มุสลิมควรรู้!! การปฏิบัติกับผู้เสียชีวิตตั้งแต่ต้นจนจบ


31,235 ผู้ชม

แนะนำให้ผู้ป่วยหรือผู้ใกล้สิ้นใจนอนท่าตะแคงขวาหันหน้าไปทิศกิบละฮ์เท่าที่สามารถจะทำได้ หากไม่สามารถก็ให้อยู่ในท่าหรืออิริยาบถที่ผู้ป่วยหรือผู้ใกล้สิ้นใจรู้สึกผ่อนคลายมากที่สุด


มุสลิมควรรู้!! การปฏิบัติกับผู้เสียชีวิตตั้งแต่ต้นจนจบ 

มุสลิมควรรู้!! การปฏิบัติกับผู้เสียชีวิตตั้งแต่ต้นจนจบ

การปฏิบัติกับผู้เสียชีวิตตั้งแต่ต้นจนจบ


โดย อ.อับดุลลอฮฺ สุไลหมัด

ข้อควรปฏิบัติสำหรับบุคคลทั่วไปเมื่อเยี่ยมผู้ป่วยใกล้สิ้นใจ

1 - แนะนำให้ผู้ป่วยหรือผู้ใกล้สิ้นใจนอนท่าตะแคงขวาหันหน้าไปทิศกิบละฮ์เท่าที่สามารถจะทำได้ หากไม่สามารถก็ให้อยู่ในท่าหรืออิริยาบถที่ผู้ป่วยหรือผู้ใกล้สิ้นใจรู้สึกผ่อนคลายมากที่สุด แต่สมควรพยายามให้อวัยวะส่วนมากในร่างกายได้หันไปทิศกิบละฮ์ เพราะทิศกิบละฮ์คือทิศที่ประเสริฐที่สุด เป็น ทิศสำหรับมุสลิมทุกคน ทั้งคนเป็นและคนตาย ดังปรากฏรายงานจากท่านรอซูลุลลอฮ์ (ซ.ล) ว่า

قِبْلَتُكُمْ أَحْيَاءًا وَأَمْوَاتًا

ความหมาย “ กะอฺบะฮ์ คือกิบละฮ์ของทั้งคนเป็นและคนตาย ” บันทึกโดยอาบูดาวูด และมีรายงานจากท่านอาบีกอตาดะฮ์ (ร.ด) ว่า เมื่อครั้งที่ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ซ.ล) เดินทางมาถึงเมืองมะดีนะฮ์ ท่านได้ถามหาสหายคนหนึ่งของท่านที่ชื่ออัลบะรออฺอิบนุมะอฺรู้ร (ร.ด) จากนั้นมีผู้รายงานให้ท่านรอซูล (ซ.ล) ทราบ ว่าบะรออฺ (ร.ด) ได้เสียชีวิตแล้วและมีคำสั่งเสียไว้ 2 ประการ คือ

(1)ยกทรัพย์สินจำนวน 1 ใน 3 ของทรัพย์สินทั้งหมดให้ท่านรอซูล และ

(2)ให้จัดท่านอนหันหน้าสู่ทิศกิบละฮ์ให้ขณะใกล้จะสิ้นใจท่านรอซูล (ซ.ล) จึงกล่าวตอบว่า أَصَابَ الْفِطْرَةَ “ บะรอฮ์ทำถูกต้องแล้ว (คือตรงตามซุนนะฮ์) และข้าพเจ้าขอยกทรัพย์สินจำนวนนั้นทั้งหมดคืนให้แก่ทายาทของเขา ” บันทึกโดยอัลบัยหะกีย์และท่านอัลหากิมระบุว่าเป็นหะดีษซอเหียะห์ได้มาตรฐาน

