แบบการนั่งขณะละหมาด ที่ถูกต้อง


16,171 ผู้ชม

นั่งแบบ “อิฟติรอช” ให้แบเท้าซ้าย แล้วให้ก้นทับเท้าซ้าย โดยให้เท้าขวาชันขึ้น และให้นิ้วเท้าหันไปทางกิบละฮ์


แบบการนั่งขณะละหมาด ที่ถูกต้อง

แบบการนั่งขณะละหมาด
1.นั่งแบบ “อิฟติรอช” ให้แบเท้าซ้าย แล้วให้ก้นทับเท้าซ้าย โดยให้เท้าขวาชันขึ้น และให้นิ้วเท้าหันไปทางกิบละฮ์

-นั่งแบบ “อิฟติรอช”นั่งในกรณีระหว่างสองสุญูด((หะดิษเศาะเฮียะฮ์...บันทึกโดยมุสลิมหะดิษลขที่ 768)
-และในขณะนั่งตะชะฮุดครั้งแรก((หะดิษเศาะเฮียะฮ์...บันทึกโดยติรมีซีย์ หะดิษเลขที่ 270)
2.นั่งแบบ "ตะวัรรุก”โดยให้ก้นแนบกับพื้น เท้าซ้ายยื่นไปที่ขาอ่อนกับหน้าแข้งขวา ส่วนเท้าขวายกชันขึ้น นิ้วเท้าหันไปทางกิบละฮ์
หรือนั่งตะวัรรุก โดยทำก้นแนบกับพื้น เท้าซ้ายยื่นไประหว่างขาอ่อน กับหน้าแข้งขวา ส่วนเท้าขวาแบราบกับพื้น (หะดิษเศาะเฮียะฮ์..บันทึกโดยมุสลิม หะดิษที่ 909)
-นั่งแบบตะวัรรุกนี้นั่งในกรณีในขณะนั่งตะฮ์ฮุดครั้งสุดท้าย
รายงานจากท่านหุมัยด์ ความว่า “เมื่อท่านรสูล นั่งในร้อกอะฮฺสุดท้าย ท่านจะยื่นเท้าซ้ายมาข้างหน้า และชันหน้าฝ่าเท้าอีกข้างหนึ่ง(เท้าขวา)และ(ก้น)นั่งราบกับพื้น”
(หะดิษเศาะเฮียะฮ์...บันทึกโดยบุคอรี หะดิษเลขที่ 675)
ส่วนกรณีการละหมาดที่มีสองร็อกอะฮ์ เช่นละหมาดศุบฮ์ มีสุนนะฮ์ให้นั่งแบบอิฟติรอช วึ่งปรากฏหลักฐานในหะดิษของนะสาอีย์(หนังสือ ศิฟะตุเศาะลาตินนบี” หน้า 155)
ส่วนบางทัศนะก็ให้นั่งแบบตะวัรรุก(เช่นทัศนะของอิมามชาฟีอีย์)
นักวิชาการฝ่ายอัชชาฟิอียะฮฺระบุว่า : ฮิกมะฮฺในการนั่งอิฟติรอชฺในการอ่านตะชะฮฺฮุดแรก และนั่งตะวัรรุกในตะชะฮฺฮุดครั้งที่ 2 ก็เพราะเป็นสิ่งที่ใกล้เคียงต่อรำลึกถึงการละหมาดและไม่เกิดความสับสนใน จำนวนของรอกอะฮฺ และเป็นเพราะว่าซุนนะฮฺให้นั่งตะชะฮฺฮุดครั้งแรกแบบเบา ๆ (คือไม่นานเกินไป) จึงให้นั่งแบบอิฟติรอชฺ เพื่อจะได้ง่ายและสะดวกในการลุกขึ้นยืน และซุนนะฮฺให้นั่งตะชะฮฺฮุดครั้งที่ 2 ยาว (คือนาน) และไม่มีการลุกขึ้นยืนหลังจากนั้นอีก จึงให้นั่งตะวัรรุกเพื่อจะได้เป็นการหนุนเนื่องสำหรับการอ่านตะชะฮฺฮุดและขอ ดุอาอฺได้เต็มที่ และเป็นเพราะว่าผู้ที่มาละหมาดทีหลัง (มัซบู๊ก) เมื่อเห็นเขานั่งตะวัรรุกก็รู้ว่าผู้ละหมาดอยู่นั้นอยู่ในการตะชะฮฺฮุดครั้ง ใด (อ้างแล้ว 3/431)
แม้การนั่งตะชะฮุดในร็อกอะฮ์สุดท้าย ของละหมาดที่มีสองร็อกอะฮ์จะเป็นรุก่นก็ตาม แต่ทว่า วิธีการนั่งจะเลือกนั่งแบบอิฟติรอช หรือนั่งแบบตะวัรรุกนั้น สามารถเลือกปฏิบัติได้ เพราะวิธีการนั่งมีหุก่มเป็นสุนนะฮ์ ส่วนผู้ละหมาดจะให้น้ำหนักทัศนะไหนนั้นเป้นสิทธิของแต่ละบุคคล
และ ถึงแม้อิมามจะนั่งอีกแบบกับเรา เหมือนเอามือแนบอก เหนือสะดือ ใต้สะดือ การกระดิกนิ้ว ไม่กระดิกนิ้ว การยกมือ เสมอบ่า หรือเลยบ่า ทั้งหมดมาจากรูปแบบท่านนบี ไม่ทำให้การละหมาดนั้นเสียไ
ที่มา : trustislam

อัพเดทล่าสุด