ผู้หญิงหัดละหมาด การละหมาดหญิง เงื่อนไขการละหมาดของผู้หญิง ที่ถูกต้อง


82,198 ผู้ชม

โอ้ สตรีมุสลิมะฮ์เอ๋ย เธอจงพยายามละหมาดให้ตรงตามเวลาของมันพร้อมด้วยเงื่อนไข , รูก่น วาญิบต่างๆ อย่างครบครัน อัลลอฮ์ ทรงตรัสแก่มารดาของบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายว่า


ผู้หญิงหัดละหมาด การละหมาดหญิง เงื่อนไขการละหมาดของผู้หญิง ที่ถูกต้อง


ผู้หญิงหัดละหมาด การละหมาดหญิง เงื่อนไขการละหมาดของผู้หญิง ที่ถูกต้อง

ท่านนบีกล่าวว่า "พวกท่านจงละหมาดเหมือนที่พวกท่านเห็นฉันละหมาด" บุคอรี

โอ้ สตรีมุสลิมะฮ์เอ๋ย  เธอจงพยายามละหมาดให้ตรงตามเวลาของมันพร้อมด้วยเงื่อนไข , รูก่น วาญิบต่างๆ อย่างครบครัน  อัลลอฮ์  ทรงตรัสแก่มารดาของบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายว่า
ความว่า :  “"และพวกเจ้าจงดำรงการละหมาด และจ่ายซะกาตและเชื่อฟังอัลลอฮฺ และรอซูลของพระองค์”" (อัล-อะฮฺซาบ 33 )

และมันก็เป็นคำสั่งแก่บรรดามุสลิมะฮฺทุกคน  การละหมาดนั้นเป็นหลักใหญ่อันดับที่สองของอิสลาม และเป็นเสาหลักของอิสลาม การทิ้งมันถือเป็นการปฏิเสธ ที่ทำให้ออกจากศาสนา  และการละหมาดไม่ตรงต่อเวลาโดยไม่มีอุปสรรคทางด้านบทบัญญัตินั้นถือเป็นการละเลย  อัลลอฮ์ได้ทรงตรัสไว้ว่า

ความว่า :  “แล้วมีพวกหนึ่งหลังพวกเขา ตามพวกเขามา พวกเขาทำให้การละหมาดหายไปติดตามความใคร่ต่างๆ แล้วพวกเขาจะพบกับความผิดหวัง  นอกจากผู้ที่กลับเนื้อกลับตัว  และกระทำความดี พวกเหล่านั้นแหละที่จะได้เข้าสวรรค์และพวกเขาจะไม่ถูกอธรรมแต่ประการใด”   (มัรยัม 59-60)

อัลฮาฟิสอิบนุกะซีร  ได้กล่าวไว้ในตัฟซีรของท่านจากบรรดาผู้อธิบายอัลกุรอาน กลุ่มหนึ่งว่าความหมายของการทำให้การละหมาดหายไปนั้น  คือการทำให้เวลาของมันหายไป  โดยที่ละหมาดในขณะที่เวลาได้ล่วงเลยไปแล้ว  และอธิบายความหมายของคำว่า ฆ็อย ที่พวกเขาจะได้พบว่ามันคือความขาดทุน  และหุบเขาหนึ่งที่มีอยู่ในนรก

สำหรับสตรีนั้นมีข้อตัดสินต่างๆ ที่เกี่ยวกับการละหมาด แยกต่างหากจากผู้ชาย ซึ่งมีดังนี้

1.ไม่มีการอะซาน  และอิกอมะฮ์สำหรับสตรี  ทั้งนี้เนื่องจากว่าการอะซานนั้นถูกบัญญัติให้มีการใช้เสียงดัง  และสตรีนั้นไม่เป็นที่อนุญาติ สำหรับนางในการใช้เสียงดัง  และไม่เป็นที่ถูกต้องในการที่นางจะทำการอะซานและอิกอมะฮ์  ได้กล่าวไว้ในอัลมุฆฺนี เล่มที่ 2  หน้าที่ 68  ว่า.... เราไม่รู้ว่ามีความขัดแย้งในเรื่องดังกล่าวแต่ประการใด
2. ทุกส่วนของสตรีนั่นเป็นเอาเราะฮ์ (สิ่งพึงสงวน)  นอกจากใบหน้าของนาง  และในเรื่องของฝ่ามือ  ส่วนฝ่าเท้าทั้งสองนั้นมีความเห็นที่แตกต่างกันไประหว่างนักวิชาการ  และทั้งหมดนั้นคนที่ไม่ได้เป็นมะฮฺร็อมจะไม่ได้เห็นมัน   หากว่ามีคนที่ไม่ได้เป็นมะฮฺร็อมของนางเห็น ก็จำเป็นที่จะต้องปกปิดเหมือนกับที่จะต้องปกปิดมันนอกละหมาด โดยไม่ให้พวกผู้ชายได้เห็น

