สาเหตุของความแตกแยกในศาสนา พึ่งระวัง!!


2,744 ผู้ชม

ความเห็นต่างของมนุษย์ในประเด็นต่างๆ นั้น เป็นปกติธรรมดาของมนุษย์ แต่ถ้าให้มนุษย์มามีความเห็นและเข้าใจตรงกันในทุกเรื่องนั้น ถือว่า เป็นสิ่งผิดปกติ ในเรื่องศาสนาก็เช่นกัน มีมากมายที่บรรดาผู้รู้ในแต่ละยุคในแต่ละสมัย


สาเหตุของความแตกแยกในศาสนา พึ่งระวัง!!

ความเห็นต่างของมนุษย์ในประเด็นต่างๆ นั้น เป็นปกติธรรมดาของมนุษย์ แต่ถ้าให้มนุษย์มามีความเห็นและเข้าใจตรงกันในทุกเรื่องนั้น ถือว่า เป็นสิ่งผิดปกติ ในเรื่องศาสนาก็เช่นกัน มีมากมายที่บรรดาผู้รู้ในแต่ละยุคในแต่ละสมัย มีหลายประเด็นที่พวกเขามีความเข้าใจไม่ตรงกัน ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก แต่ที่แปลกคือ ทำไม่ความแตกต่างจึงต้องแตกแยก? เราแตกแยกกันเพื่ออะไร เพื่อหวังในความโปรดปรานของพระเจ้าหรือ? คงไม่ใช่แน่เพราะพระเจ้าย่อมไม่ประสงค์เช่นนั้น ดังนั้น "เราจะทำอย่างไรที่จะทำให้ความเห็นต่างกัน ไม่เป็นฉนวนที่นำไปสู่ความแตกแยกของอุมมะฮมุสลิม 

 
อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า :
 

وَاعْتَصِمُواْ بِحَبْلِ اللَّهِ جَمِيعاً وَلاَ تَفَرَّقُواْ     آل عمران :103
และพวกเจ้าจงยึดสายเชือก(ศาสนา)ของอัลลอฮ์โดยพร้อมกันทั้งหมดและจงอย่าแตกแยกกัน 
 

وَلاَ تَنَـازَعُواْ فَتَفْشَلُواْ وَتَذْهَبَ رِيحُكُمْ    الأنفال:46
และพวกเจ้าจงอย่าขัดแย้งกัน แล้วจะทำให้พวกเจ้าย่อท้อ และทำให้ความเข้มแข็งของพวกเจ้าหมดไป 
 

