ประวัติท่านนบีฮูด พร้อมเป้าหมายการตั้งชื่อซูเราะห์ ฮูด


14,250 ผู้ชม

ประวัติท่านนบีฮูด พร้อมเป้าหมายการตั้งชื่อซูเราะห์ ฮูด ประวัติศาสตร์อิสลามที่เรียนรู้...


ประวัติท่านนบีฮูด พร้อมเป้าหมายการตั้งชื่อซูเราะห์ ฮูด

กลุ่มชนของนบีฮูด (อ.) มีชื่อว่า ชาวอ๊าด พวกเขาอาศัยอยู่ในเมืองที่มีชื่อว่า อิรอม  ผู้คนในสมัยท่านนบีฮูด (อ.)สักการะเทวรูปกัน พวกเขาสร้างเทวรูปขึ้นมาเองและพวกเขายังเชื่อว่าเทวรูปเหล่านั้นจะทำให้พวกเขาได้ดี พร้อมกับปกป้องพวกเขาจากมารร้าย และให้สิ่งต่างๆตามที่ขอได้

ท่านนบีฮูด (อ.)ถูกบัญชาใช้จากอัลลอฮ์ให้มากล่าวเตือนกลุ่มชนของท่านให้หันกลับไปกราบไหว้พระเจ้าองค์เดียวคืออัลลอฮ์ (ซ.บ.)และกล่าวกับพวกเขาอีกว่าอัลลอฮ์เท่านั้นเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งทั้งหลายและพระองค์เท่านั้นที่ทำให้พวกเขาได้ดีและปกป้องพวกเขาจากมารร้ายได้

ประวัติท่านนบีฮูด พร้อมเป้าหมายการตั้งชื่อซูเราะห์ ฮูด

บรรดาชาวเผ่าอ๊าดปฏิเสธคำเรียกร้องของท่านนบีฮูด (อ.)พร้อมกับกล่าวว่า : เจ้าเป็นพวกโง่เขลาเบาปัญญา และเจ้าก็เป็นจอมโกหก พวกเราไม่เชื่อว่าเจ้าคือศาสนทูตของพระเจ้า

ท่านนบีฮูด (อ.)กล่าวกับพวกเขาว่า :  เราไม่ได้โกหก เราคือศาสนทูตของอัลลอฮ์จริง ๆ  พระองค์ทรงบัญชาให้ข้ามาเรียกร้องให้พวกท่านเคารพภักดีอัลลอฮ์ (ซ.บ.)และให้ข้าสั่งสอนพวกท่านด้วย หากพวกท่านทำตามคำสั่งของอัลลอฮ์ (ซ.บ.)พวกท่านจะได้พบกับความสำเร็จ

ชาวเผ่าอ๊าดไม่ยอมรับคำสั่งสอนของท่านนบีฮูด (อ.)โดยเฉพาะบรรดาหัวหน้าเผ่า เนื่องจากคำสั่งสอนของนบีฮูด (อ.)จะทำให้ผลประโยชน์ที่จะได้รับสูญเสียไป พวกเขากล่าวกับนบีฮูด (อ.)ว่า : เจ้าไม่เห็นนำหลักฐานหรือสัญลักษณ์ใด ๆ มาพิสูจน์ให้พวกเราได้เห็นถึงความสัจจริงของคำพูดของเจ้าเลย ดังนั้นเราจะไม่ยอมเลิกเคารพบูชาเทวรูปของเราอย่างเด็ดขาด และเราจะกล่าวขอให้บรรดาเทวรูปเหล่านี้มาทำร้ายเจ้า

นบีฮูด (อ.)กล่าวกับพวกเขาว่า : สิ่งที่ข้านำมาบอกกับพวกเจ้าเป็นเรื่องจริงทั้งหมด แต่ถ้าหากพวกเจ้ามีความสัจจริง หรือบรรดารูปปั้นที่พวกเจ้าสักการะมีความสามารถจริง ก็จงบอกให้บรรดารูปปั้นเหล่านั้นมาทำร้ายข้าเถิดเพราะข้าไม่ได้เกรงกลัวรูปปั้นเหล่านั้นเลยแม้แต่น้อย และข้าก็เชื่อว่าอัลลอฮ์จะทรงคุ้มครองและปกป้องภัยให้กับข้า

