เครื่องหมายและลักษณะของผู้ที่ถูกญินสิง


14,725 ผู้ชม

โลกใบนี้นอกจากจะเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์และสรรพสัตว์นานาชนิดแล้ว ยังมีเผ่าพันธุ์ที่ถูกเรียกว่า “ญิน” ซึ่งมนุษย์มองไม่เห็นอาศัยอยู่ด้วย ตามคัมภีร์กุรอาน


โลกใบนี้นอกจากจะเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์และสรรพสัตว์นานาชนิดแล้ว ยังมีเผ่าพันธุ์ที่ถูกเรียกว่า “ญิน” ซึ่งมนุษย์มองไม่เห็นอาศัยอยู่ด้วย ตามคัมภีร์กุรอาน ญินถูกส่งมาอยู่ในโลกนี้ร่วมกับอาดัมและเฮาวา บรรพบุรุษของมนุษยชาติ เพียงแต่ว่ามนุษย์ไม่สามารถมองเห็นมันเท่านั้น แต่มันสามารถมองเห็นมนุษย์ ทั้งนี้เพราะญินถูกสร้างมาจากไฟ ในขณะที่มนุษย์ถูกสร้างมาจากดิน

เครื่องหมายและลักษณะของผู้ที่ถูกญินสิง

1. เครื่องหมายในขณะตื่น

 - ต่อต้านและห่างไกลการระลึกถึงอัลลอฮฺ

- รู้สึกงงงัน หลงลืม มึนงง ขี้เกียจ สติแตก

-ไม่มีความหนักแน่นในคำพูดและการกระทำ

- ชอบนอน

- กลัวจากการเข้าใกล้ญาติมิตร

- ร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ

- หลงไหล่ในเสียงเพลงอย่างมาก ทำตัวไร้สาระไปวันๆ

- มีอาการเจ็บปวดอยู่บ่ายครั้งตามร่างกาย เช่น ปวดหัว ปวดตามข้อ ปวดหลัง แน่นหน้าอก

- เกิดความลังเลและสงสัยในอิบาดะฮฺ (ศาสนกิจ) ว่าถูกต้องหรือไม่ ทำแล้วหรือยัง เป็นต้น

- รู้สึกว่ามีสิ่งต่างๆที่ผิดปกติหรือจิตบางอย่างอยู่รอบตัวเขา

- ได้ยินเสียงประหลาดพูดกับเขา หรือเรียกชื่อเขา

 2. เครื่องหมายในขณะนอนหลับ

- นอนไม่หลับ วิตกกังวล

- ฝันร้าย

- รู้สึกว่ามีคนต้องการจะฆ่าเขา

- ถูกข่มเหงทางเพศของนอนหลับ

- ฝันว่าสัตว์รุมกัด หรือเข้าจู่โจม หรือเดินตามหลังเขา

- ฝันเห็นโบรถ พระยิว พระคริตส์

- กัดฟันขณะนอนหลับ

- ละเมอพูดหรือเดินโดยไม่รู้ตัว

- ฝันว่าตกจากที่สูง หรือบินอยู่ในอากาศ

- ฝันว่าตกบ่อหรือทะเล หรือตกลงไปในที่ที่มีไฟ

- ฝันว่าอยู่ในกุโบร์ หรืออยู่ในกองมูลสัตว์

- ฝันเห็นมนุษย์มีลักษณะแปลกๆ บางก็สูงหรือเตี้ยจนเกินไป

วิธีการที่ญินจะเข้าสู่ร่างกายมนุษย์

ญินนั้นก็คือลม และร่างกายมนุษย์ก็มีรูขุมขน ซึ่งญินนั้นสามารถที่จะเข้าไปในร่างกายมนุษย์ได้ทุกที่ ท่านอิบนุอับบาสได้อธิบายโองการนี้ว่า:

และในขณะที่ญินได้เข้าไปสู่ร่างกายมนุษย์แล้ว มันจะมุ้งไปสู่สมองเป็นอันดับแรก และเส้นทางของสมองนี้เองสามารถที่จะส่งผลต่ออวัยวะส่วนอื่นๆของร่างกายได้ทั้งหมด

วิธีการรักษา

ได้มีรายงานจากท่านอิหม่ามอะฮฺมัดในฮาดิษของท่านอุบัยอิบนุกะอฺบฺ (รอฎิฯ) ว่า “ปรากฏว่าฉันนั้นอยู่พร้อมกับท่านนบี (ศ็อลฯ) แล้วมีชาวชนบทคนหนึ่งมา แล้วกล่าวว่า “โอ้นบีของอัลลอฮฺ ! แท้จริงฉันมีน้องคนหนึ่งป่วย ท่านนบีจึงถามว่า “อะไรคือการป่วยของเขา?” ชายคนหนึ่งตอบว่า “เขามีอาการวิกลจริต” ท่านนบีจึงกล่าวว่า

