เหตุใดจึงต้องถือศีลอดในวันจันทร์และวันพฤหัส


27,974 ผู้ชม

การงานของปวงบ่าวจะถูกนำเสนอต่ออัลลอฮฺในวันจันทร์และวันพฤหัสบดี ดังนั้น ฉันรักที่จะให้การงานของฉันถูกนำเสนอ ในขณะที่ฉันถือศีลอด


เหตุใดจึงต้องถือศีลอดในวันจันทร์และวันพฤหัส 

การถือศีลอดในวันจันทร์และวันพฤหัสบดี จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ (ร.ด.) จากท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวว่า:

«تُعْرَضُ الْأَعْمَالُ على اللهِ يَوْمَ الِاثْنَيْنِ وَالْخَمِيسِ، فَأُحِبُّ أَنْ يُعْرَضَ عَمَلِي وَأَنَا صَائِمٌ   (رواه الترمذي برقم 747، وقال : حديث حسن غريب

"การงานของปวงบ่าวจะถูกนำเสนอต่ออัลลอฮฺในวันจันทร์และวันพฤหัสบดี ดังนั้น ฉันรักที่จะให้การงานของฉันถูกนำเสนอ ในขณะที่ฉันถือศีลอด"

(บันทึกโดย อัต-ติรมิซีย์ (3/122) หมายเลขหะดีษ 747 เขากล่าวว่า เป็นหะดีษหะซัน เฆาะรีบ)

ท่านนบีเกิดในวันจันทร์ และ วะฮีย์ (คำสอนของอิสลาม )จากพระองค์อัลลอฮฺ ถูกประทานลงมาให้แก่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) ในวันจันทร์ 
 

ท่านอบูเกาะตาดะฮฺเล่าว่า :

أن رسول الله صلى الله عليه وسلم سئل عن صوم يوم الإثنين فقال ذلك يوم ولدت فيه ويوم يعثت أو أنزل علي فيه 

ความว่า "แท้จริงท่านรสูลุลลอฮฺถูกถามเกี่ยวกับการถือศีลอดในวันจันทร์ ท่านรสูลก็ตอบว่า (เพราะ) ฉันเกิดในวันจันทร์ และเป็นวันที่ฉันถูกส่งมา หรือเป็นวันที่วะฮีย์ถูกประทานลงมายังฉัน" (บันทึกโดยมุสลิม)

วันจันทร์เป็นวันที่การงานต่างๆ ของบ่าวถูกเสนอยังพระองค์อัลลอฮฺ
ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺเล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺกล่าวว่า :

تعرض الأعمال يوم الإثنين والخميس فأحب أن يعرض عملي وأنا صائم 

ความว่า : "การงานต่างๆ จะถูกเสนอ (ยังอัลลอฮฺ) ในวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เช่นนั้นฉันชอบที่จะให้การงานของฉันถูกเสนอในขณะที่ฉันกำลังถือศีลอดอยู่นั่นเอง" (บันทึกโดยติรฺมิซีย์)

ประเภทของการถือศีลอด 

การถือศีลอดมี 2 ประเภท

วาญิบ : เช่น การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน

สุนัต : มีสองชนิด คือ สุนัตมุฏลัก และสุนัตมุก็อยยัด การถือศีลอดสุนัตมุก็อยยัดบางชนิดเป็นที่ส่งเสริมให้กระทำยิ่งกว่าการถือศีลอดสุนัตมุก็อยยัดชนิดอื่น

การถือศีลอดสุนัตมีภาคผลบุญมหาศาล เพิ่มภาคผลบุญ และยังช่วยเสริมการถือศีลอดที่เป็นวาญิบจากการขาดตกบกพร่อง

จากท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่า : ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า: อัลลอฮฺตรัสว่า:

«كُلُّ عَمَلِ ابْنِ آدَمَ لَهُ إِلَّا الصِّيَامَ فَإِنَّهُ لِي وَأَنَا أَجْزِي بِهِ، وَالصِّيَامُ جُنَّةٌ وَإِذَا كَانَ يَوْمُ صَوْمِأَحَدِكُمْ فَلَا يَرْفُثْ وَلَا يَصْخَبْ، فَإِنْ سَابَّهُ أَحَدٌ أَوْ قَاتَلَهُ فَلْيَقُلْ إِنِّي امْرُؤٌ صَائِمٌ، وَالَّذِي نَفْسُمُحَمَّدٍ بِيَدِهِ لَخُلُوفُ فَمِ الصَّائِمِ أَطْيَبُ عِنْدَ اللهِ مِنْ رِيحِ الْمِسْكِ، لِلصَّائِمِ فَرْحَتَانِ يَفْرَحُهُمَا، إِذَاأَفْطَرَ فَرِحَ وَإِذَا لَقِيَ رَبَّهُ فَرِحَ بِصَوْمِهِ»