وَلاَ تَكُونُواْ كَالَّذِينَ تَفَرَّقُواْ وَاخْتَلَفُواْ مِن بَعْدِ مَا جَاءهُمُ الْبَيّنَـاتُ   آل عمران:105
และพวกเจ้าจงอย่าเป็นเช่นบรรดาผู้ที่แตกแยกกัน และขัดแย้งกันหลังจากที่บรรดาหลักฐานอันชัดแจ้งได้มายังพวกเขาแล้ว 
สาเหตุที่ทำให้เกิดความแตกแยกในเรื่องศาสนา เช่น 
1. ผู้รู้ที่รู้ไม่จริง แล้วทำการวินิจฉัยประเด็นต่างๆผิดพลาดแล้วมีมุสลิมส่วนหนึ่งเชื่อตามอย่างหลับหูหลับตา ใครนำข้อเท็จจริงมาบอกก็กลับกลายเป็นศัตรูหรือ คนละฝ่าย ของพวกเขาไป 
2. ผู้รู้ที่รู้ความจริง แต่ไม่ได้สอนหรือบอกศิษย์ไปตามความเป็นจริง เพราะเกรงว่าตนจะเสียมวลชนหรือผลประโยชน์ที่มวลชนยิบยื่นให้ แล้วถ้ามีใครมาชี้แจงว่าสิ่งเขาสอนนั้นผิด เขาก็จะยุยงให้มวลชนต่อต้านกับคนผู้นั้น เพราะเขาเกรงว่าเขาจะเสียประโยชน์หากมวลชนทั้งหลายรู้ข้อเท็จจริง จึงเป็นเหตุทำให้เกิดความแตกแยกขึ้นในหมู่ประชาชน 
ท่านนบี กล่าวว่า :
القضاة ثلاثة: قاضيان في النار، وقاضي في الجنة، فأما الذي في الجنة فرجل علم فقضى به، وأما اللذان في النار فرجل قضى للناس على جهل، ورجل علم الحق وقضى بخلافه 
ผู้พิพากษานั้น แบ่งออกเป็นสามจำพวก ผู้พิพากษาสองจำพวกจะได้อยู่ในนรกและผู้พิพากษาหนึ่งจำพวกจะได้อยู่ในสวรรค์ แล้วสำหรับผู้พิพากษาที่ได้อยู่ในสวรรค์นั้น คือ ชายคนหนึ่ง ที่มีความรู้และเขาได้ตัดสินด้วยความรู้นั้น และสำหรับผู้พิพากษาสองจำพวกที่จะได้อยู่ในนรกนั้น คือ ชายคนหนึ่ง เขาได้ตัดสินให้แก่ประชาชน บนความไม่รู้ และ ชายคนหนึ่งเขารู้ความจริง และเขาได้ตัดสินขัดแย้งกับมัน(กับความจริงที่เขารู้) - รายงานโดย อบูดาวูด,อิบนุมาญะฮและอัตติรมิซีย์ 
3. ผู้รู้ได้ปลูกฝังประชาชนให้ยึดติดกับมัซฮับ จนประชาชนเข้าใจว่า มัซฮับเป็นส่วนหนึ่งของนิกายในศาสนาที่เขาจำเป็นจะต้องยึดถือนิกายใดนิกายหนึ่งเป็นการเฉพาะ และสมาชิกที่ยึดติดกับมัซฮับจะมองมัซฮับที่ต่างกันเหมือนคนละพวกกับพวกเขา 
อัสสัยยิดสาบิก (ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า :
وبالتقليد والتعصب للمذاهب فقدت الأمة الهداية بالكتاب والسنة، وحدث القول بانسداد باب الاجتهاد، وصارت الشريعة هي أقوال الفقهاء، وأقوال الفقهاء هي الشريعة، واعتُبر كل من يخرج عن أقوال الفقهاء مبتدعاً لا يوثق بأقواله، ولا يُعتد بفتاويه. 
การเลียนแบบและการทิฐิ (ยึดติดโดยไม่ยอมเปลี่ยนแปลง) ต่อมัซฮับต่างๆ ทำให้อุมมะฮอิสลาม ไม่ได้รับทางนำ แห่งอัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ จนถึงกับมีทัศนะให้ปิดประตูอิจญติฮาด จนเป็นเหตุให้บทบัญญัติศาสนาขึ้นอยู่กับบรรดาคำพูดของนักนิติศาสตร์อิสลาม(ฟุเกาะฮาอฺ) และบรรดาคำพูดของฟุเกาะฮาอฺ คือ ศาสนบัญญัติ และถือว่า ทุกคนที่ออกจากบรรดาคำพูดของบรรดาฟุเกาะฮาอฺ เป็นผู้อุตริบิดอะฮ และ คำพูดของบุคคล(ที่ไม่ยึดติดกับฟุเกาะฮฮาอฺ)จะไม่ได้รับการเชื่อถือ และฟัตวาของเขาจะไม่ได้รับการยอมรับ ( ฟิกฮอัสสุนนะฮ เล่ม 1 หน้า 10) 
 

 
ปัจจุบัน พิสูจน์ได้ว่า เป็นจริงตามที่ท่านสัยยิด สาบิก กล่าวไว้ คือ ใครไม่สังกัดมัซฮับ จะถูกต่อต้านและถูกตั้งฉายาด้วยฉายาต่างๆ และจะไม่ถูกยอมรับแม้สิ่งที่เขานำมานั้น คือ อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮที่ถูกต้องก็ตาม 