“ดังนั้นท่านจงพาเขามาหาฉัน” แล้วชายผู้นั้นก็พาน้องชายของเขามาหาท่านนบี แล้วก็นำเขามาอยู่ระหว่างมือทั้งสองของท่านนบี แล้วท่านนบีก็ขอความคุ้มครองเขาด้วยกับอัลฟาติฮะฮฺ สี่โองการแรกจากอัลบากอเราะฮฺ สองโองการจากส่วนกลางของอัลบากอเราะฮฺ  อายะฮฺกุรซีย์ สามโองการจากท้ายอัลบากอเราะฮฺ หนึ่งโองการจากอาละอิมรอนหนึ่งโองการจากอัลอะรอฟ และท้ายของอัลมุมินูน จนจบ หนึ่งโองการจากซูเราะฮฺอัลญิน สิบโองการจากต้นซูเราะฮฺอัซซอฟฟาต สามโองการจากท้ายซูเราะฮฺอัลฮะชัร กุ้ลฮุวัลลอฮู้อะฮัด กุ้ลอะอูซุบิร็อบบิลฟาลัก กุ้ลอะอูซุบิร็อบบินนาส

เครื่องหมายและลักษณะของผู้ที่ถูกญินสิง

สิ่งที่ใช้ป้องกันตัวเองจากชัยฏอน

บ่าวสามารถป้องกันตัวเองจากชัยฏอนและจากความชั่วร้ายของมัน ด้วยดุอาอ์และบทซิกิรที่มีระบุในอัลกุรอานและซุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ ในคำสอนของทั้งสองอย่างนั้นมีสิ่งที่ใช้ในการเยียวยา ความเมตตา ทางนำ และการปกป้องจากความชั่วร้ายต่างๆ ในโลกดุนยาและอาคิเราะฮฺ ด้วยอนุมัติของอัลลอฮฺตะอาลา ในจำนวนวิธีการป้องกันเหล่านั้นก็คือ

1.การขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺผู้ยิ่งใหญ่ เพราะแท้จริงอัลลอฮฺได้สั่งรอซู้ลของพระองค์ให้ขอความคุ้มครองต่อพระองค์จากชัยฏอนในสภาวะทั่วๆ ไป และในสภาวะเฉพาะเช่น เมื่อต้องการอ่านอัลกุรอาน เมื่อมีความโกรธ เมื่อมีความลังเล เมื่อฝันร้าย เป็นต้น 

อัลลอฮฺได้ตรัสว่า 

เมื่อเจ้าอ่านอัลกรุอาน ก็จงขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺให้พ้นจากชัยฏอนที่ถูกสาปแช่ง  แท้จริงมันไม่มีอำนาจใด ๆ เหนือบรรดาผู้ศรัทธา โดยที่พวกเขาได้มอบหมาย(การงาน)ต่อพระเจ้าของพวกเขา

2.การกล่าวพระนามของอัลลอฮฺ (กล่าว บิสมิลลาฮฺ) การกล่าวพระนามของอัลลอฮฺเป็นการป้องกันจากชัยฏอน และปกป้องไม่ให้มันมายุ่งเกี่ยวปะปนกับมนุษย์เวลาดื่มกิน ยามหลับนอนกับภรรยา เมื่อเข้าบ้าน และทุกๆ อิริยาบทของมนุษย์

จากญาบิรฺ อิบนุ อับดุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่าได้ฟังท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

«إذَا دَخَلَ الرَّجُلُ بَيْتَـهُ، فَذَكَرَ الله عِنْدَ دُخُولِـهِ، وَعِنْدَ طَعَامِهِ، قَالَ الشَّيْطَانُ: لا مَبِيتَ لَكُمْ وَلا عَشَاءَ، وَإذَا دَخَلَ فَلَـمْ يَذْكُرِ الله عِنْدَ دُخُولِـهِ، قَالَ الشَّيْطَانُ: أَدْرَكْتُـمُ المَبِيتَ، وَإذَا لَـمْ يَذْكُرِ الله عِنْدَ طَعَامِهِ قَالَ: أَدْرَكْتُـمُ المَبِيتَ وَالعَشَاءَ».

