การเลือกคู่ครองในศาสนาอิสลาม


15,676 ผู้ชม

คนที่กำลังมีความรักและบังเอิญว่า คนรักของคุณเป็นคนที่นับถือศาสนาอิสลาม คงต้องให้ความใส่ใจเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวการเลือกคู่ ของศาสนาอิสลามหน่อย เพราะอย่างน้อย เมื่อคุณได้สมัครใจที่จะลงเอย


การเลือกคู่ครองในศาสนาอิสลาม 

 

การเลือกคู่ครองในศาสนาอิสลาม  
คนที่กำลังมีความรักและบังเอิญว่า คนรักของคุณเป็นคนที่นับถือศาสนาอิสลาม คงต้องให้ความใส่ใจเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวการเลือกคู่ ของศาสนาอิสลามหน่อย เพราะอย่างน้อย เมื่อคุณได้สมัครใจที่จะลงเอย เป็นลูกเขย ลูกสะใภ้ ของศาสนาอิสลามแล้ว คุณจะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง
หลักในการเลือกคู่ครองตามหลักศาสนาอิสลาม จะเน้นที่คนๆ นั้นต้องเป็น ศาสนิกชนที่ดี มีความศรัทธาในพระศาสนาเป็นที่ตั้ง แต่วิธีในการเลือกคู่ ศาสนาเปิดโอกาสให้คนทั้งสองคนได้ทำความรู้จัก และเรียนรู้ซึ่งกัน และกัน ก่อนแต่งงานอยู่กินฉันสามีภรรยา 
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ชายหญิงคู่นั้น จะต้องเติบโตมาด้วยกัน หรือคุ้นเคย กันก่อนที่จะร่วมหอลงโรงอยู่ด้วยกันนะคะ และวิธีที่ชายหญิงทั้งสองคน จะทำ ความรู้จักกัน จะต้องอาศัยการมอง ที่พินิจ พิจารณาอีกฝ่ายหนึ่งอย่างมีสติ ว่าเป็นคนที่มีคุณสมบัติพร้อม ในการอยู่ร่วมกัน ได้จริงๆ ไม่ใช่เกิดจากความ เสน่หาอารมณ์แต่อย่างเดียว อีกอย่างการทำความ รู้จักของทั้งคู่ ก็ไม่ใช่ว่า จะทำได้อย่างเสรี ซึ่งข้อจำกัดสำหรับการนี้ มีดังต่อไปนี้ค่ะ
ชายหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน ศาสนาไม่อนุญาตให้อยู่ด้วยกัน ตามลำพังสองต่อสองในห้องที่ปิดสนิท หรือการออกไปนอกบ้าน ตามลำพังกันเพียงสองคน 
ชายหญิงไม่สามารถแสดงความรักต่อกันและกัน ในลักษณะการ สัมผัส ทางกาย ขณะที่ยังไม่ได้เข้าร่วมพิธีวิวาห์อย่างถูกต้อง ตามหลัก ประเพณี 
ตามหลักศาสนาอิสลามมองว่า ความรักของชายหญิง โดยเฉพาะในช่วงวัยรุ่น เป็นความรักที่เกิดจากความพอใจเพียงรูปลักษณ์ภายนอก และความเสน่หาอารมณ์ ไม่ใช่เป็นความรักที่เกิดจากการพิจารณาไตร่ตรองให้ดีก่อน 

 
ดังนั้น การตัดสินใจเรียนรู้กันและกันอย่างลึกซึ้ง ใกล้ชิดกัน และอยู่ด้วยกันก่อน ตามแนวคิดแบบคู่รักชาวตะวันตก ก็ไม่ใช่จะรับประกันได้ว่า คู่รักนั้นจะมีความสุข กับชีวิตแต่งงานในอนาคต ซึ่งอัตราการหย่าร้างสูงในสังคมอเมริกัน ก็เป็นสิ่ง ยืนยันได้ค่ะว่า แนวคิดตามหลักศาสนาอิสลามเป็นเรื่องที่ถูกต้อง และความรัก ก็ไม่ใช่สิ่งสำคัญเสมอไปที่จะทำให้ชีวิตการแต่งงานของคนสองคนมั่นคงได้ตลอดไป
การแต่งงานในศิสนาอิสลาม