ดังนั้นในการละหมาด นางจะต้องปกปิดศรีษะ ต้นคอของนางและจะต้องปกปิดส่วนอื่นๆ  ของร่างกาย จนกระทั่งหลังเท้าทั้งสองข้างของนาง  ท่านนะบี  ได้กล่าวไว้ว่า
“อัลลอฮ์จะไม่ทรงรับการละหมาดของผู้มีรอบเดือน (หมายถึงวัยของการมีรอบเดือน) นอกจากการมีผ้าคลุมเท่านั้น” (นักรายงานทั้งห้า)

คำว่า คิมารนั้นคือสิ่งที่ปกปิดศรีษะ และต้นคอ และมีรายงานจากอุมมุสะละมะฮฺรอฏิยัลลอฮุอันฮาว่านางได้ถามท่านนะบี   สตรีจะละหมาดโดยใส่เสื้อผ้าและคลุมศีรษะโดยไม่ได้สวมใส่ผ้านุ่งได้ไหม? ท่านนะบี  กล่าวว่า...

เมื่อเสื้อผ้านั้นยาวปกปิดหลังเท้าทั้งสองของนาง”    (อบูดาวุดได้นำออกรายงาน และอิมามทั้งสี่บอกว่า เป็นฮาดีษเมากูฟที่ถูกต้อง)

หะดีษทั้งสองนั้นบ่งชี้ถึงความจำเป็นในการละหมาดที่จะต้องมีการปกปิดศรีษะ และต้นคอของนาง เหมือนกับที่หะดีษของอาอีซะฮ์ได้บอก  และปกปิดส่วนต่างๆ ของร่างกายจนกระทั่งหลังเท้าทั้งสองของนาง เหมือนกับที่หะดีษของอุมมุสะละมะฮ์ได้บอกและอนุญาติให้เปิดใบหน้าของนาง  เนื่องจากนักวิชาการได้เห็นพ้องต้องกันในเรื่องดังกล่าว
ไชยคุลอิสลาม  อิบนุ ไตยมียะฮ์ได้กล่าวไว้ในมัจมั๊วอฺ  อุลฟา เล่มที่ 22 หน้าที่ 113-114 ว่า

แล้วผู้หญิงนั้นหากนางได้ละหมาดคนเดียวนางนั้นก็ถูกสั่งให้มีการปกปิด และในเวลานอกละหมาดอนุญาติให้นางเปิดศีรษะของนางได้ในบ้านของนาง การสวมใส่เสื้อผ้าในละหมาดนั้นเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮ์ ดังนั้นจึงไม่มีสิทธิ์แก่คนหนึ่งคนใดในการที่จะเวียนรอบบัยตุลลอฮ์ โดยเปล่าเปลือย ถึงแม้ว่าเขาจะกระทำเพียงคนเดียวก็ตาม....ไปจนกระทั่งท่านได้กล่าว อาเราะฮ์ในการละหมาดนั้นไม่ได้มีความผูกพันกับเอาเราะฮ์ของการมองจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม” ท่านอิบนุกุดามะฮ์ ได้กล่าวไว้ในอัลมุฆฺนี เล่มที่ 2 หน้าที่ 382 ว่า....

