ข้อผิดพลาดในการละหมาด ที่มุสลิมควรพึงระวัง!


173,964 ผู้ชม

แท้จริงการละหมาดนั้น  เป็นดั่งเสาหลักของศาสนา เป็นรุก่น (หลักการ) ที่สองของบรรดาหลักการอิสลาม เป็นสิ่งแรกที่มนุษย์จะถูกสอบสวนในวันกิยามะฮฺ


แท้จริงการละหมาดนั้น  เป็นดั่งเสาหลักของศาสนา เป็นรุก่น (หลักการ) ที่สองของบรรดาหลักการอิสลาม เป็นสิ่งแรกที่มนุษย์จะถูกสอบสวนในวันกิยามะฮฺ ดังนั้น จำเป็นที่มุสลิมทุกคนจะต้องใส่ใจในวิธีการปฏิบัติละหมาด ให้เสมือนดังที่ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ปฏิบัติและชี้แจงลักษณะการละหมาดแก่ประชาติของท่านไว้

ข้อผิดพลาดในการละหมาด ที่มุสลิมควรพึงระวัง!

ข้อผิดพลาดในการละหมาด 

- ละหมาดที่บ้าน (โดยไม่ไปญะมาอะฮที่มัสยิด)

- ละหมาดใสเสื้อแต่เห็นบ่า หรือผู้ที่ทำอุมเราะฮจะปล่อยให้เห็นบ่า

- สวมกางเกงที่ยาวเลยตาตุ่ม

- เข้ามัสยิดไม่อ่านดุอา และไม่ละหมาดตะหิยยะตุลมัสยิด

- การเข้าศ็อฟไม่ชิดเท้าและบ่า

- ไม่แข่งขันอาซานและอยู่ศ็อฟแรก

- ไม่มีผู้รู้อยู่แถวหน้าหรือใกล้ชิดอิม่าม

- ละหมาดไม่กั้นหน้าในขณะละหมาด ฯลฯ

ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า :

 صَلُّوا كَمَا رَأَيْتُمُونِي أُصَلِّي 
“พวกท่านจงละหมาด เสมือนดังที่พวกท่านเห็นฉันละหมาด” ( หะดีษที่ 631)


1. การที่กระดูกสันหลัง ไม่ยืดตรงในการรุกัวอฺหรือสุญูด ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า :

 لَا تُجْزِئُ صَلَاةٌ لِأَحَدٍ لَا يُقِيمُ فِيهَا ظَهْرَهُ فِي الرُّكُوعِ وَالسُّجُودِ 

“การละหมาดของผู้หนึ่งผู้ใด ที่หลังของเขาไม่ตรง ในเวลารุกัวอฺและสุญูด จะใช้ไม่ได้” (4/122)

ท่านนบี เปรียบ ขโมยละหมาด เป็นความชั่วช้า กว่าการขโมยทรัพย์สินเงินทองเสียอีก นบีกล่าวว่า

أَسْوَأُ النَّاسِ سَرِقَةً الَّذِي يَسْرِقُ مِنْ صَلَاتِهِ ((قَالُوا: يَا رَسُولَ اللَّهِ ، وَكَيْفَ يَسْرِقُ مِنْ صَلَاتِهِ ؟ قَالَ: ))لَا يُتِمُّرُكُوعَهَا وَلَا سُجُودَهَا (( أَوْ قَالَ: )) لَا يُقِيمُ صُلْبَهُ فِي الرُّكُوعِ وَالسُّجُود

“ผู้ขโมยที่ชั่วช้าที่สุด คือผู้ที่ขโมยละหมาดของเขาเอง” “เขาไม่ได้ทำการรุกัวอฺและสุญูดในละหมาดอย่างสมบูรณ์” หรือ “กระดูกสันหลังของเขา ไม่ยืดตรงขณะรุกัวอฺและสุญูด” (5/310)
ทำหลังให้ตรงและเสมอกัน ถ้าหากเทน้ำลงไป น้ำก็จะไม่ไหลลงพื้น

