ประวัติ ท่านนบีอิดรีส (อีโนค) ที่อัลกุรอานกล่าวถึง


116,988 ผู้ชม


ประวัติ ท่านนบีอิดรีส (อีโนค) ที่อัลกุรอานกล่าวถึง

นบีอิดรีส ศาสนทูตต่อจากอาดัมที่อัลกุรอานกล่าวถึง

กาลเวลานับจากลูกของท่านนบีอาดัมมากี่ชั่วคนไม่แน่ชัดอัลกุรอานมิได้กล่าวแต่รุ่นชั่วคนแต่ละคนมีอายุเท่าใดก็ไม่ได้ระบุไว้ มีอยู่เพียงอยู่เพียงบทเดียวที่กล่าวถึงท่านศาสดาที่อยู่ในช่วงเวลาต่อมา ซึ่งกล่าวถึงท่านศาสนทูตท่านนี้เพียงสามโองการที่อยู่ในหลายๆโองการของบทนี้คือ บทที่ 19 โองการที่ 56-58ดังนี้

"และจงรำลึกถึงอิดรีส ( เอโนคหรือ คุนูคหรือฮะโนคหรือ อัคนุค) ในคัมภีร์นี้(อัลกุรอาน) แท้จริง "เขา"(อิดรีส) เป็นผู้ซื่อสัตย์และเป็นศาสนทูต"

"และเราได้ยกย่องเขาไว้ในตำแหน่งที่สูงส่ง"

"ชนเหล่านั้นคือบรรดาผู้ที่อัลเลาะฮ์ทรงโปรดปราน เขาเป็นศาสนทูตที่มีเชื้อสายมาจากอาดัม" (อัลกุรอาน 19/56-58)

มีเพียงเรื่องราวสั้นๆเท่านี้ สำหรับท่านนบีอิรีส ที่อัลเลาะฮ์ทรงกล่าวถึงท่านในอัลกุรอาน(เท่าที่ฉันค้นพบ) นอกนั้นเรื่องราวบางส่วนที่เรารู้ก็มาจาก ฮะดีษ(วจนะและคำบอกเล่าจากท่านนบีมูฮัมหมัด ซ.ล.) บางส่วนก็มาจากนิยายโบราณ บางส่วนก็มาจากเรื่องเล่าที่มีอิทธิพลมาจากหลากหลายกลุ่มชนซึ่งนักวิชาการอิสลามมุ่งที่จแยกเรื่องเหล่านี้ออก เพื่อให้อัลกุรอานอธิบายตัวเองโดยไม่ปะปนกัน

อิทธิพลเรื่องราวจากภายนอกที่เข้ามาเกี่ยวกับอิสลาม

"อิสรออีลออียาต" หมายถึง พงศาวดาร หรือตำนาน และหลักการเชื่อมั่นที่ไม่ใช่ของอิสลาม เป็นสิ่งที่แฝงเข้ามาสู่อิสลามโดย พวกยะฮูดี(ยิว) ที่เข้ามารับอิสลามด้วยความไม่ซื่อไม่บริสุทธิใจ บางคนก็ไม่หวังดีต้องการบ่อนทำลายอิสลาม แต่บางคนก็อาจเป็นอิสลามด้วยใจบริสุทธิ์ แต่ก็ยังมีพวศาวดารอันเป็นนิยายที่เขาเคยเชื่อถือมาติดค้างอยู่

"ท่านชัยค์ (เชค) มุสฏอฟา-มะรีฆี" กล่าวว่า "เรื่องเหล่านี้ เป็นเรื่องน่าสงสัย เพราะพิสูจน์หาข้อเท็จจริงได้ยาก เนื่องจากเป็นการเท้าความถึงเรื่องราวซึ่งเกิดขึ้นในสมัยที่ผ่านพ้นมาเป็นเวลานาน จนค้นคว้าหาคนที่จดจำอย่างแม่นยำไม่พบ กอปรกับไม่มีหลักฐานใดๆยืนยันอีกด้วย จึงน่าจะเป็นเรื่องที่เป็นจริงได้ด้วยเปอร์เซ็นพอๆกับเป็นเรื่องเหลวไหลขากการถูกเสกสรรขึ้น" (นบีในอัลกุรอาน โดย สมาน มาลีพัยธุ์ น. 14)

ความคิดเห็นขัดกันของประวัติศาสตร์โบราณเกี่ยวกับท่านนบีอิดรีส(ขอสันติจงมีแด่ท่าน)

"เรื่องราวที่เกี่ยวกับชีวประวัติของท่านนบีอิดรีส อ.ล. นี้ มีปรากฏความขัดแย้งในแง่ความคิดเห็นของนักโบราณคดีซึ่งรจนาไว้ในตำนานเก่าๆ อาทิ การเกิดการเติบโต และสถาบันการศึกษาของท่านก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นนบีของอัลเลาะฮ์ ซ.บ. กล่าวกันในทรรศนะหนึ่งว่า ท่านเกิดที่อียิปต์และมีนามที่ชาวอียิปต์สมัยนั้นเรียกและรู้จักกันว่า "ฮูรมุส" บ้างก็ว่าเกิดที่ มันฟู ชาวกรีกรู้จักท่านในนามของ "อัรมีส" และบ้างก็ว่าชาวกรีกนั่นแหละเรียกท่านว่า "ฏัรมัส"