ท่านอิหม่ามอะหมัดได้รายงานไว้อีกว่า เมื่อครั้งที่ท่านหญิงฟาติมะฮ์บุตรีของท่านรอซูล (ซ.ล) จะเสียชีวิต นางได้นอนหันหน้าไปทางทิศกิบละฮ์และใช้มือด้านขวาหนุนศีรษะไว้ ท่านหุซัยฟะฮ์ (ร.ด) ก็เคยสั่งกำชับแก่ญาติและบุคคลทั่วไปไว้ว่า “ เมื่อฉันใกล้สิ้นใจ พวกท่านจงให้ฉันหันหน้าไปทิศกิบละฮ์ด้วย ” นักวิชาการในยุคสะลัฟหลายท่านได้อธิบายเสริมว่า ท่านอนตะแคงขวาหันหน้าสู่ทิศกิบละฮ์นี้เฉพาะผู้ที่มีความสามารถจะทำได้ หากไม่สามารถทำได้ก็ให้นอนหงายตามสะดวก แต่ให้ ยืดปลายเท้าไปทางทิศกิบละฮ์ และหนุนศีรษะให้สูงเล็กน้อยเพื่อให้สายตาได้มองไปทางทิศกิบละฮ์

2 - ให้พูดแต่สิ่งที่ดีเป็นบะรอกะฮ์มงคลและวิงวอนขอดุอาอ์แก่ผู้ป่วยหรือผู้ใกล้สิ้นใจ ท่านรอซูล (ซ.ล)ได้กล่าวแนะนำไว้ว่า

إِذَا حَضَرْتُمْ الْمَرِيضَ أَوْ الْمَيِّتَ فَقُولُوا خَيْرًا فَإِنَّ الْمَلاَئِكَةَ يُؤَمِّنُونَ عَلَى مَا تَقُولُون

ความหมาย “ เมื่อพวกท่านไปเยี่ยมคนป่วยหรือคนตาย พวกท่านจงพูดแต่เฉพาะสิ่งที่ดี เพราะแท้จริง แล้วบรรดามะลาอิกะฮ์จะกล่าวอามีนตามสิ่งที่พวกท่านพูด ” บันทึกโดยมุสลิม

3 - เตือนให้ผู้ป่วยและผู้ใกล้สิ้นใจมีสติและอดทนอดกลั้นต่อความเจ็บปวดให้มากที่สุด ให้เต็มใจและพอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น ให้นึกถึงการกำหนด (ตักดีร) และความประสงค์ของอัลลอฮ์ไว้เป็นสำคัญ ขออิสติฆฟารและเตาบะฮ์ให้มากๆ และให้พยายามนึกคิดแต่เฉพาะสิ่งที่ดี นึกถึงความดีและผลบุญของการซอบัรอดทน พยายามอย่าโวยวายและโอดครวญอย่างไม่เหมาะสม ท่านอับดุลลอฮ์อิบนุอับบาส (ร.ด) รายงานว่า ในอดีตมีสตรีนางหนึ่งเจ็บป่วยมาก เมื่อนางมีโอกาสได้พบกับท่านรอซูลุลลอฮ์ (ซ.ล) นางจึงเล่าอาการของนางให้ท่านรอซูล (ซ.ล) ฟังและขอร้องให้ช่วยขอดุอาอฺจากอัลลอฮ์ให้นางหายป่วย ท่าน รอซูล (ซ.ล) จึงกล่าวกับนางว่า

إِنْ شِئْتِ دَعَوْتُ اللهَ فَشَفَاكِ وَإِنْ شِئْتِ فَاصْبِرِي ْوَلاَ حِسَابُ عَلَيْكِ

ความหมาย “ ได้สิ หากเธออยากหายป่วยเราจะวิงวอนขอจากอัลลอฮ์ให้เธอหายป่วย แต่ถ้าเธออดทนและยอมเจ็บป่วยตามเดิม เธอจะได้รับการยกเว้นไม่ต้องถูกสอบสวนถึงความสุขสบายที่เธอเคยได้รับ ” นางตอบกับท่านรอซูลว่า ดิฉันยินดีเจ็บป่วยต่อไปเช่นนี้ ดิฉันจะอดทนให้ถึงที่สุด ดิฉันจะได้ไม่ต้องถูกสอบสวนอะไรมากมาย และมีรายงานจากท่านญาบีร (ร.ด) ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ซ.ล) กล่าวว่า

لاَ يَمُوْتَنَّ أَحَدُكُمْ إِلاَّ وَهُوَ يُحْسِنُ الظَّنَّ بِاللهِ

ความหมาย “ ผู้หนึ่งผู้ใดอย่าได้เสียชีวิต จนกว่าเขาจะมีความนึกคิดที่ดีต่ออัลลอฮ์เสียก่อน “ บันทึกโดยมุสลิม

