บทบัญญัติการการคุมกำเนิด ในอิสลาม


12,641 ผู้ชม


บทบัญญัติการการคุมกำเนิด ในอิสลาม


บทบัญญัติการการคุมกำเนิด ในอิสลาม

คำถาม: ถ้าหากเราเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ที่มีหน้าที่ต้องให้บริการประชาชนในเรื่องการวางแผนครอบครัว(คุมกำเนิด  เช่น  จ่ายยาคุมให้  ฉีดยาคุมให้  ฯลฯ) 
เราในฐานะมุสลิมคนหนึ่งที่ทำงานตรงนี้เราจะสามารถทำหน้าที่ตรงนี้ได้ไหม  หุกุมที่แท้จริงเป็นอย่างไร  


อนุญาต الجَائزُ ให้ทำงานตรงนั้นได้นะครับ เพราะการคุมกำเนิดเป็นเพียงมักโระฮ์เท่านั้น มิใช่ฮะรอมตามทัศนะที่ชัดเจนยิ่งกว่า  ดงนั้นงานที่ทำอันเป็นสื่อยังการคุมกำเนิด  เช่น จ่ายยาหรือฉีดยาให้  จึงมิใช่ฮะรอมแต่อย่างใด    
อนึ่ง การคุมกำเนิดนั้น  อนุญาตให้กระทำแต่ไม่บังควรตามหลักการต่อไปนี้
ท่านอิมามอันนะวาวีย์กล่าวว่า  "การหลั่งนอกนั้น  มักโระฮ์(แต่อนุญาตให้กระทำได้)ตามทัศนะของเรา(มัซฮับอัชชาฟิอีย์)  ในทุก ๆ สภาพการณ์และในสตรีทุกคน(ไม่ว่าจะเป็นภรรยาอิสระชนหรือเป็นทาสี)  ไม่ว่านางจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม  เพราะมันเป็นการตัดขาดการสืบพันธ์   สำหรับภรรยาที่เป็นอิสระชนนั้นหากมีการหลั่งนอกด้วยการขออนุญาตจากนาง  ก็ถือว่าไม่เป็นไร  แต่หากยังไม่ได้รับอนุญาตจากนาง  อุลามาอ์มัซฮับชาฟิอีย์นั้นมีการขัดแย้งกัน  
ทัศนะที่ 1. หากไม่ได้รับการอนุญาตจากภรรยา  ถือว่าไม่ฮะรอม  แต่มักโระฮ์  ซึ่งเป็นทัศนะที่ชัดเจนยิ่งกว่า
ทัศนะที่ 2. จำเป็นต้องมีเงื่อนไขจากการได้รับอนุญาตจากภรรยาเสียก่อน  เนื่องจากนางจะเกิดความทุกข์(ไม่มีความสุข)เมื่อมีการหลั่งนอก (อ้างอิงสรุปจากหนังสือ ชัรห์ซอฮิห์มุสลิม ของท่านอิมามอันนะวาวีย์  5/267)  
จากหลักการดังกล่าว  เราสามารถนำเสนอหลักการออกมาได้ดังนี้  กล่าวคือ  การกระทำอันใดที่ทำให้ตัดขาดการสืบพันธ์หรือกำเหนิดบุตร  ถือว่าเป็นสิ่งมักโระฮ์  ไม่ว่าจะเป็นการกินยาคุมกำเหนิด  การร่วมหลับนอนโดยใช้ถุงยางก็ตาม  ดังนั้น  วิธีการและฮุกุ่มที่จะทำไม่ให้เกิดการตั้งครรภ์นั้น  มีรายละเอียดดังนี้
วิธีที่หนึ่ง :  การกินยาคุมกำเหนิด   การกินยาคุมกำเหนิดอนุญาตให้กระทำได้แต่มักโระฮ์  
การคุมกำเหนิดนั้น  ต้องด้วย  2  เงื่อนไข 
1. การคุมกำเหนิดต้องด้วยการยินยอมทั้งสองสามีภรรยา  
2. การทานยาคุมต้องไม่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโทษข้างเคียงต่อภรรยา
วิธีที่สอง : การใช้ถุงยาง  ซึ่งการใช้ถุงยางเป็นมักโระฮ์แต่อนุญาตให้กระทำได้  และสมควรขอความยินยอมจากภรรยาเสียก่อน
วิธีที่สาม : การหลั่งนอก  เป็นสิ่งที่มักโระฮ์  แต่อนุญาตให้กระทำได้เช่นกัน  และสมควรขอความยินยอมจากภรรยาเสียก่อน    
ท่านมุสลิมรายงานรายงานจากญาบิร  เขากล่าวว่า
كُنَّا ‏ ‏ نَعْزِلُ ‏ ‏عَلَى عَهْدِ رَسُولِ اللَّهِ ‏ ‏ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏ فَبَلَغَ ذَلِكَ نَبِيَّ اللَّهِ ‏ ‏ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏فَلَمْ يَنْهَنَا 
"เราได้ทำการหลั่งนอกในสมัยของท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ดังกล่าวได้ทราบไปถึงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  แล้วท่านก็มิได้ห้ามเรา"  (2610)
ท่านมุสลิมได้รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮ์  ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา  ความว่า
سَأَلُوهُ عَنْ ‏ ‏الْعَزْلِ ‏ ‏فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ ‏ ‏صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ‏ ‏ذَلِكَ الْوَأْدُ الْخَفِيُّ
"บรรดาซอฮาบะฮ์ได้ถามท่านร่อซูลุลลอฮ์  ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  เรื่องการหลั่งนอก  ท่านได้ตอบว่า  ดังกล่าวนั้น  เป็นการฝังลูกโดยแฝง(ทางอ้อม)"  (2613)
ท่านอิมามอันนะวาวีย์   กล่าวว่า  "ฮะดิษที่ห้ามการหลั่งนอกนั้น  ห้ามแบบมักโระฮ์" ชัรห์ซอฮิห์มุสลิม 5/267

หากการคุมกำเนิด ถือว่า เป็นสิ่งมักรูฮฺ  เจ้าหน้าที่ที่จ่ายยา หรือคุมกำเนิด ให้ก็ถือว่า มักรูฮฺ เช่นกัน

ที่มา: https://www.sunnahstudent.com/forum/archive.php?topic=4157.0

อัพเดทล่าสุด