"เมื่อชายคนหนึ่งเข้าบ้านของเขา แล้วได้กล่าวถึงอัลลอฮฺตอนเข้าบ้านและตอนทานอาหาร ชัยฏอนก็จะพูดว่า ไม่มีที่หลับนอนและไม่มีอาหารให้เราอีกแล้ว และเมื่อชายคนหนึ่งเข้าบ้านแต่ไม่ได้กล่าวถึงอัลลอฮฺตอนเข้าบ้าน ชัยฏอนก็จะพูดว่า พวกเจ้าได้ที่หลับนอนแล้ว และหากเขาไม่กล่าวถึงอัลลอฮฺตอนทานอาหาร ชัยฏอนก็จะพูดว่า พวกเจ้าได้ที่หลับนอนและมีอาหารกินแล้ว" 

(บันทึกโดย มุสลิม: 2018)

จาก อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

«لَو أَنَّ أَحَدَكُمْ إذَا أَرَادَ أَنْ يَأْتِيَ أَهْلَـهُ فَقَالَ: بِاسْمِ الله، اللَّهُـمَّ جَنِّبْنَا الشَّيْطَانَ، وَجَنِّبِ الشَّيْطَانَ مَا رَزَقْتَنَا، فَإنَّهُ إنْ يُـقَدَّرْ بَيْنَـهُـمَا وَلَدٌ فِي ذَلِكَ لَـمْ يَضُرَّهُ شَيْطَانٌ أَبَدًا».

"หากพวกท่านคนใดคนหนึ่งต้องการหลับนอนมีเพศสัมพันธ์กับภรรยาของเขา แล้วเขากล่าวว่า บิสมิลลาฮฺ, อัลลอฮุมมัจญ์นิบนัชชัยฏอน วะ ญันนิบิชชัยฏอน มา เราะซักตะนา (ควาหมาย ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ขอทรงโปรดให้เราห่างไกลจากชัยฏอน และให้ชัยฏอนห่างไกลจากสิ่งที่พระองค์ประทานให้เรา) ดังนั้น แท้จริงแล้ว ถ้าหากว่าถูกกำหนดให้มีลูกระหว่างทั้งสองเนื่องด้วย(การมีเพศสัมพันธ์)ในครั้งนั้น ชัยฏอนก็จะไม่สามารถทำร้ายเขา(ลูกคนนั้น)ได้ตลอดไป" 

(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 7396 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และ มุสลิม 1434)

3.การอ่านสองซูเราะฮฺ อัล-มุเอาวิซะตัยน์ คือ ซูเราะฮฺ อัล-ฟะลัก และ ซูเราะฮฺ อัน-นาส เมื่อเข้านอน หลังละหมาด เมื่อเจ็บป่วย และกรณีคล้ายๆ กัน ดังที่มีรายงานจากอุกบะฮฺ บิน อามิรฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า เมื่อครั้งที่เราได้เดินทางกับท่านรอซูลุลลอฮฺ ระหว่าง ญุฮฺฟะฮฺ กับ อับวาอ์ อยู่นั้น ได้เกิดมีลมพัดแรงและฟ้ามืดทึบมาปกคลุม ท่านรอซูลุลลฮฺ ก็ได้ขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮฺด้วยการอ่านซูเราะฮฺ(الناس)  และ (الفلك) และท่านได้กล่าวว่า 

«يَا عُقْبَةُ تَعَوَّذْ بِـهِـمَا فَمَا تَعَوَّذَ مُتَعَوِّذٌ بِمِثْلِـهِـمَا». قَالَ: وَسَمِعْتُـهُ يَؤُمُّنَا بِـهِـمَا فِي الصَّلاةِ.

"โอ้ อุกบะฮฺ จงขอความคุ้มครองด้วยมันทั้งสอง(สองสูเราะฮฺนี้) เพราะไม่มีสิ่งใดที่จะใช้ขอความคุ้มครอง(ได้ดีเท่า)เหมือนกับสองสูเราะฮฺนี้" อุกบะฮฺเล่าว่า ฉันได้ยินท่านอ่านสูเราะฮฺนี้ในการเป็นอิมามละหมาดกับเรา 

(หะดีษ เศาะฮีหฺ บันทึกโดย อะห์มัด 17483 และ อบู ดาวูด 1463 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

