การถือศีลอดเดือนรอญับ


18,189 ผู้ชม

“รอญับ” เป็นชื่อของแม่น้ำสรวงสวรรค์ ซึ่งมีน้ำสีขาวยิ่งกว่าน้ำนม มีความหวานยิ่งกว่าน้ำผึ้ง  มีความเย็นยิ่งกว่าน้ำแข็ง จะไม่มีใครได้ดื่มนอกจากผู้ที่ถือบวช ในเดือนรอญับ เท่านั้น


รอญับ ตามรากศัพท์มีความหมายว่า “ยิ่งใหญ่” หรือ เท   เพราะเราห์มัตจะถูก เท ทราห์มัตจะถูกเทมาให้แก่บรรดาผู้ขออภัย  อีกทั้งจะได้นำมาซึ่งความท่วมท้น แก่ผู้ปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีงามมาให้แก่บรรดาผู้ขออภัย  อีกทั้งจะได้นำมาซึ่งความท่วมท้น แก่ผู้ปฏิบัติแต่สิ่งที่ดีงาม

นักวิชาการบางท่านกล่าวว่า “รอญับ” เป็นชื่อของแม่น้ำสรวงสวรรค์ ซึ่งมีน้ำสีขาวยิ่งกว่าน้ำนม มีความหวานยิ่งกว่าน้ำผึ้ง  มีความเย็นยิ่งกว่าน้ำแข็ง จะไม่มีใครได้ดื่มนอกจากผู้ที่ถือบวช ในเดือนรอญับ เท่านั้น

ท่านนะบีศ้อลฯ กล่าวว่า

رَجَبٌ شَهْرُاللهِ وَشَعْبَانُ شَهْرِىْ وَرَمَضَانُ شَهْرُأُمَّتِىْ

ความว่า      รอญับ เป็นเดือนของอัลลอฮ์      ซะบานเป็นเดือนของฉัน 

และรอมดอนเป็นเดือนแห่งอุมัต(ประชากร) ของฉัน

และนักถอดรหัสกล่าวว่า  คำว่า “รอญับ” ในภาษาอาหรับนั้นเป็นคำที่มีสามอักษร คือ อักษรรอ อักษรญีม และอักษรบา 

อักษรรอ ر เป็นรหัสของ “เราะฮ์มะตุลลอฮ์” ซึ่งหมายถึงความเมตตาของอัลลอฮ์

อัรษรญีม ج  เป็นรหัสของ “ญุรมุลอับดิ” ซึ่งหมายถึงความผิดของบ่าว

อักษรบา ب  เป็นรหัสของ “บิรรุ้ลลอฮ์” ซึ่งหมายถึง ความใจบุญของอัลลอฮ์

ประดุจอัลลอฮ์ได้กล่าวว่า “จงทำให้ความผิดของบ่าวของฉันอยู่ระหว่างความเมตตาและความใจบุญของฉัน

การถือศีลอดเดือนรอญับ

".. การถือศีลอดเดือนรอญับ .."

.. การถือศีลอดสุนัต คือสิ่งที่ปฏิบัติได้เสมอ ทุกๆวัน

.. บางวัน เป็นวันพิเศษสำหรับการถือศีลอด 

.. เช่น วันจันทร์ - วันพฤหัสบดี

.. วันอารอฟะฮฺ(วันที่ 9 เดือนซุลฮิจญะฮฺสำหรับผู้ไม่ได้ทำฮัจญ์) และรวมถึงแปดวันแรกของเดือนด้วย

.. ถือศีลอด 6 วันในเดือนเซาว้าล

.. ถือศีลอดวันเว้นวัน

.. วันอาซูรออฺ (วันที่สิบเดือนมุฮัรรอม) และวันตาซูอาอฺ(วันที่ 9 เดือนมุฮัรรอม) และที่ดีที่สุดควรเพิ่มวันที่ 11 อีก 1 วัน

.. วันที่ 13-14-15 ของทุกๆเดือน

.. ถือศีลอดเดือนซะอฺบาน

.. ถือศีลอดในวันใดๆ ก็ได้ที่ไม่ตรงกับวันต้องห้ามถือศีลอด

.. วันต้องห้ามถือศีลอดมี 5 วันคือ วันอีดทั้งสอง และวันตัซรีก(สามวันหลังจากวันอีดิ้ลอัฎฮา)