การแต่งงานตามหลักศาสนาอิสลาม ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการแต่งงานแบบ "คลุมถุงชน" มักถูกพวกฝรั่งตะวันตกดูถูกอยู่เสมอว่า เป็นเรื่องล้าหลัง และไร้สาระ แต่หารู้ไม่ค่ะว่า การแต่งงานแบบคลุมถุงชนนี่ล่ะ ที่ทำให้คู่รัก (หรือคู่ที่ถูกเลือก ให้มารักกัน) อยู่ด้วย กันจน ถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชร มาแล้วนับไม่ถ้วน ตรงข้ามกับ พวกที่ แต่งงานแบบรักกันเองเสียอีก อย่างที่ว่าไว้ตามหลักศาสนา อิสลามนั่นล่ะค่ะ ว่า ความรักทำให้คนตาบอด ที่ไม่รู้จักพิจารณาเอาความเหมาะสมเป็นที่ตั้ง มากกว่าแค่ ความพอใจ ในรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส 
เคล็ดลับความสำเร็จในการครองเรือนของการแต่งงานที่เกิดจากวิธี "คลุมถุงชน" ก็คือ ความเหมาะสม ที่ผู้ใหญ่ของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงได้มอง และพิจารณาจากคุณสมบัติ ของคนทั้งคู่แล้วว่า เป็นเรื่องที่สามารถเกื้อหนุน และเข้ากันได้ดี อาจเนื่องมาจากวุฒิ การศึกษา ฐานะ หรือค่านิยม ที่ได้รับการ ปลูกฝังมา เพราะฉะนั้น ปัญหาของความ ไม่เข้าใจกัน และการทะเลาะวิวาท จึงมักไม่เกิดขึ้นให้เห็นบ่อยนัก กับคู่รักที่ แต่งงาน 
กันแบบ "คลุมถุงชน" ค่ะ
ศาสนาอิสลาม ถือเรื่องการแต่งงานว่าเป็นเรื่องสำคัญของชีวิตค่ะ และถือว่า เป็นหน้าที่ ของศาสนิกชนที่ดีพึงปฏิบัติ เพราะการแต่งงาน ตามหลักศาสนาอิสลาม มองว่า เป็นวิถีทาง ของสังคมในการยอมรับ ความสัมพันธ์อันลึกซึ้ง ระหว่างผู้ชายและผู้หญิง ในการอยู่กิน ภายใต้ร่มไม้ชายคาเดียวกัน และถือเป็นประเพณีที่ถูกต้องที่ มนุษย์คู่ชายหญิง จะสามารถแสดงออกถึงความต้องการทางเพศได้ โดยไม่ได้รับ การประณามว่าเป็นการกระทำที่ไร้ยางอาย อีกอย่างค่ะ ศาสนาอิสลามมองว่า การแต่งงานยังเป็นการช่วยให้สังคมมนุษย์ดำรงอยู่ได้ไม่มีวันสูญสลาย และเป็น พื้นฐานอันมั่นคงของระบบสังคมที่มนุษย์เราอาศัยอยู่รวมกันอีกด้วย 
พูดง่ายๆ อาจมองได้อีกมุมหนึ่งว่า ศาสนาอิสลามให้ความสำคัญของการแต่งงาน เพียงเพื่อ ต้องการให้มนุษย์รู้จักควบคุมความใคร่ และความปรารถนาให้ อยู่ใน ขอบเขต ที่จะแสดง ออกได้ ให้รู้จักถึงความคิดเป็นและรู้จักควบคุม ในฐานะสัตว์ อันประเสริฐ ที่มีความแตกต่าง จาก สัตว์เดรัจฉานทั่วไปอย่างสิ้นเชิงนั่นล่ะค่ะ
จุดประสงค์ของการแต่งงานในศาสนาอิสลาม 
โดยทั่วไป ศาสนาอิสลามมองว่า จุดประสงค์ที่แท้จริงของการแต่งงานตาม หลัก ศาสนาคือ การมอบความปรองดองรักใคร่แก่กันและกัน การให้กำเนิดบุตร และการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกตามพระบัญชาของพระอัลเลาะห์ 
"การแต่งงาน เป็นผลที่สนองตอบทางด้านอารมณ์และจิตใจ ที่มาจาก ความรักใคร่ และความเสน่หาทั้ง จากรูปลักษณ์ภายนอก และความดีงามภายใน และยังเป็นวิถี ทางของการดับ อารมณ์เครียดในตัวมนุษย์ที่พึงจะมี อีกทั้ง การแต่งงานยังถือเป็น หนทางของการพัฒนาจากระดับความใคร่ ไปสู่ความรักอันกลมเกลียวในครอบครัว ศาสนิกชนบางท่านอาจเลือกที่จะไม่แต่งงาน แต่ในความเป็นจริง หากใครที่มีโอกาส ได้แต่งงาน ผู้นั้นถือว่าเป็นผู้ที่เชื่อฟังคำสั่งสอนของพระอัลเลาะห์ได้อย่างสมบูรณ์" 
การแต่งงานในศาสนาอิสลามถือเป็นเรื่องจริงจัง ไม่ใช่เรื่องที่ใคร จะมาล้อเล่น กันง่ายๆ เพราะการแต่งงานคือ พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ที่เกิดจากการ ยินยอม อย่าง แข็งขัน ของทั้ง ฝ่ายชาย และหญิงในการอยู่ร่วมกัน ไม่เหมือนกับการซื้อเสื้อผ้า ที่สามารถขอเปลี่ยน ตัวใหม่ได้ ทันที ถ้ารู้สึกว่าตัวนี้ไม่ชอบเอาซะเลย เพราะศาสนา อิสลามถือว่า คู่ครอง ที่แต่งงานด้วยคือเนื้อคู่ที่จะอยู่ด้วยกันจนวันตาย "การแต่งงาน ถือว่าเป็นการปฏิบัติ ตาม คำสอน ของพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ ไปแล้ว ครึ่งหนึ่ง"
สำหรับการแต่งงานตามหลักศาสนาอิสลาม จะดำเนินไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ค่ะ
เป็นการยินยอมในการอยู่กินฉันสามีภรรยา ของคู่แต่งงานเอง และญาติๆ ทั้งสองฝ่าย 
มีการมอบสินสอด เพื่อเป็นของกำนัลที่เจ้าบ่าวพึงมีต่อเจ้าสาว 
ประกอบด้วยพยานในพิธี อย่างน้อย 2 คน ชายหรือหญิงก็ได้ 
มีการประกาศเพื่อเฉลิมฉลองพิธีแต่งงานอย่างเป็นทางการ ให้สังคมรับรู้ 