4.อ่านอายะฮฺ อัล-กุรซีย์

จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้มอบหมายให้ฉันเฝ้าซะกาตของเดือนเราะมะฎอน และแล้วก็มีสิ่งหนึ่ง(คือญินตนหนึ่ง)มาหาฉัน มันได้ขุดคุ้ยหาอาหาร ฉันจึงจับมันไว้และบอกว่า "ขอสาบานว่าข้าจะนำเจ้าไปให้ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม" แล้วท่านก็เล่าหะดีษที่ยาวซึ่งในตอนท้ายของหะดีษมีว่า มัน(ญินที่มาขโมยอาหารนั้น)ได้กล่าวว่า "เมื่อท่านเอนกายลงบนที่นอนก็จงอ่านอายะฮฺ อัล-กุรสีย์ แล้วอัลลอฮฺจะให้มีสิ่งที่คอยเฝ้าพิทักษ์ท่าน และชัยฏอนตัวไหนก็มิอาจจะเข้าใกล้ท่านได้จนกระทั่งรุ่งเช้า

แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ก็กล่าวว่า

«صَدَقَكَ وَهُوَ كَذُوبٌ، ذَاكَ شَيْطَانٌ»

"มันซื่อสัตย์กับเจ้า ทั้งๆ ที่มันเป็นจอมโกหก นั่นแหล่ะคือชัยฏอน" 

(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ โดยไม่ระบุสายรายงาน 5010 อัน-นะสาอีย์ และคนอื่นๆ ได้ระบุสายรายงานหะดีษนี้ด้วยสายที่เศาะฮีหฺ ดู มุคตะศ็อร เศาะฮีหฺ อัล-บุคอรีย์ ของ อัล-อัลบานีย์ 2:106)

5. การอ่านสองอายะฮฺสุดท้ายของสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ 

จาก อบู มัสอูด อัล-อันศอรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ กล่าวว่า 

«مَنْ قَرَأَ هَاتَينِ الآيَتَيْنِ مِنْ آخِرِ سُورَةِ البَقَرَةِ فِي لَيْلَةٍ كَفَتَاهُ».

 "ผู้ใดที่อ่านสองอายะฮฺนี้ของท้ายสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ ในเวลากลางคืน มันจะช่วยคุ้มครองเขา" (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 5009 และ มุสลิม 808 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน)

6.การอ่านสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ

จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่าท่านรอซูลุลลอฮฺ กล่าวว่า 

«لا تَـجْعَلُوا بُيُوتَـكُمْ مَقَابِرَ إنَّ الشَّيْطَانَ يَنْفِرُ مِنَ البَيْتِ الَّذِي تُقْرَأُ فِيهِ سُورَةُ البَقَرَةِ».

 "อย่าได้ทำให้บ้านของพวกท่านเป็นเหมือนสุสาน(คือไม่มีการอ่านอัลกุรอานและทำอิบาดะฮฺในบ้าน)แท้จริงแล้วชัยฏอนจะหนีออกจากบ้านที่มีการอ่านสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ" (บันทึกโดย มุสลิม 780)

7.กล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ(ซิกิร)ให้มาก ด้วยการอ่านอัลกุรอาน การตัสบีหฺ ตะหฺมีด ตักบีร ตะฮฺลีล เป็นต้น 

«مَنْ قَالَ: لا إلَـهَ إلا الله وَحْدَهُ لا شَرِيكَ لَـهُ، لَـهُ المُلْكُ وَلَـهُ الحَـمْدُ وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيرٌ مِائَةَ مَرَّةٍ كَانَتْ لَـهُ عَدْلَ عَشْرِ رِقَابٍ، وَكُتِبَتْ لَـهُ مِائَةُ حَسَنَةٍ، وَمُـحِيَتْ عَنْـهُ مِائَةُ سَيِّئَةٍ، وَكَانَتْ لَـهُ حِرْزاً مِنَ الشَّيْطَانِ يَومَهُ ذَلِكَ حَتَّى يُـمْسِيَ، وَلَـمْ يَأْتِ أَحَدٌ بِأَفْضَلَ مِـمَّا جَاءَ إلَّا رَجُلٌ عَمِلَ أَكْثَرَ مِنْـهُ».