นบีรุกัวอฺ ท่านก็จะทำให้หลังเหยียดตรง ไม่จิ้มศีรษะของท่านลงมากไป และไม่เงยศีรษะขึ้นมามากเกินไป (คือ ให้ศีรษะอยู่ในระดับเดียวกับหลัง) และวางมือทั้งสองของท่านลงบนเข่าทั้งสอง” (127/1039)

ในแง่ของการสุญูด ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า :

 أُمِرْتُ أَنْ أَسْجُدَ عَلَى سَبْعَةِ أَعْظُمٍ : الجَبْهَةِ ، وَأَشَارَ بِيَدِهِ عَلَى أَنْفِهِ ، وَاليَدَيْنِ ، وَالرُّكْبَتَيْنِ ، وَأَطْرَافِ القَدَمَيْنِ

“ฉันถูกสั่งใช้ให้สุญูดด้วย 7 กระดูก (อวัยวะ) อันได้แก่ หน้าผาก และท่านก็ได้ชี้ไปที่จมูกของท่าน, มือทั้งสอง, เข่าทั้งสอง, และปลายเท้าทั้งสอง” (อัลบุคอรีย์ 167/812, มุสลิม 202/490)
การไม่มีความสงบนิ่ง (เฏาะมะอ์นีนะฮฺ) จะใช้ไม่ได้ ซัยดฺ บินวะฮับ เล่าว่า หุซัยฟะห์ได้เห็นชายผู้หนึ่ง ทำการรุกัวอฺและสุญูด อย่างไม่สมบูรณ์ (ทำแบบลวกๆ เร็วๆ) เขาจึงกล่าวกับชายผู้นั้นว่า ท่านยังไม่ได้ละหมาด และถ้าท่านเสียชีวิตไป ท่าไม่อยู่บนศาสนา (162/791)


ท่านนบี (ซ.ล.) กล่าวว่า :

أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ دَخَلَ المَسْجِدَ فَدَخَلَ رَجُلٌ ، فَصَلَّى ، فَسَلَّمَ عَلَى النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ، فَرَدَّ وَقَال " ارْجِعْ فَصَلِّ ، فَإِنَّكَ لَمْ تُصَلِّ " ، فَرَجَعَ يُصَلِّي كَمَا صَلَّى ، ثُمَّ جَاءَ ، فَسَلَّمَ عَلَى النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ، فَقَالَ " ارْجِعْ فَصَلِّ ، فَإِنَّكَ لَمْ تُصَلِّ " ثَلاَثًا ، فَقَالَ : وَالَّذِي بَعَثَكَ بِالحَقِّ مَا أُحْسِنُ غَيْرَهُ ، فَعَلِّمْنِي ، فَقَالَ " إِذَا قُمْتَ إِلَى الصَّلاَةِ فَكَبِّرْ ، ثُمَّ اقْرَأْ مَا تَيَسَّرَ مَعَكَ مِنَ القُرْآنِ ، ثُمَّ ارْكَعْ حَتَّى تَطْمَئِنَّ رَاكِعًا ، ثُمَّ ارْفَعْ حَتَّى تَعْدِلَ قَائِمًا ، ثُمَّ اسْجُدْ حَتَّى تَطْمَئِنَّ سَاجِدًا ، ثُمَّ ارْفَعْ حَتَّى تَطْمَئِنَّ جَالِسًا ، وَافْعَلْ ذَلِكَ فِي صَلاَتِكَ كُلِّهَا

“ท่านนบี ได้เข้ามัสญิด ต่อมามีชายผู้หนึ่ง ได้เข้ามัสญิดมาด้วย แล้วชายผู้นั้นก็ได้ทำละหมาด เมื่อเสร็จแล้ว เขาก็ให้สลามท่านนบี ท่านนบีจึงตอบรับสลาม แล้วก็ได้กล่าวแก่เขาว่า “จงกลับไปทำละหมาด แท้จริงท่านยังไม่ได้ละหมาด” ชายผู้นั้นก็กลับไปละหมาดอีกครั้ง อย่างเช่นที่เขาละหมาดครั้งแรก หลังจากนั้นเขาก็มาหานบี ให้สลามท่าน ท่านก็กล่าวอีกว่า

