ไม่มีสงกรานต์ในอิสลาม เพราะอิสลามมีแค่ 2 วันอีดเท่านั้น


5,785 ผู้ชม

วันสงกรานต์ นั้นมิใช่เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยเท่านั้น แต่ทว่ายังมีความเป็นตำนานและความเชื่อที่สืบทอดกันมาจากพี่น้องชาวพุทธและ ยังมีพิธีกรรมในรูปแบบที่เฉพาะอีกด้วย ซึ่งในเชิงหลักการของอิสลาม ถือว่าไม่อนุญาตแก่มุสลิมให้มีความเชื่อและร่วมพิธีกรรมที่ไม่รากฐานมาจากอิสลาม


ไม่มีสงกรานต์ในอิสลาม เพราะอิสลามมีแค่ 2 วันอีดเท่านั้น


กิจกรรมในวันสงกรานต์

การทำบุญตักบาตร ถือว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวเอง และ อุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญแบบนี้มักจะเตรียมไว้ล่วงหน้า นำอาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัด ซึ่งจัดเป็นที่รวมสำหรับทำบุญ ในวันนี้หลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จแล้ว ก็จะมีการก่อพระทรายอันเป็นประเพณีด้วย
การสรงน้ำพระ
การรดน้ำ เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน น้ำที่รดมักใช้น้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมดา

การสรงน้ำพระจะรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด และบางที่จัด สรงน้ำพระสงฆ์ ด้วย

บังสุกุลอัฐิ กระดูกญาติผู้ใหญ่ที่ตายแล้ว มักก่อเป็นเจดีย์ แล้วนิมนต์พระไปบังสุกุล

การรดน้ำผู้ใหญ่ คือการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ ครูบาอาจารย์ ท่านผู้ใหญ่มักจะนั่งลงแล้วผู้ที่รดก็จะเอาน้ำหอมเจือกับน้ำรดที่มือท่าน ท่านจะให้ศีลให้พรผู้ที่ไปรด ถ้าเป็นพระก็จะนำผ้าสบงไปถวายให้ท่านผลัดเปลี่ยนด้วย หากเป็นฆราวาสก็จะหาผ้าถุง ผ้าขาวม้าไปให้

การดำหัว จุดประสงค์คล้ายกับการรดน้ำทางภาคกลาง พบเห็นได้ทางภาคเหนือ การดำหัวทำเพื่อแสดงเราเคารพนับถือต่อพระ, ผู้สูงอายุ คือการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ ของที่ใช้ในการดำหัวส่วนมากมีอาภรณ์ มะพร้าว กล้วย ส้มป่อยเทียนและดอกไม้

การปล่อยนกปล่อยปลา ถือเป็นการล้างบาปที่ทำไว้ เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้มีแต่ความสุขความสบายในวันขึ้นปีใหม่

การนำทรายเข้าวัด ทางภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นนิมิตโชคลาภ ให้มีความสุขความเจริญ เงินทองไหลมาเทมาดุจทรายที่ขนเข้าวัด แต่ก็มีบางที่ เชื่อว่าตลอดปี การนำทรายที่ติดเท้าออกวัด เป็นบาป จึงขนทรายเข้าวัดเพื่อไม่ให้เป็นบาป

ไม่มีสงกรานต์ในอิสลาม เพราะอิสลามมีแค่ 2 วันอีดเท่านั้น

วันสงกรานต์ นั้นมิใช่เป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยเท่านั้น แต่ทว่ายังมีความเป็นตำนานและความเชื่อที่สืบทอดกันมาจากพี่น้องชาวพุทธและ ยังมีพิธีกรรมในรูปแบบที่เฉพาะอีกด้วย ซึ่งในเชิงหลักการของอิสลาม ถือว่าไม่อนุญาตแก่มุสลิมให้มีความเชื่อและร่วมพิธีกรรมที่ไม่รากฐานมาจากอิสลาม

อัลเลาะฮ์ทรงตรัสความว่า

وَمَن يَبْتَغِ غَيْرَ الإِسْلاَمِ دِيناً فَلَن يُقْبَلَ مِنْهُ

“ผู้ใดแสวงหาอื่นจากอิสลามมาเป็นศาสนา (ของตน) แน่นอนเขาจะไม่ถูกตอบรับ” (อาลิอิมรอน : 85)

ข้อความบ่งชี้ของโองการนี้ ได้สะท้อนให้เห็นเช่นกันว่า ผู้ใดนำสิ่งอื่นที่เป็นหลักการอันนอกเหนือจากอิสลามและมิได้อยู่บนรากฐานใดรากฐานหนึ่งของอิสลามมาเป็นเรื่องของศาสนา เขาย่อมไม่ถูกตอบรับและอิสลามไม่เกี่ยวข้องใด ๆ ด้วย

ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้วจนะไว้ความว่า

مَنْ تَشَبَّهَ بِقَوْمٍ فَهُوَ مِنْهُمْ

“ผู้ใดทำการเลียนแบบคล้ายกับชนกลุ่มหนึ่ง แน่นอนเขาย่อมเป็นส่วนหนึ่งจากพวกเขา”