การขัดแย้ง เป็นลักษณะของผู้ทำบิดอะฮฺ 
إِنَّ الَّذِينَ فَرَّقُواْ دِينَهُمْ وَكَانُواْ شِيَعاً لَّسْتَ مِنْهُمْ فِي شَيْءٍ إِنَّمَا أَمْرُهُمْ إِلَى اللّهِ ثُمَّ يُنَبِّئُهُم بِمَا كَانُواْ يَفْعَلُونَ 
[6.159] แท้จริงบรรดาผู้ที่แบ่งแยกศาสนาของพวกเขา และพวกเขาได้กลายเป็นนิกายต่าง ๆ นั้นเจ้า (มุฮัมมัด) หาใช่อยู่ในพวกเขาแต่อย่างใดไม่แท้จริงเรื่องราวของพวกเขานั้น ย่อมไปสู่อัลลอฮ์แล้วพระองค์จะทรงแจ้งแก่พวกเขาในสิ่งที่พวกเขากระทำกัน 
1. อิหม่ามอัลบัฆวีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า :
هم أهلُ البدع والأهواء 
พวกเขาคือ ชาวบิดอะฮและนักตามอารมณ์- ชัรหุสสุนนะฮ 1/210 
2. อิหม่ามอัชชาฏิบีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า :
الفُرقةُ من أخس أوصاف المبتدعة 
การแตกแยก เป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาลักษณะที่เลวของผผู้ทำบิดอะฮ - อัลเอียะติศอม 1/113 
3. อบูอุซฟาร์อัสสัมอานีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า :
إذا نظرت إلى أهل الأهواء والبدع ، رأيتهم متفرقين مختلفين 
"เมื่อท่านพิจารณาพวกตามอารมณ์และบิดอะฮ พวกท่านจะเห็นพวกเขา มีความแตกแยกและขัดแย้งกัน" - อัลหุจญะฮ ฟี บะยานีมะหัจญะฮ 2/225 

 
4. เกาะตาดะฮ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า :
أهلُ رحمة الله أهل جماعة ، وإن تفرقة دُورُهم وأبدانهم ، وأهل معصِيِتِهِ أهل فرقة وإن اجتمعت دورهم وأبدانهم 
"ผู้ที่ได้รับความเมตตาของอัลลอฮ คือ ชาวญะมาอะฮ (หมู่คณะ)แม้ว่า ที่พักอาศัยและร่างกายพวกเขาจะแตกต่างกัน และ ผู้ที่ได้รับการโทษของอัลลอฮ คือ พวกที่แตกแยก แม้ว่า ที่อยู่อาศัยและร่างกายของพวกเขาร่วมกัน(ไม่แตกต่างกัน)ก็ตาม - ตัฟสีรอัฏฏอ็บรีย์ 12/85 
وَلاَ تَكُونُواْ كَالَّذِينَ تَفَرَّقُواْ وَاخْتَلَفُواْ مِن بَعْدِ مَا جَاءهُمُ الْبَيِّنَاتُ وَأُوْلَـئِكَ لَهُمْ عَذَابٌ عَظِيمٌ 
[3.105] และพวกเจ้าจงอย่าเป็นเช่นบรรดาผู้ที่แตกแยกกัน และขัดแย้งกันหลังจากที่บรรดาหลักฐานอันชัดแจ้งได้มายังพวกเขาแล้วและชนเหล่านี้แหละสำหรับพวกเขา คือการลงโทษอันใหญ่หลวง 
5. ท่านอัลมุซนีย์ กล่าวเกี่ยวกับอายะฮข้างต้นว่า 
فذم الله الاختلاف ، وأمر عنده بالرجوع إلى الكتاب والسنة ، فلو كان الاختلاف من دينِهِ ما ذمه 
"อัลลอฮทรงตำหนิการขัดแย้งกัน และคำบัญชาของพระองค์คือ ให้กลับไปสู่ อัลกุรอ่านและอัสสุนนะฮ เพราะถ้าหาก การขัดแย้งกัน เป็นส่วนหนึ่งของศาสนาพระองค์ แน่นอนพระองค์ย่อมไม่ตำหนิมัน " - ญามิอุบะยานิลอิลมิวัลฟัฎลิฮ 2/910 

 
6. อิบนุตัยมียะฮ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า :
فإن الجماعة رحمةٌ ، والفُرقة عذابٌ 
แท้จริง หมู่คณะนั้น คือ ความเมตตา และการแตกแยกนั้น คือ การลงโทษ" - มัจญมัวะอัลฟะตาวา 3/421 