เมื่อการแต่งงาน คือเรื่องของการยินยอม หากการแต่งงาน เป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ ของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงเป็นผู้จัดการให้ หรือบงการเองทั้งหมด (หรือที่เรียกว่า คลุมถุงชน นั่นล่ะค่ะ) ทำให้ลูกหลานที่จะต้องเข้าร่วมพิธีวิวาห์ ไม่มีโอกาสเลือก เป็นอย่างอื่นได้ แต่หารู้ไม่ค่ะว่า ความเป็นจริงแล้ว การแต่งงาน คือพิธีการ ที่เกิดขึ้นจากความยินยอมของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงนั้นๆ เป็นสำคัญมากกว่าค่ะ 
ดังนั้น ความสำคัญของการแต่งงาน จึงอยู่ที่ความสมัครใจของคนสองคนว่า พร้อมจะร่วมหอลงโรงกันหรือไม่ ไม่ใช่ว่า ผู้ใหญ่จะเป็นคนตัดสินใจให้ได้นะคะ และในกรณีที่ ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เกิดไม่รู้สึกยินยอม การแต่งงานนั้นก็ไม่ สามารถ กระทำได้ อย่างในสมัยท่านศาสดานบี มูฮัมหมัด ท่านเคยถูก หญิงสาว นางหนึ่ง ร้องเรียน ว่าเธอถูกบิดาบังเกิดเกล้าจับให้แต่งงาน โดยที่เธอไม่สมัครใจ เลยแม้ แต่นิด ท่านศาสดาเห็นว่า การแต่งงานนี้ไม่ได้เกิดจากความยินยอมที่ถูกต้อง จึงให้ยกเลิกการแต่งงานนั้นไปโดยปริยาย 
จุดประสงค์ของการแต่งงานในศาสนาอิสลาม 
โดยทั่วไป ศาสนาอิสลามมองว่า จุดประสงค์ที่แท้จริงของการแต่งงานตาม หลัก ศาสนาคือ การมอบความปรองดองรักใคร่แก่กันและกัน การให้กำเนิดบุตร และการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกตามพระบัญชาของพระอัลเลาะห์ 
"การแต่งงาน เป็นผลที่สนองตอบทางด้านอารมณ์และจิตใจ ที่มาจาก ความรักใคร่ และความเสน่หาทั้ง จากรูปลักษณ์ภายนอก และความดีงามภายใน และยังเป็นวิถี ทางของการดับ อารมณ์เครียดในตัวมนุษย์ที่พึงจะมี อีกทั้ง การแต่งงานยังถือเป็น หนทางของการพัฒนาจากระดับความใคร่ ไปสู่ความรักอันกลมเกลียวในครอบครัว ศาสนิกชนบางท่านอาจเลือกที่จะไม่แต่งงาน แต่ในความเป็นจริง หากใครที่มีโอกาส ได้แต่งงาน ผู้นั้นถือว่าเป็นผู้ที่เชื่อฟังคำสั่งสอนของพระอัลเลาะห์ได้อย่างสมบูรณ์" 
การแต่งงานในศาสนาอิสลามถือเป็นเรื่องจริงจัง ไม่ใช่เรื่องที่ใคร จะมาล้อเล่น กันง่ายๆ เพราะการแต่งงานคือ พิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ ที่เกิดจากการ ยินยอม อย่าง แข็งขัน ของทั้ง ฝ่ายชาย และหญิงในการอยู่ร่วมกัน ไม่เหมือนกับการซื้อเสื้อผ้า ที่สามารถขอเปลี่ยน ตัวใหม่ได้ ทันที ถ้ารู้สึกว่าตัวนี้ไม่ชอบเอาซะเลย เพราะศาสนา อิสลามถือว่า คู่ครอง ที่แต่งงานด้วยคือเนื้อคู่ที่จะอยู่ด้วยกันจนวันตาย "การแต่งงาน ถือว่าเป็นการปฏิบัติ ตาม คำสอน ของพระเจ้าอย่างสมบูรณ์ ไปแล้ว ครึ่งหนึ่ง"
สำหรับการแต่งงานตามหลักศาสนาอิสลาม จะดำเนินไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้ค่ะ
เป็นการยินยอมในการอยู่กินฉันสามีภรรยา ของคู่แต่งงานเอง และญาติๆ ทั้งสองฝ่าย 
มีการมอบสินสอด เพื่อเป็นของกำนัลที่เจ้าบ่าวพึงมีต่อเจ้าสาว 
ประกอบด้วยพยานในพิธี อย่างน้อย 2 คน ชายหรือหญิงก็ได้ 
มีการประกาศเพื่อเฉลิมฉลองพิธีแต่งงานอย่างเป็นทางการ ให้สังคมรับรู้ 
เมื่อการแต่งงาน คือเรื่องของการยินยอม หากการแต่งงาน เป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ ของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงเป็นผู้จัดการให้ หรือบงการเองทั้งหมด (หรือที่เรียกว่า คลุมถุงชน นั่นล่ะค่ะ) ทำให้ลูกหลานที่จะต้องเข้าร่วมพิธีวิวาห์ ไม่มีโอกาสเลือก เป็นอย่างอื่นได้ แต่หารู้ไม่ค่ะว่า ความเป็นจริงแล้ว การแต่งงาน คือพิธีการ ที่เกิดขึ้นจากความยินยอมของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงนั้นๆ เป็นสำคัญมากกว่าค่ะ 
ดังนั้น ความสำคัญของการแต่งงาน จึงอยู่ที่ความสมัครใจของคนสองคนว่า พร้อมจะร่วมหอลงโรงกันหรือไม่ ไม่ใช่ว่า ผู้ใหญ่จะเป็นคนตัดสินใจให้ได้นะคะ และในกรณีที่ ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เกิดไม่รู้สึกยินยอม การแต่งงานนั้นก็ไม่ สามารถ กระทำได้ อย่างในสมัยท่านศาสดานบี มูฮัมหมัด ท่านเคยถูก หญิงสาว นางหนึ่ง ร้องเรียน ว่าเธอถูกบิดาบังเกิดเกล้าจับให้แต่งงาน โดยที่เธอไม่สมัครใจ เลยแม้ แต่นิด ท่านศาสดาเห็นว่า การแต่งงานนี้ไม่ได้เกิดจากความยินยอมที่ถูกต้อง จึงให้ยกเลิกการแต่งงานนั้นไปโดยปริยาย 

