คืนนิสฟูชะอฺบาน 2560 ตรงกับวันไหน มุสลิมควรปฏิบัติอย่างไรในคืนความสำคัญนี้?


384,384 ผู้ชม

คืนนิสฟูชะอฺบานคือคืนวันที่ 15 ของเดือนชะอฺบาน คำว่า นิสฟู แปลว่า ครึ่ง ดังนั้นนิสฟูชะอฺบานจึงแปลว่า ครึ่งของเดือนชะอฺบาน


คืนนิสฟูชะอฺบาน 2560 ตรงกับวันไหน มุสลิมควรปฏิบัติอย่างไรในคืนความสำคัญนี้?

คืนนิสฟู ชะอฺบาน ปี 2560 ตรงกับวันที่พฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม 2560 คือคืนวันนี้ และมุสลิมควรปฏิบัติอย่างไรในคืนความสำคัญนี้?

คืนนิสฟูชะอฺบานคือคืนวันที่ 15 ของเดือนชะอฺบาน คำว่า นิสฟู แปลว่า ครึ่ง ดังนั้นนิสฟูชะอฺบานจึงแปลว่า ครึ่งของเดือนชะอฺบาน

เดือนชะอฺบาน เดือนที่ประชาชาติอิสลามให้ ความสำคัญอีกเดือนหนึ่ง  ซึ่งเป็นเดือนแห่งอรัมภบทสำหรับเดือนรอมะฏอนอันมีเกียรติ  อีกทั้งเป็นเดือนแห่งการฝึกฝนในการถือศีลอด  การละหมาดซุนนะฮ์  และปฏิบัติคุณความดีต่างๆ เพื่อลิ้มรสความใกล้ชิดต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลาและดื่มด่ำความหอมหวานของอีหม่าน  ดังนั้น เมื่อเดือนรอมะฏอนมาถึง เราจึงมีความเคยชินและมีความพร้อมที่จะตอบรับภารกิจอันยิ่งใหญ่  ยิ่งกว่านั้นเดือนชะอฺบานนั้นยังเป็นเดือนที่มีความประเสริฐและมีความโดด เด่นกว่าเดือนอื่นๆ  เดือนนี้ถือเป็นเดือนที่บรรดาอะมัลถูกยกนำเสนอต่ออัลเลาะฮ์ ตะอาลา เป็นเดือนที่พระองค์ทรงเมตตาแก่บรรดาผู้วอนขอความเมตตา  เป็นเดือนที่พระองค์ทรงอภัยโทษแก่บรรดาผู้ขออภัยโทษและยังเป็นเดือนที่ พระองค์ทรงปลดปล่อยปวงบ่าวจากไฟนรกอีกด้วย  
ดังนั้น ท่านนบีศ็อลลัล ลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมจึงเฝ้าระมัดระวังในการเข้าเดือนชะบาน  อันเนื่องจากเดือนชะบานเป็นเดือนที่ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้ ให้ความสำคัญ  ท่านหญิงอาอิชะฮ์  ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา  ได้กล่าวว่า  “ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมไม่เคยถือศีลอดในหนึ่งเดือนที่จะมากไป กว่าเดือนนิศฟูชะบาน  เพราะท่านได้ทำการถือศีลอดเกือบทั้งเดือนชะบาน” รายงานโดยบุคอรีย์(1834)
และส่วนหนึ่งจากช่วงเวลาที่ประเสริฐของ เดือนชะอฺบาน  ก็คือคืนนิศฟูชะอฺบานซึ่งเป็นประเด็นที่จะนำมากล่าวในเอกสารนี้  อินชาอัลเลาะฮ์  คืนนิศฟูชะบานเป็นข้อปลีกย่อยทางฟิกฮ์  ที่มีการขัดแย้งกันกันระหว่างปวงปราชญ์  แต่ทัศนะที่ยืนยันถึงความประเสริฐของเดือนชะอฺบานนั้น  มีหลักฐานยืนยันที่มีน้ำหนักยิ่งกว่าซึ่งจะนำเสนอต่อไป  อินชาอัลเลาะฮ์
ผู้ เขียนขอนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับคืนนิสฟูชะบานดังนี้
1. หลักฐานความประเสริฐของคืนนิศฟูชะบาน
2. ทัศนะของปราชญ์สะละฟุศศอลิห์เกี่ยวกับคืนนิศฟูชะบาน
3. การละหมาดในคืนนิศฟูชะบาน
4. การซิกรุลลอฮ์ในคืนนิศฟูชะบาน
5. การอ่านอัลกุรอานและดุอาในคืนนิศฟูชะบาน
6. การเลี้ยงอาหาร
ผู้ เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งกว่าพี่น้องผู้อ่านจะได้รับความเข้าใจและมีจุดยืนที่ ถูกต้องเกี่ยวกับคืนนิศฟูชะบาน
ความ ประเสริฐคืนนิศฟูชะอฺบาน    
คืนนิศฟูชะบานเป็นคืนที่มีความพิเศษ  เป็นคืนแห่งการขอดุอาและขออภัยโทษ  และยังเป็นคืนที่อัลเลาะฮ์ตะอาลาจะทรงมองมายังปวงบ่าวของพระองค์เพื่อ ประทานอภัยโทษบาปทั้งหลายแก่ปวงบ่าว  นอกจากผู้ตั้งภาคีและมีความบาดหมางโกรธเคืองต่อบรรดาพี่น้องมุสลิมด้วยกัน เอง  เพราะการตัดญาติขาดมิตรหรือมีความบางหมางต่อพี่น้องมุสลิมนั้น  เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ไม่ได้รับการอภัยโทษบาปจากอัลเลาะฮ์ตะอาลา
ท่าน มุอาซฺ บิน ญะบัล ได้รายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมว่า
يُطْلِعُ اللهُ إِلَى خَلْقِهِ فِيْ لَيْلَةِ النِّصْفِ مِنْ شَعْبَانَ فَيَغْفِرُ لِجَمِيْعِ خَلْقِهِ إِلَّا لِمُشْرِكٍ أَوْ مُشَاحِنٍ
“อัลเลาะฮ์ ทรงมองยังปวงบ่าวของพระองค์ในคืนนิศฟูชะอฺบาน พระองค์ก็จะทรงอภัยโทษแก่พวกเขาทั้งหมด  นอกจากผู้ที่ตั้งภาคีและผู้บาดหมางต่อกัน” รายงานโดยท่านอิบนุฮิบาน (12/481)

