ข้อห้ามของสามีภรรยา ขณะถือศีลอดในเดือนรอมฎอน (ละเอียด)


56,892 ผู้ชม

3 ข้อห้ามของสามีภรรยา ขณะถือศีลอดในเดือนรอมฎอน (ละเอียด)


ข้อห้ามของสามีภรรยา ขณะถือศีลอดในเดือนรอมฎอน (ละเอียด)

เดือนรอมฎอนเป็นเดือนแห่งความประเสริฐยิ่งในการทำอามาลอีบาดะฮฺ การครองคู่ชีวิตที่อยู่ในกรอบของศาสนาก็เป็นส่วนหนึ่งในการทำอีบาดะฮฺเช่นกัน แม้ว่าการทำความดีในเดือนนี้จะได้รับผลตอบแทนแบบทวีคูณก็ตาม ซึ่งคู่ชีวิตก็มียังขอบเขตบางอย่างขณะถือศีลอดที่ต้องหลีกเลี่ยง ซึ่งมีข้อห้ามอะไรบ้างมาดูกับ เบอรีตามุสลิม (Berita muslim) กัน


ข้อห้ามของสามีภรรยา ขณะถือศีลอดในเดือนรอมฎอน (ละเอียด)

1. การหลั่งน้ำอสุจิด้วยเจตนา เช่น ด้วยการจูบ จับสัมผัส การสำเร็จความใคร่ เป็นต้น

อันดับแรกข้อห้ามของสามีภรรยาขณะถือศีลอด คือ การหลั่งน้ำอสุจิด้วยเจตนา ซึ่งเป็นการกระทำที่มาจากความใคร่ของนัฟซู ไม่ว่าจะด้วยการจูบ หรือสัมผัส หรืออื่นๆ ที่ทำให้หลั่งน้ำอสุจิ จึงเป็นเหตุให้การถือศีลอดนั้นเสียในที่สุด เนื่องด้วยมี ฮาดิษรายงาน ความว่า 

“เขาได้ละทิ้งอาหาร เครื่องดื่ม และอารมณ์ใคร่ของเขา เพราะข้า” รายงานโดย บุคอรีย์

ทั้งนี้ การเป็นสามีภรรยานั้นแน่นอนจะสนิทสนม และมีการคลุกคลีกันเป็นเรื่องธรรมดา และการจูบหรือสัมผัสโดยไม่หลั่งน้ำอสุจินั้น ถือว่าสามารถทำได้ และการถือศีลอดก็ไม่ได้เสียแต่อย่างใด 

แม้ว่าการจูบ  หรือสัมผัส โดยไม่หลั่งน้ำอสุจิเป็นที่อนุญาตก็ตาม แต่หากในกรณีของสามีภรรยาบางคน ที่ไม่สามารถยับยั้งนัฟซูได้ดี และเป็นต้นเหตุ ให้เกิดการหลั่งน้ำอสุจิ หรือตลอดจนถึงการมีเพศสัมพันธ์ในที่สุด ก็ถือว่า เป็นสิ่งต้องห้าม เพื่อเป็นเกราะป้องกัน สิ่งไม่พึงประสงค์ เพื่อไม่ให้การถือศีลอดเสีย ที่สำคัญเพื่อ เป็นการรักษาอีบาดะฮฺให้สมบูรณ์

อย่างไรก็ตาม การหลั่งอสุจิเนื่องด้วยการฝัน หรือเพียงแค่คิด ซึ่งไม่ได้ลงมือกระทำใดๆ นั้น ไม่ทำให้การถือศีลอดเสียไป เพราะการฝันไม่ได้เกิดจากเจตนา ของผู้ถือศีลอด ส่วนการคิดจินตนาการนั้นถูกอนุโลม ดังคำพูดของ ท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) ความว่า

“แท้จริง อัลลอฮฺ (ซ.บ) อนุโลมแก่ประชาชาติของฉัน ในสิ่งที่ใจพวกเขาครุ่นคิด ตราบใดที่ไม่ลงมือทำหรือพูดออกมา” (ฮาดิษ มุตตะฟะกุนอะลัยฮฺ บันทึกโดย บุคอรีย์และมุสลิม)

ข้อห้ามของสามีภรรยา ขณะถือศีลอดในเดือนรอมฎอน (ละเอียด)

2. การมีเพศสัมพันธ์

ข้อห้ามของสามีภรรยาอันดับที่สอง คือ ห้ามการมีเพศสัมพันธ์ ขณะถือศีลอดในช่วงของเวลากลางวัน เนื่องด้วยเป็นการกระทำที่ทำให้เสียศีลอด ไม่ว่าจะเป็นการถือศีลอดซุนนะฮฺ  หรือวาญิปก็ตาม หากเมื่อได้กระทำลงไปแล้ว ต้องมีการถือศีลอดชดใช้  และจ่ายกัฟฟาเราะฮฺที่ใหญ่ที่สุด


