มหัศจรรย์ น้ำนมวัว ที่มาของน้ำนมในกุรอานเเละวิทยาศาสตร์


7,974 ผู้ชม


มหัศจรรย์ น้ำนมวัว ที่มาของน้ำนมในกุรอานเเละวิทยาศาสตร์

มหัศจรรย์ น้ำนมวัว ที่มาของน้ำนมในกุรอานเเละวิทยาศาสตร์
อัลลอฮทรงตรัสในกุรอาน

อัน-นะฮฺลุ : النحل :66
وَإِنَّ لَكُمْ فِي الأَنْعَامِ لَعِبْرَةً نُّسْقِيكُم مِّمَّا فِي بُطُونِهِ مِن بَيْنِ فَرْثٍ وَدَمٍ لَّبَنًا خَالِصًا سَآئِغًا لِلشَّارِبِينَ
และแท้จริงในปศุสัตว์ ย่อมมีบทเรียนอย่างแน่นอนแก่พวกเจ้า เราให้พวกเจ้าดื่มจากสิ่งที่อยู่ในท้องของมัน จากระหว่างมูลและเลือดเป็นน้ำนมบริสุทธิ์ เป็นที่โอชาแก่ผู้ดื่ม
อัล-มุอฺมินูน :21 المؤمنون :21
وَإِنَّ لَكُمْ فِي الْأَنْعَامِ لَعِبْرَةً نُّسقِيكُم مِّمَّا فِي بُطُونِهَا وَلَكُمْ فِيهَا مَنَافِعُ كَثِيرَةٌ وَمِنْهَا تَأْكُلُونَ
และแท้จริงในเรื่องปศุสัตว์ (อูฐ วัว แพะ แกะ) นั้นเป็นบทเรียนสำหรับพวกเจ้า เราให้พวกเจ้าดื่ม สิ่งที่อยู่ในท้องของมัน (น้ำนม) และในตัวมันมีประโยชน์มากมาย สำหรับพวกเจ้าและบางชนิดพวกเจ้าก็บริโภคมัน
มาดู วิทยาศาสตร์ในกระบวนการผลิตน้ำนม วัว 
ระบบฮอร์โมน ต่อมไร้ท่อ
ระบบฮอร์โมน (Hormonal system)

ฮอร์โมนหลายชนิดจากต่อมใต้สมอง (Pituitary Gland) จากรังไข่ (Overy) จากมดลูก (Placenta) และจากต่อมธัยรอยด์ (Thyroid Gland) มีส่วนในการทำให้เต้านมเจริญเติบโตและสร้างน้ำนม จำนวนน้ำนมโคที่สร้างขึ้นก็ขึ้นอยู่กับฮอร์โมนที่เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยว่าจะมีอยู่มากน้อยเพียงใด (Holmes and Wilson, 1984) แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะฮอร์โมนที่มีความสำคัญโดยตรง ดังนี้
1) ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน (Oestrogen and Progesterone)
ฮอร์โมนสองชนิดนี้มีอยู่มากในตัวของแม่โคที่กำลังอุ้มท้อง คือสร้างจากรกที่ห่อหุ้มตัวอ่อน..!!. มีหน้าที่กระตุ้นเร้าให้เต้านมเจริญเติบโตและขณะเดียวกันก็เป็นตัวยับยั้งการสร้างน้ำนมด้วย ฮอร์โมนสองชนิดนี้จะลดจำนวนลงเป็นอันมากเมื่อโคคลอดลูก(Holmes and Wilson, 1984)
2) ฮอร์โมนออกซี่โทซิน (Oxytocin)

เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) และส่งออกทางต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior Pituitary Gland) เข้าสู่กระแสเลือด สงสัยว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างน้ำนมด้วยโดยเป็นตัวกระตุ้นการปล่อยฮอร์โมนProlactin จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior Pituitary Gland) อีกทีหนึ่ง แม่โคที่ขาดฮอร์โมนนี้หรือมีไม่เพียงพอจะไม่ปล่อยนมจากเต้า มีผลทำให้นมลดลงและหยุดการให้นมเร็วขึ้นกว่าปกติ ซึ่งเห็นได้ชัดจากแม่โคที่ต้องใช้ลูกกระตุ้นก่อนรีดนม ถ้าไม่ให้ลูกมากระตุ้นมักจะหยุดให้นมเร็ว อาจเป็นเพราะขาดฮอร์โมน Oxytocin ที่เป็นตัวกระตุ้นการสร้างน้ำนม (Holmes and Wilson, 1984)