ท่านอิบนุฮิบานกล่าวว่าหะดีษนี้ซอฮิห์, นอกจากนี้ท่านอัลฮาฟิซฺ อัลฮัยษะมีย์กล่าวว่า “รายงานโดยท่านอัฏเฏาะบะรอนีย์ในหนังสืออัลมั๊วะญัมอัลกะบีรและมั๊วะญัมอัล วะซีฏ นักรายงานทั้งหมดเชื่อถือได้,” (ดู อัลฮาฟิซ อัลฮัยษะมีย์, มัจญฺมะอัซซะวาอิด, เล่ม 8 หน้า 65)

ท่านอิบนุลวะซีรกล่าวว่าหะดีษนี้ฮะซัน (ดู อิบนุลวะซีร, อีษารุลฮัก อะลัลค็อลก, เล่ม 1 หน้า 384-385)

ท่านอิมามอัลบัยฮะกีย์กล่าวว่า “เราได้รายงานหะดีษนี้ไว้ด้วยหลายสายรายงานด้วยกัน” ซึ่งบ่งชี้ว่าหะดีษนี้มีแหล่งที่มาจากหะดีษของท่านมักฮูล (ดูอัลบัยฮะกีย์, ชุอะบุลอีมาน, เล่ม 3 หน้า 319-320)

ท่านอัลมุนซิรีย์กล่าวว่า: หะดีษนี้ฮะซัน (ดู อัลมุนซิรีย์, อัตตัดฆีบ วัตตัรฮีบ, เล่ม 3 หน้า 307-309)

 
ท่านอับดุลเลาะฮ์ บิน อัมร์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวว่า
أَنَّ رَسُوْلَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : يُطْلِعُ اللهُ عَزَّ وَجَلَّ إِلَى خَلْقِهِ لَيْلَةَ النِّصْفِ مِنْ شَعْبَانَ فَيَغْفِرُ لِعِبَادِهِ إِلَّا لِاِثْنَيْنِ مُشَاحِنٍ وَقَاتِلِ نَفْسٍ
“แท้ จริงท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า อัลเลาะฮ์จะทรงมองยังบ่าวของพระองค์ในคืนนิศฟูชะอฺบาน พระองค์จะอภัยโทษแก่ปวงบ่าวทั้งหลาย นอกจากสองคน คือผู้ที่บาดหมางต่อกันและฆ่าชีวิตหนึ่ง (ที่อัลเลาะฮ์ทรงห้าม)” รายงานโดยท่านอะห์หมัด (2/176)  ท่านมุฮัดดิษอะห์หมัดชากิร กล่าวว่าหะดีษนี้ซอฮิห์(ด้วยการสนับสนุนจากหะดีษอื่น) ท่านอัลฮาฟิซ อัลฮัยษะมีย์กล่าวไว้ใน มัจญฺมะอัซซะวาอิดว่า ในหะดีษนี้มีท่านอิบนุละฮีอะฮ์ ซึ่งเขาหะดีษอ่อน พร้อมทั้งนักรายงานท่านอื่นๆ มีความเชื่อถือได้ แต่หะดีษนี้ได้รับการสนับสนุนจากหะดีษอื่น จึงถูกยกระดับอยู่ในหะดีษฮะซัน (ดู อัลฮาฟิซ อัลฮัยษะมีย์, มัจญฺมะอัซซะวาอิด, เล่ม 8 หน้า 65).
ท่าน อุษมาน บิน อะบิลอาซ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
إَذَا كَانَ لَيْلَةُ النِّصْفِ مِنْ شَعْبَانَ نَادَي مُنَادٍ هَلْ مِنْ مُسْتَغْفِرٍ فَأَغْفِرُ لَهُ هَلْ مِنْ سَائِلٍ فَأُعْطِيْهِ فَلَا يَسْأَلُ أَحَدٌ شَيْئاً إِلَّا أَعْطَاهُ إِلَّا زَانِيَةٌ بِفَرْجِهَا أَوْ مُشْرِكٌ
“เมื่อ ถึงคืนนิศฟูชะอฺบาน จะมี (มะลาอิกะฮ์ถูกมอบหมายจากอัลเลาะฮ์ให้) ป่าวประกาศว่า มีผู้ใดขออภัยโทษไหม? ข้าจะอภัยโทษแก่เขา, มีผู้ที่วอนขอต่อข้าไหม? ข้าจะประทานให้แก่เขา ดังนั้นจะไม่มีผู้ใดทำการวอนขอสิ่งหนึ่งนอกจากข้าจะประทานให้ นอกจากหญิงที่ทำซินาด้วยอวัยวะเพศของนางหรือผู้ตั้งภาคี” รายงานโดย อัสสะยูฏีย์ และท่านอิมามอัสสะยูฏีย์กล่าวว่า หะดีษนี้ฮะซัน, โดยได้รับการสนับสนุนยกระดับจากหะดีษข้างต้น (ดู อัสสะยูฏีย์, อัลญามมี๊ยะอัศศ่อฆีร, เล่ม 1 หน้า 76)
ในเรื่องของความซอฮิห์ของหะ ดีษเกี่ยวกับความประเสริฐของคืนนิศฟูชะอฺบานนั้น แม้กระทั่งอัลบานีย์เองก็ยังตัดสินว่า หะดิษดังกล่าวนั้นซอฮิห์ ไว้ในหนังสือ อัซซัลซิละฮ์อัศศ่อฮีฮะฮ์ (ดู อัลอัลบานีย์, อัซซัลซิละฮ์ อัซศ่อฮีฮะฮ์, หะดีษที่ 1144, เล่ม 1 หน้า 135) และในหนังสือซอฮิห์อิบนุมาญะฮ์(ดู อัลอัลบานีย์, ซอฮิห์ สุนันอิบนุ มาญะฮ์ , เล่ม 1 หน้า 233)
อย่างไรก็ตามแม้จะมีนักหะดีษบางท่านกล่าวว่าไม่ มีหะดีษที่ถูกต้องมาระบุถึงความประเสริฐของนิศฟูชะอฺบานก็ตาม  แต่ท่านชัยค์ อัลกอซิมีย์ ได้กล่าวว่า “นักหะดีษที่กล่าวว่าไม่มีหะดีษซอฮิห์เกี่ยวกับความประเสริฐของคืนนิศฟูชะ อฺบานนั้น นับว่าไม่ควรนำมาเป็นบรรทัดฐาน และถ้าหากคนใดจากคนพวกเขาได้กล่าวตัดสินเช่นนี้  ถือว่าเป็นการตัดสินแบบรีบด่วนและไม่ทุ่มเทความพยายามในการตรวจสอบสาย รายงานต่างๆ ตามแนวทางของเรา” อัลกอซิมีย์, อิศลาหฺ อัลมะซาญิด, หน้า 107
ดัง นั้นคืนนิศฟูชะอฺบาน   อัลเลาะฮ์ตะอาลาจักทรงอภัยโทษแก่ปวงบ่าวทั้งหลาย  โดยมอบหมายให้มะลาอิกะฮ์ป่าวประกาศในค่ำคืนดังกล่าว  ดังนั้นผู้ใดที่จิตใจตื่นตระหนักอยู่กับอัลเลาะฮ์  เขาก็จะตอบรับการป่าวประกาศนั้น  แต่สำหรับผู้ที่หลงลืมในอัลเลาะฮ์  เขาก็จะไม่ตอบรับและไม่ขออภัยโทษต่อพระองค์  ส่วนผู้ที่ตั้งภาคีและมีจิตใจบาดหมางกับพี่น้องมุสลิมด้วยกันเอง  เขาย่อมอัปโชคในคืนดังกล่าวอย่างแน่นอน  วัลอิยาซุบิลลาฮ์ 

