มหัศจรรย์ เมื่ออัลกุรอานพูดถึงการพิชิตอวกาศ-ใต้พื้นโลก


2,449 ผู้ชม

โองการนี้ จะกล่าวถึงสิ่งที่มนุษย์ควรทำให้สำเร็จและจะทำสำเร็จในการนี้ โดยไม่มีร่องรอยของความคลุมเครือ


มหัศจรรย์ เมื่ออัลกุรอานพูดถึงการพิชิตอวกาศ-ใต้พื้นโลก 


โองการนี้ จะกล่าวถึงสิ่งที่มนุษย์ควรทำให้สำเร็จและจะทำสำเร็จในการนี้ โดยไม่มีร่องรอยของความคลุมเครือ 

อีก 2 โองการนนั้นอัลลลอฮ (ซ.บ) กล่าวถึงผู้ไม่ศรัทธาในนครมักกะฮฺ ว่า พวกเขาจะแปลกใจเพียงไรถ้าพวกเขาสามารถจะยกตัวเองขึ้นไปยังฟากฟ้าได้ พระองค์ตรัสถึงสมมุติฐานซึ่งจะไม่มีใครรู้ว่าจะเป็นจริงจนกระทั่งในภายหลังก็ปรากฎเป็นเช่นนั้น

1 ] โองการแรกของซูเราะฮที่ 55 : 33

يَا مَعْشَرَ الْجِنِّ وَالْإِنسِ إِنِ اسْتَطَعْتُمْ أَن تَنفُذُوا مِنْ أَقْطَارِ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ فَانفُذُوا لَا تَنفُذُونَ إِلَّا بِسُلْطَان 

โอ้ชุมนุมแห่งญินและมนุษย์ทั้งหลาย เอ๋ย! หากพวกเจ้ามีความสามารถที่จะผ่านไปให้พ้นขอบฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนี้ได้ ก็จงผ่านไปให้พ้นเถิด แต่ว่าพวกเจ้าไม่สามารถที่จะผ่านไปให้พ้นไดเว้นแต่ด้วยพลัง (พระบัญชาและพระประสงค์ของอัลลอฮฺ)

กุรอาน 55: 33

มหัศจรรย์ เมื่ออัลกุรอานพูดถึงการพิชิตอวกาศ-ใต้พื้นโลก


คำแปลนี้จำเป็นต้องมีคำอธิบายดังนี้

1- คำว่า " ถ้า " ที่ใช้ในภาษาอังกฤษแสดงสภาพที่ขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้และก็เป็นได้ทั้งสมมติที่ทำได้สำเร็จหรือทำไม่สำเร็จก็ได้ 

ภาษาอาหรับเป็นภาษาที่สามารถนำเอาสำนวลภาษา (nuance) ที่แสดงออกมาอย่างชัดเจนกว่ามาก มีคำ ๆ หนึ่งที่แสดงถึงความเป็นไปได้คือคำว่า " อินซา " อีกคำหนึ่งที่แสดงถึงสมมติฐานที่สามารถทำให้บรรลุผลได้ คือคำว่า " อิน " 

ส่วนคำที่สามสำหรับสมมติฐานที่บรรลุผลไม่ได้คือคำว่า " เลา " โิองการที่เรากล่าวถึงนี้มีคำว่า "อิน " อยู่จึงไม่อยู่ในสมมติสันนิษฐานที่บรรลุผลได้เพราะฉะนั้นกุรอานจึงแนะถึงความเป็นไปของการทำให้เป็นจริงได้อย่างแน่นอน 

ความแตกต่างอันเป็นนัย ในภาษานี้จะช่วยในการตีความที่มีลักษณะลึกล่ำอย่างแท้จริงไม่ให้แปลผิด ๆ ได้อย่างที่คนบางคนแปลโองการนี้ผิดไป 

2- อัลลอฮ์ตรัสแก่ญินและมนุษย์ ไม่ได้ตรัสกับคนในนิยายเปรียบเทียบแต่อย่างใด

3 - คำว่า " แทรกทะลุ " นั้นแปลมาจากคำกิริยา " นะฟะซะ " ซึ่งตามด้วยคำบุรพท "บิน " ตามปทานุกรมของ kazimirski นั้น วลีนี้หมายถึง " การทะลุเข้าไปและโผลออกมาอีก " 

ดังนั้นจึงหมายถึงการทะลุไปลึก ๆ และออกมาที่ปลายอีกข้างหนึ่งเข้าไปในขอบเขตที่กล่าวถึง

4 - อำนาจ " ซุลฎอล " ที่คนเหล่านี้จะมีเพื่อทำสิ่งนนี้ให้สำเหร็จให้ ดูหมือนจะมาจากผู้ทรงอนุภาพยิ่ง

