33 สัญญาณ ที่บ่งบอกว่าคุณเป็นลูกเนรคุณ ในอิสลาม


93,627 ผู้ชม

33 สัญญาณ ที่บ่งบอกว่าคุณเป็นลูกเนรคุณ ในอิสลาม มีอะไรบ้างมาดูกันเลย....


33 สัญญาณ ที่บ่งบอกว่าคุณเป็นลูกเนรคุณ ในอิสลาม

33 สัญญาณ ที่บ่งบอกว่าคุณเป็นลูกเนรคุณ ในอิสลาม

1. ทำให้พ่อแม่เสียใจ หรือเสียน้ำตา เนื่องจากคำพูด การกระทำหรือพฤติกรรม

2. ตะคอก ทะเลาะวิวาท หรือขึ้นเสียง ต่อหน้าพ่อแม่

3. กล่าวคำว่า “อุฟ” ดื้อ หรือไม่ทำตามคำสั่งใช้ของพ่อแม่ 

4. หน้าบูดบึ้ง ขมวดคิ้ว แสดงไม่พอใจพ่อแม่ 

5. มองพ่อแม่ด้วยหางตา หรือมองด้วยสายตาแสดงความไม่พอใจ

6. สั่งใช้พ่อแม่ทำ สิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่ของท่าน เช่น ซักเสื้อผ้าของเรา หุงหาอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยามท่านแก่ชรา แต่ถ้าหากทั้งสอง ยินดีให้ความช่วยเหลือ ด้วยความสมัครใจ ก็ไม่ถือว่าเนรคุณ แต่ลูกๆ ควรตอบแทน ด้วยการขอบคุณ และดุอาแก่ท่านทั้งสองตลอดเวลา 

7. ตำหนิอาหารที่เตรียม โดยคุณแม่ การกระทำเช่นนี้ มีความผิด 2 ประการ ประการแรก ฝ่าฝืนสุนนะฮฺท่านนบี (ขอความสันติสุข จงมีแด่ท่าน) เพราะท่าน นบีฯ ไม่เคยตำหนิอาหารเลย หากท่านชอบ ท่านก็จะทานอาหารนั้น หากท่านไม่ชอบ ท่านจะไม่ทาน โดยไม่ตำหนิอะไรเลย ประการที่สอง แสดงกิริยามารยาท ที่ไม่ดีต่อคุณแม่ 

8. ไม่ช่วยเหลือพ่อแม่ทำงานบ้าน เช่น ซักเสื้อผ้า หุงอาหาร เลี้ยงดูน้องๆ เป็นต้น 

9. ตัดคำพูดของพ่อแม่ กล่าวหาพ่อแม่ว่าพูดโกหก หรือโต้เถียงกับพ่อแม่ 

10. ไม่ปรึกษาหารือพ่อแม่ ไม่ขออนุญาตพ่อแม่ ยามออกนอกบ้าน หรือเที่ยวตามบ้านเพื่อน 

11. ไม่ขออนุญาตยามเข้าห้องนอนพ่อแม่ 

12. ชอบเล่าเรื่องที่สร้างความไม่สบายใจแก่พ่อแม่ 

13. ทำลายชื่อเสียง หรือนินทาพ่อแม่ลับหลัง 

14. แช่งหรือด่าพ่อแม่ ทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ด่าพ่อแม่ทางตรง คือด่าพ่อแม่ต่อหน้าทั้งสอง ส่วนด่าพ่อแม่ทางอ้อม คือการที่เราด่าพ่อแม่เพื่อนของเรา และเพื่อนคนนั้น ก็ด่าพ่อแม่เรากลับ ดังนั้น คำด่าของเพื่อนเรา เปรียบเสมือนเราด่าพ่อแม่ โดยทางอ้อม เพราะเราเป็นต้นเหตุ ที่ทำให้เพื่อนด่าพ่อแม่เรา 

15. นำพาสิ่งหะรอม เข้ามาในบ้าน เช่น เครื่องดนตรี ทำให้พ่อแม่พลอยรับความไม่ดี จากสิ่งหะรอมนั้นด้วย 

16. กระทำสิ่งหะรอม ต่อหน้าพ่อแม่ เช่น สูบบุหรี่ ฟังเพลง ไม่ละหมาด ไม่ลุกขึ้น เมื่อทั้งสองปลุกให้ตื่นละหมาด 

17. ทำให้ชื่อเสียงพ่อแม่ด่างพร้อย เพราะการกระทำของเรา เช่น เมื่อลูกๆ ชอบลักเล็กขโมยน้อย ติดยาเสพติด เล่นการพนัน ซิ่งมอเตอร์ไซค์ ทำให้พ่อแม่ ต้องอับอาย หรือเสียชื่อเสียงไปด้วย 