ในกรณีที่ผู้ป่วยอาการไม่รุนแรงมาก สามารถพูดจาและช่วยตัวเองได้บ้างตามสมควร หากกังวลใจและวิตกมาก และไม่อาจทราบได้ว่าจะมีโอกาสหายป่วยหรือจะเสียชีวิตให้มอบหมายต่ออัลลอฮ์กล่าวอิสติฆฟารขออภัยโทษจากอัลลอฮ์ เพราะถือว่ายังไม่สายเกินไปที่จะสารภาพผิดและกลับเนื้อกลับตัว ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ซ.ล) กล่าวว่า

إِنَّ اللهَ يَقْبَلُ تَوْبَةَ الْعَبْدِ مَا لَمْ يُغَرْغِرْ

และให้อ่านดุอาอฺบทที่ท่านรอซูล (ซ.ล) ได้แนะนำไว้ดังนี้

اَللَّهُمَّ أَحْيِنِيْ مَا كَانَتِ الْحَيَاةُ خَيْرًا لِيْ ، وَتَوَفَّنِيْ مَا كَانَتِ الْحَيَاةُ خَيْرًا لِيْ

ความหมาย “ โอ้อัลลอฮ์ ขอทรงโปรดให้ข้าพระองค์มีชีวิตต่อไป หากการมีชีวิตเป็นสิ่งที่ดีมีคุณแก่ตัวข้าฯ และโปรดให้ข้าฯเสียชีวิตเถิด หากการเสียชีวิตเป็นสิ่งที่ดีมีคุณกับตัวข้าฯ “ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ และมุสลิม

4 - เมื่อมีผู้ป่วยอยู่ในสภาพที่หมดโอกาสหายและอยู่ในวาระสุดท้ายใกล้จะหมดลมหรือสิ้นใจแล้ว สมควรให้คนหนึ่งคนใดในที่นั้นทำการตัลกีน ( تَلْقِـيْن ) คือ นำกล่าวหรือสอนผู้ใกล้จะสิ้นใจให้กล่าวกะลิมะฮ์เตาฮีดตามว่า ( لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ ) โดยไม่ต้องนำกล่าวคำว่า ( مُحَمَّدٌ رَسُوْلُ اللهِ ) ดังมีรายงานจากอาบีสะอีดอัลคุดรีย์ (ร.ด) ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ซ.ล) กล่าวว่า

لَقِّنُوْامَوْتَاكُمْ قَوْلَ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ

ความหมาย “ พวกท่านจงนำคนใกล้สิ้นใจกล่าวคำปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ ” บันทึกโดยมุสลิม

และเมื่อผู้ใกล้สิ้นใจกล่าวกะลิมะฮ์ตามเรียบร้อยแล้วก็ไม่ต้องนำกล่าวหรือบอกซ้ำอีก และห้ามนำกล่าวอย่างเซ้าซี้หรือจู้จี้กับผู้ป่วย เพราะเกรงว่าอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหงุดหงิดและไม้เต็มใจกล่าวตาม แต่ถ้ายังไม่กล่าวตามก็ให้บอกและนำกล่าวคำกะลิมะฮ์นั้นซ้ำอีกครั้งหนึ่งด้วยเสียงที่ดังชัด เจนพอประมาณเพื่อจะได้ยินและกล่าวตามได้ง่ายขึ้น และไม่จำเป็นต้องบอกซ้ำอีกหลายๆครั้ง

นอกจากว่าผู้ใกล้สิ้นใจนั้นได้กล่าวหรือพูดคำพูดอื่นๆออกมา ทั้งนี่เพราะจุดประสงค์ก็คือเพื่อต้องการให้ประโยคคำพูดสุดท้ายคือการกล่าวกะลีมะฮ์เตาฮีด เพราะผู้ที่เสียชีวิตโดยมีคำพูดประโยคสุดท้ายก่อนสิ้นใจว่า ( لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ ) เขามีโอกาสได้รับการอภัยโทษและความกรุณาจากอัลลอฮ์ และจะได้เข้าสวรรค์ของพระองค์ ดังปรากฏในรายงานของท่านอิบนิอับบาส (ร.ด) ว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ซ.ล) กล่าวว่า