 
ทัศนะของสะละฟุศศอลิห์เกี่ยวกับคืนนิศฟูชะอฺบาน 
ท่าน อัลคอลล้าล ได้รายงานไว้ในหนังสือ ความประเสริฐของเดือนร่อญับ จากสายรายงานจากท่านคอลิด บิน มะอฺดาน เขากล่าวว่า “ในหนึ่งปี มีอยู่ 5 คืน  ซึ่งผู้ใดหมั่นทำความดีในคืนเหล่านั้น โดยหวังผลบุญและเชื่อในสัญญาของอัลเลาะฮ์ที่จะให้ผลบุญในคืนเหล่านั้น  พระองค์ก็จะให้เขาได้เข้าสวรรค์  คือ  คืนแรกของเดือนระญับโดยเขาหมั่นทำอิบาดะฮ์ในยามกลางคืนและถือศีลอดในยามกลาง วันของเดือนรอญับ, คืนอีดิลฟิตร์, คืนอีดิลอัฏฮา, คืนอาชูรออ์, และคืนนิศฟูชะอฺบาน” ดู อิบนุหะญัร อัลอัสก่อลานีย์, อัตตัลคีศ อัลหะบีร, เล่ม 2 หน้า 160.
ท่านอัลคอฏีบ ได้รายงานไว้ในหนังสือ ฆุนยะฮ์ อัลมุลตะมิส ด้วยสายรายงานถึงท่าน อุมัร บิน อับดุลอะซีซ  ว่า “ท่านได้ทำการเขียนสารถึงอะดีย์ บิน อัรเฏาะอะฮ์  ความว่า  “ในหนึ่งปีนั้นท่านจงหมั่นเอาใส่ใจใน 4 คืน  เพราะอัลเลาะฮ์ตะอาลาจะทรงประทานความจำเริญในคืนเหล่านั้น คือ คืนแรกของเดือนร่อญับ, คืนนิศฟูชะอฺบาน, คืนอีดิลฟิตร์, และคืนอีดิลอัฏฮา” เล่มเดียวกัน, หน้าเดียวกัน.
ท่านอิบนุรอญับ กล่าวว่า “ท่านสะอีด บิน มันซูร รายงานว่า ได้เล่าให้เราทราบ โดย อบู มะอฺชัร จาก อบูหาซิมและมุฮัมมัด บิน ก๊อยซ์ จากท่าน อะฏออ์ บิน ยะซาร เขากล่าวว่า “ไม่มีคืนใดหลังจากคืนลัยละตุลก็อดรฺที่จะประเสริฐยิ่งไปกล่าคืนนิศฟูชะ อฺบาน ซึ่งอัลเลาะฮ์จะทรงประทานความเมตตามาสู่ฟากฟ้าชั้นล่าง แล้วพระองค์ก็จะทรงประทานอภัยโทษแก่ปวงบ่าวทั้งหมด นอกจาก ผู้ตั้งภาคี, ผู้สร้างความขุ่นเคืองต่อกัน, และผู้ที่ตัดญาติขาดมิตร” ดู อิบนุรอญับ, ละฏออิฟ อัลมะอาริฟ, หน้า 327.
ท่านอิมามชาฟีอีย์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ได้กล่าวไว้ในหนังสืออัลอุมความว่า “ได้รับทราบถึงเราว่า แท้จริงดุอาจะถูกตอบรับ(เป็นพิเศษ) ในห้าคืน คือ คืนวันศุกร์, คืนอีดอัฏฮา, คืนอีดิลฟิตร์,  คืนแรกของเดือนระญับ, และคืนนิศฟูชะอฺบาน” ดู อัชชาฟีอีย์, อัลอุม, เล่ม 1 หน้า 231.
ท่านอิมาม อันนะวาวีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ เราเฏาะฮ์ อัตตอลิบีน ว่า “ได้รับทราบถึงเราว่า แท้จริงดุอาอ์จะถูกตอบรับ(เป็นพิเศษ) ในห้าคืน คือ คืนวันศุกร์, คืนอีดิลอัฏฮา,  คืนอีดิลฟิตร์, คืนแรกของเดือนรอญับ, และคืนนิศฟูชะอฺบานและอิมามชาฟิอีย์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า “ข้าพเจ้ารัก(ที่จะให้กระทำ)กับทุกสิ่งที่ข้าพเจ้าได้รายงานไว้เกี่ยวกับ บรรดาคืนเหล่านี้ โดยที่ไม่ใช่เป็นฟัรดูแต่อย่างใด” ดู อันนะวาวีย์, เราเฏาะฮ์ อัตตอลิบีน, เล่ม 2 หน้า 75.
ท่านอัฏเฏาะบะรอนีย์ ได้กล่าวว่า “ฉันได้ยิน อับดุลเลาะฮ์ บุตร อิมามอะห์หมัดกล่าวว่า ฉันได้ยินบิดาของฉันได้กล่าวเกี่ยวกับความหมายหะดีษของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า “แท้จริงอัลเลาะฮ์จะมองลงมายังปวงบ่าวของพระองค์ในคืนนิศฟูชะอฺบาน พระองค์จะทำการอภัยโทษแก่บ่าวของพระองค์ที่อยู่บนผืนแผ่นดินนอกจากผู้ตั้ง ภาคีและผู้บาดหมางต่อกัน บิดากล่าวว่า  ผู้บาดหมางนั้น คือพวกบิดอะฮ์ที่ขุ่นเคืองต่อบรรดามุสลิมและเป็นศัตรูต่อพวกเขา” ดู อัฏเฏาะบะรอนีย์, อัดดุอา, เล่ม 1 หน้า 195.
ท่านอิบนุตัยมียะฮ์ได้ กล่าวว่า “สำหรับคืนนิศฟูชะอฺบานนั้น ได้มีบรรดาหะดีษและคำกล่าวของซอฮาบะฮ์ได้รายงานถึงความประเสริฐของคืนนิศฟู ชะอฺบาน และได้ถูกถ่ายทอดรายงานจากปราชญ์สะลัฟกลุ่มหนึ่งซึ่งได้ทำการละหมาด(สุ นัต)ในคืนนิศฟูชะอฺบาน ดังนั้นการที่ชายคนหนึ่งได้ทำการละหมาดคนเดียวนั้น ได้มีสะลัฟกระทำการก่อนล่วงหน้าแล้ว ซึ่งก็มีหลักฐานยืนยันแก่เขา ดังนั้นจึงไม่มีการตำหนิสิ่งที่ได้กระทำเฉกเช่นนี้” ดู อิบนุตัยมียะห์, มัจญฺมั๊วะอัลฟาตาวา, เล่ม 23 หน้า 132.
ดังนั้นเมื่อสะละฟุศศอลิห์ ผู้มีคุณธรรมบางส่วน เช่น ท่านคอลิต บิน มะดาน , ท่านมักฮูล , ท่านลุกมาน บิน อามีร , ท่านอิสฮาก บิน รอฮะวัยฮฺ  , ท่านอัลเอาซะอีย์ , ท่านอิมามชาฟิอีย์ , ท่านอิมามอะห์มัด , และปราชญ์สะลัฟท่านอื่น ๆ ได้ให้ความสำคัญกับคืนนิศฟูชะอฺบาน  การตามในเรื่องความดีงามของพวกเขาย่อมไม่หลงทาง  เพราะอัลเลาะฮ์ตะอาลาทรงตรัสความว่า “และท่านจงตามแนวทางของผู้ที่กลับไปสู่ข้าเถิด” (ซูเราะห์ลุกมาน, อายะห์ 15)  ฉะนั้นบรรดาปราชญ์สะลัฟดังกล่าวย่อมเป็นผู้ที่มีหัวใจกลับไปสู่อัลเลาะฮ์ อย่างมิต้องสงสัยใดๆ 
  การฟื้นฟูคืนนิศฟูชะอฺบาน 
เมื่อ ท่านผู้อ่านได้ทราบจากข้างต้นแล้วว่า คืนนิศฟูชะอฺบานนั้นมีความประเสริฐและสะละฟุศศอลิห์ได้ให้ความสำคัญกับคืนนิ ศฟูชะอฺบาน ดังนั้นการฟื้นฟู(อิห์ยาอฺ)ในคืนนิศฟูชะอฺบานย่อมเปิดกว้างสำหรับ การทำอิบาดะฮ์แบบสมัครใจใดๆ ก็ได้ที่มีตัวบทมารับรองและอัลเลาะฮ์อำนวยความสะดวกแก่เราก็ถือว่าเป็นการ เปิดกว้างให้กระทำได้  เช่น  การละหมาดสุนัต,  การอ่านอัลกุรอาน, การซิกรุลลอฮ์, และขอดุอา  เป็นต้น 
ท่านอัลฮาฟิซฺ อัซซะฮะบีย์ ได้กล่าวประวัติของท่านอัลฮาฟิซฺ อิบนุ อะซากีร ความว่า “ท่านอิบนุอะซากิร ชอบทำละหมาดสุนัตและซิกรุลลอฮ์เป็นอย่างมาก ท่านได้ฟื้นฟูคืนนิศฟูชะอฺบานและคืนวันอีดทั้งสองด้วยการละหมาด การตัสบีห์ และระวังตนเองในทุกวินาทีไม่ให้สูญเปล่าโดยปราศจากการทำอิบาดะฮ์” ดู อัลฮาฟิซฺ อัซซะฮะบีย์, ซิยัร อะลาม อันนุบะลาอฺ, เล่ม 20 หน้า 562.
การละหมาดในคืนนิศฟูชะอฺบาน
 
