อิสลามห้ามเล่นตุ๊กตา จริงหรือไม่?


13,045 ผู้ชม

อยากทราบฮุก่มการเล่น หรือ ครอบครอง ตุ๊กตา ของใช้ที่มีรูปสิ่งมีชีวิต เสื้อผ้าลายการ์ตูน


อิสลามห้ามเล่นตุ๊กตาหรือไม่?

อิสลามห้ามเล่นตุ๊กตา จริงหรือไม่?

ตุ๊กตา ของใช้ลายการ์ตูน ในอิสลาม

คำถาม: อยากทราบฮุก่มการเล่น หรือ ครอบครอง ตุ๊กตา ของใช้ที่มีรูปสิ่งมีชีวิต เสื้อผ้าลายการ์ตูน

คำตอบ: ก่อนอื่นขอเรียนก่อนว่า การที่เรา “เลือก” เป็นมุสลิม คือการที่เรา “ยอมรับ” ว่า เราจะมีมุมมองต่อสรรพสิ่งรอบตัว บนพื้นฐานตามที่อัลลอฮฺ และนบี บอกมุมมองบางเรื่อง หากไม่ไตร่ตรองจริงๆ หากไม่เข้าใจจริงๆ อาจทำให้คิดไปได้ว่า “ขนาดนั้นเลยเหรอ?”เรื่อง “ตุ๊กตา” หรือ “รูปสิ่งมีชีวิต” เป็นหนึ่งในเรื่องเหล่านั้น ที่หากเรามองดูอย่างผิวเผิน ไม่คิดอะไรมาก เรามักจะคิดกันว่า ไม่เห็นเป็นอะไรเลย “น่ารักดีออก” หรือ “จะเคร่งไปไหน?” บางเรื่องมันไม่เกี่ยวว่า เคร่ง ไม่เคร่ง แต่มันคือ สิ่งที่แสดงถึง ความเป็น “มุสลิม” ของเราเลย ต่างหากยิ่งเรื่องนี้ สำหรับอัลลอฮฺแล้ว ไม่ใช่เรื่อง “น่ารักดีออก” แต่ถึงขั้น “การยกตนเลียนแบบการสร้างของพระองค์ทั้งที่ไร้ความสามารถ” ซึ่งเป็นหนึ่งในเรื่องที่อัลลอฮฺไม่พอใจ “อย่างมาก”"แต่ในขณะเดียวกัน อิสลามก็ไม่ได้รังเกียจ สิ่งที่น่ารัก  เพียงแต่ มันมีขอบเขตอยู่"

หลักฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้มีมากมายจนน่าทึ่ง หนึ่งในนั้นมีดังนี้


أبي هَّريرة رَّضي اَّلله تَّعالى عَّنه قَّال: قَّال رَّسول اَّلله صَّلى اَّلله عَّليه وَّسلم قَّال اَّلله تَّعالى: )َّ)ومن أَّظلم مَّمنَّذهب يَّخلق خَّلقا كَّخلقي فَّليخلقوا ذَّرة أَّو لَّيخلقوا حَّبة أَّو لَّيخلقوا شَّعيرة(( لَّفظ مَّسلم

จากท่านอบุฮุรอยเราะฮฺกล่าวว่า ท่านนบีได้กล่าวว่า อัลลอฮฺได้กล่าวว่า “และใครจะอธรรมยิ่งไปกว่าผู้ที่สร้างเลียนแบบการสร้างของฉัน ให้เขาสร้างข้าวโพดให้ได้ซิ ไม่ก็ เมล็ดพืช ไม่ก็ข้าวบาร์เลย์” บันทึกโดยอิมามมุสลิม


อีกฮะดิษที่แสดงถึง ความรุนแรง ของเรื่องนี้ คือ

عن اَّبن مَّسعود رَّضي اَّلله عَّنه قَّال: قَّال رَّسول اَّلله صَّلى اَّلله عَّليه وَّسلم: )َّ)إن أَّشد اَّلناس عَّذابا يَّوم اَّلقيامةَّالمصورون(( رَّواه اَّلبخاري وَّمسلم

ในบันทึกของอิมาม อัลบุคอรี และอิมามมุสลิม จากท่านอิบนุมัซอูดกล่าวว่าท่านนบีกล่าวว่า “ผู้ที่ถูกลงโทษหนักที่สุดในวันกิยามะฮฺคือผู้ที่สร้างรูป”