“จงกลับไปละหมาด แท้จริงท่านยังไม่ได้ละหมาด” เป็นเช่นนี้อยู่ 3 ครั้ง ชายผู้นั้นจึงกล่าวว่า “ขอสาบานด้วยผู้ที่ส่งท่านมาด้วยกับความจริง ฉันไม่สามารถทำได้ดีกว่านี้อีกแล้ว ขอท่านจงสอนฉันเถิด” ท่านนบีกล่าวตอบว่า “เมื่อท่านยืนขึ้น เพื่อทำละหมาดแล้ว ก็จงกล่าวตักบีร (อัลลอฮุอักบัร) หลังจากนั้น ก็จงอ่านสิ่งที่ท่านสามารถอ่านได้ จากอัลกุรอาน หลังจากนั้นก็รุกัวอฺ จนกว่าจะสงบนิ่งในท่ารุกัวอฺ และหลังจากนั้น ก็จงยืนขึ้น จนกว่าจะยืนนิ่งตรง หลังจากนั้นก็สุญูด จนกว่าจะสงบนิ่งในท่าสุญูด หลังจากนั้นก็ขึ้นมานั่ง จนกว่าจะสงบนิ่งในท่านั่ง และก็จงทำเช่นนี้ในละหมาดของท่านทุกอิริยาบถ” (อัลบุคอรียฺ 157/757 , มุสลิม 170-171/397 )


การทำละหมาดก่อนอิมาม ท่านนบี กล่าวว่า :

صَلَّى بِنَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ذَاتَ يَوْمٍ فَلَمَّا قَضَى الصَّلَاةَ أَقْبَلَ عَلَيْنَا بِوَجْهِهِ ، فَقَالَ " أَيُّهَا النَّاسُ ، إِنِّي إِمَامُكُمْ ، فَلَا تَسْبِقُونِي بِالرُّكُوعِ وَلَا بِالسُّجُودِ ، وَلَا بِالْقِيَامِ وَلَا بِالِانْصِرَافِ ، فَإِنِّي أَرَاكُمْ أَمَامِي وَمِنْ خَلْفِي " ثُمَّ قَالَ " وَالَّذِي نَفْسُ مُحَمَّدٍ بِيَدِهِ ، لَوْ رَأَيْتُمْ مَا رَأَيْتُ لَضَحِكْتُمْ قَلِيلًا وَلَبَكَيْتُمْ كَثِيرًا " قَالُوا : وَمَا رَأَيْتَ يَا رَسُولَ اللَّهِ قَالَ : رَأَيْتُ الْجَنَّةَ وَالنَّارَ 

“นบี นำละหมาดเราในวันหนึ่ง และเมื่อเสร็จสิ้นจากการละหมาด ท่านก็ผินหน้ามายังพวกเรา และกล่าวว่า “โอ้ ประชาชนทั้งหลาย แท้จริงฉันนั้นเป็นอิมามของพวกท่าน ดังนั้น พวกท่านจงอย่าได้ทำการรุกัวอฺก่อนฉัน อย่าได้สุญูดก่อนฉัน อย่าได้ยืนขึ้นก่อนฉัน หรือกระทั่งให้สลามเสร็จละหมาดก่อนฉัน” แท้จริงฉันเห็นพวกท่านข้างหน้าฉัน (นอกเวลาละหมาด) และข้างหลังฉัน (ในเวลาละหมาด ด้วยการเห็น โดยวิถีอันไม่ปกติ) (คือ ฉันเห็นพวกท่านในเวลาละหมาด ดังที่เห็นพวกท่านนอกเวลาละหมาด) และท่านก็ได้กล่าวว่า “ขอสาบานด้วยผู้ที่ชีวิตของมุหัมมัด อยู่ในอุ้งหัตถ์ของพระองค์ ถ้าหากว่าพวกท่านได้เห็นสิ่งที่ฉันได้เห็น พวกท่านจะหัวเราะน้อย และจะร้องไห้มาก อย่างแน่นอน” บรรดาเศาะหาบะฮฺกล่าวว่า “ท่านได้เห็นอะไรหรือ” ท่านนบีตอบว่า “ฉันได้เห็นสวรรค์และนรก” (183/ 426)