ไม่ มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ระบุเรื่องละหมาดสุนัตที่เจาะจงเป็นพิเศษสำหรับคืน นิศฟูชะบาน  แต่การละหมาดสุนัตทั่วไปในคืนนิศฟูชะอฺบานนั้นอนุญาตให้กระทำได้ ไม่ว่าจะเป็นละหมาดตะฮัจญุด  ละหมาดตัสบีห์  หรือละหมาดสุนัตธรรมดา  นับว่าเป็นการฟื้นฟูในคืนนิสฟูชะบาน  แต่อย่างน้อยให้ฟื้นฟูคืนนิศฟูชะบานด้วยการละหมาดญะมาอะฮ์อิชาอฺและตั้งใจละ หมาดญะมาอะฮ์ซุบฮ์
ท่านอิมามอัลค่อฏีบ อัชชัรบีนีย์ได้กล่าวว่า “รายงานจากท่านอิบนุอับบาส ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา  ความว่า  การฟื้นฟูอิบาดะฮ์ในยามค่ำคืนนั้นเพียงพอด้วยการละหมาดญะมาอะฮ์อิชาอฺและ ตั้งใจละหมาดญะมาอะฮ์ซุบฮ์” ดู ท่านอิมามค่อฏีบ อัชชัรบีนีย์, มุฆนิลมุห์ตาจญฺ, เล่ม 1 หน้า 567.
การซิกรุลลอฮ์เป็นญะมาอะฮ์
อิบาดะฮ์ หนึ่งที่มีความประเสริฐและควรอย่างยิ่งที่จะนำมาฟื้นฟูคืนนิศฟูชะอฺบาน  นั่นก็คือการล้อมวงซิกรุลลอฮ์เป็นกลุ่มเพื่อความเมตตาของอัลเลาะฮ์  ความสงบสุข  และการอภัยโทษของพระองค์  จะได้ประสบแก่เราในคืนนิศฟูชะอฺบาน
ท่าน อิมามมุสลิม ได้รายงานว่า “ได้เล่าให้เราทราบโดยมุหัมมัด บิน มุษันนา และ อิบนุ บัชชาร ทั้งสองกล่าวว่า ได้เล่าให้เราทราบโดย มุหัมมัด บิน ญะฟัร ซึ่งได้เล่าให้เราทราบโดย ชัวะอฺบะฮ์ว่า ฉันได้ยิน อะบาอิสฮาก ทำการเล่าจาก อัลอะฆ๊อรรฺ อบูมุสลิม ซึ่งได้กล่าวว่า ฉันขอเป็นพยานยืนยันว่า ท่านอบูฮุรอยเราะฮ์และท่านสะอีดอัลคุฏรีย์ เป็นพยานยืนยันว่า แท้จริง ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  กล่าวว่า “ไม่มีคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด  ได้นั่งทำการซิกรุลเลาะฮ์  นอกจากว่า บรรดามะลาอิกะฮ์จะห้อมล้อมพวกเขา   ความเมตตาก็แผ่ปกคลุมพวกเขา  ความสงบสุขก็ได้ลงมาบนพวกเขา และอัลเลาะฮ์ก็ทรงเอ่ยถึงพวกเขา แก่ผู้ที่อยู่ ณ พระองค์” รายงานโดยมุสลิม (2700) 
นอกจากนี้ ท่านอิมามมุสลิมยังได้รายงานอีกว่า “ได้เล่าให้เราทราบ โดยมุหัมมัด บิน หาติม บิน มัยมูน ได้เล่าให้เราทราบ โดยบะฮฺซฺ ได้กล่าวแก่เราโดยวุฮัยบฺ ได้เล่าแก่เราโดยซุฮัยล์ จากบิดาของเขา จากท่านอบูฮุรอยเราะฮ์ ซึ่งได้เล่าจากท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ท่านกล่าวว่า