 
การปฏิบัติตนในฐานะสามีภรรยาที่ดี
ให้การเลี้ยงดูภรรยา 
ตามหลักคำสอนในพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน ระบุไว้อย่างชัดเจนค่ะว่า หน้าที่สำคัญ ของสามีประการแรก คือการเลี้ยงดูภรรย าด้วยความรักและ ความเอาใจใส่ โดยไม่เกี่ยง ว่า ภรรยาของตนจะนับถือศาสนาใดก็ตาม จะรวยหรือจนแค่ไหน หรือสุขภาพร่างกายจะอ่อนแอสักเพียงใด สามีจะต้อง เป็นผู้รับผิดชอบ ในตัวเธอ และทำให้เธอรู้สึกปลอดภัย เมื่ออยู่ในความค้ำจุน ของสามี เพื่อเธอจะได้ ทำหน้าที่ ศรีภรรยา ได้อย่างสมบูรณ์ 
สิ่งที่สามีจะปฏิบัติต่อภรรยา ได้แก่ การจัดหาที่อยู่อาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรคให้กับเธอ อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง และไม่ว่าสามีจะต้อง เดินทางรอนแรมไป ณ ที่แห่งใด ก็เป็นหน้าที่อีกเช่นกันค่ะ ที่สามีจะต้อง ให้ภรรยาติดตามตนไปด้วย 
นอกจากนี้ ในกรณีที่ภรรยา ต้องการคนรับใช้เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระ ของเธอ ในการดูแลทำความสะอาดบ้าน สามีก็จะต้องเป็นผู้จัดหาคนรับใช้นั้น มาให้ อย่างที่เธอต้องการ เพื่อไม่ให้เธอต้องลำบาก ท่านศาสดานบี มูฮัมหมัด เคยกล่าว ไว้ค่ะว่า การเป็นสามีที่ดี ก็คือการเป็นศาสนิกชนที่ประเสริฐยิ่ง
มอบสินสอดตามประเพณี 