.. ในเดือนร่อญับ จึงมีสุนัตให้ถือศีลอดได้ เพราะไม่ตรงกับวันต้องห้าม แต่ไม่มีหะดีษถูกต้องและชัดเจนระบุถึงความพิเศษของการถือศีลอดในเดือนนี้ ท่านใดถือศีลอดในเดือนนี้ให้ตั้งใจว่า "ถือศีลอดสุนัตเพื่ออัลเลาะฮฺ" โดยไม่เชื่อมั่นว่า การถือศีลอดสุนัตในวันนี้เดือนนี้ทำแล้วจะได้อย่างนั้นอย่างนี้ตามกระแสที่ถูกส่งต่อๆกันมา เพราะไม่มีรายงานที่ถูกต้องใดๆระบุเช่นนั้น

..." การถือศีลอดเพื่ออัลเลาะฮฺ ซ.บ.โดยบริสุทธิ์ใจเพียงวันเดียว พระองค์จะทรงให้ผู้นั้นห่างไกลจากนรกถึง 70 ปี "...

หลักฐานของการถือศีลอดในเดือนรอญับ

ฮาดิษที่เกี่ยวกับการถือศีลอดในเดือนรอญับ มีทั้งที่กล่าวในรูปแบบรวมๆและที่เจาะจง ทั้งสองนั้นก็มีทั้งศอเฮียฮ ฎออิฟ และเมาฎูอ์ ซึ่งแน่นอนอูลามาไม่ยึดฮาดิษเมาฎูอ์มาเป็นหลักฐานเด็ดขาด แต่ก็ไม่ละทิ้งฮาดิษฎออีฟเพราะยังสามารถนำมาใช้ได้ในเรื่องการบอกคุณค่า ( ฟาฎออิล )

ฮาดิษที่พูดถึงเดือนรอญับแบบรวมๆ 

อีหม่ามอิบนุศศอลาห์ กล่าวว่า สำหรับเรื่องนี้ เพียงพอที่จะใช้ฮาดิษกว้างๆที่ส่งเสิรมให้ถือศีลอดหรือที่ส่งเสริมให้ถือศีลอดในเดือนฮารอม

يقول الله كل عمل ابن آدم له إلا الصوم فإنه لي وأنا أجزي به متفق عليه .1. 

อัลลอฮได้ดำรัสว่า อามัลทั้งหมดของลูกอาดัมจะทำเพื่อเขาเองนอกจากการถือศีลอด เพราะเขาจะเพื่อฉัน และฉันจะตอบแทนให้

2. صم من الحرم رواه أبو داود

เจ้าจงถือศีลอดบ้างในเดือนฮารอมทั้งสี่ รายงานโดยอาบูดาวูด

แน่นอน เดือนฮารอมทั้งสี่คือ มูฮัรรอม ซุลเกาะอ์ดะห์ ซุลฮิญญะห์ และรอญับ

อัลฮาฟิซ อิบนูฮาญัร กล่าวว่า แม้ในสายรายงานฮาดิษนี้มี่ผู้รายงานคนหนึ่งที่ไม่เป็นที่รู้จัก แต่ก็ได้ชี้ว่า สูนัดถือศีลอดในบางวันของเดือนรอญับ

قال الحافظ ففي هذا الخبر - وإن كان في إسناده من لا يعرف - ما يدل على استحباب صيام بعض رجب ( تبيين العجب )

3. من صام ثلاثة أيام من شهر حرام الخميس والجمعة والسبت كتب الله له عبادة سبعمائة عام رواه الأزدي

ผู้ใดถือศีลอดสามวัน พฤหัส ศุกร์ เสาร์ จากเดือนฮารอม อัลลอฮจะให้ผลบุญเสมือนกับการอีบาดัต 700 ปี

ฮาดิษฎออีฟ


قال الحافظ وفي سنده ضعفاء ومجاهيل

ฮาดิษที่พูดถึงเดือนรอญับแบบเจาะจง

เช่น
1. قال أبو قلابة في الجنة قصر لصوام رجب رواه البيهقي في فضائل الأوقات

อบูกีลาบะห์กล่าวว่า ในสวรรค์มีวังสำหรับผู้ที่มากในการถือศีลอดในเดือนรอญับ

อีหม่ามฮากิมกล่าวว่า อบูกีลาบะห์คือ หนึ่งในบรรดาตาบีอีนระดับต้นๆ แน่นอนคำพูดนี้ต้องมีที่มาจากท่านนบีอย่างแน่นอน อีหม่ามสายูฏีกล่าวว่า ฮาดิษนี้เป็นหลักฐานได้ดีที่สุด