لَقِّنُوْامَوْتَاكُمْ شَهَادَةَ أَنْ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ فَمَنْ قَالَهَا عِنْدَ مَوْتِهِ وَجَبَتْ لَهُ الْجَنَّةُ

ความหมาย “ พวกท่านจงนำคนใกล้สิ้นใจกล่าวคำปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ ทั้งนี้เพราะว่าใครก็ตามที่กล่าวคำปฏิญาณนี้ขณะสิ้นใจ สวรรค์ย่อมได้แก่เขาอย่างแน่นอน ” บันทึกโดยอัดฏ็อบรอนีย์ และท่านมุอาซอิบนุญะบัล (ร.ด) รายงานจากท่านรอซูลุลลอฮ์ (ซ.ล) ว่า

مَنْ كَانَ آَخِرُ قَوْلِهِ لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ دَخَلَ الْجَنَّةَ

ความหมาย “ ผู้ใดที่คำพูดสุดท้ายของเขา -ก่อนสิ้นใจ- คือ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ เขาจะได้เข้าสวรรค์ ” บันทึกโดยอะหมัดและอาบูดาวูด

ส่วนการอ่านซูเราะฮ์ “ ยาซีน ” นั้น โดยอาศัยตัวบทหะดีษจากรายงานของท่านมะอฺกิลบิน ยะซาร (ร.ด) ว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ซ.ล) กล่าวว่า

“ยาซีน คือห้วใจของอัลกุรอาน ไม่ว่าบุคคลใดก็ตามที่อ่านยาซีนด้วยความมุ่งหวังต่ออัลลอฮ์และโลกอาคิเราะฮ์ เขาจักต้องได้รับการอภัยโทษ และพวกท่านจงอ่านยาซีนให้แก่ผ็ใกล้ตายของพวกท่าน ” บันทึกโดยอะหมัด,อาบูดาวูดและอันนะซาอีย์

นักวิชาการผู้ชำนาญศาสตร์หะดีษตั้งแต่ยุคสะลัฟมีความเห็นและคำอธิบายเป็น 2 ส่วน กล่าว คือ นักวิชาการส่วนมากระบุว่าหะดีษบทนี้เป็นหะดีษฏออีฟ(อ่อน) ไม่ได้มาตรฐานตามเงื่อนไขของการพิจารณาหะดีษ จึงไม่สามารถนำมาเป็นตัวบทในการอ่านซูเราะห์ยาซีนให้แก่ทั้งผู้ใกล้ตายและคนตายได้ ท่านอิหม่ามนะวะวีย์ได้ระบุในหนังสือ “อัลอัซการ” ไว้อย่างชัดเจนว่าหะดีษบทดังกล่าวนี้เป็นหะดีษฏออีฟ ในขณะที่นักวิชาการส่วนน้อย เช่น

ท่านอิบนุหิบบานและอัลหากิมมีความเข้าใจว่าหะดีษบทนี้เป็นหะดีษซอเหียะห์ ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ แต่คำว่า مَوْتَاكُمْ (เมาตา) นั้นมิได้หมายถึงคนตาย แต่หมายถึงเฉพาะคนใกล้ตายหรือใกล้สิ้นใจเท่านั้น ดังนั้นคนที่ตายไปแล้วจึงไม่สามารถอ่านซูเราะฮ์ยาซีนให้ได้ ไม่ว่าจะด้วยคำอธิบายและความเข้าใจของนักวิชาการกลุ่มใดก็ตาม ท่านอิหม่ามอัชเชากานีย์กล่าวว่า ชาวสะลัฟบางท่านเห็นควรให้อ่านซูเราะฮ์ ” อัรเราะอฺดุ ” ( الرَّعْدُ ) ให้ผู้ใกล้สิ้นใจฟัง เพราะจะช่วยให้ผู้ใกล้สิ้นใจหมดลมโดยไม่ทุกข์ทรมานและเจ็บปวดแต่อย่างใด ทั้งนี้อาศัยรายงานของอิหม่ามอาบีชัยบะฮ์และอัลมัรวะซีย์จากท่านญาบิรอิบนิเซด (ตาบีอีน) ว่าท่านญาบิรสนับสนุนให้อ่าน ซูเราะฮฺ ” อัรเราะอฺดุ ” ให้แก่ผู้ที่กำลังจะสิ้นใจ เพราะจะช่วยให้การถอดวิญญาณนั้นง่ายดาย ไม่เจ็บ ปวดทรมาน อีกทั้งยังเป็นคุณและผลดีต่อผู้ใกล้ตายอีกด้วย ( ตัฟซีรฟัตหุลก้อดีรรฺ 3/90) 

