ตัจญ์วีด คืออะไร หลักการอ่านอัลกุรอ่าน เบื้องต้น


36,146 ผู้ชม

หลักการการอ่านอัลกุรอานให้ถูกต้องตามหลักตัจญ์วีด เพราะการอ่านอัลกุรอานให้กต้องนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลีมีนทุกคน


ตัจญ์วีด คืออะไร หลักการอ่านอัลกุรอ่าน เบื้องต้น

หลักการการอ่านอัลกุรอานให้ถูกต้องตามหลักตัจญ์วีด เพราะการอ่านอัลกุรอานให้กต้องนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลีมีนทุกคน ท่านนบี (ซ.ล.) ท่านได้ทรงกล่าวไว้ว่า 

 "มีจำนวนไม่น้อยเลยกับคนที่อ่านอัลกุรอาน  แล้วถูกอัลกุรอานสาปแช่งเขา"

ตัจญ์วีด คือ กฏกติกาการอ่านอัลกุรอาน  เปรียบเสมือนคู่มือการอ่านอัลกุรอาน ท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ.ล.) ได้ทรงสอนซอฮาบะห์ท่านแรก คือ ท่านอุบั้ย บุตรของท่านกะอั้บ (ขอพระองค์อัลลอฮทรงเอ็นดูเมตตาท่านทั้งสอง)
ท่านนบีมุฮัมหมัด (ซ.ล.) ได้อ่านและอธิบายให้ท่านอุบั้ยฟังและนบี (ซ.ล.) ก็ให้อุบั้ย  อ่านให้ท่านนบี (ซ.ล.) ฟัง
วิชาตัจญ์วีดมีส่วนประกอบด้วยกัน  4 ประการ
1. ตำแหน่งที่เกิดของบรรดาอักษรอาหรับในอัลกุรอาน
2. ลักษณะการออกเสียงของบรรดาอักษรอาหรับในอัลกุรอาน
3. บทบาทของสระ
4. บทบาทของบรรดาฮู่ก่ม

การอ่านอัลกุรอานให้น่าฟัง   تَحْسِيْنُ القٌرْآن
การอ่านอัลกุรอานให้น่าฟัง หรือให้อยู่ในสำเนียงอาหรับ มีส่วนประกอบด้วยกัน 5 ประการ
1. تَحْسِيْنُ النَّفَسِ  ต้องเรียนรู้ และฝึกให้ลมหายใจยาว เป็นอย่างดี
2, تَحْسِيْنُ الصَّوتِ  ต้องเรียนรู้ที่เกิดเสียงของมนุษย์ เป็นอย่างดี  
3. تَحْسِيْنُ التَجْوِيْدِ  ต้องเรียนรู้วิชาตัจญ์วีด เป็นอย่างดี
4. تَحْسِيْنُ الغِنَاءِ  ต้องเรียนรู้วิชาทำนองอาหรับ เป็นอย่างดี 
5. تَحْسِيْنُ العَمَلِ  ต้องปฏิบัติเป็นประจำให้ถูกต้อง เป็นอย่างดี

ตำแน่งที่เกิดของบรรดาอักษรอาหรับ    مَخارِجُ الحُروفِ
อักษรที่เกิดในภาษาอาหรับมี 28 อักษร ในเรื่องตำแหน่งการเกิดอักษร  มีตำแหน่งที่เกิด 5 สถานที่ 
1. อักษรที่เกิดจากลำคอ มี 6 อักษรและ มี 3 ที่เกิด
   غ خ    บน  
   ع  ح   กลาง 
   ء   ه   ลึกสุด
2. อักษรที่เกิดจากลิ้นมี 18 อักษร แบ่งออกเป็น 7 สถานที่เกิด
   ص  س  ز  ช่องลิ้น
   ض   ข้างลิ้น
   ج  ش  ي    กลางลิ้น
   ق  ك        โคนลิ้น
   ظ  ز  ث    ปลายลิ้น
   ط  د  ت    ปลายลิ้น
   ل  ن  ر     ปลายลิ้น
3. อักษรที่เกิดจากริมฝีปาก มี 4 อักษร
   ف  و   ب   م
4. อักษรที่เกิดจากโพรงจมูกมี  2 อักษร
   نْ   مْ
5. อักษรที่เกิดจากลมออกโพรงปาก มี 3 อักษร
    ا َََ-
    -ِ يْ
     ُُ- ْْو

