นิกะห์ขณะตั้งครรภ์ ใช้ได้หรือไม่?


6,439 ผู้ชม

แนวทางที่ปลอดภัยที่สุดก็คือ ให้นางคลอดเสียก่อนจึงจะแต่งงานกัน เพราะอย่างไรเสีย ลูกที่เกิดมาก็เป็นลูกที่เกิดนอกสมรสตามหลักศาสนาอิสลาม อย่างไม่ต้องสงสัย


นิกะห์ขณะตั้งครรภ์ ใช้ได้หรือไม่?

ผู้หญิงท้องนิกะห์กันจะใช้ได้หรือไม่?

ถามว่า :  ที่ตั้งท้อง คือท้องกับคนที่จะนิกะห์ด้วยใช่หรือไม่ หรือท้องกับคนอื่น แต่จะมานิกะห์กับอีกคน หรือเปล่า

ประเด็นว่าต้องบอก ไม่บอกนั้น ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ แต่หากบอกถือว่า เป็นสิ่งที่บังควร ยิ่งหากชายที่จะนิกะห์เป็นคนอื่น ที่ไม่ใช่พ่อของเด็กในท้องแล้ว ก้ต้องให้เค้ารับรู้ เขาจะได้ ยอมหรือไม่ยอมนิกะห์ ไม่งั้น ปัญหา คงจะเกิดตามมามากมาย

มาดูสิ่งสำคัญ คือ แต่งกันได้ไหม หากเราตั้งครรภ์ โดยตั้งครรภ์ก่อนแต่ง

แนวทางที่ปลอดภัยที่สุดก็คือ ให้นางคลอดเสียก่อนจึงจะแต่งงานกัน เพราะอย่างไรเสีย ลูกที่เกิดมาก็เป็นลูกที่เกิดนอกสมรสตามหลักศาสนาอิสลาม อย่างไม่ต้องสงสัย 

ท่านยะหยา บิน อับดุรเราะหมานอัลเคาฏีบ ได้กล่าวไว้ในหนังของท่าน ชื่อว่า อะหกามอัลมัรอะฮหามีล หน้า 22 ว่า 

أن الراجح هو رأي الحنابلة الذين قالوا: بتحريم نكاح الزانية حتى تستبرأ وتتوب من الزنا، سواء كان الناكح لها هو الزاني بها أو غيره. وهذا مذهب طائفة من السلف والخلف، منهم قتادة وإسحاق وأبو عبيدة

แท้จริง ทัศนะที่มีน้ำหนักที่สุดคือ ทัศนะของ อัลหะนาบะละฮ (นักวิชาการมัซฮับอิหม่ามอะหมัด) ซึ่งพวกเขากล่าวว่า “ห้ามทำการนิกะห์หญิงที่ผิดประเวณี จนกว่านางจะพ้นจากสภาพอิดดะฮ หรือ เตาบะฮจากการทำผิดประเวณี ไม่ว่าผู้ที่ทำการนิกะห์นางนั้น จะเป็นชายทำผิดประเวณีกับนางหรือคนอื่นก็ตาม และนี้คือ แนวทางของคณะหนึ่งจากชาวสะลัฟและเคาะลัฟ ส่วนหนึ่งจากพวกเขาคือ เกาะตาดะฮ,อิสหากและอบูอุบัยดะฮ” 

2.ถ้าคนนิกะห์ให้ เขาไม่รู้ว่าฝ่ายหญิงท้องจะมีความผิดไหม 

คำตอบ คนไม่รู้ ไม่มีความผิดครับ สำคัญอยู่ที่ว่า คนนิกะห์ให้เขาทำการนิกะห์ครบเงื่อนไข ที่จะเป็นการนิกะห์ที่เศาะห์หรือเปล่า แค่นั้น

 

3.หลังจากที่ฝ่ายหญิงคลอดบุตรแล้วต้องทำการนิกะห์ใหม่หรือไม่ 

คำตอบ 

เรื่องข้างต้น มีสองทัศนะ ว่าได้หรือไมไ่ด้หากนิกะห์ในขณะที่ตนตั้งครรภ์ 
ฝ่ายหนึ่ง ได้ แต่มักรูฮ (น่ารังเกียจ) 
อีกฝ่าย ไม่ได้ จะต้องมีอีกอิดดะห์ (คลอดก่อนแ้ล้งค่อยแต่ง) 
หากแม้นว่า จะทางเลือกที่ดีที่สุด ดั่งที่กล่าวมา จะเป็นทางเลือกที่สองก็ตาม ว่าจะต้องมีอิดดะห์ (คลอดก่อนแ้ล้งค่อยแต่ง) แตหากได้กระทำ ทางเลือกที่หนึ่งไปแล้ว และถูกต้องตามเงื่อนไขของการนิกะห์แล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องนิกะห์ใหม่แต่ประการใด


4.เด็กที่เกิดก่อนการนิกะห์ต้องปฏิบัติตัวอย่างไรจะเป็นวลีได้หรือไม่เพราะถือว่าเป็นเด็กที่เกิดจากการทำซินา 

คำตอบ คือ ไม่สามารถเป็นวลีได้ และไม่สามารถรับมรดก จากฝ่ายพ่อได้ แต่เด็กไม่มีความผิด และไม่เกี่ยวข้องกับความผิดของผุ้เป้นแม่และพ่อได้ทำไว้