วิธีการถือศีลอดชดใช้และจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ 

ปล่อยทาสหนึ่งคน ถ้าไม่มีทาสเขาต้องถือศีลอดสองเดือน ติดต่อกันโดยไม่ขาดช่วงแม้แต่วันเดียว ยกเว้นมีเหตุจำเป็นจริงๆ ตามหลักศาสนา เช่น อยู่ในวันอีดทั้งสอง วันตัชรีก หรือความจำเป็นรูปธรรมอื่นๆ เช่น ป่วย การเดินทางที่ไม่มีเจตนาเพื่องดถือศีลอด 

หากสองเดือนนี้  เขาได้ขาดช่วงในการถือศีลอด  โดยที่ไม่มีเหตุจำเป็นใดๆ เขาต้องเริ่มนับการชดด้วยการถือศีลอดใหม่ เพื่อไม่ให้ไม่ให้ขาดตอน และต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หากเขาถือศีลอดติดต่อกันสองเดือนไม่ได้ เขาต้องจ่ายอาหารให้แก่คนยากจน 60 คน และ ให้จ่ายสำหรับแต่ละคน จำนวนสองกิโลกรัมกับอีกสิบกรัมจากแป้งอย่างดี (หรือสามารถใช้ข้าวสารทดแทนได้ : แต่ต้องสังเกตน้ำหนักด้วยว่า หากข้าวสารหนักมากกว่าแป้งก็ต้องเพิ่มให้ข้าวสารได้จำนวนเท่าๆ กับแป้ง หรือถ้ามันเบากว่าก็ให้ลดลงเพื่อให้ได้จำนวนเท่าๆ กันกับแป้ง) 

ตามรายงาน ฮาดิษซอฮีหฮฺ มุสลิม มีความว่า ชายคนหนึ่งได้มีเพศสัมพันธ์กับภรรยาของเขา ในเดือนรอมฎอน แล้วเขาก็ได้ไปขอคำวินิจฉัย (คำปรึกษา) จากท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) และท่านตอบว่า “เจ้ามีทาสไหม?” เขาตอบว่า ไม่มี ท่านถามต่อว่า “เจ้าถือศีลอดสองเดือนติดต่อกันได้ไหม ?” เขาตอบว่า “ไม่” ท่านกล่าวอีกว่า “ดังนั้นจงจ่ายอาหารแก่คนยากจนจำนวน 60 คน” 


ข้อห้ามของสามีภรรยา ขณะถือศีลอดในเดือนรอมฎอน (ละเอียด)

3. การกินการดื่มโดยเจตนา

ข้อห้ามของสามีภรรยาอันดับที่สาม คือ การกินหรือการดืมโดยเจตนา ซึ่งมีหลักฐานชัดจากอัลกุรอานใน (ซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายัตที่ 187) 

ความว่า “...และพวกเจ้าจงกินจงดื่มจนกระทั่งเส้นด้ายขาว (แสงเงิน) เป็นที่ประจักษ์แก่พวกเจ้าจากเส้นด้ายดำ (แสงทอง) เมื่อยามรุ่งอรุณ แล้วจงถือศีลอดให้ครบสมบูรณ์จนถึงพลบค่ำ …”   

คือ  การถือศีลอด  จากการกินการดื่ม ดังนั้นเมื่อผู้ถือศีลอดกินและดื่มในเวลากลางวันของเดือนรอมฎอน แน่นอน การถือศีลอดของเขาก็จะใช้ไม่ได้และเจาะจงการกระทำเช่นนั้นด้วยการมีเจตนา เพราะผู้ถือศีลอดนั้น เมื่อการกระทำโดยการหลงลืมหรือโดยทำผิดหรือโดยการถูกบังคับก็ไม่เป็นอะไรแก่เขา ฮาดิษต่อไปนี้

( إِذَا نَسِيَ فَأَكَلَ أَوْ شَرِبَ فَلْيُتِمَّ صَوْمَهُ ، فَإِنَّمَا أَطْعَمَهُ اللهُ وَسَقَاهُ )

رواه البخاري ومسلم

ความว่า “เมื่อเขาลืมแล้วเขาได้กินและดื่มก็จงให้การถือศีลอดของเขาดำเนินต่อไป เพราะแน่แท้อัลลอฮฺได้ให้อาหารแก่เขาและให้น้ำดื่มแก่เขา” (รายงานโดย : อัลบุคอรียฺ และมุสลิม)

อย่างไรก็ตาม สามีภรรยาควรตระหนั กอย่างยิ่ง ในข้อห้ามดังกล่าว เพื่อรักษาอีบาดะฮฺใน การถือศีลอดให้สมบูรณ์ ทั้งนี้ ควรหลีกเลี่ยงสิ่งมะฮฺสียัตอื่นๆด้วยเช่นกัน อินชาอัลลอฮฺ 

เรียบเรียงโดย Fateemoh : Berita muslim 

อัพเดทล่าสุด