อย่างไรก็ตามเราทราบกัหนว่า ชาว ฮิบรู เรียกนามท่านว่า "ฮะโนค" และชาวอาหรับยุคก่อนอิสลามรู้จักท่านในนาม "อัคนูค" จาทรรศนะความเข้าใจของกลุ่มหลังนี้ มีกระแสข่าวแจ้งถึงการศึกษาของท่านว่าได้รับการศึกษาจาก "ฆูซา ซีมูน"นั่นเอง

ท่านห้ามปรามประชาชาติของท่านมิให้ละเมิดพระบัญัติและคำสั่งสอนที่ท่านนบีอาดัม อ.ล. ได้เคยประกาศไว้ในยุคแรก แต่ชนเหล่านั้นส่วนใหญ่ไม่เชื่อฟังท่าน มีเพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้นที่น้อมรับศรัทธา ท่านจึงจำเป็นต้องปลีกกายไปให้พ้นจากสังคมคนบาปเหล่านั้น โดยยิยอมให้ผู้ภักดีต่อ อัลเลาะฮ์ ซึ่งมีจำนวนไม่มากนักติดตามไปด้วย แต่เนื่องจากการเดินทางเต็มไปด้วยความทุรกันดาร ทั้งหมู่ชนที่ติดตามท่านไปด้วยก็เคยชินกับความสุขสบายของสิ่งแวดล้อมในเมืองดั้งเดิม ซึ่งเกิดความหวั่นขึ้นว่า จะไม่พบชัยภูมิที่สมบูรณ์เยี่ยง บาบิโลน(หมายถึงเมืองที่แม่น้ำไหลผ่าน ซึ่งน่าจะหมายถึงแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรติส ในอิรัคปัจจุบัน)ซึ่งเป็นมาตุภูมิแห่งตน ถึงกับกล่าวกับท่านนบีอิดรีสว่า "เราจะพบสถานที่เช่นบาบิโลนได้อีกแห่งใด"

"หากการอพยพของเราเป็นไปในทางของอัลเลาะฮ์ พระองค์จะทรงประทานสถานที่แห่งใหม่ที่ดีกว่าแก่เรา " ท่านตอบ

การเดินเท้าเป็นไปอย่างไม่รีบร้อนนัก ในที่สุดก็ได้พบดินแดนที่อุดมสมบูรณ์แห่งไหม่ ซึ่งเรียกว่า "บาบิยูน" เป็นที่ราบใกล้แม่น้ำ นีลน์ (ไนล์).....

อนึ่งคำว่า "บาบิยูน"นี้ ได้มีความเห็นขัดแย้งกันในหลายทรรศนะในหมู่นักประวัติศาสตร์และโบราณคดี บ้างก็กล่าวว่าหมายถึงแม่น้ำทั่วๆไป บ้างก็ว่าเป็นแม่น้ำที่เหมือนกับแม่น้ำที่ประชากรของอิดรีสเคยรู้จักมาก่อน บ้างก็ว่าเป็นแม่น้ำแห่งศิริมงคลและบ้างก็ว่าเป็นแม่น้ำอันยิ่งใหญ่ สำหรับแคว้นบาบิยูนนี้ เป็นที่เรียกขานกันมาหลายยุคหลายสมัยแล้ว จนกระทั่งถึงยุคอาหรับ จึงได้เรียกดินแดนแห่งนี้ว่า "มิศร์" หรือ "อียิปต์"

หลังจากอพยพจากบาบิโลนแล้ว ท่านได้สั่งสอนสาวกของท่านอยู่ในอียิปต์ ให้ทุกคนมีความยึดมั่นภักดีต่ออัลเลาะฮ์ ซ.บ. องค์เดียว ได้มีกระแสข่าวกว่างว่าประชาชาติของท่าน มีหลายเผ่าพันธุ์ด้วยกันและใช้ภาษาแตกต่างกันมากถึง 70 กว่าภาษา ดังนั้นอัลเลาะฮ์จึงประทานความเมตตาแก่ท่านให้รู้และพูดทุกภาษา เพื่องานเผยแผ่ของท่าน" (นบีในอัลกุรอาน เล่มสอง โดยสมานมาลีพันธุ์ น. 16-19)

"พงศาวดารโบราณของอัยคุปต์ หรืออียิปต์ บันทึกว่า ท่านนบีอิดรีส( ขอสันติจงมีแด่ท่าน) เป็นมนุษย์คนแรกที่รู้จักการขีดเขียนด้วยปากกา และรู้จักการเย็บปักถักร้อยเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มใช้ ซึ่งมนุษย์ยุคก่อนหน้านี้ยังไม่เคยรู้จัก เพียงแต่นุ่งห่มด้วยหนังสัตว์ และท่านอีกเหมือนกันที่เป็นคนแรกที่เรียนรู้วิชาคำนวณตลอดจนดาราศาสตร์" (นบีในอัลกุรอานเล่ม2 โดยสมานมาลีพันธุ์ น.13)

ที่มา: www.oknation.net
islamhouse.muslimthaipost.com

อัพเดทล่าสุด