บางท่านอาจสงสัยว่า รูปปั้น หรือ รูปสิ่งมีชีวิต ที่ว่าในฮะดิษ หมายถึงพระพุทธรูป หรือ รูปปั้นที่ถูกกราบไหว้ หรือเปล่ามาดูบทนี้ขยายกัน

عن اَّلنبي صَّلى اَّلله عَّليه وَّسلم أَّنه دَّخل يَّوما عًَّلى عَّائشة وَّرأى ثَّوبا فًَّيه صَّورة فَّغضب وَّهتكه وَّقال:

إنَّأصحاب هَّذه اَّلصور يَّعذبون يَّوم اَّلقيامة وَّيقال لَّهم أَّحيوا مَّا خَّلقتم، قَّالت عَّائشة: فَّجعلت مَّنه وَّسادتين يَّرتفقَّبهما اَّلنبي صَّلى اَّلله عَّليه وَّسلم

ฮะดิษนี้มีหลายสายรายงานผมขอแปลจากสายรายงานที่ยกมา ครั้งหนึ่งท่านนบีได้มาหาท่านหญิงอาอิชะฮฺ และพบว่ามีผ้า ที่มีรูปภาพอยู่ ท่านนบีเห็นก็โกรธ และฉีกผ้าผืนนั้น พร้อมกล่าวว่า:

“แท้จริงบรรดาเจ้าของภาพเหล่านี้ จะถูกลงโทษในวันกิยามะฮฺ และจะถูกกล่าวกับพวกเขาว่า “จงให้ชีวิตแก่สิ่งที่เจ้าสร้าง” ท่านหญิงอาอิชะฮฺได้กล่าวว่า ฉันจึงนำเอาผ้า (ที่ถูกฉีก) ผืนนั้น มาดัดแปลงเป็นหมอน 2 ใบ ให้ท่านนบีใช้หนุน” บันทึกโดย อิมามอัลบุคอรี และ อิมามมุสลิม


จากฮะดิษนี้ (กับอีกหลายบท) ทำให้เราต่อยอดได้อีกหลายประเด็น


หนึ่งในนั้น คือ ภาพที่เป็นที่ต้องห้าม คือ “ภาพสิ่งมีชีวิตที่สมบูรณ์ ที่มีอวัยวะ หรือ ลักษณะที่เพียงพอต่อการมีชีวิต”หมายความว่า ผ้า หรือ ของใช้ใดก็ตาม หากสามารถจัดการคุณลักษณะความมีชีวิตออกไปจากภาพได้ (เช่นการลบใบหน้า การแยกส่วนรูปภาพ เป็นต้น) เราสามารถนามาใช้ได้อยู่ และนี่แสดงให้เห็นว่า อิสลามให้ความสำคัญกับการใช้สิ่งของ โดยพยายามไม่ให้เสียเปล่าซึ่งการที่ท่านนบีไม่ตำหนิท่านหญิงอาอิชะฮฺที่นำเอาผ้าที่ฉีกแล้วมาประยุกต์ใช้ เป็นสิ่งยืนยันถึงเรื่องดังกล่าวได้ดีอีกสาเหตุที่ทำให้มุสลิมไม่อยากให้มีสิ่งต้องห้ามเหล่านี้อยู่ในบ้านเรา เพราะว่า


إن اَّلملَئكة لَّا تَّدخل بَّيتًا فَّيه كَّلب وَّلا صَّورةَّ «َّ : عن أَّبى طَّلحة اَّلأنصارى أَّن اَّلنبى صَّلى اَّلله عَّليه وَّسلم قَّالتماثيل إَّلا رَّقمًا فَّى ثَّوب أَّخرجه اَّلشيخان

จากท่าน ฏ้อลฮะฮฺ อัลอันศอรี แท้จริงท่านนบีได้กล่าว “แน่นอนมลาอิกะฮฺจะไม่เข้าไปในบ้านที่มีสุนัข รูปเหมือน ยกเว้นลวดลายเล็กน้อยที่อยู่บนผ้า” บันทึกโดยอิมาม อัลบุคอรี และ มุสลิม
และมีอีกหลายสายรายงานที่บอกว่าท่านจิบรีลไม่เข้ามาหาท่านที่บ้านตามนัด เพราะที่บ้านท่านนบีมีสิ่งของเหล่านี้อยู่ โดยที่ท่านนบีไม่รู้ตัวบางท่านอาจบอกว่า “แค่มลาอิกะฮฺไม่เข้าบ้าน” ... ครับ .... ผมไม่คิดว่า นี่เป็นสิ่งที่ “มุสลิม” แฮปปี้ด้วย  มาประเด็นต่อเนื่อง


