คุณค่าการให้อาหารละศีลอดแก่ผู้อื่น


10,771 ผู้ชม

คุณค่าการให้อาหารละศีลอดแก่ผู้อื่น


ศีลอด หรือ ศิยาม ในภาษาอาหรับ หมายถึง การอดอาหารและเครื่องดื่ม และการเสพกาม ตั้งแต่ยามรุ่งอรุณ จนกระทั่งถึงเวลาหลังตะวันตกดิน มุสลิมในภาคใต้ของไทยเรียกการถือศีลอดว่า ปอซอ (ภาษามลายูปัตตานี)

คุณค่าการให้อาหารละศีลอดแก่ผู้อื่น

มุสลิมที่ต้องถือศีลอด เดือนรอมฎอน

1. บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ หรือที่เรียกว่า บรรลุศาสนภาวะ ด้วยเหตุนี้ ศีลอดจึงไม่เป็นข้อบังคับสำหรับเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ (เด็กต้องมีอายุ 15 ปีจันทรคติบริบูรณ์หรือมีสัญลักษณ์อื่น ๆ เช่นฝันเปียกหรือมีประจำเดือน)

2. มีสติสัมปชัญญะครบบริบูรณ์ ศีลอดจึงไม่เป็นข้อบังคับสำหรับคนที่วิกลจริต แม้ว่าอาการวิกลจริตจะเกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่งในเวลากลางวันก็ตาม
ไม่เมาหรือหมดสติ

3. ไม่เจ็บป่วย เพราะการถือศีลอดอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพกรณีที่ไม่สบาย

4. ไม่มีประจำเดือนหรือมีเลือดหลังจากการคลอดบุตร

คุณค่าการให้อาหารละศีลอดแก่ผู้อื่น

“จาก ซัลมานกล่าวว่า : ท่านรอซูล (ศ็อล) ได้คุตบะห์แก่พวกเราในวันสุดท้ายของเดือนชะอ์บาน ท่านกล่าวว่า :

โอ้มนุษย์ทั้งหลาย แท้จริงได้เยือนมาถึงพวกเจ้าซึ่งเดือนที่ยิ่งใหญ่ เดือนแห่งความบะเราะกะห์ เดือนที่มีค่ำคืนอัลเกาะดัรซึ่งมีความประเสริฐกว่าหนึ่งพันเดือน พระองค์อัลลอฮทรงบัญญัติการถือศีลอดเป็นฟัดูและการกิยาม (ละหมาดในค่ำคืน) เป็นสุนัต ผู้ใดที่อยู่เคียงข้างอัลลอฮฺด้วยความดีงามแล้ว เขาจะได้รับผลบุญเหมือนผู้ที่กระทำอะมัลฟัรดูในเดือนอื่น ๆ และผู้ใดที่กระทำอะมั๊ลฟัรดู เขาจะได้รับความประเสริฐเหมือนผู้ที่กระทำอะมัล ฟัรดูจำนวนเจ็ดสิบอย่างในเดือนอื่น และเดือนรอมฎอนเป็นเดือน (ผู้ที่ถือศีลอดมีความอดทน มีความเห็นอกเห็นใจ เป็นเดือนแห่งการเพิ่มพูนริซกีย์สำหรับผู้ศรัทธาผู้ใดที่ให้อาหารสำหรับละศีลอดแก่ผู้ที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน แท้จริงเขาจะได้รับการอภัยโทษ คอของเขาจะปลอดภัยจากไฟนรก และเขาจะได้รับผลบุญเหมือนอย่างคนที่ถือศีลอดไม่ลดแม้แต่น้อย

บรรดาเศาะฮาบะห์จึงถามว่า : พวกเราทุกคน ไม่ส่งของที่จะให้ละศีลอดแก่ผู้ที่ถือศีลอด ท่านรอซูลจึงตอบว่า อัลลอฮทรงให้ผลบุญ (อันยิ่งใหญ่) นี้ให้แก่ผู้ที่ให้ละศีลอดแก่ผู้ที่ถือศีลอด แม้จะเป็นลูกอินทผลัมเพียงเม็ดเดียวก็ตาม หรือน้ำเพียงอึกเดียว หรือนมที่ผสมน้ำหนึ่งแก้ว และรอมฎอนยังเป็นเดือนที่ในช่วงต้นเป็นเราะห์มัต ในช่วนกลางเป็นการอภัยโทษ และช่วงท้านเป็นการหลุดพ้นจากไฟนรก” 