พวกเขาไม่สามารถทำอะไรนบีฮูด (อ.)ได้ แต่พวกเขาก็ยังไม่ยอมเชื่อฟังคำสั่งสอนของนบีฮูด (อ.) พร้อมทั้งยังกลั่นแกล้งนบีฮูด (อ.) ต่าง ๆ นานา แต่นบีฮูด (อ.)ก็ยังอดทนสั่งสอนพวกเขาต่อไป แต่เมื่อท่านนบีเห็นว่าท่านไม่สามารถที่จะชักจูงพวกปฏิเสธเหล่านั้นเข้ามาเคารพภักดีกับอัลลอฮ์ได้จึงขอดุอาต่ออัลลอฮ์ให้พระองค์ทรงช่วยเหลือ อัลลอฮ์ได้มีคำสั่งให้นบีฮูด (อ.)ไปกล่าวตักเตือนเป็นครั้งสุดท้าย โดยกล่าวว่า  :อัลลอฮ์ทรงสั่งใช้ให้ข้ามาตักเตือนพวกเจ้าเป็นครั้งสุดท้ายให้พวกเจ้าทั้งหลาย ออกห่างจากการเคารพภักดีเทวรูปและหันมากราบไหว้อัลลอฮ์เพียงองค์เดียวเท่านั้น หากยังไม่เชื่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.)จะทรงลงโทษพวกเจ้าอย่างแน่นอน

ชาวเผ่าอ๊าดกล่าวกับนบีฮูด (อ.)ว่า : พวกเราไม่เชื่อคำพูดของเจ้าหรอก เจ้าจะให้พวกเราหยุดเคารพบูชารูปปั้นได้อย่างไร ในเมื่อสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราทำกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษของเรา ถ้าหากเจ้าพูดจริงก็ให้พระเจ้าของเจ้าลงโทษพวกเราเถิด

เมื่อนบีฮูด (อ.)เห็นว่าพวกเขาไม่ยอมรับคำสั่งสอนของท่านอย่างแน่นอนจึงกล่าวกับพวกเขาว่า : ดังนั้นพวกเจ้าก็จงรอรับการลงโทษจากอัลลอฮ์เถิด

ประวัติท่านนบีฮูด พร้อมเป้าหมายการตั้งชื่อซูเราะห์ ฮูด

หลังจากนั้นต่อมาเกิดภัยแล้งอย่างหนักในเผ่าอ๊าด ฝนไม่ตกเลยเป็นเวลา 3 ปีนบีฮูด (อ.)ออกมาเรียกร้องชาวเผ่าอ๊าดอีกครั้งโดยกล่าวว่า : การลงโทษของอัลลอฮ์กำลังใกล้เข้ามาแล้ว หันกลับมาสู่อัลลอฮ์เถิด และขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์ในความผิดบาปที่พวกเจ้าได้กระทำเอาไว้ อัลลอฮ์คือผู้ทรงเมตตา และเป็นผู้ทรงให้อภัย  ถ้าหากพวกเจ้าขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.)พระองค์จะทรงทำให้ฝนตกลงมาอีกครั้ง และจะทำให้ผลผลิตของพวกเจ้ากลับมาได้ผลดีอีกครั้ง

แต่ชาวเผ่าอ๊าดยังปฏิเสธคำเรียกร้องของนบีฮูด (อ.)เหมือนเดิม และยังเชื่อว่าบรรดาเทวรูปที่พวกเขาบูชาจะเป็นผู้ช่วยเหลือพวกเขาเอง แต่ทว่าในหมู่ผู้ปฏิเสธมีบางคนเชื่อในคำเรียกร้องของนบีฮูด (อ.)ด้วย พวกเขาเหล่านั้นมาหานบีฮูด (อ.)และได้ขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.)

ต่อมาอัลลอฮ์ทรงสั่งใช้ให้นบีฮูด (อ.)และบรรดาผู้ศรัทธาอพยพออกจากเมืองอิรอม และให้หนีห่างจากชาวเผ่าอ๊าดโดยอัลลอฮ์จะทรงลงโทษผู้ปฏิเสธ

เมื่อนบีฮูด (อ.)และบรรดาผู้ศรัทธาได้อพยพออกจากเมืองอิรอมและชาวเผ่าอ๊าดแล้ว อัลลอฮ์ได้ส่งลมพายุที่รุนแรงที่สุดมาในพื้นแผ่นดินเมืองอิรอม ลมพายุที่รุนแรงได้พัดพาบ้านเรือน พร้อมทั้งเรือนร่างของพวกเขาปลิวว่อนไปในท้องฟ้า และตกลงฟาดกับพื้นดินจนเสียชีวิตทั้งหมด

ประวัติท่านนบีฮูด พร้อมเป้าหมายการตั้งชื่อซูเราะห์ ฮูด

หลังจากนั้นเรื่องราวของนบีฮูดและกลุ่มชนของท่านก็ตามมา ซึ่งการตั้งชื่อสูเราะฮฺนี้ด้วยชื่อของท่าน เพื่อให้เรื่องราวความทุ่มเทในการทำงานดะอฺวะฮฺเชิญชวนสู่อัลลอฮฺของท่านนั้นได้เป็นที่ประจักษ์และคงอยู่ตลอดไป
 

