การมีอายุ 40 ปี ที่กล่าวไว้ในอัลกุรอ่าน


169,708 ผู้ชม

ท่านทราบไหมว่า ในอัลกุรอาน ได้มีการกล่าวถึง คนที่มีอายุ 40 ปี ไว้อย่างไรบ้าง?


ท่านทราบไหมว่า ในอัลกุรอาน ได้มีการกล่าวถึง คนที่มีอายุ 40 ปี ไว้อย่างไรบ้าง?

حَتَّى إَذَا بَلَغَ أَشُدَّهُ وَبَلَغَ أَرْبَعِيْنَ سَنَةً قَالَ رَبِّ أَوْزِعْنِى أَنْ أَشْكُرَ نِعْمَتَكَ الَّتِى أَنْعَمْتَ عَلَيَّ وَعَلَى وَالِدَيَّ وَأَنْ أَعْمَلَ صَالِحًا تَرْضَاهُ وَأَصْلِحْ لِى فِى ذُرِّيَّتِى إِنِّى تُبْتُ إِلَيْكَ وَإِنِّى مِنَ الْمُسْلِمِيْنَ 
(١٥) الاحقاف

จนกระทั่งเมื่อเขาบรรลุวัยฉกรรจ์ของเขาและมีอายุถึงสี่สิบปี เขาจะกล่าววิงวอนว่า ข้าแต่พระเจ้าของเข้าพระองค์ขอพระองค์ทรงโปรดประทานแก่ข้าพระองค์ เพื่อให้ข้าพระองค์ขอบคุณต่อความโปรดของพระองค์ท่าน ซึ่งพระองค์ท่านได้ทรงโปรดปรานแก่ข้าพระองค์และบิดามารดาของข้าพระองค์ และให้ข้าพระองค์ทำความดีเพื่อให้ความดีเกิดขึ้นในลูกหลานของข้าพระองค์ แท้จริงข้าพระองค์ขอลุแก่โทษต่อพระองค์ และแท้จริงข้าพระองค์อยู่ในหมู่ผู้นอบน้อม (อัลอะฮ์กอฟ : 15)

وفى تفسير ابن كثير: وهذا فيه إرشاد لمن بلغ الأربعين أن يجدد التوبة والإنابة إلى الله - عز وجل - ويعزم عليها.

ท่านอิบนุกาซีรได้อธิบายเกี่ยวกับโองการนี้ไว้ว่า เมื่อคนเราเข้าสู่วัย 40 ปี จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นั้นต้องเตาบัตและหวนกลับคืนสู่อัลลอฮ์อย่างจริงจังและแท้จริง

โองการนี้ได้มีการกล่าวถึง อายุ 40 ปีอย่างชัดเจน เพราะเมื่อคนเราเข้าสู่อายุ 40 ปีนั่นหมายถึง เขากำลังเข้าสู่ความสมบูรณ์ของชีวิตทั้งทางร่างกาย ความคิดจิตใจ และอารมณ์

ดุอาในโองการดังกล่าวนั้น ได้ส่งเสริมให้บรรดาผู้ที่มีอายุได้ 40 ปีขึ้นไปได้ขอดุอา เป็นดุอาที่แสดงออกถึง การมีจิตวิญญาณแห่งการชุโกรในการได้รับเนียะอ์มัตต่างๆนานาอย่างสมบูรณ์จากการได้มีครอบครัว มีลูกหลาน มีการส่งเสริมให้ทำอามัลอิบาดะห์ให้มากขึ้น ให้เตาบัตและหวนกลับคืนสู่หนทางของพระองค์

อัลลอฮ์ได้ทรงโองการไว้ในซูเราะห์ อัลฟาติร : 37

أَوَلَمْ نُعَمِّرْكُمْ مَا يَتَذَكَّرُ فِيْهِ مَنْ تَذَكَّرَ وَجَاءَكُمُ النَّذِيْرُ (٣٧)

และเรามิได้ให้อายุของพวกเจ้ายืนนานพอดอกหรือ เพื่อผู้ที่ใคร่ครวญจะได้รำลึกถึงข้อตักเตือนและ (ยิ่งกว่านั้น) ได้มีผู้ตักเตือนมายังพวกเจ้าแล้ว

عن مجاهد قال : سمعت ابن عباس يقول : العمر الذي أعذر الله إلى ابن آدم : ( أولم نعمركم ما يتذكر فيه من تذكر ) أربعون سنة .

