ใครคือ มุหัมมัด ?


5,707 ผู้ชม

ใครคือ มุหัมมัด ? ประวัตินบีมูฮัมหมัด ศาสนทูตของอัลลอฮ์ ศาสดาองค์สุดท้ายของโลก...


ใครคือ มุหัมมัด ?

มีคนเคยขอให้ภรรยาของศาสนทูตมุหัมมัด หรือ “ท่านหญิงอาอิชะฮฺ” บรรยายคุณลักษณะของศาสนทูตต่อพวกเขา และนางได้บรรยายไว้ว่า ศาสนทูตมุหัมมัดเปรียบเสมือน “อัลกุรอานเดินได้” ซึ่งหมายถึงท่านได้นำคำสอนในอัลกุรอานมาปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวันของท่าน และจากนี้เราขอนำเสนอแบบอย่างที่ศาสนทูตมุหัมมัดได้ปฏิบัติตามคำสอนใน คัมภีร์อัลกุรอานแก่ท่านทั้งหลาย

“แท้จริงแล้ว ในศาสนทูตแห่งอัลลอฮฺนั้นมีแบบอย่างที่ดีงามยิ่งในการปฏิบัติตาม สำหรับผู้ใดก็ตามที่มีความหวัง (ที่จะพบ) อัลลอฮฺและวันสิ้นโลก และผู้ที่ทำการรำลึกถึงอัลลอฮฺอย่างมากมาย” (อัลกุรอาน 33:21)

ใครคือ มุหัมมัด ?

แบบอย่างความเมตตา

เช่นเดียวกับการเรียกร้องผู้คนสู่การละหมาด การถือศีลอด และการบริจาค ศาสนทูตมุหัมมัด (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) ยังได้สอนเราอีกด้วยว่า “ความศรัทธาของบุคคลหนึ่งที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า” ควรส่งผลต่อการปฏิบัติตัวของเขาต่อผู้คนอีกด้วย ศาสนทูตกล่าวไว้ว่า “ผู้ที่ดีที่สุดในหมู่พวกท่านคือผู้ที่มีพฤติกรรม (หรือบุคลิกภาพ) ที่ดีงามยิ่ง”

มีหลายถ้อยคำของศาสนทูตมุหัมมัดที่เน้นย้ำในเรื่องของ“ความสัมพันธ์ ระหว่างความเชื่อและการปฏิบัติ” เช่นที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า “ผู้ ใดก็ตามที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันสิ้นโลก จำต้องไม่ทำร้ายเพื่อนบ้านของเขา และผู้ใดก็ตามที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันสิ้นโลก ควรให้การดูแลแขกผู้มาเยือนของเขาอย่างดี และผู้ใดก็ตามที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันสิ้นโลก ควรพูดในสิ่งที่ดี หรือไม่เขาก็ควรนิ่งเงียบเสีย” ศาสนทูตท่านสุดท้ายที่พระผู้เป็นเจ้าได้ส่งมานี้ได้สอนบรรดามนุษย์ให้แสดง ความเมตตาและการให้เกียรติต่อกันและกัน โดยท่านได้กล่าวว่า “ผู้ใดก็ตามที่ไม่แสดงความเมตตาต่อผู้คน เขาย่อมมิได้รับความเมตตา”

มี การรายงานไว้ด้วยว่า มีคนเคยขอให้ศาสนทูตวิงวอนขอต่ออัลลอฮฺให้ทรงลงโทษบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา (ต่ออัลลอฮฺ) หากแต่ศาสนทูตได้ตอบเขาว่า “ฉันมิได้ถูกส่งมาเป็นผู้ที่ทำการสาบแช่ง หากแต่ฉันถูกส่งมาเช่นผู้ที่มีความเมตตา”

“และเรา (อัลลอฮฺ) มิได้ส่งเจ้า (ศาสนทูตมุหัมมัด) มาเพื่อการใด เว้นแต่เพื่อให้เป็นความเมตตาต่อมวลมนุษย์ทั้งหลาย” (อัลกุรอาน 21:107)

แบบอย่างการให้อภัย

ศาสน ทูตมุหัมมัดเป็นผู้ที่รักการใหัอภัยต่อผู้คน และเป็นผู้ที่มีความเมตตากรุณาอย่างมาก หากมีใครกล่าวด่าทอท่าน ท่านก็จะให้อภัยเขา และหากแม้ว่ามีใครก็ตามแสดงความหยาบคายต่อท่านมากเพียงใด ท่านก็จะยิ่งมีความอดทนอดกลั้นต่อเขามากเท่านั้น ท่านเป็นผู้ที่มีความเมตตาและรักการให้อภัยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะที่ท่านเองก็อยู่ในสถานะที่สูงและเหนือกว่าผู้คนทั้ง หลาย และมีอำนาจในการที่จะตอบโต้พวกเขาเหล่านั้นได้