“แท้จริง อัลเลาะฮ์ (ตะบาร่อกะวะตะอาลา) ทรงมีบรรดามะลาอิกะฮ์ที่ท่องไปในผืนแผ่นเดิน เป็นมะลาอิกะฮ์ที่เพิ่มขึ้นมา(นอกเหนือจากบรรดามะลาอิกะฮ์หะฟะเซฺาะฮ์ที่ทำ หน้าที่ปกปักษ์รักษา) ได้ทำการสืบเสาะแสวงหา สถานที่ต่างๆ ที่มีการซิกรฺ ดังนั้น เมื่อพวกเขาได้เจอสถานที่หนึ่งที่มีการซิกรฺ พวกเขาก็จะนั่งร่วมพร้อมกับพวกเขา (คือกับบรรดาผู้ที่ทำการซิกรุลเลาะฮ์) และบรรดามะลาอิกะฮ์ต่างทำการห้อมล้อมด้วยปีกของพวกเขา จนกระทั่งพวกเขาเต็ม(เพิ่มขึ้น)ในระหว่างพวกเขาจนถึงท้องฟ้า ดังนั้น เมื่อบรรดาผู้ทำการซิกรุลเลาะฮ์ได้แยกย้าย บรรดามะลาอิกะฮ์จึงเดินทางขึ้นสู่ฟ้ากฟ้า”  ท่านนบี(ซ.ล.) ได้กล่าวว่า 