 
7. อัฏเฏาะหาวีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า :
ونرى الجماعة حقاً وصواباً ، والفُرقة زَيغاً وعذاباً ] 
"และเราเห็นว่า หมู่คณะ(การร่วมกัน)นั้น คือความจริงและความถูกต้อง และการแตกแยกนั้นคือ ความตกต่ำและการลงโทษ " - มะตันอัฏเฏาะหาวียะฮ 

 
8. ท่านอาลี เราะฎิยัลลอฮุอันฮู กล่าวว่า :
اقضوا كما كنتم تقضون ، فإني أكرهُ الاختلاف ، حتى يكون الناس جماعة ، أو أموت كما مات أصحابي 
พวกท่านจงตัดสิน ดังเช่นที่พวกท่านตัดสิน เพราะแท้จริง ฉันรังเกียจการขัดแย้ง จนกว่า บรรดาผู้คนจะกลายเป็นหมู่คณะ (เป็นพวกเดียวกัน) หรือ ฉันตาย ดังที่สหายของฉันตาย 
[ رواه البخاري في مناقب علي 3707]และ มินฮาจญุสสุนนะฮ อัลนะบะวียะฮ 5/465 

 
9. อิบนุกอซิม(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า :
سمعت مالكاً والليث يقولان -في اختلاف الصحابة ليس كما قال ناس: فيه توسعة، ليس كذلك؛ إنما هو خطأ وصواب 
ข้าพเจ้าได้ยินมาลิกและอัลลัยษุ กล่าวในเรื่อง ความเห็นที่ขัดแย้งกันของเหล่าสาวก ว่าไม่ได้เป็นไปตามที่ผู้คนกล่าวว่า ในนั้นเป็นการเปิดกว้าง ไม่ใช่เช่นดังกล่าวนั้น ความจริง มันมีถูก มีผิด 
- ญามิอุบะยานิลอิลมิวะฟัฎลิฮ 2/81-82 