มุญาฮิดได้กล่าวไว้ว่า “ฉันได้ฟังจากอิบนุอับบาสได้กล่าวว่า “อายุที่อัลลอฮ์ทรงให้ลูกหลานอาดัมได้ตระหนักนั้น คือ อายุ 40 ปี

( أَوَلَمْ نُعَمِّرْكُمْ مَا يَتَذَكَّرُ فِيْهِ مَنْ تَذَكَّرَ وَجَاءَكُمُ النَّذِيْرُ )
عن مسروق أنه كان يقول : إذا بلغ أحدكم أربعين سنة ، فليأخذ حذره من الله عز وجل .

มัซรูกได้กล่าวว่า “เมื่อใดที่คนๆหนึ่งมีอายุ 40 ปี ดังนั้น เขาจงตระหนักถึงบทเรียนต่างๆ จาก อัลลอฮ์”

อายุ 40 ปีเป็นช่วงเวลาแห่งความสมบูรณ์ทาง ความคิด จิตใจและร่างกายของคนเรา ต่อการได้รวบรวมเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ชีวิต เพื่อให้เกิดความฉลาดหลักแหลม มีฮิกมะห์และปัญญามากขึ้น สามารถละทิ้งความไร้สาระต่างๆนานาจากที่เคยเป็นวัยรุ่น มีการใช้ความคิด พินิจพิจารณาสิ่งต่างๆ มากขึ้น ดังนั้นจึงมิใช่เรื่องแปลก ที่ว่าบรรดาผู้นำต่างๆ ได้เกิดขึ้นมาในช่วงวัย 40 ปีนี้

ท่านอิบนุอับบาส ได้กล่าวถึงท่านร่อซูลุลลอฮ์ไว้ว่า:

عن ابن عباس قال أنزل على رسول الله صلى الله عليه وسلم وهو ابن أربعين فأقام بمكة ثلاث عشرة وبالمدينة عشرا وتوفي وهو ابن ثلاث وستين قال أبو عيسى هذا حديث حسن صحيح

“วะฮ์ยูได้ถูกประทานลงมาให้กับท่านร่อซูลุลลอฮ์ในขณะที่ท่านมีอายุได้ 40 ปี หลังจากนั้นท่านได้ใช้เวลาอยู่ที่มักกะห์ 13 ปี และที่มาดีนะห์อีก 10 ปีและท่านได้ถึงเสียชีวิตเมื่อมีอายุได้ 63 ปี” (ติรมีซีย์)

จากรายงานของท่านอิบนุอับบาส ท่านร่อซูลุลลอฮ์ได้กล่าวว่า:

من أتى عليه أربعون سنة ولم يغلب خيره شره فليتجهز إلى النار

ผู้ใดที่มีอายุได้ 40 ปี และอามัลคุณความดีของเขายังไม่เท่าไร และไม่สามารถเอาชนะความชั่วร้ายของเขาได้ ดังนั้น เขาจงเตรียมตัวเข้าสู่นรกเถิด”

ดังนั้น เมื่อคนเราเข้าสู่วัย 40 ปี จงให้ความสำคัญและตระหนักถึงเรื่องเหล่านี้ไว้ให้ดี คือ..

1. มีเป้าหมายในชีวิตที่แน่วแน่
2. ยกระดับอับเกรดจิตวิญญาณให้เข้มแข็ง
3. ให้ความหงอกของเส้นผมเป็นข้อเตือนใจ
4. เพิ่มการชุโกรต่ออัลลอฮ์ให้มากขึ้น
5. ดูแลรักษา เรื่องอาหารการกิน และการพักผ่อน
6. ดูแล้รักษา การทำอามัลอิบาดะห

อัพเดทล่าสุด