“แล้วอัลเลาะฮ์ได้ถามพวกเขา  โดยที่พระองค์ทรงรู้ดียิ่งเกี่ยวกับพวกเขา ว่า พวกเจ้ามาจากไหนกัน? บรรดามะลาอิกะฮ์กล่าวว่า  เราได้มาจาก ณ ที่บรรดาบ่าวของพระองค์ ที่อยู่ในผืนแผ่นดิน พวกเขาได้ทำการกล่าวตัสบีหฺ(กล่าวซุบหานัลเลาะฮ์) กล่าวตักบีร(อัลเลาะฮ์อักบัร) กล่าวตะฮ์ลีล(ลาอิลาฮ่าอิลลัลลอฮ์) กล่าวตะหฺมีด(อัลหัมดุลิลลาฮ์) และทำการวอนขอต่อพระองค์” อัลเลาะฮ์ทรงตรัสถามว่า “แล้วอะไรที่พวกเขาได้วอนขอต่อข้า” บรรดามะลาอิกะฮ์ตอบว่า  “พวกเขาได้ขอสรวงสวรรค์ของพระองค์” อัลเลาะฮ์ทรงตรัสถามว่า “แล้วพวกเขาเคยเห็นสรวงสวรรค์ของข้าหรือไม่ล่ะ?” มะลาอิกะฮ์ตอบว่า ไม่เคย โอ้ผู้อภิบาลแห่งเรา!”  อัลเลาะฮ์ทรงตรัสถามต่อว่า “แล้วอย่างไรเล่า หากพวกเขาได้เห็นสรวงสวรรค์ของข้า?” มะลาอิกะฮ์กล่าวว่า “และพวกเขาก็ทำการขอความคุ้มครองต่อพระองค์” พระองค์ทรงตรัสถามว่า “พวกเขาขอความคุ้มครองข้าจากอะไรหรือ?” มะลาอิกะฮ์กล่าวว่า “จากไฟนรกของพระองค์ โอ้ผู้อภิบาลแห่งเรา!” อัลเลาะฮ์ทรงตรัสถามว่า  “แล้วพวกเขาเคยเห็นไฟนรกของข้าหรือไม่ล่ะ?” มะลาอิกะฮ์ตอบว่า ไม่เคย”  อัลเลาะฮ์ทรงตรัสถามต่อว่า 

