่งจากความเมตตาของอัลลอฮฺ ตะอาลา ที่ประทานให้แก่เราทั้งหลายนั่น คือ พระองค์ทรงชี้แจงแก่เราใน คัมภีร์อันมีเกียรติของพระองค์และผ่านคำสั่งสอนของท่านเราะสูลลุลอฮฺ การเข้าหาอัลกุรอ่าน คัมภีร์แห่งพระเจ้า ที่ ให้ข้อชี้นำในวิธีการสู่การยืนหยัดเพื่อการยืนท่ีมั่นคง ซึ่งข้าพเจ้าขอนําเสนอแก่ผู้อ่านที่มีเกียรติทุกท่านเพียงบางส่วนเท่านั้น ดังมีเนื้อหาต่อไปนี้

หนึ่ง การเข้าหาอัลกุรอาน

อัลกรุอาน ถือเป็นแนวทางที่สําคัญระดับต้นๆที่จะช่วย ในการยืนหยัดอย่างมั่นคง เปรียบเสมือนสายเชือกของอัลลอฮฺ ที่เกลียวแน่น เป็นรัศมีเจิดจรัส ซึ่งใครที่ยึดมั่นด้วยสิ่งนี้แล้ว อัลลอฮฺก็จะทรงคุ้มครองเขาอย่างแน่นอน ในทํานองเดียวกัน ใครที่ปฏิบัติตามสิ่งนี้ อัลลอฮฺก็จะให้เขาประสบกับความปลอดภัย และหากใครที่เรียกร้องไปสู่สิ่งนี้อัลลอฮฺก็จะทรงชี้นำเขาไปสู่แนวทางที่ เที่ยงตรง

อัลลอฮฺทรงชี้แจงเหตุผลที่พระองค์ทรงประทานอัลกุรอานโดยการทยอยประทานลงมา ตามสภาพการณ์และความเหมาะสม ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความหนักแน่นมั่นคงแก่หัวใจ ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงตอบโต้บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาที่สร้างความคลุมเครือในเรื่องนี้ว่า

 “และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธากล่าวว่า ทำไมอัลกุรอานจึงไม่ถูกประทานลงมาแก่เขาครั้งดียวกันทั้งหมด ?

เช่นนั้นแหละ เพื่อเราจะทำให้หัวใจของเจ้าหนักแน่น มั่นคง และเราได้จัดการอ่านมันให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

และพวกเขาจะไม่นําข้อเปรียบเทียบ (ข้อสงสัย)ใดๆ มายังเจ้า เว้นแต่เราจะได้นําความจริง และการอธิบายที่ดียิ่งมาทดแทนให้เจ้า   (ได้ตอบโต้พวกเขา) ” 

(สูเราะฮฺ อัล-ฟุรฺกอน : 32-33)

ด้วยเหตุอันใด อัลกุรอานจึงเป็นบ่อเกิดท่ีทําให้มีสภาพของการยืนหยัดอย่างม่ันคงได้ ?

♣ เนื่องจากอัลกุรอานสามารถเพิ่มพูนความศรัทธาและขดัเกลาจิตใจให้มีความสัมพันธ์กับอัลลอฮฺได้

♣ เนื่องจาก โองการอัลกุรอานที่ถูกประทานลงมานั้นสามารถนําความช่มุฉ่ําและและสร้างความ ปลอดภัยให้แก่หัวใจของผู้ศรัทธา รวมไปถึงกระแสแห่งความชั่วร้ายต่าง ๆ ก็ไม่สามารถที่จะทําลายมันได้ อีกทั้งส่งผลให้หัวใจเกิดความสงบสุข

♣ เนื่อง จากอัลกุรอานทําให้มุสลิมมีต้นทุนด้านวิสัยทัศน์และหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องใน การใช้ประเมินสภาพการณ์ที่จะเกิดขึ้น  รวมถึงทําให้มีมาตรวัดสําหรับใช้ในการตัดสินเรื่องราวต่าง ๆ ไม่ให้สับสนและเกิดข้อผิดพลาด อีกทั้งจะไม่ทําให้คําพูดของเขาขัดแย้งกันเอง ไม่ว่าสถานการณ์และตัวบุคคลที่ต้องเจอจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรก็ตามที

♣ เนื่อง จากอัลกุรอานสามารถตอบโต้ข้อสงสัยต่างๆ ท่ีถูกกุขึ้นโดยเหล่าศัตรูของอิสลามจากบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา และผู้กลับกลอก ดังตัวอย่างท่ีเคยเกิดขึ้นมาแล้วในยุคสมัยของชนรุ่นแรกของอิสลาม(ยุคสมัยของ บรรดาเศาะหาบะฮฺ เราะฎยิลัลอฮุอันฮุม ) ดังเช่น

1. อะไรคือผลสะท้อนจากคําตรัสของอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลล์ ที่ว่า

“พระเจ้าของเจ้ามิได้ทรงทอดทิ้งเจ้า และมิได้ทรงโกรธเคืองเจ้า”
 

(สเูราะฮฺอัฎ -ฎุหา:3)

ที่ได้เกิดขึ้นต่อจิตใจของท่านเราะสลูลุลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  ครั้งเมื่อหมู่ชนผู้ตั้งภาคีได้กล่าวแก่ท่านว่า “มุหัมมัด ถูกทอดทิ้งไปแล้ว”

(ดูในหนังสือเศาะฮีหฺ มุสลิม พร้อมบทอธิบายโดยท่านอิมาม อัน-นะวะวีย์ 12/156)

2. อะไรคือผลสะท้อนจากคําตรัสของอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลล์ ที่ว่า