ส่วนอื่นของร่างกายสตรีนั้นก็จำเป็นจะต้องมีการปกปิดมันในการละหมาด และหากมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งจากมันเปิดออกมา  การละหมาดของนางก็ไม่ถูกต้อง นอกจากจะเป็นสิ่งเล็กน้อยเท่านั้น  และตามที่ได้กล่าวมานี้ อิมามมาลิก  เอาซาอี และซาฟีอี ได้กล่าวไว้”
3. ในอัลมุฆนี เล่มที่ 2 หน้าที่ 258  กล่าวไว้ว่า “ สตรีนั้นจะห่อตัวในการรูกั๊วอฺ  แทนการกางออก  จะนั่งพับเพียบแทนการตะวัรรุ๊ก  และอิฟติรอซ  เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่ปกปิดให้นางได้ดีที่สุด  อิมามนะวะวี ได้กล่าวไว้ในอัลมัจมั๊วอฺเล่มที่ 3 หน้าที่ 455 ว่า.....


 อิมามซาฟีอี รอฮิมาฮุลลอฮฺ  ได้กล่าวไว้ในอัลมุ๊คตะศ็อรว่า

“ไม่มีความแตกต่างใดๆระหว่างพวกผู้ชายกับพวกผู้หญิงในการงานของการละหมาด เว้นแต่ว่าผู้หญิงนั้นให้นางห่อตัวหรือเอาท้องของนางไปติดกับสองต้นขาในการสุญูดเพื่อให้ปกปิดมากที่สุด และชอบให้นางกระทำอย่างนั้นในการรุกั๊วอฺ  และในละหมาดทั้งหมด”
4. การละหมาดของพวกสตรีรวมกัน  โดยมีคนหนึ่งจากพวกนางเป็นอิมาม ในเรื่องนี้นั้นมีความเห็นที่แตกต่างกันไปในระหว่างบรรดาผู้รู้มีทั้งห้ามและอนุญาติให้  และส่วนมากนั้นเห็นว่าไม่มีข้อห้ามใดๆในการกระทำดังกล่าว ทั้งนี้เนื่องจากท่านนะบี  ได้ใช้ให้อุมมุวะเราะเกาะฮ์ ให้นำครอบครัวของนางละหมาด (อบูดาวุดรายงาน  อิบนุคุไซมะฮฺบอกว่าเป็นหะดิษที่ซอเหี้ยะหฺ) 


และบางท่านเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่เป็นที่ชอบ (มิใช่สุนัต)  บางท่านเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่น่าละทิ้ง (มักรูฮฺ)  และบางท่านเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ใช้ได้ในละหมาดที่เป็นสุนัต  และเป็นสิ่งที่ใช้ไม่ได้ในการละหมาดฟัรฎู และคิดว่าทัศนะที่หนักแน่นที่สุดคือเป็นที่ชอบให้กระทำ  เพื่อให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้นในปัญหานี้  ขอให้ไปดูในอัลมุฆฺนี เล่มที่ 2 หน้า 202  และอัลมัจมั๊วอฺ ของอิมามนะวะวียฺ เล่มที่ 4 หน้าที่ 84-85


 และสตรีจะอ่านดังได้เมื่อพวกผู้ชายที่ไม่ได้เป็นมะฮฺร็อมของนางไม่ได้ยิน

5. อนุญาติให้พวกสตรีออกนอกบ้าน เพื่อไปละหมาดในมัสญิด  และการละหมาดในบ้านของนางนั้นดีที่สุด ซึ่งมุสลิมได้รายงานไว้ในซอเหี๊ยหฺของท่าน จากท่านนบี ได้กล่าวว่า..
“ท่านทั้งหลายอย่าได้ห้ามบรรดาบ่าวหญิงของอัลลอฮ์ไม่ให้ไปยังมัสญิดต่างๆของอัลลอฮ์ ”

 และท่านได้กล่าวว่า

“ ท่านทั้งหลายอย่าได้ห้ามพวกสตรีไม่ให้ออกไปยังมัสญิด  และบ้านของพวกนางนั้นดีที่สุดสำหรับพวกนาง”  (อะฮฺหมัด และอบูดาวุดรายงาน)
 
จากหนังสือ"คำเตือนในเรื่องกฎต่างๆที่เกี่ยวข้องกับบรรดาหญิงผู้ศรัทธา"
www.islammore.com

คลิปตัวอย่าง การละหมาดของผู้หยิงหญิง ในการละหมาดดุฮริ มี 4 รอกาอัต

อัพเดทล่าสุด