ศาสนาอิสลาม ให้ความสำคัญกับเรื่องสินสอดทองหมั้น ที่ฝ่ายชายต้องมอบ ให้กับฝ่ายหญิงเพื่อเป็นของขวัญวันแต่งงานอย่างมากทีเดียวค่ะ ถ้าฝ่าย ชายละเลยในเรื่องของสินสอด การแต่งงานก็ถือเป็นอันต้องโมฆะไป ซึ่งตาม หลักแล้ว มูลค่าของสินสอดที่ว่า จะเป็นเรื่องที่ตกลงกัน ระหว่างผู้ปกครอง ของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง และไม่จำเป็นที่จะต้องอยู่ในรูปของเงินทอง เพชรนิลจินดาเสมอไป อาจแทนด้วยสิ่งมีค่าที่เป็นนามธรรม เช่น การสอนอ่าน พระคัมภีร์อัลกุรอ่านอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้นค่ะ 
แต่ทั้งนี้ สินสอดที่ฝ่ายชาย นำมามอบในพิธี จะถือเป็นสมบัติของฝ่ายหญิง ในทันที เมื่อทำการมอบให้แล้ว การมอบสินสอดของศาสนาอิสลาม ไม่เหมือน กับประเพณี ของบางศาสนา ที่จะต้องให้ผู้ปกครองของฝ่ายหญิง เป็นผู้มอบสินสอด ให้กับฝ่าย ชาย เพื่อมาแต่งงานกับลูกสาวของตน ซึ่งค่านิยมเช่นนี้ ไม่มีให้เห็นใน ศาสนา อิสลาม และซ้ำยังถูกว่า เป็นการไม่ให้เกียรติ กับสตรีเพศ อีกด้วยค่ะ
มอบสิทธิ์แห่งความเสมอภาคและรักนิรันดร์ 