ฉะนั้น จึงไม้มีข้อสงสัยว่าโองการนี้ชี้ให้เห็นความเป็นไปได้ที่ในวันหนึ่งมนุษย์จะสามารถบรรลุถึงสิ่งที่ในปัจจจุบันนี้เรียกว่า " การพิชิตอวกาศ " (บางที่อาจจะไม่ใช้คำที่เหมาะสมนัก) 

เราต้องจำไว้ด้วยว่าข้อความในกุรอานมิได้พูดถึงการทะลุไปในขอบเขตของฟากฟ้าเท่านนั้นแต่พูดถึงการแทรกทะลุโลกไปด้วยคือการสำรวจความลึกของโลกนั้นเอง

2 ] โองการอื่น ๆ อีกสองโองการที่ 14 และ 15 ซูเระฮ ที่ 15 อัลลอฮ (ซ.บ) กำลังตรัสถึงผู้ไม่ศรัทธาในนครมักกะฮ ดังที่ข้อความ ในซูเราะฮ นี้ว่า

وَلَوْ فَتَحْنَا عَلَيْهِم بَابًا مِّنَ السَّمَاءِ فَظَلُّوا فِيهِ يَعْرُجُونَ 

และหาเราเปิดประตูแห่งชั้นฟ้าแก่พวกเขา แล้วพวกเขาจะขึ้นต่อไปเรื่อยๆ

لَقَالُوا إِنَّمَا سُكِّرَتْ أَبْصَارُنَا بَلْ نَحْنُ قَوْمٌ مَّسْحُورُونَ 

แน่นอนพวกเขาจะกล่าวว่า “แท้จริงสายตาของพวกเราถูกปิดกั้น ไม่แต่เพียงเท่านั้นพวกเรายังเป้นกลุ่มชนที่ถูกเวทมนตร์อีกด้วย”

ถ้อยคำข้างบนนี้แสดงถึงความแปลกใจในภาพที่น้าทึ่งที่มนุษย์สามารถจินตนาการได้ ประโยคนี้ใช้คำว้า "เลา " ซึ่งแสดงถึงสมมุติฐานซึ่งไม่อาจเป็นจริงได้ตราบเท่าที่มันเกี่ยวกับผู้คนที่ถูกกล่าวถึงในโองการเหล่านนี้

เพราะฉะนั้น เมื่อพูดถึงการพิชิตอวกาศ มันก็มีข้อความสองข้อความในกุรอาน ข้อความหนึ่งกล่าวถึงวันหนึ่งจะกลายเป็นสิ่งที่เป็นจริงได้ 

เนื่องจากพลังของสติปัญญาและทรัพย์กรที่พระเจ้าจะประทานให่มนุษย์และอีกข้อความหนึ่งซึ้งบรรยายถึงเหตุการ ณ์ที่บรรดาผู้ไม่ศรัทธาในมักกกะฮจะไม่มีวันได้เห็นเนื่องจากลักษณะของเงื่อนไขที่ไม่มีวันเป็นจริงได้ของมัน 

อย่างไรก็ดีคนอื่น ๆ อาจจะเห็นเหตุการนั้นได้ดังที่กล่าวไว้ในโองการแรกที่ยกมาที่บรรยายถึงปฎิกิริยาของมนุษย์ที่มีต่อภาพที่ไม่คาดว่าจะได้เห็นซึ่งนักบินอวกาศจะได้เห็นด้วยสายตาที่สับสนหมือน กำลังเมามาย 

ด้วยความรู้สึกที่เคลิบเคลิ้มนี้คือสิ่งที่นักบินอวกาศได้ประสบในการผจญภัยที่น่าทึ่ง นับตั้งแต่ยานอวกาศลำแรกเคลื่อนไปรอบโลกในปี1961 ( พศ. 2504) เป็นที่รู้กันว่าเมื่อเรสไปอยู่เหนือบรรยากาศของโลกเมื่อใดท้องฟ้าก็จะไม่มีสีสันเป็นสีฟ้าเหมือนเดิม 

ึึึซึ่งเป็นผลจากปรากฎการณ์การดูดซึมแสงของดวงอาทิตย์ เข้ามาสู่ชั้นบรรยากาศ คนที่อยูในอวกาศจะเห็นท้องฟ้าเป็นสีดำ และโลกดูเหมือนจะล้อมไว้ด้วยแสงที่ออกฟ้าๆ ส่วนดวงจันทร์ไม่มีบรรยากาศ ดังนั้นมันจึงเป็นภาพที่ใหม่อย่างแท้จริงของคนที่อยู่ในอวกาศ 

เป็นการยากที่ใครจะไม่รู้สึกประทับใจเมื่อเปรียบเทียบข้อความในกุรอานกับข้อมูลของวิทยาศาสตร์โดยคำพูดของคนที่มีชีวิตอยู่เมื่อสมัยสิบสีศวรรษล่วงมาแล้ว


โดย : Maurice Bucaille
Seed Ikwan 

อัพเดทล่าสุด