ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของดอกเบี้ย ในยุคอิสลาม


5,080 ผู้ชม


ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของดอกเบี้ย ในยุคอิสลาม

ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของดอกเบี้ย ในยุคอิสลาม

ดอกเบี้ยคืออะไร

ดอกเบี้ย (Interest) คือเงินที่ได้รับเพิ่มขึ้นจากการลงทุนโดยการคำนวณเป็นอัตราร้อยละต่อปี ในทางเศรษฐศาสตร์ ดอกเบี้ยเป็นเครื่องควบคุมอัตราเงินเฟ้ออีกด้วย คือ เมื่อใดที่เกิดอัตราเงินเฟ้อขึ้น แสดงว่า มีปริมาณเงินในตลาด(หมายถึงเงินในมือประชาชน)จำนวนมาก และสินค้าจะราคาแพงขึ้น การขึ้นดอกเบี้ยทั้งเงินฝากและเงินกู้ ทำให้เงินได้ออกจากตลาดไป ปริมาณเงินจะลดลง เงินเฟ้อก็จะลดลง

ก่อนที่เราจะพูดถึงประวัติความเป็นมาของดอกเบี้ย เราควรรู้ถึงฮูก่ม (ข้อชี้ขาด) ของดอกเบี้ยตามบทบัญญัติของประชาชาติในยุคก่อนอิสลามเสียก่อน เช่นบทบัญญัติที่ลงมายังประชาชาติยิว และคริสเตียน และอย่างไรที่ระบบดอกเบี้ยได้แพร่กระจายไปทั่วโลก

แน่นอนฮัลลอฮ์ทรงห้ามดอกเบี้ยแก่พวกยิว ซึ่งพวกเขารู้ดีถึงเรื่องนี้ และพวกเขาได้ปฏิบัติตาม โดยไม่นำระบบดอกเบี้ยมาใช้กับธุรกิจในหมู่ยิวด้วยกัน แต่พวกเขาถือว่าเป็นที่อนุมัติให้ใช้ระบบดอกเบี้ยกับผู้ที่ไม่ใช่ยิวได้ ซึ่งได้มีมาในคัมภีร์เตารอดเล่มที่ 5 บทที่ 23 ว่า

“สำหรับผู้อื่น (ผู้ที่ไม่ใช่ยิว) ท่านสามารถกู้ยืมโดยมีดอกเบี้ยได้ แต่สำหรับพี่น้องของท่าน (ชาวยิวด้วยกัน) อย่าได้กู้ยืมโดยมีดอกเบี้ย”

และที่มาของเรื่องนี้คือ การที่ชาวยิวมองคนต่างศาสนาว่าเป็นเชื้อชาติที่ต่ำต้อย คัมภีร์เตารอดถึงแม้ว่าจะถูกบิดเบือน แต่มีบางส่วนที่ยังคงอยู่ หนึ่งในนั้นคือ การห้ามในเรื่องของดอกเบี้ย แต่พวกยิว ได้บิดเบือนตัวบทโดยถือว่า อนุญาตให้พวกเขาทำธุรกิจโดยมีดอกเบี้ยกับศาสนิกอื่นได้

 ส่วนศาสนาคริสเตียน ได้ถูกห้ามในเรื่องนี้เช่นกัน ดังที่มีมาในคัมภีร์อินญีลว่า

“เมื่อพวกท่านให้ผู้อื่นกู้ยืมโดยหวังสิ่งตอบแทน ไหนกันความประเสริฐซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกยอมรับให้กับพวกท่าน...แต่ทว่าพวกท่านทั้งหลายจงทำดีเถิด และจงให้กู้ยืมโดยไม่มุ่งหวังสิ่งที่จะได้กลับคืนมา แน่นอนผลบุญของพวกท่านก็คือสิ่งตอบแทน”

 จากตัวบทนี้ บรรดาหัวหน้านักบวชต่างก็ลงมติเป็นเอกฉันท์ว่า ดอกเบี้ยเป็นสิ่งต้องห้ามอย่างเด็ดขาด

ข้อห้ามให้เรื่องดอกเบี้ยไม่เคยถูกละเมิดด้วยน้ำมือของบรรดานักบวชทั้งสองศาสนา ยิ่งไปกว่านั้นข้อห้ามในเรื่องดอกเบี้ยยังได้ออกมาจากปากของบรรดานักปราชญ์ที่มีชื่อเสียง เช่น อารอสโต และอัฟลาโตนซึ่งเป็นนักปราชญ์ชาวยูนานซึ่งเขาได้กล่าวไว้ในหนังสือของเขาว่า “การกู้ยืมโดยมีดอกเบี้ยไม่เป็นที่อนุมัติแก่ผู้ใด”