www.warasatussunnah.com


_________________

อัล-ญะนาอิซ (วิธีการจัดการศพ) ตอนที่ 2 
โดย อ.อับดุลลอฮฺ สุไลหมัด 
ข้อควรปฏิบัติเมื่อผู้ป่วยหมดลมสิ้นใจ 
1.เมื่อผู้ป่วยหมดลม (หยุดหายใจ) แน่นอนแล้ว สุหนัตให้กล่าวอิสติรญาอฺ ( الاسترجاع ) คือกล่าวประโยคหรือวรรคหนึ่งจากอัลกุรอาน ในบทอัลบะกอเราะฮ์

إِنَّا لِلَّهِ وَإِنَّا إِلَيْهِ رَاجِعُونَ

“ แน่แท้เราเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ และแน่นอนเราต้องกลับสู่พระองค์ “ บทอัลบะกอเราะฮ์ โองการที่ 156 ท่านหญิงอุมมุสะละมะฮ์ ภรรยาคนหนึ่งของท่านรอซูล (ซ.ล) กล่าวว่า “ ดิฉันได้ยินท่านรอซูลุลลอฮ์ (ซ.ล) กล่าวว่า ไม่ว่าบ่าวคนใดที่ประสบทุกข์ภัยและเขากล่าวดุอาอฺว่า

إِنَّا لِلَّهِ وَإِنَّا إِلَيْهِ رَاجِعُونَ اللَّهُمَّ أْجُرْنِي فِي مُصِيبَتِي وَأَخْلِفْ لِي خَيْرًا مِنْهَا

“ อินนาลิ้ลลาฮี่ ว่า อินนา อี้ลัยฮี่ รอญี่อูน อัลลอฮุมม๊ะญุรนี ฟี มู่ซีบ้าตี ว่า อัคลิฟ ลี ค็อยร็อน มินฮา ” ( แน่แท้เราเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ และแน่นอนเราต้องกลับสู่พระองค์ โอ้อัลลอฮ์ขอพระองค์ทรงตอบแทนกุศลความดีแก่ข้าพระองค์ในทุกข์โศกของข้าฯ และขอทรงโปรดประทานสิ่งที่ดีกว่าทด แทนให้ข้าฯด้วยเทอญ) และเมื่อครั้งที่อาบูสะละมะฮ์สามีของดิฉันเสียชีวิต ดิฉันก็กล่าวตามที่ท่านรอซูลได้เคยแนะนำไว้

ปรากฏว่าอัลลอฮ์ทรงทดแทนผู้ที่ดีกว่าอาบูสะละมะฮ์ให้กับดิฉัน นั่นคือท่านรอซูลนั่นเอง “ บันทึกโดยมุสลิม ท่านอาบูมูซาอัลอัชอะรีย์รายงานว่า ท่านรอซูลกล่าวว่า อัลลอฮ์ทรง มีรับสั่งถามบรรดามะลาอิกะฮ์ที่ถอดวิญญาณลูกน้อยของบ่าวว่า “ บ่าวของข้า (พ่อของเด็ก) พูดว่า อย่างไร ? ” มะลาอิกะฮ์ทูลตอบว่า “ บ่าวของพระองค์สรรเสริญพระองค์ และกล่าวอิสติรญาอฺว่า อินนาลิ้ลลาฮฺ ว่า อินนา ........... ” อัลลอฮ์จึงทรงรับสั่งแก่บรรดามะลาอิกะฮ์ว่า “ พวกเจ้าจงสร้างบ้านหนึ่งหลังในสวรรค์ ให้แก่บ่าวของเราคนนี้เถิด และจงตั้งชื่อบ้านหลังนั้นว่า ” บัยตุ้ลฮัมดิ ” บ้านแห่งการสรรเสริญ ” บันทึกโดยอัตติรมิซีย์