 
10. อัชฮับ(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า :
سئل مالك عمن أخذ بحديث حدثه ثقة عن أصحاب رسول الله أتراه من ذلك في سعة؟ فقال: لا والله، حتى يصيب الحق، ما الحق إلا واحد، قولان مختلفان يكونان صواباً جميعاً؟ ما الحق والصواب إلا واحد 
มีผู้ถามอิหม่ามมาลิก เกี่ยวกับการยึดเอาหะดิษที่ผู้ทีเชื่อถือได้จากเหล่าสาวกของท่านรซูลุ้ลลอฮ ได้รายงานมัน ว่า ท่านเห็นว่าเรื่องดังกล่าวเป็นการเปิดกว้างใช่ไหม? แล้วเขา(อิหม่ามมาลิก)กล่าวว่า "ไม่ใช่หรอก ขอสาบานด้วยพระนามแห่งอัลลอฮ จนกว่า มันจะถูกต้องตามความจริง ,ไม่มีความจริง นอกจากมีหนึ่งเดียวเท่านั้น ,สองทัศนะที่ขัดแย้งกัน กลายเป็นความถูกต้องทั้งหมดอย่างนั้นหรือ ? ย่อมไม่มีความจริงและความถูกต้อง นอกจาก หนึ่งเดียวเท่านั้น" - ญามิอุบะยานิลอิลมิวะฟัฎลิฮ 2/88-89 
11. อัลมัซนีย(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า :
وقد اختلف أصحاب رسول الله؛ فخطّأ بعضهم بعضاً، ونظر بعضهم في أقاويل بعض، ولو كان قولهم كله صواباً عندهم لما اختلفوا 
และแท้จริง บรรดาสาวกของท่านรซูลุ้ลลอฮ มีความเห็นที่ขัดแย้งกัน บางส่วนของพวกเขากล่าวหาอีกบางส่วนว่าผิดพลาดและบางส่วนของพวกเขาได้พิจารณาดูคำพูดของบางส่วน และถ้าหากว่า คำพูดของพวกเขาทั้งหมดถูกต้อง ตามทัศนะของพวกเขา แน่นอน พวกเขาย่อมไม่ขัดแย้งกัน" - ญามิอุบะยานิลอิลมิวะฟัฎลิฮ 2/88-89 
12. หะดิษอีกบทหนึ่งที่ถูกนำมาอ้างว่า การมีความเห็นที่แตกต่างนั้น คือ ความเมตตา เพื่อสนับสนุนความแตกต่างของมัซฮับ คือ 
عن ابن عباس – رضي الله عنهما- بلفظ: قال رسول الله –صلى الله عليه وسلم مهما أوتيتم من كتاب الله فالعمل به، لا عذر لأحدكم في تركه، فإن لم يكن في كتاب الله، فسنة مني ماضية، فإن لم يكن سنة مني ماضية، فما قال أصحابي، إن أصحابي بمنزلة النجوم في السماء، فأيها أخذتم به اهتديتم، واختلاف أصحابي لكم رحمة" وخرجه الألباني في الضعيفة(59) وقال: إنه موضوع. 
"จากอิบนุอับบาส เราฎิยัลลอฮุอันฮู ด้วยสำนวนที่ว่า "ท่านรซูลุ้ลลอฮ กล่าวว่า :  อย่างไรก็ตาม ถ้ามีการนำมายังพวกท่านจากกิตาบุลลอฮ ก็จงปฏิบัติตามมัน ไม่มีข้ออ้างใดๆสำหรับพวกท่านในการละทิ้งมัน แล้วหากปรากฏว่าไม่มีในกิตาบุลลอฮ ก็จงปฏิบัติตามสุนนะฮจากฉันที่ผ่านมา แล้วถ้าหากไม่ปรากฏสุนนะฮจากฉันที่ผ่านมา ก็จงปฏิบัติตามสิ่งที่บรรดาสาวกของฉันได้กล่าวไว้ ,แท้จริงบรรดาสาวกของฉัน อยู่ในตำแหน่งแห่งดวงดาวบนท้องฟ้า ดังนั้น อันใหนก็ตามที่พวกท่านเอามันมา พวกท่านก็จะได้รับทางนำ และ การขัดแย้งของเหล่าสาวกของฉันนั้น เป็นความเมตตาสำหรับพวกท่าน" 

บันทึกโดย อัลบานีย์ ในหนังสือ อัฎเฎาะอีฟะฮ( 1/146 )หะดิษหมายเลข 59 

 
และท่านอัลบานีย์กล่าวว่า "เป็นหะดิษปลอม 
13. อิหม่ามอัชชาฏิบีย์(ขออัลลอฮเมตตาต่อท่าน) กล่าวว่า :
وأما قول من قال إن اختلافهم رحمة وسعة فقد روى ابن وهب عن مالك أنه قال: ليس في اختلاف أصحاب رسول الله صلى الله عليه وسلم سعة، وإنما الحق في واحد. قيل له: فمن يقول: إن كل مجتهد مصيب. فقال: هذا لا يكون قولان مختلفان صوابين 
สำหรับคำพูดของผู้ที่กล่าวว่า แท้จริงการขัดแย้งของพวกเขา(ของอุมมะฮ)นั้น เป็นการเปิดขว้าง ,ความจริง อิบนุวะฮับ ได้รายงานจากอิหม่ามมาลิกว่า เขาได้กล่าวว่า " การขัดแย้ง(หมายถึงการมีความเห็นที่แตกต่าง)ของเหล่าสาวกของท่านรซูลุ้ลลอฮ นั้น ไม่ใช่เป็นการเปิดกว้าง และความจริง ความถูกต้อง อยู่ในหนึ่งเดียวเท่านั้น ,มีผู้กล่าวแก่เขา(แก่อิหม่ามมาลิก)ว่า แล้วผู้ที่กล่าวว่าทุกคนที่เป็นมุจญตะฮิดนั้น ถูกต้องทั้งหมดล่ะ? แล้วเขา(อิหม่ามมาลิก)กล่าวตอบว่า " นี้ ไม่ได้หมายความว่า ทัศนะสองทัศนะที่ขัดแย้งกันนั้น ถูกต้องทั้งสอง

ที่มา:    www.moradokislam.org


อัพเดทล่าสุด