خرج مَّسلم عَّن سَّعيد بَّن أَّبي اَّلحسن قَّال: جَّاء رَّجل إَّلى اَّبن عَّباس فَّقال: إَّني رَّجل أَّصور هَّذه اَّلصور فَّأفتنيَّفيها، فَّقال: )َّادن مَّني( فَّدنا مَّنه، ثَّم قَّال: )َّادن مَّني( فَّدنا مَّنه، حَّتى وَّضع يَّده عَّلى رَّأسه فَّقال: أَّنبئك بَّماَّسمعت مَّن رَّسول اَّلله صَّلى اَّلله عَّليه وَّسلم، سَّمعت رَّسول اَّلله صَّلى اَّلله عَّليه وَّسلم يَّقول: )َّ)كل مَّصور فَّيَّالنار يَّجعل لَّه بَّكل صَّورة صَّورها نَّفسا تَّعذبه فَّي جَّهنم(( وَّقال: )َّإن كَّنت لَّا بَّد فَّاعلَ فَّاصنع اَّلشجر وَّما لَّاَّنفس لَّه

(ในบันทึกของอิมามมุสลิม จากท่านซะอีดบุตรของอบู อัลฮะซัน กล่าวว่า ชายคนหนึ่งได้มาหาท่านอิบนุอับบ๊าซ และกล่าวว่าผมเป็นผู้ทำภาพเหล่านี้ โปรดให้คำชี้แจงแก่ผมด้วย ท่านอิบนุอับบาซได้พูดว่า เข้ามาใกล้ๆ เขาก็เข้ามาใกล้ท่าน ท่านก็พูดอีกว่า เข้ามาใกล้อีก เขาก็เข้ามาอีก จนท่านวางมือของท่านบนศรีษะของเขาและกล่าวว่า ฉันจะบอกเธอถึงสิ่งที่ฉันได้ยินมาจากท่านนบี ท่านกล่าวว่า “ผู้สร้างรูปภาพทุกคนอยู่ในนรก โดยที่ทุกภาพที่เขาทำจะถูกทำให้มีชีวิตและคอยลงโทษเขาในนรกนั้น” และท่านอิบนุอับบาซกล่าวต่อว่า หากท่านจำเป็น ให้ทำเป็นภาพต้นไม้ หรือสิ่งที่ไม่มีชีวิต)


รู้สึกอย่างไรบ้างครับ?


“อิสลามไม่ได้รังเกียจ สิ่งที่น่ารักนะครับ แต่ มันมีขอบเขตอยู่"  บทสรุป ณ ตอนนี้

1. อิสลามห้าม การครอบครอง ซื้อ ขาย โชว์ “สิ่งของ” หรือ “ภาพ” ที่ถูกใช้ในสักการะบูชา “ทุกชนิด”

2. อิสลามห้าม การครอบครอง ซื้อ ขาย โชว์ ใช้ ตุ๊กตา สิ่งของเครื่องใช้ เสื้อผ้า ที่มีภาพสิ่งมีชีวิตที่มีอวัยวะ หรือ คุณลักษณะที่เพียงพอต่อการมีชีวิตซึ่งหากจัดการคุณลักษณะความมีชีวิตออกไปจากสิ่งนั้นแล้ว (เช่นการลบใบหน้า การแยกส่วนรูปภาพ เป็นต้น) สิ่งนั้นสามารถใช้ได้ โชว์ได้ ซื้อ-ขาย ได้

3. สิ่งมีรูปร่างที่ไม่มีชีวิต ไม่เข้าข่ายต้องห้ามตามฮะดิษ เช่น ฟิกเกอร์หุ่นยนต์ รถของเล่นต่างๆ (แต่อาจต้องห้ามด้วยเหตุอื่น เช่นเพราะ เป็นสิ่งที่ฟุ่มเฟือยเกินไป หรือ หมกมุ่นจนละทิ้ง วาจิบ เป็นต้น)
“ควรหลีกเลี่ยง” หุ่น หรือ รถที่ถูกสมมุติให้มีชีวิต เช่น ทรานซฟอร์เมอร์ หรือ เดอะคาร์ เป็นต้น เพราะมีความเสี่ยงสูงว่าจะเข้าข่ายการเลียนแบบการสร้างของอัลลอฮฺ ที่ต้องถูกบังคับให้เป่าวิญญาณให้มัน