 "ผู้ใดกล่าวว่า ลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ วะห์ดะฮู ลา ชะรีกะละฮฺ, ละฮุลมุลก์ วะละฮุลหัมดุ วะฮูวา อะลา กุลลิ ชัยอิน เกาะดีรฺ

(ความหมายดุอาอฺ : ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺแต่เพียงพระองค์เดียว ไม่มีภาคีใดสำหรับพระองค์ อำนาจการปกครองและมวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์ของพระองค์ และพระองค์ทรงอำนาจเหนือสรรพสิ่งทั้งมวล) จำนวนหนึ่งร้อยครั้ง ย่อมเท่ากับ(การปล่อยทาส)สิบคน และถูกบันทึกแก่เขาหนึ่งร้อยความดีงาม และถูกลบล้างแก่เขาหนึ่งร้อยความผิด และมันจะเป็นปกป้องเขาจากชัยฏอนในวันนั้นจนกระทั่งเย็น และไม่มีผู้ใดในวันกิยามะฮฺที่จะนำสิ่งใดๆ อันประเสริฐไปกว่าสิ่งที่เขาได้นำมา(ด้วยการกล่าวบทซิกิรดังกล่าว) นอกจากผู้ที่อ่านมากกว่าเขา" 

(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 6403 สำนวนรายงานเป็นของท่าน และ มุสลิม หมายเลข 2691)


8.ดุอาอฺเมื่อออกจากบ้าน

จากอะนัส อิบนุ มาลิก เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า

«إذَا خَرَجَ الرَّجُلُ مِنْ بَيْتِـهِ فَقَالَ: بِاسْمِ الله، تَوَكَّلْتُ عَلَى الله، لا حَوْلَ وَلا قُوَّةَ إلَّا بِاللهِ٬» قَالَ: «يُـقَالُ حِينَئِذٍ هُدِيتَ وَكُفِيتَ وَوُقِيتَ فَتَتَنَحَّى لَـهُ الشَّيَاطِينُ، فَيَـقُولُ لَـهُ شَيْطَانٌ آخَرُ: كَيفَ لَكَ بِرَجُلٍ قَدْ هُدِيَ وَكُفِيَ وَوُقِيَ».

"เมื่อชายผู้หนึ่งออกจากบ้านของเขาและได้กล่าวว่า บิสมิลลาฮฺ ตะวักกัลตุ อะลัลลอฮฺ, ลาเหาละ วะลา กุว์วะตะ อิลลา บิลลาฮฺ (ความว่า ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ฉันขอมอบหมายที่พึ่งยังอัลลอฮฺ ไม่มีความสามารถและพละกำลังใดที่เกิดขึ้นเว้นแต่ด้วยการอนุมัติของอัลลอฮฺ) เมื่อนั้นก็จะถูกกล่าวแก่เขาว่า ท่านได้รับการชี้นำแล้ว ท่านได้รับการคุ้มครองแล้ว ท่านได้รับการปกป้องแล้ว และชัยฏอนทั้งหลายก็จะพยายามเข้าใกล้เขา แต่จะมีชัยฏอนตัวอื่นกล่าว่า เจ้าจะทำอย่างไรได้เล่ากับชายซึ่งได้รับการชี้นำ ได้รับการคุ้มครองและปกป้องแล้ว?"

(บันทึกโดย อบู ดาวูด 5095 สำนวนรายงานนี้เป็นของท่าน และอัต-ติรมิซีย์ 3426)

9.ดุอาอฺเมื่อแวะพักระหว่างทาง

จาก เคาละฮฺ บินตุ หะกีม อัส-สุละมียะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา เล่าว่า ฉันได้ยินท่านรอซูลุลลอฮฺ กล่าวว่า: 

«إذَا نَزَلَ أَحَدُكُمْ مَنْزِلاً فَلْيَـقُلْ: أَعُوذُ بِكَلِـمَاتِ الله التَّامَّاتِ مِنْ شَرِّ مَا خَلَقَ، فَإنَّهُ لا يَضُرُّهُ شَيْءٌ حَتَّى يَرْتَـحِلَ مِنْـهُ».

ความว่า "เมื่อพวกท่านคนใดคนหนึ่งหยุดพัก(ระหว่างเดินทาง) ณ ที่ใดที่หนึ่ง แล้วเขาก็กล่าวว่า อะอูซุ บิกะลีมาติลลาฮิต ต๊ามมาต, มิน ชัรริ มา เคาะลัก (ความหมาย ฉันขอความคุ้มครองด้วยถ้อยคำอันสมบูรณ์แห่งอัลลอฮฺ จากความชั่วร้ายที่พระองค์ทรงสร้าง) ดังนั้น จะไม่มีสิ่งใดที่ทำร้ายเขาได้ จนกระทั่งเขาเดินทางออกไปจากที่นั้น"  (บันทึกโดย มุสลิม 2708)