ส่วนชาวอาหรับในยุคก่อนอิสลาม ถึงแม้ว่าพวกเขาจะทำธุรกิจโดยมีดอกเบี้ย แต่พวกเขาก็ยังมองว่าดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่ต่ำต้อย และไร้เกียรติอยู่ดี ไม่มีหลักฐานที่จะชี้ชัดถึงเรื่องดังกล่าวมากไปกว่าการที่ชาวกุเรชได้ทำการบูรณะกะบะห์ โดยขอเรี้ยรายทรัพย์สินเงินทองจากบ้านหลายหลังคาเรือนที่ไม่ทำธุรกิจเกี่ยวกับดอกเบี้ย เพราะไม่ต้องการให้เงินที่ฮารอม (เงินต้องห้าม) เข้ามามีส่วนในการสร้างกะบะห์ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ดังที่ท่านอบูวาฮับ บุตรท่านอาบีด บุตรท่านอิมรอน บุตรท่านมัคซูมได้ประกาศว่า

“โอ้กลุ่มชนชาวกุเรชเอ๋ย  ! พวกท่านอย่าได้นำรายได้ใด ๆ ของพวกท่านเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างกะบะห์ นอกจากจะต้องมาจากรายได้ที่ดีเท่านั้น และอย่าได้นำเอาเงินทองของโสเภณีเข้ามาร่วมในการสร้างกะบะห์ และอย่าเอาเงินที่เกี่ยวกับดอกเบี้ยเข้ามา และอย่าได้เอาสิ่งที่ทุจริตมาสร้างกะบะห์”

ดังนั้นเมื่อดอกเบี้ยเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับทุกศาสนาแล้ว อย่างไรที่มันได้ถูกเริ่ม และแพร่กระจายไปทั่วโลกได้ ?

แน่นอนชาวอาหรับในยุคอนารยะธรรม (ยุคญาฮิลียะห์) ทำธุรกิจโดยนำเอาดอกเบี้ยเขามามีส่วนเกี่ยวข้อง ต่อมาอิสลามได้มาห้ามถึงเรื่องนี้ และได้ปิดประตูเพื่อป้องกันการนำเอาระบบดอกเบี้ยมาใช้ แม้กระทั่งสิ่งที่คลุมเครือหรือสงสัยว่าเป็นดอกเบี้ยก็ถูกห้าม เช่นเดียวกับการที่ท่านศาสดามูฮัมมัดได้สั่งห้ามขายอินทผลัมเกรดต่ำ 2 เซออฺ ด้วยกับอินทผลัมเกรดดี 1 เซออฺ และผู้คนก็ปฏิบัติตามคำสั่งห้ามดังกล่าวอย่างเคร่งคัด และทำลายระบบดอกเบี้ยลง เช่นเดียวกับชาวคริสเตียนในยุคต้น ๆ ที่พวกเขากู้ยืมกันโดยไม่มีดอกเบี้ย เพราะพวกเขาถือว่าดอกเบี้ยเป็นสิ่งต้องห้าม ส่วนชาวยิวพวกเขาถือว่าดอกเบี้ยเป็นสิ่งต้องห้ามในหมู่พวกเขา แต่สำหรับศาสนิกอื่น พวกเขาสามารถขูดเลือดขูดเนื้อด้วยระบบดอกเบี้ยได้ แต่ถึงอย่างไร ชาวยิวก็ยังถือว่าดอกเบี้ยเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจอยู่ดี

จนกระทั่งมาถึงท้ายศตวรรษที่ 16 ยุโรปเริ่มละเมิดและฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งพระเจ้าในเรื่องของดอกเบี้ย ในปี ค.ศ. 1593 ได้วางข้อยกเว้นในข้อห้ามของดอกเบี้ยในทรัพย์สินของคนบางกลุ่ม โดยอนุญาตให้ลงทุนโดยนำเอาระบบดอกเบี้ยมาใช้ได้ ซึ่งจะต้องผ่านการอนุมัติจากตุลาการเสียก่อน

หลังจากนั้น ได้เกิดการฉวยโอกาสของคนใหญ่คนโต ในการดำเนินธุรกิจที่มีดอกเบี้ย โดยเฉพาะผู้นำบางคนที่นำเอาระบบดอกเบี้ยมาใช้อย่างเปิดเผย ตัวอย่างเช่น ในปี 1692 ลุยซ์ที่ 14 ได้กู้ยืมโดยมีดอกเบี้ย และในปี 1860 สันตะปาปาที่ 9 ทำธุรกิจโดยใช้ระบบดอกเบี้ย