กล่าวคือ กลุ่มชนของท่านนบีฮูดนั้นคือพวกที่มีความจองหอง หยิ่งยโส และหลุ่มหลงในความแข็งแกร่งของพวกเขา กระทั่งพวกเขากล่าวว่า จะมีผู้ใดที่มีความแข็งแกร่งยิ่งกว่าพวกเราอีกบ้างไหม ? โดยท่านนบีฮูดก็ได้เผชิญหน้ากับพวกเขาด้วยตัวคนเดียว ท่ามกลางกลุ่มชนอ๊าดที่มีความจองหองและมีความแข็งกร้าวยิ่งนัก ซึ่งท่านนบีฮูดได้ประณามพฤติกรรมของพวกเขาและตำหนิรูปเคารพของพวกเขา และปลุกเร้าให้พวกเขาโต้แย้งท่าน และนี่เองถือเป็นหนึ่งในสัญญาณที่ยิ่งใหญ่ที่คนเพียงคนเดียว ได้เผชิญหน้าด้วยคำพูดเยี่ยงนี้ต่อกลุ่มชนที่มีความกระหายที่จะหลั่งเลือดของท่าน แต่เนื่องจากความเชื่อมั่นของท่านที่มีต่อพระผู้อภิบาลของท่าน 
 

ทำให้ท่านนบีฮูดได้กล่าวแก่พวกเขาด้วยคำพูดที่ครอบคลุมเพียงอายะฮฺเดียว ซึ่งไม่เคยมีนบีหรือเราะสูลท่านใดเคยกล่าวแก่ชนของพวกท่านมาก่อนเลย มันเป็นคำพูดที่หมายรวมในทุกมิติของนัยทั้งสามประการที่ได้นำเสนอไปก่อนหน้านี้ 

“เรา(กลุ่มชนนบีฮูด)จะไม่กล่าวอย่างใด เว้นแต่กล่าวว่า พระเจ้าบางองค์ของเราได้นำความชั่วเข้าไปสิงในตัวท่าน

เขา (ฮูด) กล่าวว่า แท้จริงฉันให้อัลลอฮฺทรงเป็นพยาน แล้วพวกท่านก็จงเป็นพยานด้วยว่า แท้จริง ฉันขอปลีกตัวไม่ข้องเกี่ยวกับสิ่งที่พวกท่านตั้งภาคีอื่นจากพระองค์อัลลอฮฺ 

ดังนั้น พวกท่านทั้งหมดจงวางแผนทำร้ายฉันเถิด แล้วพวกท่านอย่าได้ให้ฉันต้องรอคอยเลย แท้จริงฉันมอบหมายต่ออัลลอฮฺ พระเจ้าของฉันและพระเจ้าของพวกท่าน ไม่มีสรรพสัตว์ ๆ เว้นแต่พระองค์ทรงควบคุมขมับมันไว้

แท้จริง พระเจ้าของฉันอยู่บนทางที่เที่ยงตรง ถ้าหากพวกท่านจะผินหลังให้แล้วไซร้ แน่นอน ฉันก็ได้แจ้งข่าวแก่พวกท่านแล้ว ตามหน้าที่ ที่ฉันได้ถูกส่งมา

และพระเจ้าของฉันจะทรงแต่งตั้งกลุ่มชนอื่นจากพวกท่านให้มาเป็นตัวแทนสืบทอด และพวกท่านจะไม่สามารถทำร้ายพระองค์ด้วยอันตรายใด ๆ เลย แท้จริงพระเจ้าของฉันเป็นผู้ทรงพิทักษ์ทุกสิ่ง”  
(สูเราะฮฺ ฮูด : 54-57)

ซึ่งประหนึ่งว่า กลุ่มอายะฮฺนี้ได้รวบรวม “คำสั่งให้ยืนหยัด ให้อดทน ให้ทำหน้าที่ดะอฺวะฮฺต่อไป อย่าละเมิดด้วยพฤติกรรมฉุนเฉียว อย่าเห็นชอบหรือยอมรับต่อความอธรรม” ไว้ในที่เดียว โดยไม่เคยมีผู้ใดเคยกล่าวด้วยความเด็ดเดี่ยว และไม่เห็นชอบต่อความอธรรม และยังคงทำหน้าที่เผยแผ่สัจธรรมต่อไป เว้นแต่ท่านนบีฮูด อะลัยฮิสสลาม ด้วยเหตุนี้เองอัลลอฮฺ ตะอาลา จึงตั้งชื่อสูเราะฮฺนี้ด้วยชื่อของท่าน 