 أَمَا يَخْشَى الَّذِي يَرْفَعُ رَأْسَهُ قَبْلَ الْإِمَامِ ، أَنْ يُحَوِّلَ اللَّهُ رَأْسَهُ رَأْسَ حِمَارٍ 

“ผู้ที่ยกศีรษะของเขาขึ้นก่อนอิมามนั้น เขาไม่เกรงกลัวหรอกหรือ ที่อัลลอฮฺจะทรงเปลี่ยนศีรษะของเขา ให้กลายเป็นหัวของลา” (มุสลิม, อัล-บุคอรียฺ)

ละหมาดไม่ทัน ไม่รอให้อิมามสลามที่ 2 ให้เรียบร้อยก่อน เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ต้องรอให้อิมามสลามครั้งที่ 2 ให้เสร็จสิ้นเสียก่อน จึงจะลุกขึ้นทำการละหมาดชดใช้ร็อกอะฮฺ ที่ขาดไปของเขา
สวมเสื้อผ้าที่ยาวระพื้น ถูกห้ามในภาพรวมอยู่แล้ว (การใส่เสื้อผ้ายาวเกินตาตุ่ม) ท่านนบี กล่าวว่า :

 ثَلَاثَةٌ لَا يُكَلِّمُهُمُ اللَّهُ يَوْمَ الْقِيَامَةِ ، وَلَا يَنْظُرُ إِلَيْهِمْ وَلَا يُزَكِّيهِمْ وَلَهُمْ عَذَابٌ أَلِيمٌ )) قَالَ: فَقَرَأَهَا رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ثَلَاثَ مِرَارًا ، قَالَ أَبُو ذَرٍّ : خَابُوا وَخَسِرُوا ، مَنْ هُمْ يَا رَسُولَ اللَّهِ ؟ قَال : الْمُسْبِلُ ، وَالْمَنَّانُ ، وَالْمُنَفِّقُ سِلْعَتَهُ بِالْحَلِفِ الْكَاذِبِ 


“ในวันกิยามะฮฺ มีบุคคล 3 จำพวก ที่อัลลอฮฺจะไม่ทรงสนทนากับพวกเขา ไม่ทรงมองไปยังพวกเขา ไม่ทรงทำให้พวกเขาสะอาดบริสุทธิ์ (จากความชั่ว) และสำหรับพวกเขานั้นคือการลงโทษอันเจ็บแสบ” ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าว 3 ครั้ง แล้วอบูซัร จึงกล่าวว่า “พวกเขาพ่ายแพ้ และขาดทุนอย่างย่อยยับ พวกเขาคือใครกันหรือ เราะสูลของอัลลอฮฺ” ท่านเราะสูล กล่าวตอบว่า “ผู้ที่ใส่เสื้อผ้ายาวระพื้น ผู้ที่บริจาคทรัพย์ หรือทำความดีเพื่อหวังคำชมเชย (อีกนัยหนึ่ง คือ ผู้ที่โกงตราชั่งในการซื้อขาย:อัลค็อฏฏอบีย์) และผู้ที่นำเสนอสินค้าของเขาด้วยคำพูดชวนเชื่อ ที่ไม่เป็นความจริง” ( 68 / 106 )


مَا أَسْفَلَ مِنَ الكَعْبَيْنِ مِنَ الإِزَارِ فَفِي النَّارِ 

“สิ่งที่อยู่ใต้ตาตุ่มจากเสื้อผ้านั้น อยู่ในนรก” (1132 / 5787)

ใส่เสื้อผ้ายาวระพื้นเลยตาตุ่ม เท่ากับ ว่าปกปิดร่างกายด้วยสิ่งหะรอม ละหมาดของเขา อยู่ในภาวะอันตราย

อัพเดทล่าสุด