หญิงมุสลิมแต่งงานแบบลับๆ โดยที่พ่อแม่ไม่รับรู้ เป็นที่อนุมัติหรือไม่?


44,077 ผู้ชม

การแต่งงานแบบลับๆ นั้นเป็นที่อนุมัติหรือไม่ เพื่อของฉันไปแต่งงานที่มัสญิดแบบลับๆ โดยที่พ่อแม่ของเธอไม่รับรู้ หากแต่มีพยานเพียงคนเดียวในการนิกะฮฺนั้น ดังนั้นการนิกะฮฺดังกล่าวนั้นมีความสมบูรณ์หรือไม่


หญิงมุสลิมแต่งงานแบบลับๆ โดยที่พ่อแม่ไม่รับรู้ เป็นที่อนุมัติหรือไม่?

 แหล่งที่มา islamqa.com
ถอดความ بنت الاٍسلام  

หญิงมุสลิมแต่งงานแบบลับๆ โดยที่พ่อแม่ไม่รับรู้ เป็นที่อนุมัติหรือไม่?

คำถาม: การแต่งงานแบบลับๆ นั้นเป็นที่อนุมัติหรือไม่ เพื่อของฉันไปแต่งงานที่มัสญิดแบบลับๆ โดยที่พ่อแม่ของเธอไม่รับรู้ หากแต่มีพยานเพียงคนเดียวในการนิกะฮฺนั้น ดังนั้นการนิกะฮฺดังกล่าวนั้นมีความสมบูรณ์หรือไม่ ได้โปรดให้คำแนะนำด้วยค่ะ ขออัลลอฮฺทรงอำนวยพรต่อท่าน ขอบคุณค่ะ

ตอบการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ

มันจำเป็นที่จะต้องมี “วะลียฺ (ผู้ปกครอง)” และ “พยานสองคนในทุกๆ การแต่งงาน” เพราะในหะดีษบทหนึ่ง (ท่านเราะสูลกล่าวไว้ว่า) “ไม่ถือว่ามีการแต่งงาน เว้นแต่ (งานแต่งงานนั้น) มีวะลียฺ” และ “สตรีใดก็ตามที่แต่งงานโดยปราศจากการรับรู้ของวะลียฺของนาง การแต่งงานแต่งงานของนางถือเป็นโมฆะ” ดังนั้น “สัญญาการแต่งงาน (การนิกะฮฺ) จำต้องถูกกระทำขึ้นใหม่ หากวะลียฺของเธอยอมรับ รวมไปถึงการมีพยานสองคนในการทำพิธี (โปรดอ่านฟัตวาเลขที่ 2127)

และอัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่ง

IslamQa ชัยคฺมุหัมมัด ศอลียฮฺ อัลมุนาญีด

เงื่อนไขของวะลียฺ (ผู้ปกครองในการแต่งงาน)  (ฟัตวา 2127)

แหล่งที่มา https://islamqa.com/en/ref/2127

ถอดความ بنت الاٍسلام  

คำถาม : อะไรคือองค์ประกอบของ “ผู้ปกครอง” (วะลียฺ) ที่พึงมีในพิธีการแต่งงาน (นิกะฮฺ) ฉันเป็นผู้หญิงมุสลิม และฉันต้องการทราบว่า “พี่ชายคนโตของฉัน” ได้รับการอนุมัติให้ทำหน้าที่นี้ (เป็นผู้ปกครองในการแต่งงาน) หรือไม่

คำตอบ: การสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ

มีหลักเกณฑ์ หรือเงื่อนไขอยู่ 3 ประการสำหรับการทำสัญญาการแต่งงานในอิสลาม

ทั้งสองฝ่าย (ชาย และหญิง) ควรปราศจากซึ่ง “อุปสรรค” “สิ่งขัดขวาง” ใดๆ ที่ยับยั้งให้การแต่งงานนั้นมีความสมบูรณ์ เช่น การที่เขาและเธอเป็นมะหฺรอมต่อกัน (คือ เป็นญาติใกล้ชิดที่ศาสนาไม่อนุมัติให้แต่งงานการ) หรือความสัมพันธ์ของทั้งสองฝ่ายนั้นเป็นความสัมพันธ์ทางสายเลือด หรือทางการให้นมหรือไม่ หรือฝ่ายชายนั้นเป็น “กาฟีรฺ” (ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม) แต่ผู้หญิงเป็นมุสลิม หรือไม่ เป็นต้น

ควรมีการเสนอตัว หรือการสู่ขอ (อีญาบ) จากผู้ปกครอง หรือผู้ที่ทำหน้าที่นั้นแทนเขา คือผู้ที่ควรกล่าวต่อ “เจ้าบ่าว” ว่า “ฉันทำการนิกะฮฺ (แต่งงาน) นางสาว...ให้แก่ท่าน” หรือถ้อยคำที่คล้ายคลึงกันนี้