แต่ดอกเบี้ยยังไม่แพร่หลายสักเท่าไร และไม่ถือว่าเป็นกฎหมายที่ยอมรับกัน จนกระทั่งหลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศส การปฏิวัติในครั้งนี้ ก็คือการปฏิวัติทางด้านศาสนา การเมืองการปกครองแบบขุนนางศักดินา และระบอบกษัตริย์

ส่วนหนึ่งจากกฎหมายทางด้านศาสนาซึ่งเป็นที่รู้จักกันในยุโรป คือข้อห้ามในเรื่องของดอกเบี้ย ข้อตัดสินในการห้ามดอกเบี้ยก็ได้ถูกยกเลิกไป ด้วยกับการออกกฎหมายอื่นมาแทน การออกกฎหมายโดยยกเลิกข้อห้ามในเรื่องดอกเบี้ยก็ได้เกิดขึ้น ด้วยกับน้ำมือของกลุ่มยิวในช่วงปฏิวัติฝรั่งเศส เพื่อสนองความละโมบของพวกเขาเอง ด้วยสาเหตุดังกล่าว ธนาคารที่ใช้ระบบดอกเบี้ยจึงได้เกิดขึ้น เพื่อให้ความฝันของพวกเขาในการครอบงำทรัพย์สินทั่วโลกเป็นความจริง ดอกเบี้ยได้เป็นที่อนุญาตไปแล้ว และได้มีมติจากสมัชชาสหประชาชาติในฝรั่งเศส โดยออกมาวันที่ 12 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1789 ว่า “อนุญาตให้ทุกคนสามารถจัดการบริหารทรัพย์สินโดยใช้ระบบดอกเบี้ยได้ ซึ่งจะต้องอยู่ในขอบเขตที่กฎหมายกำหนดไว้” ฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกที่ละเมิดต่อบทบัญญัติทางด้านศาสนา และปลดศาสนาออกจากการดำรงชีวิต หลังจากนั้นยุโรปก็ได้ดำเนินรอยตามฝรั่งเศสในการละเมิดข้อบังคับทางด้านศาสนา หนึ่งในนั้นก็คือ ข้อห้ามในเรื่องของดอกเบี้ย ในช่วงเวลาดังกล่าวนี่เอง มีนักลงทุนชาวยิวเป็นจำนวนมากได้เริ่มปฏิวัติอุสาหกรรม พวกเขาต้องการเงินเพื่อที่จะนำมาลงทุนโครงการต่าง ๆ จนทำให้นักลงทุนที่ไม่ใช่ยิวต่างถอยหนีจากการลงทุนในโครงการใหม่ ๆ เพราะกลัวขาดทุน

ส่วนชาวยิวก็ได้เริ่มปล่อยดอกเบี้ยให้กับพวกเดียวกัน เพราะถือว่าในการกู้ยืมโดยมีดอกเบี้ยที่เป็นกำไรนั้น คือหลักค้ำประกัน ถึงแม้ว่าผู้ขอกู้จะขาดทุนก็ตาม เมื่อชาวยิวได้ครอบครองกิจการต่าง ๆ และเข้ามาปกครองการบริหารในยุโรป ก็หมายถึงการที่พวกยิวสามารถปกครองและครอบครองโลกทั้งหมด จากจุดนี้เอง พวกยิวได้กำหนดการทำธุรกิจที่มีระบบดอกเบี้ยกับประเทศที่อยู่ภายใต้การปกครองของตะวันตก จนทำให้ระบบดอกเบี้ยแพร่กระจายไปในทุกธุรกิจการค้า และธนาคารต่าง ๆ จนกระทั่งทุกวันนี้ยิวยังครอบครองเศรษฐกิจและธนาคารต่าง ๆ ของโลกไว้ในกำมือ

แน่นอน"ชาวยิว"คือผู้อยู่เบื้องหลังการกระจายระบบดอกเบี้ยไปทั่วโลก และผู้ที่ทำธุรกิจโดยใช้ระบบดอกเบี้ยก็คือส่วนหนึ่งจากผู้ที่รับใช้ยิว และเป็นพนักงานในการเพิ่มงบดุลให้กับยิว การกระจายดอกเบี้ยเปรียบเสมือนการกระจายโรคทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และจริยธรรมในสังคม


ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของดอกเบี้ย ในยุคอิสลาม
ความเป็นมาของธนาคาร