2.ให้ปิดตามัยยิตให้สนิท จนอยู่ในสภาพปกติเหมือนคนนอนหลับ ดังมีรายงานจากท่านรอซูลุล ลอฮ์ (ซ.ล) ว่า เมื่อครั้งที่ท่านอาบูสะละมะฮ์ (ร.ด) สิ้นลมหายใจ ท่านรอซูล (ซ.ล) ได้เข้าไปดูศพและเห็นว่าดวงตาของอาบูสะละมะฮ์ยังเหลือกค้างอยู่ ท่านจึงเอามือลูบบนดวงตาของอาบูสะละมะฮ์จนปิดสนิท และท่านรอซูล (ซ.ล) ก็กล่าวแนะนำชี้แจงแก่บรรดาซอฮาบะฮ์ในที่นั้นว่า

إِنَّ الرُّوحَ إِذَا قُبِضَ تَبِعَهُ الْبَصَرُ

“ แท้จริงเมื่อวิญญาณถูกถอดออกจากร่าง ดวงตาจะจ้องมองตามวิญญาณที่ออกไป “ โดยมุสลิม

3.คลุมร่างของมัยยิตด้วยผ้าให้มิดชิดตามสมควร โดยคลุมปิดให้มิดชิดไม่ให้เห็นเอาเราะฮ์ เพื่อป้องการความอุจาดตาแก่ผู้พบเห็น และป้องกันสัตว์หรือแมลงมารบกวนทำลายศพ ดังที่มีราย งานจากจากท่านหญิงอาอิชะฮ์ว่า “ เมื่อครั้งที่ท่านรอซูลเสียชีวิต (วะฟาต) ร่างของท่านถูกห่มคลุมด้วยผ้า ” บรุด ” มีลายเป็นทาง ” บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม

4.แจ้งข่าวการเสียชีวิตของมัยยิตให้ญาติมิตรและคนรู้จักทั่วไปได้ทราบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคน ดีมีคุณธรรมและผู้มีความรู้ทั้งหลาย เพื่อให้ช่วยแนะนำและบอกวิธีการจัดการศพอย่างถูกต้อง และเพื่อให้มีคนมาร่วมพิธีศพมากๆ เพราะโดยหน้าที่ของมุสลิมแล้วสมควรต้องมีส่วนร่วมในการทำหน้าที่ของมุสลิมต่อมุสลิมด้วยกัน โดยเฉพาะเมื่อตอนเสียชีวิต เช่น ช่วยแบก,ช่วยขุดหลุม,ช่วยฝังศพและร่วมละหมาดและขอดุอาอ์ให้แก่ศพมุสลิมฯลฯ ยิ่งมีผู้มาร่วมพิธีศพมากเท่าใดก็ยิ่งจะเป็น ผลดีกับมัยยิตมากตามไปด้วย ท่านหญิงอิชะฮ์รายงานว่า ท่านรอซูลลุลอฮ์ (ซ.ล) กล่าวว่า

مَا مِنْ مَيِّتٍ تُصَلِّي عَلَيْهِ أُمَّةٌ مِنْ الْمُسْلِمِينَ يَبْلُغُونَ مِائَةً كُلُّهُمْ يَشْفَعُونَ لَهُ إِلاَّ شُفِّعُوا فِيهِ

“ มัยยิต (ศพมุสลิม) ใดก็ตามที่มีมวลชนจากบรรดามุสลิมมาละหมาดให้ โดยมีจำนวนถึง 100 คนและทุกคนขอชะฟาอะฮ์ให้เขา แน่นอนทั้ง 100 คนนั้นต้องได้ชะฟาอะฮ์ให้แก่ศพมุสลิมนั้น “ บันทึกโดยอะหมัด,มุสลิมและอัตติรมิซีย์ ในอีกรายงานหนึ่งของท่านอับดิลลาฮฺอิบนิอับบาส (ร.ด) จากท่านรอซูล (ซ.ล) กล่าวว่า