“แล้วจะเป็นอย่างไรเล่า หากพวกเขาได้เห็นไฟนรกของข้า?” มะลาอิกะฮ์ตอบว่า “พวกเขาได้ทำการอิสติฆฟารต่อพระองค์” อัลเลาะฮ์ทรงตรัสว่า “ข้าได้อภัยแก่พวกเขาแล้ว และข้าได้ให้สิ่งที่พวกเขาได้ขอ และจะปกป้องสิ่งที่พวกเขาได้ขอความคุ้มครอง”  ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า “แล้วมะลาอิกะฮ์ได้กล่าวว่า โอ้ผู้อภิบาลแห่งเรา ในพวกเขา(ที่ทำการซิกรุลเลาะฮ์)นั้น มีคนหนึ่งที่เป็นบ่าวผู้กระทำผิด โดยเขาได้เดินผ่านมา แล้วก็นั่งร่วมกับพวกเขา” ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า “แล้วพระองค์ทรงตรัสว่า ข้าอภัยให้แก่เขาแล้ว โดยที่บรรดาพวกที่ทำการซิกรฺนั้น ผู้ที่นั่งร่วมด้วยก็จะไม่อับโชคด้วยสาเหตุของพวกเขา(ที่ทำการนั่งซิกฺร)” รายงานโดยมุสลิม (2689) 
ท่านอะนัส บิน มาลิก ได้เล่าว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “เมื่อพวกท่านได้เดินทางผ่านสวนหนึ่งของสวรรค์ พวกท่านจงนั่งร่วมด้วย บรรดาซอฮาบะฮ์กล่าวว่า อะไรคือสวนหนึ่งของสวรรค์หรือกระนั้นหรือ? ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า มันคือบรรดาวงซิกรฺ” รายงานโดยติรมีซีย์ (3432) ท่านอัตติรมีซีย์กล่าวว่า หะดีษนี้ฮะซัน 
บรรดา ฮะดีษดังกล่าวได้ระบุถึงความประเสริฐของการซิกิรล้อมวง  ซึ่งการล้อมวงจะไม่มีขึ้นนอกจากเป็นกลุ่มญะมาอะฮ์  และในบรรดาฮะดีษเหล่านั้นก็ได้บ่งชี้ถึงการซิกิรในรูปแบบกว้าง ๆ (มุฏลัก) โดยมิได้ระบุเจาะจงวันเวลาและสถานที่  ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นคืนนิศฟูชะบานหรือคืนอื่น ๆ ก็ย่อมกระทำได้ตามนัยยะซุนนะฮ์ของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมดัง กล่าวที่ได้รับรองไว้   และพร้อมกันนั้นเราอย่าเจาะจงซิกรุลลอฮ์รูปแบบดังกล่าวเพียงแค่คืนนิศฟูชะ บาน  แต่ให้กระทำในเดือนหรือวันอื่น ๆ ด้วย
การอ่านอัลกุรอานและขอดุอาร์
การอ่าน อัลกุรอานแล้วทำการขอดุอานั้น  มิใช่เจาะจงอ่านเพียงแค่ซูเราะฮ์ยาซีน  แต่จะเลือกอ่านซูเราะฮ์อื่นอีกก็ได้  เช่น  ซูเราะฮ์อัลมุลก์ หรือซูเราะฮ์อัดดุคอน  ดังนั้น การอ่านอัลกุรอานแล้วทำการขอดุอาถือเป็นเรื่องของการตะวัซซูลด้วย บรรดาอะมัล กล่าวคือบรรดามุสลิมได้นำอะมัลที่ดีไปเป็นสื่อในการขอดุอาต่ออัลเลาะฮ์ตะอา ลา ฉะนั้นการปฏิบัติอะมัลด้วยการอ่านอัลกุรอานย่อมเป็นสื่อที่ดีเยี่ยมในการขอ ดุอา ซึ่งถือว่าการตะวัซซุลประเภทนี้นักปราชญ์อะฮ์ลิสซุนนะฮ์วัลญะมาอะฮ์ได้ลงมติ (อิจญฺมาอฺ) เป็นเอกฉันท์ว่าเป็นอนุญาตกระทำได้ 
ท่านอิบนุอุมัร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา ได้กล่าวว่า  “ฉันได้ยินท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า : มีชายสามคนจากบรรพชนที่อยู่ในยุคก่อนจากพวกท่านได้เดินทางรอนแรมจนกระทั่ง พักค้างคืนที่ถ้ำแห่งหนึ่ง พวกเขาจึงเข้าไปในถ้ำ แล้วหินจากภูเขาก็ถล่มลงมา มันจึงปิดปากถ้ำเอาไว้ ดังนั้นพวกเขาจึงกล่าวว่า จะไม่ทำให้พวกเรารอดพ้นจากหินนี้ได้หรอกนอกจากพวกท่านจะขอดุอาต่ออัลเลาะ ฮ์ด้วย(สื่อตะวัซซูล)จากบรรดาอะมัลของพวกท่าน...” รายงานโดยบุคอรีย์ (2271) และมุสลิม (2743) 
ดังนั้น การอ่านยาซีนหรือซูเราะฮ์อื่น ๆ  เป็นการกระทำอะมัลที่ดีงาม  หลังจากนั้นก็นำมาเป็นสื่อตะวัซซูลในการขอดุอาต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลาในคืนนิศฟู ชะอฺบานนั่นเอง
ท่านอะบูฮุร็อยเราะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ  ได้รายงาน  “ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมได้กล่าวว่า  แท้จริงอัลกุรอานซูเราะฮ์หนึ่งที่มีสามสิบอายะฮ์ มันจะช่วยเหลือชายคนหนึ่งจนกระทั่งเขาได้รับอภัยโทษ  มันก็คือซูเราะฮ์ ตะบาร่อกัลป์ละซีบิยะดิฮิลมุลก์” รายงานโดยติรมีซีย์ (2816) ท่านอัตติรมีซีย์กล่าวว่า ฮะดีษนี้ฮะซัน
ท่านอิมรอน บิน หุซัยน์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “พวกท่านจงอ่านอัลกุรอานและพวกท่านจงทำการขอต่ออัลเลาะฮ์ด้วย(การอ่าน)อัลกุ รอานั้น ก่อนที่จะมีกลุ่มหนึ่งทำการอ่านอัลกุรอานและได้ทำการขอกับมนุษย์ด้วยกับ(การ อ่าน)อัลกุรอาน” รายงานโดยท่านอิมามอะห์มัด (มุสนัดอะห์มัด, 4/473)  