ความว่า: “ทุกๆ การงานของลูกหลานอาดัมนั้นสำหรับตัวเขาเอง นอกจากการถือศีลอด เพราะแท้จริงแล้วมันคืออิบาดะฮฺสำหรับข้า และฉันจะตอบแทนมันเอง และการถือศีลอดนั้นคือเกราะโล่ห์ และเมื่อวันที่คนใดคนหนึ่งในหมู่พวกท่านถือศีลอดแล้ว ก็จงอย่าพูดจาหยาบคาย และจงอย่าตะโกนโห่ร้อง และเมื่อมีคนหนึ่งด่าว่าท่าน ท่านก็จงกล่าวเถิดว่า แท้จริงฉันเป็นคนที่ถือศีลอด ฉันขอสาบานกับผู้ที่ตัวของมุหัมมัดอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ว่า แท้จริงกลิ่นปากของผู้ที่ถือศีลอด ณ อัลลอฮฺนั้นหอมยิ่งกว่ากลิ่นชะมดเชียงเสียอีก สำหรับผู้ที่ถือศีลอดนั้นมีความดีใจสองครั้ง เมื่อละศีลอดเขาจะดีใจ และเมื่อพบกับพระผู้อภิบาลของเขา เขาก็จะดีใจด้วยกับ(ผลบุญ)การถือศีลอดของเขา” 

 (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ เลขที่: 1904 และมุสลิม เลขที่: 1101 และสำนวนหะดีษเป็นของท่าน)

ประเภทของการถือศีลอดสุนัต 

1. การถือศีลอดสุนัตที่ประเสริฐที่สุดคือ การถือศีลอดของท่านนบีดาวูด อะลัยฮิสสลาม ท่านจะถือศีลอดวันเว้นวัน

2. การถือศีลอดที่ประเสริฐที่สุดหลังจากการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนคือ การถือศีลอดในเดือนมุหัรร็อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ 10 และหลังจากนั้นก็วันที่ 9 การถือศีลอดวันที่ 10 จะลบล้างบาปต่างๆ ที่ผ่านมา และส่งเสริมใฟ้ถือศีลอดวันที่ 9 แล้ววันที่ 10 ทั้งนี้ก็เพื่อมิให้เหมือนกับพวกยิว.

3. การถือศีลอด 6 วันในเดือนเชาวาล

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:

«مَنْ صَامَ رَمَضَانَ ثُمَّ اتْبَعَهُ سِتّاً مِنْ شَوَّالٍ كَانَ كَصِيَامِ الدَّهْرِ»

ความว่า: “ใครก็ตามที่ถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน หลังจากนั้นเขาก็ได้ติดตามมันด้วยกับการถือศีลอดอีก 6 วันในเดือนเชาวาล เสมือนกับว่าเขานั้นในถือศีลอดตลอดทั้งปี” (บันทึกโดยมุสลิม เลขที่: 1164)

และที่ดีที่สุดคือ ให้ถือ 6 วันติดๆ กันหลังจากวันอีด แต่ก็อนุญาตให้ถือแยกกันได้

4. การถือศีลอด 3 วันในทุก ๆ เดือน ผลบุญของมันเสมือนกับการถือศีลอดทั้งปี และส่งเสริมให้ถือศีลอดทั้ง 3 วันนั้น ในวันอัล-บีฎฺ(วันเต็มดวงข้างขึ้น) นั่นคือ วันที่ 13 , 14 และ 15 ของทุก ๆ เดือน หรือถือศีลอดวันจันทร์และวันพฤหัสบดี และถือวันจันทร์อีกวันหนึ่งหลังจากนั้น และหากเขาประสงค์ก็ให้ถือต้นหรือท้ายเดือนก็ได้

5. การถือศีลอด 9 วัน นับตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนซุลหิจญะฮฺ และที่ประเสริฐที่สุดคือ การถือศีลอดในวันที่ 9 สำหรับผู้ที่ไม่ได้ประกอบพิธีหัจญ์ เพราะมันคือวันอะเราะฟะฮฺ การถือศีลอดในวันนั้นจะลบล้างความผิดหนึ่งปีที่ผ่านมาและอีกหนึ่งปีที่จะมาถึง