การอ่านอัลกุรอานที่ ฮะรอม (เกิดโทษ)
การอ่านอัลกุรอานที่ศาสนาห้ามมี 4 ประการ
1. การอ่านต่อเติม และการอ่านลดน้อยกว่าเขตกำหนด
2. การอ่านทำเสียง กระเส่า และอ่านเป็นทำนองเพลง
3. อ่านผิดหลักกฎเกณฑ์ตัจญ์วีด
4. อ่านกันแบบสนุกสนาน

ตัจญ์วีด หรือศิลปะในการอ่านอัลกุรอาน เป็นวิชาอัลกุรอานสาขาหนึ่ง เป็นวิชาเกี่ยวกับการออกเสียงเมื่ออัลกุรอาน

เมื่ออ่านอัลกุรอาน มุสลิมจะ ฝึกฝนและเฟ้นหาผู้ที่มีน้ำเสียงที่ไพเราะ เพื่อให้การอ่านวจนะของพระเจ้าเป็นไปแบบที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุด เพื่อรักษาอัลกุรอานอยู่ในใจของพวกเขาอยู่ตลอดเวลา อัลกุรอานเองได้สั่งให้มุสลิมอ่านอัลกุรอานเสียงอันไพเราะ พร้อมทั้งจะต้องทำตัวให้สะอาดในทั้งร่างกายและจิตใจในขณะที่อ่านกุรอานรวม ทั้งระมัดระวังในการอ่าน وَرَتِّلِ الْقُرْآنَ تَرْتِيلا {และเธอจงอ่านอัลกุรอานเป็นท่วงทำนองอย่างช้า ๆ} (มุซัมมิล:4)

เป้า หมายหลักของการส่งเสริมให้มีการอ่านกุรอานนอกจากเพื่อจะเป็นการ สร้างความพึงพอพระทัยให้กับอัลลอหฺแล้ว การอ่านกุรอานยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้อ่านได้ปฏิบัติตามสิ่งที่ตนได้อ่าน อีกด้วย ทั้งนี้การอ่านอัลกุรอานก็มีบทบาทในการสร้างสังคมมุสลิมให้มีเอกภาพด้วย

รูป แบบของการอ่านกุรอานถูกกล่าวไว้ในฮะดีษมากมาย ซึ่งมีรายงายจำนวนมากกล่าวว่า ท่านศาสดาจะอ่านกุรอานด้วยเสียงอันไพเราะ ท่านจะหยุดทุกครั้งเมื่ออ่านจบแต่ละโองการ และท่านจะอ่านคำแต่ละคำในอัลกุรอานโดยการลากเสียงเพื่อให้เกิดความไพเราะ และในหมู่บรรดาสาวกของท่านศาสดา อะบูมูซา อัลอัชอะรีย์ เป็นผู้ที่อ่านกุรอานได้ไพเราะที่สุด

ตามรายงานฮะดีษระบุ ว่า อัลกุรอานจะต้องถูกอ่านด้วยเสียงอันไพเราะและไม่ใช่เป็นทำนองแบบเสียงคร่ำ ครวญ เสียงของการอ่านกุรอานจะต้องเป็นในรูปแบบที่จะสร้างความยำเกรงให้เกิดขึ้นใน หัวใจของผู้ฟัง ดังที่อัลกุรอานได้กล่าวไว้ว่า وَإِذَا قُرِئَ الْقُرْآنُ فَاسْتَمِعُوا لَهُ وَأَنْصِتُوا لَعَلَّكُمْ تُرْحَمُونَ {เมื่ออัลกุรอานถูกอ่าน พวกเธอจงสดับตรับฟัง และจงนิ่งเงียบ เพื่อพวกเธอจะได้รับความเมตตา} (อัลอะอ์รอฟ:204)

การอ่านอัลกุรอานถูกเรียกว่าเป็น การอิบาดะหฺ ที่ต้องใช้ศิลปะมากที่สุดในการอิบาดะหฺทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เองในสมัยท่านศาสดา (ศ) การอ่านจึงถูกเรียกว่า “อิบาดะหฺที่แฝงด้วยศิลปะ”

ข้อมูลจาก :www.siamic.com , www.sunnahstudent.com
islamhouse.muslimthaipost.com


อัพเดทล่าสุด