5.พ่อแม่ทั้งสองฝ่ายรับรู้ว่าฝ่ายหญิงตั้งท้องแล้วทำการนิกะห์ให้ ถือว่าสมบูรณ์หรือไม่ ต้องมีการกำหนดไหมว่าต้องตั้งท้องกี่เดือนถึงกี่เดือนที่ไม่ถือว่าเกิดจากการทำซินา ช่วยอธิบายให้ละเอียดทีนะคะกรุณาตอบกลับทางอีเมลส์ด้วยนะค่ะ

คำตอบ ประเด็นครบเงื่อนไข การนิกะห์ ที่ฝ่ายหญิงจะต้องมี เช่น วลี คำเสนอ สนอง มะฮัร พยาน ก้ถือว่า การนิกะหืนั้น สมบูรณ์ ไม่มีปัญหา เพราะนิกะห์ขณะที่ท้องก็มีทัศนะว่าได้อยู่ เช่น ทัศนะของอิหม่ามชาฟิอี อนุญาตให้แต่งงานกับผู้ที่ตั้งครรภ์ได้

ดู ชัรหุ้ลกะบีร ของอิบนุกุดามะอ เล่ม 7 หน้า 502

อย่างไรก็ตาม นักวิชาการมีความเห็นแย้งกันในเรื่องนี้

مِنْ حَدِيثِ أَبِي سَعِيد ٍ رَضِيَ اللّهُ عَنْهُ أَنّ النّبِيّ صَلّى اللّهُ عَلَيْهِ وَسَلّمَ قَالَ فِي سَبَايَا أَوْطَاسٍ : " لَا تُوطَأُ حَامِلٌ حَتّى تَضَعَ وَلَا غَيْرُ حَامِلٍ حَتَى تَحِيضَ حَيْضَةً

จากหะดิษอบีสะอีด (ร.ฏ)ว่าแท้จริงท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวเกี่ยวกับเชลยเอาฏอส ว่า "(ทาส)หญิงมีครรภ์ จะไม่ถูกร่วมประเวณีจนกว่านางจะคลอดเสียก่อนและ(ทาส)หญิงที่ไม่มีครรภ์จะไม่ถูกร่วมประเวณี จนกว่า จะมีเลือดประจำเดือนหนึ่งครั้งเสียก่อน - รายงานโดยเจ้าของสุนัน

และท่านอิบนุกอ็ยยิม ได้สรุปหลังจากนำเสนอหะดิษว่า

وَفِي هَذَا دَلَالَةٌ ظَاهِرَةٌ عَلَى تَحْرِيمِ نِكَاحِ الْحَامِلِ سَوَاءٌ كَانَ حَمْلُهَا مِنْ زَوْجٍ أَوْ سَيّدٍ أَوْ شُبْهَةٍ أَوْ زِنًى وَهَذَا لَا خِلَافَ فِيهِ إلّا فِيمَا إذَا كَانَ الْحَمْلُ مِنْ زِنًى فَفِي صِحّةِ الْعَقْدِ قَوْلَانِ أَحَدُهُمَا : بُطْلَانُهُ وَهُوَ مَذْهَبُ أَحْمَد َ وَمَالِكٍ وَالثّانِي : صِحّتُهُ وَهُوَ مَذْهَبُ أَبِي حَنِيفَة َ وَالشّافِعِيّ ثُمّ اخْتَلَفَا فَمَنَعَ أَبُو حَنِيفَةَ مِنْ الْوَطْءِ حَتّى تَنْقَضِيَ الْعِدّةُ وَكَرِهَهُ الشّافِعِيّ وَقَالَ أَصْحَابُهُ لَا يَحْرُمُ

และในหะดิษนี้ เป็นหลักฐานที่ชัดเจนว่า ห้ามแต่งงานกับหญิงมีครรภื ไม่ว่านางจะตั้งครรภ์จากสามี หรือ นาย หรือ จากการเข้าใจผิด(ชุบฮาต)หรือ จากการซีนาก็ตาม และในที่นี้ไม่มีข้อขัดแย้งกัน นอกจากในกรณีท้องจากการซีนา ว่าการอะกัดนิกะฮฺนั้นถูกต้องหรือไม่ ซึ่งมีสองทัศนะด้วยกันคือ

1. ข้อตกลงการแต่งงานนั้นเป็นโมฆะ และมันคือ ทัศนะของ อะหมัดและมาลิก 

2. ข้อตกลง(อะกัด)นิกะหนั้นใช้ได้ คือ ทัศนะของหะนะฟียะฮ และอิหม่ามชาฟิอี ต่อมาทั้งสองมีความเห็นต่างกัน เพราะอบูหะนีฟะฮห้ามร่วมหลับนอน จนกว่าจะพ้นสภาพอิดดะฮ และอิหม่ามชาฟีอีถือว่าเป็นที่น่ารังเกียจ(มักรูฮ) และบรรดาสานุศิษย์ของชาฟิอี กล่าวว่า ไม่เป็นที่ต้องห้าม"

- ดูซาดุ้ลมะอาด เล่ม 5

والله أعلم بالصواب

แต่ประเด็นเรื่องว่า กี่เดือน กี่วัน ถึงไม่เรียกว่า ซีนานั้น อันนี้ คงไม่มีบทบัญญัติเรื่องนี้ ยกเว้นแ่ต่ประการใด ซึ่งหาก ชายหนึ่ง กับหญิงหนึ่งที่ไม่ได้นิกะห์กันอย่างถูกต้องตามหลักการอิสลาม ได้ร่วมประเวณีกัน จะท้องหรือไม่ก็ตาม ถือว่า เขาทั้งสองได้กระทำการประเวณีแล้ว


อัพเดทล่าสุด