สามีที่ดี จะต้องเป็นผู้มอบความรัก ความห่วงใย ให้เกียรติ และความเสมอภาค ให้แก่ภรรยา โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง กรณีที่สามีมีภรรยา มากกว่า หนึ่งคน 
สิ่งที่ภรรยาพึงกระทำต่อสามี
หน้าที่หลักสำคัญประการหนึ่งของภรรยา คือการมีส่วนร่วมผลักดัน ในความ สำเร็จ และความสุขของชีวิตการแต่งงาน และการเป็นภรรยาที่ดี จะต้องคอยปฏิบัติตน ซื่อสัตย์ต่อสามี ไม่พูดปด ไม่มีความลับปิดบัง 
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องการแอบคุมกำเนิดโดยที่สามีไม่รู้ เพราะถือเป็นเรื่อง ต้องห้ามในศาสนาอิสลามเลยล่ะค่ะ นอกจากนี้ ภรรยาจะต้องไม่ให้ชายใด สามารถ กระทำการล่วงเกินตนได้ นอกจากสามีเพียงคนเดียว ไม่แสดงอาการต้อนรับ ชายแปลกหน้าที่ไม่รู้จักมาก่อน เว้นเสียได้รับอนุญาตจากสามีเสียก่อน 
ไม่อยู่บ้านสองต่อสองตามลำพังกับชายแปลกหน้า ไม่รับของกำนัลจากชายหน้า ไหนทั้งสิ้น หากไม่ได้รับการเห็นชอบจากสามีเสียก่อน ข้อห้ามที่กำหนดขึ้นเหล่านี้ ตั้งขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาระหองระแหงภายในครอบครัว ที่อาจเกิดจากความหึงหวง ความระแวง และการนินทาของพวกปากหอยปากปูนั่นเองค่ะ
สรุปแล้วว่า การเป็นภรรยาที่ดีตามหลักศาสนาอิสลาม คือภรรยาจะต้องคอย ให้เกียรติ สามี ซื่อสัตย์ และจริงใจต่อสามี รวมถึงเรื่องของการรู้จักเอาอกเอาใจ ให้ความสุขบน เตียงแก่สามีด้วยค่ะ โดยยามใดก็ตามที่สามีต้องการ เปิดฉากร่วมรัก กับภรรยา สุดที่รัก เธอจะต้องไม่ทำการขัดขืนความต้องการของสามี และยินยอม ปฏิบัติตาม ความ ต้องการ แต่โดยดี ที่ต้องทำเช่นนี้ ก็เพื่อเป็นการป้องกัน ไม่ให้สามี ต้อง ระเห็จไป แสวงหา ความสุข ภายนอกบ้านยังไงล่ะ
"การเป็นศรีภรรยา จะต้องคอยปรนนิบัติสามีไม่ให้ขาดตกบกพร่อง หากสามี เรียกหา เธอจะ ต้องหยุดการกระทำ ทุกอย่างลงเสียก่อน ถึงแม้กำลัง สาละวนวุ่น อยู่ในครัว แค่ไหน ก็ตาม"
บทบาทของสามี คือการเป็นผู้นำของครอบครัว และบทบาทของภรรยา คือการเป็น ผู้ตาม ให้การยอมรับอำนาจ และการตัดสินใจของสามีในฐานะของช้างเท้าหน้า แต่ทั้งนี้ หากสามีไม่สามารถทำตนเป็นศาสนิกชนที่ดี และทำตัวไม่เหมาะสมต่อ การเป็นสามี ที่ดีของเธอ ภรรยาผู้นั้นสามารถ เรียกร้องสิทธิ ในการขอความ เป็นธรรม ให้กับ ตนเอง โดยถือว่า สามีเป็นผู้ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักคำสอนแห่ง ศาสนาอิสลาม อย่างเหมาะสม ได้เช่นกัน 

ที่มา: www.siamsouth.com

อัพเดทล่าสุด