คำว่า “แบงค์” ผันมาจากคำว่า “แบงโค” ซึ่งเป็นภาษาอิตาลี มีความหมายว่า “โต๊ะอาหาร” เพราะว่าผู้ซื้อขายตั๋วแลกเงินจะต้องมีโต๊ะหนึ่งตัววางอยู่ข้างทาง ซึ่งบนโต๊ะก็จะมีเงินตราไว้เพื่อทำการค้า ซึ่งผู้ซื้อขายตัวแลกเงินส่วนใหญ่เป็นชาวยิว

ปรากฏว่าในอดีต ธนาคารคือผู้เก็บรักษาทรัพย์สินเงินทอง ของมีค่า และผลผลิตทางการเกษตรที่ชาวบ้านนำมาฝากไว้ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา ธนาคารคือสถานที่ที่ปลอดภัยในการเก็บรักษาเงินทอง และเพชรพลอยอันมีค่า โดยถือว่าการฝากเป็นการว่าจ้าง บรรดาเจ้าของธนาคารจะให้พันธบัตรแก่ผู้ที่นำทรัพย์สินมาฝาก เพื่อเป็นเอกสารยืนยันการฝาก ซึ่งสามารถใช้ในการถอนเงินตราที่เขาต้องการได้ ต่อมาได้มีการพัฒนากระบวนการการธนาคาร โดยเหล่าพ่อค้าที่เอาทรัพย์สินมาฝากธนาคารได้เริ่มใช้พันธบัตรในกลุ่มพวกเขา เพื่อทำการซื้อขาย และชดใช้หนี้ เพราะการใช้พันธบัตรจะเบาและสะดวกในการพกพามากกว่าการใช้เงินหรือทอง ในขณะที่เจ้าของธนาคารมีความรู้สึกว่า ยังมีเงินเป็นจำนวนมากอยู่ในคลังของตน

ผู้ที่นำทรัพย์สินมาฝากไว้กับธนาคารมีความรู้สึกอุ่นใจในการทำธุรกิจแลกเปลี่ยนด้วยกับพันธบัตร ในขณะที่ทรัพย์สินจริง ๆ ของเขายังอยู่กับเจ้าของธนาคาร นานครั้งที่ผู้ฝากจะมาถอนเงินไปใช้ ดังนั้นเจ้าของธนาคารจึงเกิดความคิดที่จะฉวยโอกาสนี้ ทำผลประโยชน์ให้กับตัวเองด้วยกับทรัพย์ที่นำมาฝากไว้ แล้วพวกเขาก็ได้เริ่มปล่อยกู้ โดยมีดอกเบี้ย และพวกเขาก็ใช้จ่ายเสมือนกับว่าเขาคือเจ้าของทรัพย์สินเหล่านั้นจริง ๆ

เมื่อกระบวนการทางธนาคารนี้พัฒนาขึ้น จนทำให้พันธบัตรมาแทนที่ทองในการทำธุรกิจค้าขาย เหล่าเจ้าของธนาคารก็เริ่มที่จะให้ผู้คนเข้ามากู้ยืมพันธบัตรแทนการกู้ยืมเงินทอง ด้วยวิธีการเช่นนี้ ทำให้เจ้าของธนาคารไม่ต้องคืนทรัพย์สินที่นำมาฝาก คืนแก่ผู้ฝาก และไม่ต้องให้กู้ยืมโดยเป็นตัวทรัพย์สินจริง ๆ แก่ผู้ขอกู้ จนทำให้เจ้าของธนาคารกลายเป็นมหาเศรษฐีจากรากฐานของทรัพย์สินของผู้อื่นที่นำมาฝาก และพวกเขาก็เริ่มจ่ายเงินปันผลหรือดอกเบี้ยให้กับผู้ที่เอาทรัพย์สินเงินทองมาฝาก เพื่อเป็นการชักจูงให้พวกเขานำเงินทองมาฝาก และกระบวนการการฝากก็ได้เปลี่ยนมาเป็นการบวนการการกู้ยืม

ด้วยสาเหตุดังกล่าว บทบาทของธนาคารจึงกลายเป็นสื่อกลางระหว่างคนหลาย ๆ คนที่มีทรัพย์สินที่ไม่สามารถนำมาลงทุนด้วยตัวเองได้ และระหว่างผู้ที่มีความต้องการทรัพย์สินเงินทองเพื่อนำไปลงทุน.


จากเวบไซต์  www.saaid.net

แปลโดย  อะห์หมัด มุสตอฟา อาลี โต๊ะลง

อัพเดทล่าสุด