18. ทำให้พ่อแม่ยากลำบาก บางครั้งพ่อแม่ ต้องระเหเร่ร่อน ตามหาลูกๆ ที่หนีออกจากบ้าน หรือต้องขึ้นลงโรงพัก เพื่อให้ประกันลูกๆ ที่กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งสร้างความลำบาก แก่พ่อแม่เป็นอย่างยิ่งทำให้พ่อแม่เสียเวลา และเงินทอง เพื่อเป็นธุระแก่ลูกรัก 

19. ออกจากบ้าน หรือเที่ยวบ้านเพื่อน เป็นเวลานาน ทำให้พ่อแม่เป็นห่วง บางทีพ่อแม่ต้องการความช่วยเหลือจากลูก หรือประสบกับความยากลำบาก และเหน็ดเหนื่อย จากการทำงานหนัก แต่ลูกๆ กำลังสนุกสนาน กับเพื่อนๆ ที่สถานเริงรมย์ หรืองานเลี้ยงฉลอง ในโอกาสต่างๆ 

20. ชอบให้พ่อแม่ ทำโน่นทำนี่เป็นประจำ ให้ซื้อของเป็นประจำ และไม่รักษาสิ่งของที่พ่อแม่ซื้อ คะยั้นคะยอพ่อแม่ ซื้อสิ่งของที่แพงๆ ทั้งที่พ่อแม่มีรายได้ ที่ไม่เพียงพอ 

21. รักภรรยาหรือสามี มากกว่าพ่อแม่ ทะเลาะกับพ่อแม่ เนื่องจากภรรยาหรือสามีที่ไม่ดี อ่อนโยนต่อภรรยาหรือสามี แต่แข็งกร้าวต่อหน้าพ่อแม่ 

22. ปลีกตัวจากพ่อแม่ ไม่อาศัยอยู่พร้อมกันกับพ่อแม่ โดยเฉพาะยามที่ทั้งสองแก่เฒ่า 

23. ลูกบางคนรู้สึกอับอาย หรือกระดากใจ ที่จะแนะนำพ่อแม่ ให้คนอื่นรู้จัก บางครั้งก็ไม่ยอมรับ เป็นพ่อแม่ของตนเอง เนื่องจากต้องการปิดบังรากเหง้า ของตนเอง 

24. ตบตีหรือทำร้ายพ่อแม่ 

25. ให้พ่อแม่พำนักที่บ้านพักคนชรา หรือสถานสงเคราะห์คนชรา โดยที่ลูกๆ ไม่ยอมดูแล และปรนนิบัติพ่อแม่ เรามักได้ยินว่าพ่อแม่มีความสามารถเลี้ยงลูก 10 คนได้ แต่บางทีลูกทั้ง 10 คน ไม่สามารถดูแลปรนนิบัติพ่อแม่ได้ 

26. ไม่ให้ความสำคัญ ต่อกิจการของพ่อแม่ ไม่แนะนำ หรือตักเตือนพ่อแม่ ยามที่ทั้งสองผิดพลาด หรือกระทำบาป 

27. ตระหนี่ขี้เหนียว และไม่ยอมใช้จ่ายแก่พ่อแม่ แต่ชอบแสดงตนเป็นคนใจกว้าง ยามเข้าสังคมกับเพื่อนๆ 

28. ชอบทวงบุญคุณ ที่ได้กระทำต่อพ่อแม่ ทั้งๆ ที่พ่อแม่ ไม่เคยทวงบุญคุณของตนเอง ที่ได้กระทำต่อลูกๆเลย 

29. ขโมยทรัพย์สินเงินทองของพ่อแม่ หลอกใช้เงินของพ่อแม่ 

30. ชอบทำตัวงอแงจนเกินเหตุ ทำให้พ่อแม่ไม่สบายใจ เช่น เวลาป่วยไข้ ก็มักจะทำไม่สบายจนเกินเหตุ เป็นต้น 

31. ทิ้งพ่อแม่อาศัยที่บ้านตามลำพัง โดยที่ตนเองอาศัยที่อื่น โดยไม่ขออนุญาตพ่อแม่ก่อน 

32. ลูกบางคนตั้งภาวนาให้พ่อแม่ห่างไกล ให้พ้นจากตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อพ่อแม่ป่วยเป็นโรค หรือแก่ชรา 

33. ลูกบางคน ยอมแม้กระทั่งต้องฆ่าพ่อแม่ เนื่องจากความโกรธเคือง เมาหรือหวังมรดกของพ่อแม่

อัลลอฮฺทรงปรานี แก่ผู้ที่รู้จักประมาณตน ในศักยภาพของตนเอง

ที่มา: https://www.piwdee.net/kab4/sanma3002.html

อัพเดทล่าสุด