สืบเนื่องจากได้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านภาษามลายูในท้องที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเจ้าหน้าที่ราชบัณฑิตยสถานแล้ว มีคำแนะนำตรงกันว่า ให้สื่อมวลชนใช้คำเรียกวันเฉลิมฉลองวันตรุษหลังสิ้นสุดเดือนรอมฎอนว่า
คำเรียกที่ถูกต้องของ ฮารีรายา อีดิ้ลฟิฏริ วันสำคัญของศาสนาอิสลาม
สืบเนื่องจากได้ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านภาษามลายูในท้องที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และเจ้าหน้าที่ราชบัณฑิตยสถานแล้ว มีคำแนะนำตรงกันว่า ให้สื่อมวลชนใช้คำเรียกวันเฉลิมฉลองวันตรุษหลังสิ้นสุดเดือนรอมฎอนว่า "วันฮารีรายา อีดิ้ลฟิฏริ"
คำว่า "ฮารีรายา" (Hari Raya" เป็นภาษามลายู แนะนำว่าให้ยึดภาษามลายูกลางและความถูกต้องตามหลักภาษา ไม่ควรใช้คำว่า "ฮารีรายอ" เพราะเป็นภาษาถิ่น
ส่วนคำว่า"อีดิ้ลฟิฏริ" (عيد الفطر) เป็นคำภาษาอาหรับ ซึ่งราชบัณฑิตยสถานได้แปลถูกต้องตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอาหรับแล้ว จึงสรุปให้ใช้คำว่า "ฮารีรายา อีดิ้ลฟิฏริ"
คาวมหมายของวันฮารีรายา
วันฮารีรายา หรือวันอีด เป็นวันเฉลิมฉลองในศาสนาอิสลาม โดยในวันนี้จะมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น แต่งกายให้สะอาดเรียบร้อย ร่วมกันทำพิธีละหมาดวันอีดที่สนามหรือในมัสยิด เยี่ยมเยืยนญาติพี่น้อง รับประทานอาหารร่วมกัน เป็นต้น
วันอีดมี 2 วันในแต่ละปี คือ
1. อีดุลฟิฏริ: ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนเชาวาล ซึ่งเป็นเดือน 10 ตามปฏิทินอิสลาม ซึ่งเป็นวันออกบวช
2. อีดิ้ลอัฎฮา: ตรงกับวันที่ 10 เดือน ซุลฮิจญะ หรือตรงกับเดือน 12 ของปฏิทินอิสลาม ซึ่งเป็นการฉลอง วันออกฮัจญ์ หรือ ถือเป็นวันครบรอบการถือศีลอดของเดือนรอมฎอน
การประกอบพิธีกรรมในวันฮารีรายา
1. การปฏิบัติตนในตอนเช้าของวันฮารีรายอ โดยชาวมุสลิมจะตื่นนอนแต่เช้าตรู โดยเฉพาะผู้หญิงจะเป็นผู้ตกแต่งบ้านเรือนให้สะอาดสวยงามเป็นพิเศษ จัดเตรียมอาหาร ขนมต่าง ๆ ไว้ต้อนรับเพื่อน ญาติพี่น้อง และแขกที่มาเยี่ยมเยียน ทุกคนต้องปฏิบัติบริจาคซากาตฟิตเราะห์ก่อนที่จะไปละหมาดในวันอีดิลฟิตรี สิ่งของที่ใช้ในการบริจาคจะใช้สิ่งของที่บริโภคเป็นอาหารหลัก
2. การอาบน้ำในวันฮารีรายอ เมื่อปฏิบัติภารกิจเสร็จ จะอาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด เรียกว่าอาบน้ำสุนัต กำหนดเวลาอาบตั้งแต่เที่ยงคืนเริ่มต้นวันฮารีรายอ จนถึงพระอาทิตย์ตก แต่เวลาที่ดีที่สุดและเป็นที่นิยมอาบน้ำสุนัต คือเมื่อแสงอรุณขึ้นขอบฟ้าในวันฮารีรายอ ในขณะอาบน้ำสุนัตทุกคนจะต้องกล่าวดุอารีเป็นการขอพร
3. การประกอบพิธีกรรม ชาวมุสลิมจะเดินทางไปประกอบพิธีกรรมที่มัสยิด ในวันอีดิลฟิตรีจะไปมัสยิดเวลา 08.30 น. วันอีดิลอัฏฮา จะไปมัสยิดเวลา 07.30 น. การปฏิบัติตนเมื่อเดินทางถึงมัสยิด ทุกคนจะอาบน้ำละหมาด จากนั้นจึงเข้าไปในมัสยิด ทำการละหมาด ตะฮีญะดุลมัสยิด 2 รอกาอัต มีการแบ่งแยกผญิงชาย โดยใช้ม่านกั้นกลาง เสร็จแล้วจัดแถวนั่งรอฟังโต๊ะอิหม่าม ซึ่งเป็นผู้นำในการทำพิธีละหมาด
4. การละหมาด จะมีโต๊ะอีหม่ามเป็นผู้นำละหมาดจำนวน 2 รอกาอัต
5. การปฏิบัติตนเมื่อละหมาดเสร็จ หลังจากละหมาดเสร็จแล้ว มุสลิมทุกคนจะนั่งฟังอีหม่ามกล่าวคุฏบะ (คำอบรม) เพื่อแนะแนวทางชีวิตด้านความศรัทธาที่กระตุ้นเตือนให้ปฏิบัติแต่ความดีละเว้นความชั่ว และปฏิบัติตามแนวทางของอิสลาม เพื่อให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข ขณะนั่งฟังนั้นทุกคนจะอยู่ในความสำรวม สงบนิ่ง ตั้งใจฟัง ไม่พูดจาใด ๆ ทั้งสิ้น และเมื่ออีหม่ามอ่านคุฏบะฮจบแล้ว อีหม่ามจะขอพรจากพระอัลลอฮ์เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และบรรดามุสลิมที่มาร่วมประกอบพิธีกรรม จะมีการขออภัยต่อกันโดยผู้น้อยจะเข้าไปขออภัยผู้อาวุโสกว่า