ทีนี้มาถึงประเด็น ข้อยกเว้น ในการครอบครองตุ๊กตา ของเล่น เครื่องใช้ ที่มีรูปสิ่งมีชีวิตกันข้อยกเว้นนี้ได้มาจาก ฮะดิษ ซึ่งในที่นี้ ผมขออนุญาติยกมาเพียงบทเดียว คือ

حديث عَّائشة رَّضي اَّلله عَّنها: قَّدم رَّسول اَّلله صَّلى اَّلله عَّليه وَّسلم مَّن غَّزوة تَّبوك، أَّو خَّيبر وَّفي سَّهوتهاَّستر، فَّهبت رَّيح فَّكشفت نَّاحية اَّلستر عَّن بَّنات لَّعائشة لَّعب، فَّقال: "َّما هَّذا يَّا عَّائشة؟" قَّالت: بَّناتي، وَّرأىَّبينهن فَّرسًا لَّه جَّناحان مَّن رَّقاع، فَّقال: "َّما هَّذا اَّلذي أَّرى وَّسطهن؟" قَّالت: فَّرس، قَّال: "َّوما هَّذا اَّلذيَّعليه؟" قَّالت: جَّناحان، قَّال: "َّفرس لَّه جَّناحان؟" قَّالت: أَّما سَّمعت أَّن لَّسليمان خَّيلًَ لَّها أَّجنحة؟ قَّالت: فَّضحكَّ) حتى رَّأيت نَّواجذه )َّأبو دَّاود 2961َّ , سَّنن اَّلنسائي اَّلكبرى 1992َّ

ท่านหญิงอาอิชะฮฺ (ขออัลลอฮฺพอพระทัยท่านแม่ของพวกเรา) กล่าวว่า ท่านศาสนทูต (ขออัลลอฮฺให้พร และความสันติ แก่ท่าน) ได้กลับมาจากสงคราม ตะบู้ก หรือ คอยบัร (ผู้รายงานสับสน) ที่บ้านเวลานั้นมีที่วางของที่มีม่านปิดอยู่ ลมได้พัดเข้ามาเปิดม่านจนเห็นบรรดาลูกสาวที่ท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่น (ตุ๊กตา) ท่านนบีได้ถามว่า นั่นอะไร? ท่านหญิงตอบว่า “ลูกๆ หนูเอง” ท่านเห็นม้ามี 2 ปีกที่ทำมาจากหนังอยู่ในกลุ่มตุ๊กตาเหล่านั้น ท่านจึงถามว่า “แล้วที่อยู่ตรงกลาง? นางตอบว่า “ม้างัย” ท่านนบีถามต่อไปว่า “มีอะไรติดอยู่บนตัวมันด้วย?” ท่านหญิงตอบว่า “ก็ปีกสองข้าง” ท่านนบีกล่าวว่า “ม้ากับปีก 2 ปีก มีด้วยหรือ?” ท่านหญิงกล่าวตอบว่า “ไม่รู้หรือว่าม้าของนบีสุไลมานมีปีกด้วยนะ?” ท่านหญิงเล่าต่อไปว่า ท่านนบีได้หัวเราะจนเห็นฟันกราม”

บันทึกโดยอิมาม อบูดาวุด และ อิมามอันนะซะอี
ครับ จากฮะดิษนี้ สรุปได้ว่า

“ม้าเพกาซัส มีจริง” และ “คู่นี้” น่ารัก “มาก” (อัลฮัมดุลิลลาฮฺ และมาชาอัลลอฮฺ)... เอ๊ะ... อันนี้ไม่น่าจะใช่ประเด็นหลักของเราตอนนี้

เอาใหม่จากฮะดิษนี้นักวิชาการมองกันหลายมุม “มาก”บางส่วนมองว่า ฮะดิษนี้ถูกยกเลิกบางส่วนมองว่า ฮะดิษนี้สำหรับเด็กเล็ก ซึ่งที่อนุมัติต้องเป็นของเล่นที่หยาบๆ ไม่มีรูปร่างชัดเจนบ้างก็ว่าอนุโลมเพื่อให้ฝึกความเป็นแม่บ้านของเด็กผู้หญิงและอีกหลากหลายครับ

สรุปเรื่องข้อยกเว้น โดยเน้นทางเลือกที่น่าจะปลอดภัยที่สุด (วัลลอฮุอะอฺลัม)ขอย้ำว่า ทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุด (หนีทุกคิลาฟ) คือ อย่าให้มีของพวกนี้ในบ้านจะดีที่สุด หรือ ให้มี เท่าที่จำเป็น