2. أن النبي صلى الله عليه وسلم لم يصم بعد رمضان إلا رجب وشعبان } روى البيهقي ثم قال إسناده ضعيف

ท่านนบีไม่ถือศีลอดอื่นจากเดือนรอมาฎอนนอกจากเดือนรอญับกับชะบาน

ฮาดิษฎออีฟ


3. إن في الجنة نهرا يقال له رجب: ماؤه أشد بياضا من اللبن، وأحلى من العسل: من صام يوم من رجب سقاه الله من ذلك النهر رواه البيهقي في الشعب

แท้จริงในสวรรค์มีแม่น้ำสายหนึ่ง ชื่อว่า รอญับ สีของน้ำจะขาวยิ่งกว่านม หวานยิ่งกว่าน้ำผึ้ง ผู้ใดที่ถือศีลอดหนึ่งวันในเดือนรอญับ อัลลอฮจะให้เขาได้ดื่มน้ำนั้น

อัลฮาฟิซ อิบนูฮาญัร ตัดสินว่าเป็นฮาดิษฎออีฟ แม้ว่าอีหม่ามซาฮาบี จะตัดสินว่าเป็นเมาฎูอ์ก็ตาม

4. قال عروة لعبد الله بن عمر هل كان رسول الله صلى الله عليه وسلم يصوم في رجب قال نعم ويشرفه قالها ثلاثا رواه الربعي في فضل رجب قال في كنز العمال رجاله ثقات وكذا قال السيوطي

อุรวะห์ได้ถามท่านอับดุลเลาะห์อิบนุอูมัร ว่า ท่านนบีถือศีลอดหรือไม่ในเดือนรอญับ ? ท่านตอบว่า ใช่

อีหม่ามสายูฏี กล่าวว่า ผู้รายงานทั้งหมด เชื่อถือได้

5. من صام يوما من رجب كان كصيام سنة ومن صام سبعة أيام غلقت عنه أبواب جهنم ، ومن صام ثمانية أيام فتحت له ثمانية أبواب الجنة ، ومن صام عشرة أيام لم يسأل الله شيئا إلا أعطاه إياه ، ومن صام خمسة عشر يوما نادى مناد من السماء قد غفر لك ما سلف فاستأنف العمل وقد بدلت سيئاتك حسنات ، ومن زاد زاده الله رواه البيهقي في فضائل الأوقات

ผู้ใดบวชหนึ่งวันในเดือนรอญับ ผลบุญของเขาเสมือนกับหนึ่งปี ผู้ใดที่บวชเจ็ดวันประตูนรกญาฮันนัมจะปิดไม่ให้เขาเข้า ผู้ใดบวชแปดวันประตูสวรรค์ทั้งแปดจะเปิดให้กับเขา ผู้ใดที่บวชสิบวัน เขาจะไม่ขอสิ่งใดจากอัลลอฮนอกจากอัลลอฮจะตอบรับการขอของเขา ผู้ใดที่บวชสิบห้าวัน มาลาอีกัตจากฟ้า จะประกาศว่า บาปของเจ้าที่ผ่านมาได้รับการอภัยทั้งหมด จงเริ่มใหม่ และความชั่วของเจ้าจะเปลี่ยนเป็นความดี และหากผู้ใดเพิ่ม ( วัน ) อีก อัลลอฮก็จะเพิ่ม ( ผลบุญ ) ให้อีกแก่เขา

อัลฮาฟิซอิบนูฮาญัรตัดสินว่า ฮาดิษนี้ฎออีฟ

ฮาดิษที่ห้ามถือศีลอดเดือนรอญับ

มีหนึ่งฮาดิษที่ระบุว่าท่านนบีห้ามถือศีลอดเดือนรอญับ

عن ابن عباس أنه صلى الله عليه وسلم نهى عن صيامه رواه ابن ماجه

นั่นเองทำให้มัซฮับฮำบาลีมีทัศนะว่า การถือศีลอดจำกัดเฉพาะเดือนรอญับนั้นมักโระฮฺ แต่ที่ถูกต้อง คือ ฮาดิษนั้นฎออีฟและเป็นเพียงแค่คำพูดของอับดุลเลาะห์อิบนูอับบาส ไม่ใช่คำพูดของนบี

ที่มา: www.islammore.com, จากเพจ ฟิกฮ์ชาฟีอี
islamhouse.muslimthaipost.com

อัพเดทล่าสุด