ควรมีการแสดงออกซึ่งการตอบรับ (กอบูล) ในส่วนของผู้เป็นเจ้าบ่าว หรือผู้ใดก็ตามที่ทำหน้าที่นั้นแทนเขา คือผู้ที่กล่าวว่า “ฉันยอมรับ” หรือถ้อยคำที่คล้ายคลึงกันนี้

“เงื่อนไขของการนิกะฮฺ (สัญญาการแต่งงาน) ที่ถูกต้องนั้น” ควรเป็นไปดังนี้ คือ

มีการระบุความเป็นตัวตนของทั้งสองฝ่าย คือเจ้าสาว และ เจ้าบ่าว อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการแจ้ง “ชื่อของพวกเขา” หรือ “การบรรยายลักษณะของพวกเขา” เป็นต้น

ทั้งเจ้าสาว และเจ้าบ่าว ควรมีความพึงพอใจต่อกัน เพราะท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวไว้ว่า “ไม่มีสตรีคนใดที่เคยแต่งงานมาก่อน (หมายถึง แม่หม้าย หรือผู้ที่หย่าร้างมาแล้ว) ควรแต่งงาน จนกว่านางจะถูกถามถึงความปรารถนาของนาง (คือนางควรแจ้งความจำนงต่อสิ่งที่นางปรารถนาอย่างชัดเจน) และไม่มีสตรีบริสุทธิ์คนใดควรแต่งงานจนกว่าจะมีการขออนุญาตจากนาง (คือ จนกว่านางจะยอมรับ ตกลงข้อเสนอ ไม่ว่าจะด้วยคำพูด หรือการนิ่งเงียบ (โดยไม่ปฏิเสธ) ก็ตาม) พวกเขาถามท่านเราะสูลว่า “โอ้ เราะสูลุลลอฮฺ แล้วการตกลงยอมรับของนางนั้นเป็นเช่นไร (เพราะนางอาจจะรู้สึกอายที่จะตอบรับ)” ท่านเราะสูลตอบว่า “ด้วยการนิ่งเงียบของนาง” (รายงานโดยบุคอรียฺ  4741)

ผู้ที่ทำสัญญา (การแต่งงาน) ให้กับสตรีนั้นควรเป็นวะลียฺของนาง (ผู้ปกครองของนาง) ดังที่อัลลอฮฺทรงถึง "วะลียฺ" เกี่ยวกับเรื่องของการแต่งงาน "และจงให้พวกเจ้าแต่งงานกับผู้เป็นโสดในหมู่พวกเจ้า" (อันนูร 24:32) และด้วยเพราะว่านบีมุหัมมัด กล่าวไว้ว่า "สตรีใดก็ตามที่แต่งงานโดยปราศจากการอนุญาตของผู้ปกครองของนาง การแต่งงานของนางนั้นถือเป็นโมฆะ การแต่งงานของนางนั้นเป็นโมฆะ การแต่งงานของนางนั้นเป็นโมฆะ” (รายงานโดยติรฺมิซียฺ 1021 และรายงานโดยท่านอื่นๆ เป็นหะดีษที่ศอเหียฮฺ)

สัญญาการแต่งงานนั้นควรมีพยานผู้รู้เห็น ดังที่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ไม่ถือว่ามีสัญญาการแต่งงาน เว้นแต่ว่ามี “วะลียฺ” และ “พยานสองคน” (ในการแต่งงาน)” (รายงานโดยฎ็อบบะรอนียฺ ดูจากศอเหียฮฺอัลญามียฺ 7558)

สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ “การแต่งงาน (การนิกะฮฺ) จำต้องมีการประกาศให้รู้ทั่วกัน” ดังที่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า “จงประกาศการแต่งงาน (ให้เป็นที่รู้กัน)” (รายางานโดยอีม่ามอะหมัด หะดีษหะซันในศอเหียฮฺอัลญะมียฺ 1027)

เงื่อนไขของ “ผู้เป็นวะลียฺ (ผู้ปกครอง) ในการแต่งงาน ” มีดังนี้

เขา จำต้องเป็นผู้ที่มีสติสัมปชัญญะที่ดี

เขา จำต้องเป็นผู้ใหญ่ (บรรลุนิติภาวะ)

เขา เป็นอิสระ (ไม่ได้เป็นทาส)