1. อนุโลม ตุ๊กตา ของเล่น ภาพเหมือน สิ่งมีชีวิตที่มีอวัยวะเพียงพอต่อการมีชีวิต ในกรณีที่ถูกใช้เป็น “ของเล่นที่เป็นประโยชน์ของเด็ก” (เพื่อความเพลิดเพลิน เพื่อพัฒนาทักษะ ฝึกความเป็นแม่บ้าน ที่ไม่ทำให้เกิดความเชื่อผิดๆ เป็นต้น) ไม่ว่าจะเป็นเด็กผู้หญิง หรือ เด็กผู้ชาย (แต่ตามธรรมชาติแล้วเด็กผู้ชายไม่ค่อยเล่นของพวกนี้) โดยไม่จำกัดอายุ ตราบที่เป็นของเล่นสำหรับเด็ก (เพราะท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่นตอนแต่งงานแล้ว) “แต่ให้เก็บในที่ปิดทึบมิดชิด เมื่อไม่ได้เล่นแล้ว”

2. เมื่ออนุโลมให้ครอบครอง หรือ เล่นได้ ก็หมายความว่า อนุโลมให้ เด็ก วาด หรือระบายสี รูปสิ่งมีชีวิตได้ (หรือผู้ใหญ่วาดให้เด็กดูได้)

3. เสื้อผ้า อุปกรณ์สวมใส่ ไม่ว่าเด็ก หรือ ผู้ใหญ่ ไม่ได้อยู่ในข้อยกเว้นดังกล่าว

4. อุปกรณ์ของใช้เด็ก ควรหลีกเลี่ยงการใช้ของที่มีภาพสิ่งมีชีวิตให้มากที่สุด หากไม่ใช้ได้จะปลอดภัยที่สุด แต่หากจะใช้ ก็รับผิดชอบตัวเองครับ

5. สื่อการเรียนการสอน เช่นหนังสือ ที่มีในครอบครอง หากมีรูปภาพสิ่งมีชีวิตไม่จำเป็นต้องไปลบ หรือ ขีดฆ่ารูปภาพที่มี (ในเรื่องการเรียนการสอน อิสลามมีข้อผ่อนผันให้ค่อนข้างมากในแทบทุกเรื่อง แต่ต้อง “เท่าที่จำเป็น”)

6. สำหรับนักเรียนที่โตแล้ว หากเป็นงานที่ครู อาจารย์ สั่ง และไม่มีทางเลือกเป็นอื่น สามารถวาด หรือ ปั้น รูป หรือ สิ่งมีชีวิต ส่งอาจารย์ได้ (แต่อาจารย์ต้องรับผิดชอบที่สั่งให้เด็กทำสิ่งเหล่านั้น หากมีข้ออ้างที่อัลลอฮฺรับฟังก็รอดไป) และเมื่อเสร็จจากการส่งงานแล้ว ให้ “จัดการ” ให้เรียบร้อย นอกจากมีความจำเป็นที่ต้องนำมาใช้ หรือ จะนำเอาไปให้เด็กเล่น

7. ภาพถ่ายติดบัตรต่างๆ (บัตรประชาชน ใบขับขี่) เป็นที่อนุโลม ไม่ว่าเด็ก หรือ ผู้ใหญ่บ้านใดก็ตามมีสิ่งต้องห้ามเหล่านี้ (โดยไม่อยู่ในข้อผ่อนผัน) มลาอิกะฮฺจะไม่เข้าบ้านเด็ดขาด (นอกจาก มลาอิกะฮฺบันทึกความดีชั่ว มลาอิกะฮฺเก็บวิญญาณ เป็นต้น) และเขามีความเสี่ยงสูงที่จะถูกลงโทษในไฟนรกอย่างรุนแรงยิ่งในวันกิยามะฮฺ และ หากผู้ใดสวมใส่เสื้อผ้าหรือสิ่งของที่มีรูปภาพสิ่งมีชีวิตละหมาด การละหมาดของเขาใช้ได้ แต่ถือว่าเขาทำหนึ่งในบาปใหญ่

น่ารักได้ ชอบของน่ารักได้ แต่อย่าลืม รักษาขอบเขต ด้วยนะ

วัลลอฮุอะอฺลัม 

ที่มา: กลุ่มไลน์

อัพเดทล่าสุด