ศาสนทูต มุหัมมัดให้อภัยต่อทุกๆ สิ่งทุกๆ อย่าง แม้ว่าการทำร้ายหรือการละเมิดที่ท่านถูกกระทำจะยิ่งใหญ่ มากมายสักเพียงใดก็ตาม ก็ย่อมได้รับการให้อภัยจากท่านเสมอ ท่านเป็นแบบอย่างที่ดีที่สุดของการให้อภัยและความมีเมตตา ดังที่มีการกล่าวไว้ในคัมภีร์อัลกุรอานว่า “จงยึดมั่นอยู่กับการให้อภัยเถิด (มุหัมมัด) และจงกระทำมันด้วยความเมตตา และจงผินหลังจากบรรดาผู้โง่เขลาทั้งหลาย” (อัลกุรอาน 7:199)

“จงให้อภัยและมองข้ามมันเสีย หรือเจ้ามิปรารถนาให้อัลลอฮฺอภัยโทษแก่เจ้ากระนั้นหรือ? ด้วยเพราะอัลลอฮฺคือผู้ทรงให้อภัย ผู้ทรงเมตตายิ่ง” (อัลกุรอาน 24:22)

แบบอย่างความเสมอภาค

จากถ้อยคำของศาสนทูตมุหัมมัดต่อไปนี้ คือคำสอนที่ว่ามนุษย์ทุกคนนั้นต่างมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในพระเนตรของอัลลอฮฺ “มวล มนุษย์ทุกคนกเกิดมาจากอดัม และอดัมนั้นเกิดจากดินโคลน ดังนั้นคนอาหรับย่อมมิได้ดีเหนือกว่าผู้ที่มิใช่อาหรับ และคนดำก็มิได้ดีเหนือกว่าคนขาว เว้นแต่ความดีงามเท่านั้น (ที่ทำให้เขาแตกต่างกัน)”

“พระผู้เป็นเจ้ามิได้ ตัดสินท่านอันเนื่องมาจากรูปลักษณ์ของท่านและทรัพย์สินของท่าน หากแต่พระองค์ทรงมองดูที่หัวใจของท่านและมองดูที่การกระทำของท่าน”

มีการรายงานด้วยว่า ครั้งหนึ่งสหายท่านหนึ่ง (ศอฮาบะฮฺ) ของศาสนทูตมุหัมมัดได้เรียกสหายอีกท่านหนึ่งด้วยถ้อยคำที่หยาบคายเช่นว่า“ลูกของหญิงดำ!” เมื่อศาสนทูตได้ยินเช่นนั้น ท่านจึงเกิดความโกรธเคือง และกล่าวต่อเขาว่า “ท่าน ประนามเขาเพราะความดำของมรรดาของเขา เช่นนั้นหรือ!?” เช่นนั้นท่านก็ยังคงมี “ความโง่เขลา” ที่ติดมาจากสมัยแห่งความงมงายในตัวท่านอยู่บ้าง”

“แท้จริงผู้ที่มีเกียรติที่สุดในหมู่พวกท่านคือผู้ที่มีคุณธรรมที่ดียิ่งในหมู่พวกท่าน” (อัลกุรอาน 49:13)

แบบอย่างความอดทน

“ท่านไม่ควรที่จะกระทำสิ่งที่ชั่วร้ายกับบรรดาผู้ที่กระทำสิ่งชั่วร้ายต่อท่าน หากแต่ท่านควรปฏิบัติต่อพวกเขาด้วยความเมตตาและการให้อภัย” นี่คือแนวปฏิบัติที่ศาสนทูตได้ใช้ต่อบรรดาผู้ที่รุกรานท่านและด่าทอท่าน

มีหลายเหตุการณ์ที่ศาสนทูตมุหัมมัดนั้นมีโอกาสที่จะทำการแก้แค้นบรรดาผู้ที่ทำ ร้ายท่าน หากแต่ท่าน ก็ออกห่างและหลีกเลี่ยงจากการกระทำเช่นนั้น

ท่านสอนให้เรามีความอดทนเมื่อต้องประสบกับความทุกข์ยาก “ผู้ ที่เข้มแข็ง ไม่ใช่ผู้ที่สามารถเอาชนะผู้คนด้วยพละกำลังของเขา หากแต่ว่าผู้ที่เข้มแข็งคือผู้ที่สามารถควบคุมตัวของเขาเมื่ออยู่ในสภาวะ แห่งความโกรธ”