เขา ควรเป็นผู้ที่มีศาสนาเดียวกันกับเจ้าสาว (อิสลาม) “กาเฟรฺ” ไม่สามารถเป็นวะลียฺของมุสลิมได้ ไม่ว่าชายหรือหญิง และ “มุสลิม” ไม่สามารถเป็นวะลียฺของกาเฟรฺได้ ไม่ว่าชายหรือหญิง แต่ “กาเฟรฺ” สามารถเป็น “วะลียฺ” ของสตรีกาเฟรฺในการเสนอตัวได้ แม้ว่าพวกเขานับถือศาสนาที่ต่างออกไป และผู้ที่ละทิ้งศาสนาไม่สามารถเป็น “วะลียฺ” ให้ใครได้

เขาจำต้องมีคุณลักษณะที่ดีงาม (อะกีดะฮฺ รวมไปถึงศีลธรรม ทัศนคติ และความประพฤติ เป็นต้น) นี่คือเงื่อนไขที่ถูกวางไว้โดยนักวิชาการบางท่าน แม้ว่านักวิชาการบางส่วนก็กล่าวว่า “คุณลักษณะภายนอกที่ดีงามนั้น” ก็เพียงพอแล้ว และนักวิชาการอีกบางส่วนกล่าวว่า มันเพียงพอแล้วหากเขาสามารถที่จะให้ความใส่ใจดูแลสตรีที่เขาเป็นวะลียในการแต่งงานของนางให้ได้เป็นอย่างดี

เขาต้องเป็น “ผู้ชาย” ดังที่ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า “ไม่มีสตรีคนใดที่จะทำหน้าที่จัดการ “สัญญาการแต่งงาน”

ของสตรีอีกคน และไม่มีสตรีคนใดสามารถทำสัญญาการแต่งงานเพื่อตัวของนางเองได้ เพราะ “ซานียะฮฺ” (ผู้ทำผิดประเวณี ซินา) คือผู้ที่ดำเนินการจัดการสิ่งเหล่านั้น (การแต่งงาน) เพื่อตัวของนางเอง” (รายงานโดยอิบนุ มาญะฮฺ1782 ดูศอเหียฮฺอัลญะมียฺ 7298)

เขาจำต้องเป็นผู้ที่มีความเฉลียวฉลาดและมีวุฒิภาวะ ซึ่งหมายถึงความสามารถที่จะเข้าใจในความสำคัญและองค์ประกอบของการแต่งงาน

“ฟุกอฮาอฺ” ได้เรียงลำดับความเป็นไปได้ของผู้เป็นวะลียฺไว้ และ "วะลียฺ" ผู้มีความเกี่ยวข้องโดยใกล้ชิด ไม่ควรถูกมองข้าม เว้นเสียแต่ว่าไม่มีใคร หรือญาติคนใดเลยที่มีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่ได้ระบุไว้ 

"วะลียฺของฝ่ายหญิง" คือบิดาของเธอ จากนั้นคือผู้ใดก็ตามที่บิดาของเธอได้แต่งตั้งไว้ (ให้เป็นวะลีย) ก่อนที่เขาจะเสียชีวิต จากนั้นคือปู่ของเธอ หรือปู่ทวดของเธอ จากนั้นคือ ลูกชายของเธอ จากนั้นคือลูกชายหรือหลานชายของปู่ของเธอ จากนั้นคือน้องชายหรือพี่ชายของเธอ (ที่เกิดจากบิดามารดาของเธอ) จากนั้นคือน้องชายหรือพี่ชายของเธอ (ที่เกิดจากฝ่ายบิดาของเธอ) จากนั้นคือลูกชายของพี่ชายหรือน้องชายของเธอ (ที่เกิดจากบิดามารดาของเธอ) จากนั้นคือลูกชายของพี่ชายหรือน้องชายของเธอ (ที่เกิดจากฝ่ายบิดาของเธอ) จากนั้นคือลุง/อาของเธอ (น้องชายของบิดาของเธอที่เกิดจากบิดามารดาคนเดียวกัน) จากนั้นคือลุง/อาของเธอ (น้องชายของบิดาของเธอที่เกิดจากบิดาคนเดียวกัน) จากนั้นคือลูกชายของน้องชาย/พี่ชายของบิดาเธอ (ที่เกิดจากบิดามารดาคนเดียวกัน) จากนั้นคือลูกชายของน้องชาย/พี่ชายของบิดาเธอ (ที่เกิดจากบิดาคนเดียวกัน) จากนั้นคือผู้ใดก็ตามที่มีความใกล้ชิดมากกว่า และเรียงลำดับเรื่องไป นี่คือกรณีของการสืบสกุล

“ผู้นำมุสลิม” (หรือรองผู้นำ เช่นกอดียฺ หรือผู้พิพากษา) ก็ถือเป็นวะลียฺสำหรับสตรีผู้ใดก็ตามที่ไม่มีวะลียฺเป็นของตัวเอง

และแท้จริงอัลลอฮฺทรงรู้ดียิ่ง

ชัยคฺมุหัมมัด ศอลียฮฺ อัลมุนาญีด

อัพเดทล่าสุด