فَيَقُومُ عَلَى جَنَازَتِهِ أَرْبَعُونَ رَجُلاً لاَ يُشْرِكُونَ بِاللَّهِ شَيْئًا إِلاَّ شَفَّعَهُمْ اللَّهُ فِيهِ

“ มีผู้มาละหมาดให้แก่ญะนาซะฮ์ของเขาจำนวน 40 คน โดยที่ทั้ง 40 คนนี้ไม่เคยทำภาคีกับอัลลอฮ์ แน่นอนทั้ง 40 คนนั้นจะได้ช่วยฟะฟาอะฮ์แก่เขาอย่างแน่นอน ” บันทึกโดยมุสลิม

ในบันทึกของอัลบุคอรีย์และมุสลิม ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ์ (ร.ด) รายงานว่า “ เมื่อครั้งที่อันนะญาชีย์กษัตริย์ผู้ครองเมืองหะบะชะฮ์สิ้นพระชนม์ ท่านรอซูล (ซ.ล) ทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ในวันนั้นโดยไม่มีผู้ใดเดินทางมาแจ้ง ท่านรอซูลจึงประกาศแจ้งให้บรรดาซอฮาบะฮ์ทุกคนทราบ และนำบรรดาซอฮา บะฮ์ออกมาละหมาดญะนาซะฮ์ให้แก่กษัตริย์อันนะญาชีย์ ” ท่านอะนัสอิบนุมาลิก (ร.ด) รายงานอีกว่า “ ท่านรอซูลเคยแจ้งข่าวการเสียชีวิตของท่านเซด,ญะฟัรและอับดุลลอฮ์อิบนุร็อววาฮะฮ์ ” บันทึกโดยอัลบุคอรีย์

5.รีบจัดการศพ (คนตาย) ตามขั้นตอนต่างๆให้เร็วตามสมควร เมื่อตรวจสอบเป็นที่แน่นอนแล้วว่าหยุดหายใจจริง ศาสนาอิสลามบัญญัติให้รีบจัดการศพ ตามขั้นตอนและหลักการศาสนาโดยเร่ง ด่วนตามสมควร โดยเฉพาะเมื่อเกรงหรือคาดว่าสภาพของศพอาจเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น เน่าเปื่อยหรือส่งกลิ่นเหม็น ให้รีบอาบน้ำให้ศพ,ห่อหุ้มศพให้มิดชิด,ละหมาดขอดุอาอ์ให้อัลลอฮ์ทรงอภัยโทษและเมตตาต่อศพและนำไปฝังให้มิดชิดป้องกันไม่ให้ศพส่งกลิ่นเน่าเหม็นหรือ โดนสัตว์ขุดคุ้ยขึ้นมากินซากหรือทำลายศพ ทั้งนี้การจัดการศพตามขั้นตอนต่างๆต้องดำเนินไปอย่าง ถูกต้องและเหมาะสม ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ์ (ร.ด) รายงานจากท่านรอซูล (ซ.ล) ว่า

َسْرِعُوا بِالْجِنَازَةِ فَإِنْ تَكُ صَالِحَةً فَخَيْرٌ تُقَدِّمُونَهَا وَإِنْ تَكُ سِوَى ذَلِكَ فَشَرٌّ تَضَعُونَهُ عَنْ رِقَابِكُمْ

“ พวกท่านจงเร่งรีบในการจัดการญะนาซะฮ์เถิด เพราะหากญะนาซะฮ์นั้นเป็นคนดี ก็ถือเป็นการดีสมควรดีแล้วที่พวกท่านเร่งให้เขาได้รับความดีเร็วขึ้น แต่หากว่าญะนาซะฮ์นั้นเป็นคนไม่ดี ก็เป็นการสมควรอีกเช่นกันที่พวกท่านจะได้ปลดความไม่ดีนี้ให้พ้นไปจากต้นคอของพวกท่าน ” บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม ครั้งหนึ่งท่านรอซูลุลลฮ์ (ซ.ล) ได้เป็นเยี่ยมท่านฏ็อลฮะฮ์ (ร.ด) ที่เจ็บป่วยและใกล้สิ้นใจ และท่านรอซูล (ซ.ล) ก็กล่าวว่า