วจนะนี้ ฉายให้เราเห็นว่า การงานใดที่ไม่มีหลักการหรือรากฐานจากศาสนาอิสลาม แล้วมีเจตนาเลียนแบบหลักการของชนกลุ่มหนึ่งหรือประเพณีของชนกลุ่มหนึ่งที่ขัดกับหลักการอิสลาม เขาก็ย่อมเป็นส่วนหนึ่งจากผู้ที่กระทำตามแนวทางของพวกเขา

พี่น้องชาวพุทธอาจจะอ่านบทความนี้ และตั้งคำถามขึ้นว่า มุสลิมรังเกียจประเพณีของชาวพุทธหรือประเพณีของชาวไทยกระนั้นหรือ? ทั้งที่เราเป็นคนไทยเหมือนกัน ผมขอเรียนดังนี้นะครับว่า การที่เรามิได้ร่วมพิธีกรรมหรือกิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานสงกรานต์นั้น มิใช่หมายถึงเรารังเกียจ แต่ทว่าหลักศาสนาได้ห้ามมิให้เรากระทำเท่านั้นเอง และการที่เรามิได้ร่วมพิธีกรรมหรือกิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวกับสงกรานต์นั้น มิได้หมายความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องมุสลิมและชาวพุทธจะต้องสั่นคลอนลงไป หรือห้ามมุสลิมปฏิบัติดีต่อพี่น้องชาวพุทธก็หาไม่ เพราะไม่ว่าจะเป็นวันสงกรานต์หรืออื่นจากวันสงกรานต์ อิสลามส่งเสริมให้มุสลิมปฏิบัติดีและแสดงความมีจรรยามารยาทที่ดีต่อพี่น้องต่างศาสนิก

อัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงตรัสว่า

لَا يَنْهَاكُمُ اللَّهُ عَنِ الَّذِينَ لَمْ يُقَاتِلُوكُمْ فِي الدِّينِ وَلَمْ يُخْرِجُوكُم مِّن دِيَارِكُمْ أَن تَبَرُّوهُمْ وَتُقْسِطُوا إِلَيْهِمْ إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ الْمُقْسِطِينَ

"อัลเลาะฮ์ไม่ห้ามพวกเขาที่จะกระทำดีและแสดงความยุติธรรมกับพวกที่ไม่รบราพวกเจ้าในศาสนาและไม่ขับไล่พวกเจ้าออกจากบ้านเมืองของพวกเจ้า แท้จริง อัลเลาะฮ์ทรงรักบรรดาผู้แสดงความยุติธรรม" (อัลมุมตะฮินะฮ์ : 8)

ดังนั้น อิสลามเป็นศาสนาที่สอนให้มีจรรยามารยาทที่ดีงาม มีความเมตตาปราณี ส่งเสริมให้มีความยุติธรรมและสันติภาพ นอกจากนั้น อิสลามยังพิทักษ์รักษาเสรีภาพ เกียรติยศ และความมีศักดิ์ศรี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เป็นเพียงคำขวัญแต่เป็นหลักการที่อิสลามยึดเหนี่ยวอยู่

ท่านศาสนทูต ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม วจนะไว้ว่า

خَالِقِ النَّاسَ بِخُلُقٍ حَسَنٍ

"ท่านจงปฏิบัติดีต่อมวลมนุษย์ ด้วยจรรยาที่ดีงาม"

วจนะนี้ อยู่ในความหมายครอบคลุม ซึ่งรวมทั้งมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมที่เราต้องปฏิบัติด้วยจรรยามารยาทที่ดีงามและมีคุณธรรมตราบใดที่การปฏิบัติ ดังกล่าวไม่ขัดกับหลักศาสนา

และตราบใดที่ต่างฝ่ายก็มีกฎหมายหรือพันธะสัญญาร่วมกันว่าจะอยู่กันอย่างสงบสุข นักปราชญ์นิติศาสตร์อิสลาม มีหลักนิติศาสตร์ความว่า

أُمِرْنَا أَنْ نَتْرُكَهُمْ وَمَا يَدِيْنُوْنَ

"เราได้ถูกใช้ให้ทำการปล่อย (ให้เป็นอิสระกับ) พวกเขาและสิ่งที่พวกเขานับถือ"

หมายถึง เราต้องไม่ไปละเมิดหลักความเชื่อและสิ่งที่พวกเขานับถือ และหลักความเชื่อของพวกเขาต้องไม่สร้างความเดือดร้อนต่อมุสลิม ดังกล่าวก็เพื่อให้ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข

นั่นคือ พี่น้องมุสลิมต้องกำหนดบทบาทของตนเองอันถูกต้องที่เกี่ยวข้องกับวันสงกรานต์ และมุ่งสร้างความเข้าใจอันดีเกี่ยวกับหลักการของอิสลามต่อเพื่อนต่างศาสนา ในขณะที่เพื่อนชาวพุทธต้องทำความเข้าใจหลักการของอิสลาม เพื่อมิให้ความแตกต่างในหลักการของประเพณีและศาสนามาเป็นตัวกำหนดให้เกิดความแตกแยกของชนในชาติ


islamhouse.muslimthaipost.com

อัพเดทล่าสุด