รายงาน จากอบูฮะรอยเราะฮ์ ความว่า “ผู้ใดอ่านยาซีนในค่ำคืนหนึ่ง ในยามเช้าเขาจะถูกอภัยโทษให้....” ท่านอิมามอัสสะยูฏีย์กล่าวว่า หะดิษนี้อยู่บนเงื่อนไขที่ซอฮิห์ (ดู อัสสะยูฏีย์, อันนุกัต อัลบะดีอาต, หน้า 58-59).
จากหะดีษข้างต้น ระบุคำว่า “ค่ำคืนหนึ่ง” นั้น รวมถึงคืนนิศฟูชะอฺบานและอื่นจากคืนนินฟูชะอฺบาน โดยไม่มีหลักฐานใดมาเจาะจงในการห้ามให้อ่านยาซีนในคืนนิศฟูชะอฺบานหรืออื่น จากคืนนิศฟูชะอฺบาน  ดังนั้น หลักฐานที่มีความหมายตามนัยยะแบบกว้างๆ นี้ก็ยังคงดำเนินอยู่ตามวิถีของมัน  แต่พร้อมกันนั้นเราอย่าอ่านยาซีนเพียงแค่ในคืนนิศฟูชะบานเท่านั้น  แต่ให้อ่านคืนอื่น ๆ ด้วย  เพราะไม่มีหลักฐานใดมาระบุเจาะจงให้อ่านยาซีนเพียงแค่คืนนิศฟูชะบานนั่นเอง
การเลี้ยงอาหาร
เมื่อ มุสลิมได้รวมตัวกันทำความดีงาม  เช่น รวมตัวกันอ่านอัลกุรอาน  ซิกรุลลอฮ์  ศ่อลาวาต  และขอดุอานั้น  ก่อนที่จะแยกย้ายกันไปก็สมควรมีการรับประทานอาหารคาวหวานเล็กน้อย ๆ เพราะดังกล่าวเป็นซุนนะฮ์ของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมและซอฮาบะ ฮ์ของท่าน
ท่านอัลฮุซัยน์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ  ได้ถามท่านอะลีร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ  เกี่ยวกับการเข้าพบท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ซึ่งท่านอะลี ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุได้กล่าวตอนหนึ่งว่า
وَلَا يَفْتَرِقُوْنَ إِلَّا عَنْ ذَوَاقٍ
“บรรดาซอฮาบะฮ์จะไม่แยกย้ายกันออกไปนอกจากมีการลิ้มรส รับประทานอาหาร” รายงานโดยท่านอัตติรมีซีย์  ดู หนังสือ อัลมะวาฮิบ อัลละดุนียะฮ์ อะลา อัชชะมาอิลมุฮัมมะดียะฮ์ หน้า 166 ของท่านอิมามอัลบาญูรีย์ , ตีพิมพ์มุสตอฟาอัลฮะละบีย์
ท่านอิมามอัล ฆ่อซาลีย์ได้กล่าวว่า “บรรดาซอฮาบะฮ์กล่าวว่า  การรวมตัวกันรับประทานอาหารนั้นเป็นส่วนหนึ่งจากมารยาทที่ดีงามและบรรดาซอ ฮาบะฮ์ได้รวมตัวกันอ่านอัลกุรอานและพวกเขาจะไม่แยกย้ายกันไปนอกจากมีการลิ้ม รสอาหาร” หนังสือเอี๊ยะห์ยาอฺ อุลูมิดดีน 2/9 มุสตอฟาอัลฮะละบีย์
ดัง นั้นการรวมตัวกระทำความดีงามด้วยการอัลกุรอาน  ซิกรุลลอฮ์  และขอดุอาในคืนนิศฟูชะบาน  หลังจากนั้นมีการร่วมกันรับประทานอาหารเล็ก ๆ น้อย ๆ ย่อมอยู่ในความหมายโดยรวมของซุนนะฮ์ของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม  ยิ่งกว่านั้นการนำอาหารเพื่อมารับประทานร่วมกันยังศ่อดาเกาะฮ์อีกด้วย  แม้ว่าการศ่อดาเกาะฮ์จะให้กับคนรวยหรือคนจนก็ตาม
ท่านอิมามอันนะวา วีย์ได้กล่าวว่า “การบริจาคท่านแบบสมัครใจถือว่าเป็นซุนนะฮ์  และอนุญาตทำการศ่อดาเกาะฮ์แก่คนรวยและคนกาเฟร” หนังสือมินฮาจญุฏอลิบีน หน้า 84 ตีพิมพ์มุสตอฟาอัลฮะละบีย์
ท่านอับดุลเลาะฮ์ บิน อัมร์ กล่าวรายงานว่า “ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า  พวกท่านจงนมัสการต่ออัลเลาะฮ์เพียงองค์เดียงเถิด  พวกท่านจงทำการให้อาหารกันเถิด  พวกท่านจงแผ่การให้สลาม  แน่นอนพวกท่านก็จะได้เข้าสวรรค์อย่างสันติ” รายงานโดยติรมีซีย์ (1778) ท่านอัตติรมีซีย์กล่าวว่า ฮะดีษนี้ฮะซันซอฮิห์
ดังนั้น ตามที่ได้เกริ่นในบทนำแล้วว่าเรื่องนิศฟูชะอฺบานเป็นประเด็นขัดแย้งระหว่าง ปวงปราชญ์   พี่น้องมุสลิมต่างทัศนะจะมาตำหนิและสร้างความบาดหมางต่อกันไม่ได้
ท่าน อิมามอัสสะยูฏีย์กล่าวว่า “สิ่งที่ขัดแย้งกัน(ระหว่างปวงปราชญ์)นั้นจะไม่ถูกตำหนิ  แต่สิ่งที่ถูกตำหนินั้นคือสิ่งที่ขัดกับมติของปวงปราชญ์” ดู หนังสืออัลอัชบาฮ์ วันนะซออิร 1/344
ดังนั้น  หากเขาทำการตำหนิและ ไม่พอใจต่อพี่น้องมุสลิมที่เลือกอีกทัศนะหนึ่งเกี่ยวกับคืนนิศฟูชะบานนั้น  เขาอาจจะเป็นผู้อับโชคที่ไม่ได้รับการอภัยโทษจากอัลเลาะฮ์ในคืนนิศฟูชะ อฺบานเนื่องจากมีความบาดหมางไม่พอใจต่อพี่น้องที่เลือกทัศนะฟื้นฟูอิบาดะฮ์ ในคืนนิศฟูชะอฺบาน  

ดังนั้นมุสลิมที่โชคดีคือผู้ที่รู้คุณค่าของคืนนิศฟูชะอฺบาน  พยายามประสานความผูกพันและสร้างความใกล้ชิดต่ออัลเลาะฮ์ตะอาลา  ด้วยการฟื้นฟูทำอิบาดะฮ์และวอนขอต่อพระองค์ให้ทรงอภัยโทษบาปที่ผ่านมา  เพื่อเตรียมพร้อมสู่การปฏิบัติศาสนกิจที่สำคัญในเดือนรอมะฎอนนั่นเอง

ที่มา:  https://www.sunnahstudent.com


อัพเดทล่าสุด