إِنِّي لاَ أَرَى طَلْحَةَ إِلاَّ قَدْ حَدَثَ فِيهِ الْمَوْتُ فَآذِنُونِي بِهِ وَعَجِّلُوا فَإِنَّهُ لاَ يَنْبَغِي 
لِجِيفَةِ مُسْلِمٍ أَنْ تُحْبَسَ بَيْنَ ظَهْرَانَيْ أَهْلِهِ

“ ข้าพเจ้าเห็นสัญญาณแห่งความตายเกิดขึ้นแก่ฏ็อลฮะฮ์แล้ว ดังนั้นเมื่อเขาสิ้นใจพวกท่านต้องแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบโดยด่วน และพวกท่านจงรีบจัดการศพของฏ็อลฮะฮ์ทันที เพราะไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ศพของมุสลิมจะถูกปล่อยไว้เฉยๆท่ามกลางญาติพี่น้องโดยไม่รีบจัดการให้เรียบร้อย ” บันทึกโดยอาบูดาวู้ด แต่หากว่าจำเป็นต้องรอคอยทาญาติหรือญาติที่เป็นผู้ปกครอง (วะลีย์) ที่ต้องมีส่วนในการตัดสินใจในเรื่องที่จำเป็นเกี่ยวข้องกับศพหรืออื่นๆก็อนุญาตให้รอคอยได้ตามความจำเป็นเท่านั้น.

6.ให้เร่งชำระหนี้สินที่เป็นภาระผูกพันของมัยยิต ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ์(ร.ด) รายงานจากท่านรอซูลุลลอฮ์ (ซ.ล) ว่า 


نَفْسُ الْمُؤْمِنِ مُعَلَّقَةٌ بِدَيْنِهِ حَتَّى يُقْضَى عَنْهُ

“ วิญญาณของมุอฺมินจะถูกแขวนไว้กับภาระหนี้สินของเขา จนกว่าหนี้สินนั้นจะถูกชำระจนหมดเสียก่อน “ บันทึกโดยอะหมัดและอัตติรมิซีย์ คำว่าวิญญาณถูกแขวนไว้กับหนี้สินนั้นหมายความว่า เมื่อมุสลิมหรือมุอฺมินเสียชีวิตไปแล้ว เขายังจะไม่ได้รับการตอบแทน ทุกสิ่งทุกอย่างและทุกเรื่องที่เกี่ยว กับผลงานเขาจะถูกชะลอและค้างคาอยู่อย่างนั้นโดยไม่ทราบผล และมีหลายครั้งที่ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ซ.ล) เคยงดและแสดงความประสงค์ไม่ละหมาดญะนาซะฮ์ให้แก่ศพที่มีภาระหนี้สินผูกพันอยู่ จนกระทั่งมีผู้อาสารับผิดชอบชำระหนี้สินนั้นแทน ท่านรอซูล (ซ.ล) จึงละหมาดญะนาซะฮ์ให้ และในช่วงหลังๆท่านรอซูล (ซ.ล) เองก็อาสาช่วยรับผิดชอบชำระหนี้สินให้แก่ศพมุสลิมที่เสียชีวิตและมีภาระหนี้สินติดค้างอยู่ และไม่มีมรดกพอที่จะนำมาชำระหนี้ให้ได้ ท่านรอซูลุลลอฮ์ (ซ.ล) เคยกล่าวว่า

أَنَا أَوْلَى بِالْمُؤْمِنِينَ مِنْ أَنْفُسِهِمْ فَمَنْ تُوُفِّيَ مِنْ الْمُؤْمِنِينَ فَتَرَكَ دَيْنًا فَعَلَيَّ قَضَاؤُهُ

“ข้าพเจ้าสมควรต้องรับผิดชอบต่อบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายมากกว่าตัวพวกเขาเอง ดังนั้นผู้ใดเสียชีวิตและมีภาระหนี้สินไม่สามารถชดใช้ได้ ข้าพเจ้าขอรับผิดชอบชำระแทน “ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์

www.warasatussunnah.com

อัพเดทล่าสุด