“การมีความอดทนอดกลั้น” ไม่ได้หมายความว่ามุสลิมที่ถูกกระทำจำต้องนิ่งเฉยและไม่ปกป้องตัวของเขาเองเมื่อถูกทำร้ายหรือโจมตี ศาสนทูตมุหัมมัดแจ้งไว้ว่า “จง อย่าปรารถนาที่จะเผชิญหน้ากับศัตรู แต่เมื่อท่านพบ (เผชิญหน้า) เขา ท่านก็จงอดทนเถิด (หมายถึง ยืนหยัดอย่างมั่นคงเมื่อเผชิญหน้ากับศัตรู)”

“ความดีและความชั่วนั้นหาเท่าเทียมกันไม่ จงขับไล่ความชั่วด้วยสิ่งที่ดีกว่า และเมื่อนั้นเจ้าและผู้ที่เจ้าเคยเป็นศัตรูกันย่อมกลายเป็นมิตรสนิทกัน” (อัลกุรอาน 41:34)

แบบอย่างความอ่อนโยน

สหาย ของศาสนทูตมุหัมมัดท่านหนึ่งที่ได้ให้การดูแลรับใช้ศาสนทูตเป็นระยะเวลา 10 ปี ได้เล่าว่าศาสนทูตมุหัมมัด (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) เป็นผู้ที่มีความอ่อนโยนในการสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์กับเขาอยู่เสมอ โดยสหายท่านนั้นกล่าวว่า “เมื่อฉันกระทำสิ่งใด ท่าน (ศาสนทูต) ไม่เคยตั้งคำถามว่าเหตุใดฉันจึงทำสิ่งนั้น และเมื่อฉันไม่ได้ทำสิ่งใด ท่านก็ไม่เคยตั้งคำถามว่าเหตุใดฉันถึงไม่ทำสิ่งนั้น ท่านเป็นผู้ที่มีความเป็นกันเองอย่างมากที่สุดในหมู่ผู้คนทั้งหลาย”

ครั้งหนึ่งมีคนกล่าวหมิ่นประมาทศาสนทูตมุหัมมัด ภรรยาของท่านจึงแสดงการโต้ตอบด้วยความโกรธ ดังนั้นศาสนทูตมุหัมมัดจึงให้การตักเตือนนางว่า “จงมีความอ่อนโยนและสงบนิ่งเถิด โอ้ อาอิชะฮฺ อัลลอฮฺทรงรักความอ่อนโยนในทุกๆ การงาน” และท่านยังกล่าวอีกด้วยว่า “จง แสดงความอ่อนโยน เพราะเมื่อมีความอ่อนโยนในสิ่งใด สิ่งนั้นย่อมมีความสวยงาม เมื่อมันปราศจากซึ่งความอ่อนโยน สิ่งนั้นย่อมเต็มไปด้วยความบกพร่อง”

“เนื่องด้วยความเมตตาของอัลลอฮฺ เจ้า (มุหัมมัด) จึงเป็นผู้ที่มีความสุภาพอ่อนโยนต่อผู้คน และหากเจ้าเป็นผู้ที่มีความแข็งกร้าวและมีหัวใจแข็งกระด้างแล้ว พวกเขาย่อมแยกย้ายหนีไปจากเจ้า” (อัลกุรอาน 3:159)

แบบอย่างความอ่อนน้อม ถ่อมตน

ศาสน ทูตมุหัมมัด (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) เคยสั่งห้ามผู้คนจากการยืนขึ้นเพื่อแสดงความเคารพต่อท่าน และท่านจะนั่งตรงที่ใดก็ตามที่มีที่ว่างในหมู่ผู้คนและท่านก็ไม่เคยขอที่ นั่งที่ดีกว่าหรือเหนือกว่า ท่านไม่เคยสวมใส่สิ่งใดที่ทำให้ท่านดูแตกต่างจากบรรดาสหายของท่านหรือทำให้ ตัวของท่านดูโดดเด่นกว่าพวกเขา ท่านเคยอยู่ร่วมปะปนกับบรรดาคนยากจนขัดสน ท่านเคยนั่งร่วมกับคนชราและให้ความช่วยเหลือบรรดาหญิงม่าย ดังนั้นคนที่ไม่รู้จักท่านก็จะไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างตัวท่านกับ ฝูงชนได้

ท่านเคยกล่าวต่อบรรดาสหายของท่านว่า “อัลลอฮฺ ทรงเปิดเผยแก่ฉันว่า ท่านจำต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตน พวกท่านไม่ควรกล่าวโอ้อวดตัวของพวกท่านเหนือผู้อื่น และพวกท่านไม่ควรกดขี่ข่มเหงผู้อื่น”