 6. การถือศีลอดเพื่อหนทางของอัลลอฮฺ

จากท่านอบูสะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่า: ฉันได้ยินท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า:

«مَنْ صَامَ يَوْماً فِيْ سَبِيْلِ اللهِ بَعَّدَ اللهُ وَجْهَهُ عَنِ النَّارِ سَبْعِيْنَ خَرِيْفاً»

ความว่า: “ใครก็ตามที่ถือศีลอดเพียงวันเดียวเพื่อหนทางของอัลลอฮฺ พระองค์จะทรงให้หน้าของเขาพ้นห่างจากไฟนรกเป็นระยะเวลาเดินทางถึง 70 ปี” 

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ เลขที่: 2840 และมุสลิม เลขที่: 1153)

7. ส่งเสริมให้ถือศีลอดมากๆ ในเดือนชะอฺบาน โดยเริ่มตั้งแต่วันแรกของเดือน

8. ถือศีลอดวันจันทร์ทุกๆ สัปดาห์

عن أبي قتادة الأنصاري رضي الله عنه أَنَّ رَسُولَ الله صلى الله عليه وسلم سُئل عن صومه.. -وفيه-وسئل عن صوم يوم وإفطار يوم؟ قال: «ذَاكَ صَوْمُ أَخِي دَاوُدَ عَلَيْـهِ السَّلام» قال: وسئل عن صوم يومالإثنين؟ قال: «ذَاكَ يَوْمٌ وُلِدتُ فِيهِ، وَيَومٌ بُـعِثْتُ (أَوْ أُنْزِلَ عَلَيَّ فِيهِ)»، وَسُئِلَ عَنْ صَوْمِ يَوْمِ عَرَفَةَ؟ فقال: «يُكَفِّرُ السَّنَةَ المَاضِيَةَ وَالبَاقِيَةَ»، وسئل عن صوْم يوم عاشوراء؟ فقال: «يُكَفِّرُ السَّنَةَ المَاضِيَةَ».

จากท่านอบู เกาะตาดะฮฺ อัล-อันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  ถูกถามเกี่ยวกับการถือศีลอด ท่านถูกถามเกี่ยวกับการถือศีลอดวันเว้นวัน ? ท่านตอบว่า “นั่นคือการถือศีลอดของพี่น้องของฉันนบีดาวูด อะลัยฮิสสลาม” และท่านถูกถามเกี่ยวกับการถือศีลอดในวันจันทร์ ? ท่านตอบว่า “นั่นคือวันที่ฉันเกิด และวันที่ฉันถูกแต่งตั้งให้เป็นนบี (หรือวันที่ฉันถูกประทานคัมภีร์อัลกุรทาน)” และท่านถูกถามเกี่ยวกับการถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺ ? ท่านตอบว่า “มันจะลบล้างความผิดหนึ่งปีที่ผ่านและอีกหนึ่งปีข้างหน้า” และท่านถูกถามเกี่ยวกับการถือศีลอดในวันอาชูรออ์ ? ท่านตอบว่า “มันจะลบล้างความผิดหนึ่งปีที่ผ่านมา”

 (หะดีษบันทึกโดยมุสลิม, เลขที่: 1162)

จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮา  เล่าว่า:


كَانَ رَسُولُ اللهِ ﷺ يَصُومُ حَتَّى نَقُولَ لاَ يُفْطِرُ ، وَيُفْطِرُ حَتَّى نَقُولَ لاَ يَصُومُ ، وَمَا رَأَيْتُرَسُولَ اللهِ ﷺ اسْتَكْمَلَ صِيَامَ شَهْرٍ قَطُّ إِلاَّ رَمَضَانَ وَمَا رَأَيْتُهُ فِى شَهْرٍ أَكْثَرَ مِنْهُ صِيَامًا فِىشَعْبَانَ

ความว่า: ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ถือศีลอดจนกระทั่งเรากล่าวว่า ท่านจะไม่ละมัน และท่านได้ละศีลอดจนกระทั่งเรากล่าวว่าท่านจะไม่ถือศีลอด และฉันไม่เคยเห็นท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ถือศีลอดเต็มเดือนนอกจากเดือนเราะมะฎอน และฉันไม่เคยเห็นท่านถือศีลอดในเดือนไหนมากกว่าเดือนชะอฺบาน 

 (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ เลขที่: 1969 และมุสลิม เลขที่: และสำนวนหะดีษเป็นของท่าน)

www.islamhouse.com

อัพเดทล่าสุด