3) ฮอร์โมนโปรแลกติน (Prolactin)

เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior Pituitary Gland) ทำหน้าที่ควบคุมการสร้างน้ำนมโดยตรง ฮอร์โมนนี้จะไปกระตุ้นให้น้ำย่อยในเซลล์ของAlveoli ทำการเปลี่ยนวัตถุดิบธาตุอาหาร(Precursors) ที่ได้จากเลือด มาสังเคราะห์ขึ้นใหม่เป็นส่วนประกอบของน้ำนม ถ้าแม่โคสามารถสร้างฮอร์โมนนี้ได้อย่างสม่ำเสมอ อัตราการสร้างน้ำนมก็จะมากและสม่ำเสมอ แต่ถ้าขาดการสร้างน้ำนมก็จะหยุดตามไปด้วย (Holmes and Wilson, 1984)

4) ฮอร์โมนธัยรอกซีน (Thyroxin)

เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมธัยรอยด์ (Thyroid) ทำหน้าที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงของอาหารในร่างกายและการสร้างน้ำนมด้วย ถ้าหากแม่โคสร้างฮอร์โมนนี้ออกมาน้อย การสร้างนมก็จะน้อยลงด้วย โคบางตัวอาจให้นมเพิ่มขึ้นได้โดยการให้ฮอร์โมน Thyroxin ที่สังเคราะห์ขึ้นมาเพิ่มเติมในอาหาร (Holmes and Wilson, 1984)


5) ฮอร์โมนอีพิเนฟริน (Epinephrine)

เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมแอดรินัล (Adrenal) มีผลในการยับยั้งการปล่อยนมของแม่โค ในขณะที่แม่โคเกิดอาการไม่พอใจ, ตกใจ, เจ็บปวด หรือ ตื่นเต้น ซึ่งฮอร์โมนนี้จะถูกส่งเข้ากระแสเลือดและทำให้เกิดการตีบตันของเส้นเลือดทำให้การเดินทางของฮอร์โมน Oxytocin ที่ถูกส่งไปยังเต้านมหยุดชงักและจะทำให้แม่โคหยุดการปล่อยนมทันที จึงต้องระมัดระวังให้มากที่สุดในเรื่องนี้ขณะที่รีดนม


ระบบต่อมไร้ท่อ

ระบบต่อมไร้ท่อ (endocrine system) ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ สร้างและหลั่งพวกฮอร์โมน (Hormones) แล้วส่งออกนอกตัวเซลล์โดยผ่านทางกระแสเลือด หรือน้ำเหลืองไปยังเป้าหมาย คือ อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ต่อมไร้ท่อบางชนิดสร้างฮอร์โมน ออกมาร่วมทำงาน หรือถูกควบคุมการหลั่งโดยระบบประสาท เรียกว่า neuroendocrine system เช่น ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) เป็นต้น
จากส่วนหนึ่งของบทความในกระบวนการผลิตน้ำนมของวัว เเละนี่คือ สิ่งยืนยันเเน่นอนว่ากุรอานมาจากผู้สร้างทุกสรรพสิ่ง..ไม่ใช่สิ่งที่มูฮัมหมัดจินตนาการขึ้น เพราะท่านนบีไม่ใช่เเพทย์หรือนักวิทยาศาสตร์
เเต่ท่านคือ ศานทูตของพระเจ้า
" และแท้จริงในปศุสัตว์ ย่อมมีบทเรียนอย่างแน่นอนแก่พวกเจ้า เราให้พวกเจ้าดื่มจากสิ่งที่อยู่ในท้องของมัน จากระหว่างมูลและเลือดเป็นน้ำนมบริสุทธิ์ เป็นที่โอชาแก่ผู้ดื่ม"
อัน-นะฮฺลุ : 66

สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์
ที่มา: อิศรา โต๊ะการิม

อัพเดทล่าสุด