ต่อมาเนื้อหาของสูเราะฮฺก็กล่าวถึงเรื่องราวของท่านนบีศอลิหฺ แล้วตามด้วยเรื่องราวของนบีลูฏ นบีชุอัยบฺ หลังจากนั้นก็เรื่องราวของท่านนบีมูซาและนบีฮารูน เศาะละวาตุลลอฮฺ วะสะลามุฮูอะลัยฮิมญะมีอา แล้วตามด้วยบทเรียนที่ได้รับจากเรื่องราวต่าง ๆ ถัดจากนั้น ซึ่งเป็นบทเรียนที่มีอยู่ตามเนื้อหาหลัก ๆ ของสูเราะฮฺนี้ และเป็นการสนองต่อเป้าหมายของมัน 

ทั้งนี้ มีการนำเสนอความอดทนของนบีแต่ละคน ในการเผชิญหน้ากับภยันตรายของกลุ่มชนของพวกท่านเอง โดยที่พวกท่านไม่ได้เห็นชอบหรือยอมรับกับความอธรรมนั้น และไม่ตอบโต้หรือละเมิดอย่างอธรรมต่อพวกเขาเลย

หลังจากนั้น สูเราะฮฺที่มีเกียรตินี้ก็ปิดท้ายด้วยการอธิบายถึงหิกมะฮฺของการนำเสนอเรื่องราวของบรรดาเราะสูล ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการทำให้จิตใจของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม มีความหนักแน่นในการเผชิญหน้ากับการต่อต้านและวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามา

“และทั้งหมดนี้เราได้บอกเล่าแก่เจ้า จากเรื่องราวของบรรดาเราะสูล เพื่อทำให้จิตใจของเจ้าหนักแน่น และ(ในเรื่องราวเหล่านี้) ได้มีความจริง ข้อตักเตือน และข้อรำลึกมาให้สำหรับผู้ศรัทธาทั้งหลาย” 
(สูเราะฮฺ ฮูด : 120)

หลังจากนั้นอัลลอฮฺ ตะอาลา ก็ได้นำเสนอให้แก่เราถึงวิธีการที่จะปฏิบัติตามคำสั่งใช้ที่ได้สั่งเสียให้แก่เรา ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งชี้แก่เราว่า การทำอิบาดะฮฺนั้นจะเป็นตัวช่วยที่จะทำให้สามารถยืนหยัดอย่างมั่นคงได้

“และเจ้าจงดำรงไว้ซึ่งการละหมาด ในสองช่วงเวลาทั้งเช้าและเย็นของกลางวัน และบางช่วงเวลาจากกลางคืน แท้จริง ความดีทั้งหลายย่อมลบล้างความชั่วทั้งหลายนั้นคือข้อเตือนสำหรับบรรดาผู้ที่รำลึก” (สูเราะฮฺฮูด : 114)

และความอดทน ก็เช่นเดียวกัน ดังอายะฮฺนี้

“และเจ้าจงอดทน เพราะแท้จริงอัลลอฮฺจะไม่ทรงทำให้รางวัลของผู้ทำความดีเสียหาย”  (สูเราะฮฺ ฮูด : 115)

ประหนึ่งอายะฮฺทั้งหลายนับตั้งแต่อายะฮฺที่ 113 จนถึงอายะฮฺสุดท้ายของสูเราะฮฺนี้ถือเป็นตัวช่วยในการบรรลุสู่เป้าหมาย  และสูเราะฮฺนี้ก็ได้ปิดท้ายด้วยการกล่าวถึงเตาฮีดหรือการยอมรับในเอกภาพของอัลลอฮฺ เหมือนตอนเริ่มต้นของสูเราะฮฺ ทั้งนี้ก็เพื่อให้การเริ่มต้นนั้นมีความสอดคล้องกับการปิดท้าย

“และเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ที่จะสงวนเรื่องที่พ้นญาณวิสัยแห่งชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน และยังพระองค์เท่านั้นที่การงานทั้งมวลจะถูกนำกลับไป ดังนั้น เจ้าจงเคารพอิบาดะฮฺพระองค์ และจงมอบหมายต่อพระองค์ และพระเจ้าของเจ้าจะไม่เป็นผู้ทรงเผลอในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ”  (สูเราะฮฺ ฮูด : 123)

และส่วนหนึ่งจากความสละสลวยในทางภาษาของสูเราะฮฺฮูด ก็คือ คำสั่งใช้ให้กระทำความดีนั้นจะกล่าวถึงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม โดยตรงเพียงท่านเดียวในรูปเอกพจน์ ถึงแม้ว่าคำสั่งดังกล่าวนั้นจะหมายรวมถึงคนทั่วไปตามนัยของมัน

( فاستقم كما أمرت، وأقم الصدلاة، واصبر )

แต่ในส่วนของคำสั่งห้ามนั้นจะกล่าวถึงประชาชาติโดยรวมในรูปพหูพจน์

(  ولا تطغوا، ولا تركنوا إلى الذين ظلموا  ) 

แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ / Islam house

อัพเดทล่าสุด