“ภาษาที่พวกเขากล่าวหาพาดพิงไปถึงนั้นเป็น ภาษาต่างถิ่น แต่นี่(อัลกุรอาน)เป็นภาษาอาหรับที่ชัดเจนยิ่ง ” 
 

(สูเราะฮฺ อัน-นะหฺลุ : 103)

ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อครั้งที่หมู่ชนผู้ปฏิเสธศรัทธาเผ่ากุร็อยชฺกล่าวหาว่า ท่านเราะสูลลุลอฮฺ นั้นได้รับการอบรมสั่งสอนจากมนุษย์ด้วยกันเอง และท่านได้รับอัลกุรอานจากชายซึ่งเป็นช่างไม้ชาวโรมันที่มักกะฮฺ

3. อะไรคือผลสะท้อนจากคําตรัสของอัลลอฮฺ อัซซะวะญัลลา ที่ว่า

“พึงทราบเถิดว่า พวกเขา(พวกมุนาฟิก)ได้ตกอยู่ในความช่ัวแต่เดิมแล้ว”

(สูเราะฮฺอัต-เตาบะฮฺ:49)

ซ่ึงมันเกิดขึ้นในจิตใจของผู้ศรัทธา ในครั้งท่ีหมู่ชนผู้กลับกลอกได้กล่าวว่า

 “จงอนุมัติแก่ฉันเถิด(พํานักอยู่ในเมืองโดยไม่ ต้องออกไปร่วมสงคราม) และอย่าให้ฉันต้องตกอยู่ใน ความชั่วเลย”

(สเูราะฮฺอัต-เตาบะฮฺ:49)

โองการอัลกุรอานเหล่านี้มิได้ทําให้เกิดสภาพของการ ยืนหยัดอย่างมั่นคงดอกหรือ มิได้ ร้อยเรียงดวงใจของผู้ศรัทธา ให้รวมเป็นหนึ่ง และมิได้เป็นข้อหักล้างที่ดียิ่งต่อสิ่งที่คลุมเครือทั้งหลาย อีกทั้งยังมิได้เป็นสิ่งที่สามารถสยบบรรดาหมู่ชนผู้บิดเบือนต่าง ๆ กระนั้นหรือ ทว่ามันย่อมสร้างความหนักแน่น มั่นคงได้อย่างแน่นอน ขอสาบานด้วยพระผู้อภิบาลของข้าพระองค์

มีเรื่องที่น่าแปลกประหลาดอีกเรื่องหนึ่งก็คือ เหตกุารณ์ ที่อัลลอฮฺทรงให้สัญญาแก่บรรดาผู้ศรัทธา ภายหลังจากที่พวกเขาได้กลับมาจาก อัล-หุดัยบิยะฮฺ ว่าจะมอบทรัพย์เชลยอันมากมายในการทําสงคราม(คือทรัพย์เชลยในสงครามคอยบัร) โดย ที่พระองค์จะทรงรีบมอบให้กับผู้ศรัทธา และผู้ที่ร่วมสงคราม โดยที่จะมีเฉพาะผู้ศรัทธาเท่านั้นซึ่งบรรดามุนาฟิกผู้กลับกลอก ทั้งหลายก็จะขอเข้าร่วมในการทําสงครามกับพวกเขาด้วย

แต่บรรดาผู้ศรัทธาได้กล่าวแก่พวกมุนาฟิกว่า “พวกเจ้าไม่อาจที่จะตามพวกเราออกไปทําสงครามได้โดยเด็ดขาด”

แต่พวกมุนาฟิกก็พยายามขอออกไปให้ได้ เพื่อที่จะเปล่ียนแปลงคําตรัสของอัลลอฮ์ ไม่ให้เกิดจริงตามที่พระองค์ทรงสัญญาไว้แก่บรรดาผู้ศรัทธา

พวกเขาจึงกล่าวแก่บรรดาผู้ศรัทธาว่า “แท้จริง (ที่พวกเจ้าไม่ยอมให้เราออกไป)เพราะพวกเจ้าอิจฉาต่อพวกเราต่างหากล่ะ ”

อัลลอฮฺทรงตอบโต้พวกเขาว่า “แต่พวกเขาไม่ได้เข้าใจ นอกจากเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ”

ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวที่อัลลอฮฺตรัสไว้ล่วงหน้า นั้นได้เกิดขึ้น จริงต่อหน้าผู้ศรัทธาทุกคนแบบทีละขั้น ทีละตอน ก้าวต่อก้าว คําต่อคํา โดยปราศจากความผิดเพี้ยนแม้แต่ประการเดียว

ณ ที่นี้เอง เราสามารถเห็นได้ชัดถึงความแตกต่าง ระหว่างสภาพของผู้ที่ชีวิตของเขามีความผูกพันธ์อยู่กับอัลกรุอาน อย่างหนักแน่นไม่ว่า จะด้วยการอ่าน การท่องจํา การศึกษาและ ใคร่ครวญกับสภาพของผู้ที่เอาคําพูดของมนษุย์เป็นที่ตั้ง และจดจ่ออยู่กับอัลกุรอานเพียงอย่างเดียว

เป็นสิ่งที่สมควรอย่างยิ่ง สําหรับผู้ที่แสวงหาความรู้ ทั้งหลาย ท่ีจักต้องแบ่งส่วนในการศึกษาอัลกุรอานและ ความหมายให้มีส่วนที่มากเพียงพอในวิถีการแสวงหาความรู้ของพวกเขา

แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ / islamhouse

แหล่งที่มา: sawasdeeislam.com

อัพเดทล่าสุด