(รายงานโดยอัตติรมีซีย์ 807 กล่าวว่าเป็นหะดีษหะสันเศาะหีห์)

ความหมาย : จากซัยด์ บิน คอลิด อัลญุห์นีย์ เล่าว่า ท่านรอซูล (ศ็อลฯ) กล่าวว่า ผู้ใดที่ให้อาหารละศีลอดแก่ผู้ที่ถือศีลอดแล้ว แท้จริงเขาจะได้รับผลบุญเสมือนกับผู้ที่ถือศีลอด โดยไม่ได้ลดแม้แต่น้อย”

บทเรียนที่ได้จากหะดีษ

1. ความประเสริฐของเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนที่มีเกียรติสูงส่งและมีความบะเราะกะห์

2. ความยิ่งใหญ่ของเดือนรอมฎอนนั้น อันเนื่องจากมีสาเหตุที่สำคัญคือ ในเดือนนี้จะมีค่ำคืนอัลเกาะดัร ซึ่งมีความประเสริฐกว่าหนึ่งพันเดือน และยังเป็นเดือนที่บัญญัติให้มุสลิมทุกคนถือศีลอด อันเป็นหนึ่งในห้าของรุก่นอิสลาม นอกจากนั้นแล้วยังส่งเสริมให้มีการกิยาม (ละหมาดตะรอวีห์) ซึ่งการละหมาดนี้จะไม่มีในเดือนอื่นๆ ยกเว้นในเดือนรอมฎอนเท่านั้น

3. การประกอบความดีงามในเดือนรอมฎอน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เป็นฟัรดูหรือที่เป็นสุนัต ก็จะได้รับผลบุญที่เท่าทวีคูณ

4. การประกอบอิบาดะห์ถือศีลอดจะเป็นการหล่อหลอมจิตใจให้มีความอดทน และผลของการอดทนเขาจะได้รับการตอบแทนจากอัลลอฮด้วยสวรรค์

5. นอกจากนั้นแล้ว การถือศีลอดยังสามารถทำให้จิตใจมีความเห็นอกเห็นใจ และมีความรักใคร่ซึ่งกันและกันในหมู่ชาวมุสลิมด้วยกัน

6. ในเดือนรอมฎอนอัลลอฮจะทรงเพิ่มพูนริซกีย์แก่ผู้ศรัทธา ด้วยเหตุนี้เขาจึงสามารถที่จะมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่พี่น้องของเขาได้

7. ความประเสริฐของผู้ที่ที่ให้ละศีลอดแก่ผู้ถือศีลอด เขาจะได้รับผลบุญอย่างเต็มเปี่ยม เหมือนคนที่ถือศีลอด โดยไม่ได้ลดแม้แต่น้อย

8. ส่งเสริมให้มีการยอกย่องสรรเสริญแก่ผู้ที่ถือศีลอด ไม่ว่าเขาจะเป็นคนที่ร่ำรวยหรือยากจน

9. นอกจากพระองค์จะให้ผลบุญแล้ว บาปต่างๆ ก็จะได้รับการอภัยโทษ และเขาตจะถูกปลดปล่อยจากความทรมานของไฟนรกอีกด้วย

10. อาหารหรือเครื่องดื่มที่จัดเตรียมให้แก่ผู้ที่ถือศีลอดนั้น จะ ต้องมาจากทรัพย์สินที่หะลาล

11. ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่นั้นเป็นลักษณะของผู้ที่เป็นมุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนรอมฎอน

12. สังคมอิสลามเป็นสังคมที่มีความรักใคร่ปรองดองกัน มีการเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและ

วัลลอฮุ อะอ์ลัม

ผู้เขียน :อาหมัด ฮูเซน อัลฟารีตีย์

ผู้แปล : ฮาเรส เจ๊ะโด

ผู้ตรวจทาน : ซุฟอัม อุษมาน

อัพเดทล่าสุด