ดังเช่น “ความอ่อนน้อมถ่อมตนของศาสนทูตมุหัมมัด” ที่ท่านเกรงกลัวว่าท่านจะกลายเป็นที่เคารพสักการะของผู้คน เพราะแท้จริงอภิสิทธิ์ทั้งมวลนั้นเป็นของอัลลอฮฺแต่เพียงพระองค์เดียว ศาสนทูตมุหัมมัดจึงกล่าวไว้ว่า “จงอย่ากระทำเกินขอบเขตในการกล่าว สรรเสริญฉัน เช่นเดียวกับที่ชาวคริสเตียนทำการสรรเสริญจีซัส (อีซา) บุตรของมารีย์ (มัรยัม) แท้จริงฉันเป็นเพียงบ่าวของพระผู้เป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) ดังนั้นจงเรียกฉันว่าเป็น “บ่าวของอัลลอฮฺ และศาสนทูตของพระองค์”

“และปวงบ่าวแห่งพระผู้ทรงเมตตา กรุณายิ่ง (อัลลอฮฺ) คือบรรดาผู้ที่เดินอยู่บนผืนแผ่นดินด้วยความนอบน้อม และเมื่อบรรดาคนโง่เขลากล่าวทักทายพวกเขา พวกเขาจะกล่าว (ต่อคนเหล่านั้น) ว่า “สลาม” (สานติ)” (อัลกุรอาน 25:63)

แบบอย่างสามีในอุดมคติ

ภรรยาผู้เป็นที่รักของศาสนทูตมุหัมมัด “ท่านหญิงอาอิชะฮฺ” กล่าวเกี่ยวกับสามีผู้มีคุณธรรมของนางไว้ว่า “ท่าน คอยให้ความช่วยเหลืองานในบ้านอยู่เสมอ และท่านปะชุนเสื้อผ้า ซ่อมแซมรองเท้า และทำความสะอาดบ้านด้วยตัวของท่านเอง และท่านทำการรีดนม ดูแล ให้อาหารบรรดาสัตว์ของท่านและทำงานบ้านเองด้วย”

ศาสนทูตมุหัมมัดไม่ได้เป็นเพียงแค่ “สามีผู้อุทิศตน” หากแต่ท่านยังส่งเสริมสนับสนุนบรรดาสหายของท่านให้ปฏิบัติตามแบบอย่างของ ท่าน โดยที่ท่านกล่าวว่า “ผู้ที่ประเสริฐที่สุดในบรรดาผู้ศรัทธาคือผู้ ที่มีคุณธรรมที่ดีงามยิ่ง และผู้ที่ดีที่สุดในหมู่พวกเขาคือบรรดาผู้ที่ปฏิบัติต่อภรรยาของเขาอย่างดียิ่ง”

“และจงอยู่ร่วมกับพวกนาง (ภรรยา) ด้วยความเมตตา” (อัลกุรอาน 4:19)

แบบอย่างมุสลิมในอุดมคติ

สิ่งที่โดดเด่นคือ การดำเนินชีวิตของศาสนทูตมุหัมมัด แบบอย่างของความดีงามและความเมตตาของท่านที่ถูกกล่าวไว้ข้างต้น อาจสร้างความประหลาดใจต่อกลุ่มคนบางกลุ่มที่เคยได้รับข้อมูลที่ผิดเกี่ยวกับ อิสลามจากสื่อหรือการนำเสนอต่างๆ

มันจึงเป็นความสำคัญอย่าง ยิ่งเมื่อใครคนหนึ่งที่ต้องการมีความเข้าใจใน “ศาสนาอิสลาม” เขาควรที่จะศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งของมันโดยตรงนั่นคือ “อัลกุรอาน” และ “ถ้อยคำ การปฏิบัติของศาสนทูต มุหัมมัด (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน)” และไม่ควรที่จะตัดสิน “อิสลาม” จากการกระทำที่ไม่ดีของผู้ที่เรียกตัวเองว่ามุสลิมเพียงไม่กี่คน

“แท้จริง เจ้า (มุหัมมัด) คือแบบอย่างที่ดีงาม” (อัลกุรอาน 68:4)

อัลลอฮุมมะศ็อลลิอะลาซัยยิดินามุหัมมัด วะอะลาอาลีซัยยิดินามุหัมมัด

ใครคือ มุหัมมัด ?

ใครคือ มุหัมมัด ?

ใครคือ มุหัมมัด ?

ใครคือ มุหัมมัด ?

ใครคือ มุหัมมัด ?

ใครคือ มุหัมมัด ?

ใครคือ มุหัมมัด ?

ใครคือ มุหัมมัด ?

ใครคือ มุหัมมัด ?

ใครคือ มุหัมมัด ?

ที่มา: นานา มุสลิม 

https://islamhouse.muslimthaipost.com

อัพเดทล่าสุด