10.พยายามระงับการหาวและใช้มือปิดปาก

จาก อบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า 

ความว่า: "เมื่อพวกท่านคนใดคนหนึ่งหาว ก็จงใช้มือของเขาปิดปากเสีย เพราะแท้จริงแล้วชัยฏอนจะเข้าไป" 

จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ 

ความว่า: "การหาวนั้นมาจากชัยฏอน ดังนั้นเมื่อพวกท่านคนใดหาวก็จงพยายามระงับมันเท่าที่สามารถทำได้"   

11.การอะซาน

จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม กล่าวว่า 

ความว่า: "เมื่อมีการอะซานเรียกสู่การละหมาด ชัยฏอนจะหนีไปไกลพร้อมกับตดไปด้วย (วิ่งหนีไปด้วยสภาพเช่นหางจุกตูด) เพื่อไม่ให้ได้ยินเสียงอะซาน เมื่อสิ้นเสียงอะซานมันก็จะกลับมาอีก จนกระทั่งเมื่อมีการอิกอมะฮฺเพื่อละหมาด มันก็จะหนีอีกครั้ง และเมื่ออิกอมะฮฺเสร็จมันก็จะกลับมา จนกระทั่งมันได้เข้าไปรบกวนคนคนหนึ่งกับใจของเขา ด้วยการล่อลวงว่า 'จงนึกถึงสิ่งนี้และสิ่งนั้น' ให้เขานึกถึงสิ่งที่เคยนึกไม่ได้ จนกระทั่งชายคนหนึ่งอาจจะไม่รู้สึกตัวว่าได้ละหมาดไปเท่าไรแล้ว" 

12.ดุอาอฺตอนเข้ามัสญิด

จาก อุกบะฮฺ กล่าวว่า อับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมร์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ได้เล่าให้เราฟังจากท่านนบี ว่า เมื่อท่านนบีเข้ามัสญิดท่านจะกล่าวว่า 

ความว่า: "ข้าขอความคุ้มครองด้วยอัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่ และด้วยพระพักตร์อันทรงเกียรติของพระองค์ และด้วยอำนาจอันดั้งเดิมของพระองค์ จากชัยฏอนผู้ถูกสาปแช่ง" อุกบะฮฺ ถามคนที่ฟังหะดีษ(นักรายงานที่ชื่อ หัยวะฮฺ)อยู่ว่า "ท่านฟังจากฉันเท่านี้เองหรือ?" เขา(หัยวะฮฺ)ตอบว่า "ใช่" อุกบะฮฺ จึงกล่าวต่อไปว่า "เมื่อเขากล่าวดุอาอ์นั้น ชัยฏอนก็จะพูดว่า เขาถูกปกป้องจากฉันวันนั้นทั้งวัน" 

13. การทำวุฎูอฺ(อาบน้ำละหมาด)และเศาะลาฮฺ(ละหมาด) โดยเฉพาะมีความโกรธและมีอารมณ์ใคร่อยากในบาป เพราะไม่มีสิ่งใดที่บ่าวจะใช้ดับความร้อนรุ่มของความโกรธและอารมณ์ใคร่ได้ดีเท่าการอาบน้ำละหมาดและการละหมาด

14.การเชื่อฟังอัลลอฮฺและรอซูลของพระองค์ หลีกเลี่ยงจากการดูและพูดเรื่อยเปื่อย การกินที่เกินเลย และการคลุกคลีปะปนที่เกินพอดี

15.ทำให้บ้านปลอดจากรูปภาพ รูปปั้น สุนัข และกระดิ่ง(หรือระฆัง) 

จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ วะสัลลัม กล่าวว่า 

ความว่า: "มลาอิกะฮฺจะไม่เข้าบ้านที่มีรูปปั้นและรูปภาพ"   

จาก อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ กล่าวว่า: 

ความว่า: "มลาอิกะฮฺจะไม่อยู่ร่วมกับผู้เดินทางที่มีสุนัขและกระดิ่ง" 

16.หลีกเลี่ยงสถานที่อาศัยของญินและชัยฏอน เช่น ที่ร้าง ที่โสโครกมีนะญิส อาทิ สุขา(หรือสถานที่ปัสสาวะหรืออุจจาระ) ที่ทิ้งขยะ เป็นต้น หรือสถานที่ที่ไม่มีผู้คนอาศัย เช่น ทะเลทราย ชายหาดที่เปลี่ยว เป็นต้น รวมทั้ง คอกอูฐ และ อื่นๆ ในทำนองเดียวกัน 

ที่มา: sunnahstudent.com,islammore.com

https://islamhouse.muslimthaipost.com

อัพเดทล่าสุด