หญิงตั้งครรภ์แต่ชดใช้ศีลอดยังไม่หมดจนรอมฎอนปีหน้ามาถึงต้องทำอย่างไร?


5,761 ผู้ชม

ผู้หญิงที่ขาดศีลอดในเดือนรอมฎอนที่แล้ว เพราะตั้งท้อง และยังชดใช้ไม่หมดจนถึงรอมฎอนปีนี้ ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮ์อย่างไร จำนวนเท่าไร จะจ่ายทีเดียว หรือจ่ายพร้อมกับการถือศีลอด


หญิงตั้งครรภ์แต่ชดใช้ศีลอดยังไม่หมดจนรอมฎอนปีหน้ามาถึงต้องทำอย่างไร?

ถาม: ผู้หญิงที่ขาดศีลอดในเดือนรอมฎอนที่แล้ว เพราะตั้งท้อง และยังชดใช้ไม่หมดจนถึงรอมฎอนปีนี้ ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮ์อย่างไร จำนวนเท่าไร จะจ่ายทีเดียว หรือจ่ายพร้อมกับการถือศีลอด

ตอบโดย:  อาจารย์ อาริฟีน แสงวิมาน 

กรณีผู้หญิงตั้งครรภ์นั้นหากกลัวว่า อันตรายจะเกิดแก่ตนเอง ก็ให้ละศีลอดและกอฎอชดใช้เท่าโดยไม่ต้องจ่ายอาหาร , แต่หากนางไม่กลัวอันตรายจากเกิดขึ้นแก่ตนเองแต่กลัวอันตรายจะเกิดแก่ทารก ก็ให้นางกอฎอชดใช และต้องจ่ายอาหารวันละ 1 มุด หรือประมาณ 600 กรัม ส่วนกรณีที่นางล่าช้าชดใช้ศีลอดเพราะตั้งครรภ์หัวปีท้ายปีหรือต้องให้นมแก่บุตรจนร่อมะฎอนหน้ามาถึง ก็ไม่ต้องเสียค่าปรับใด ๆ เนื่องจากมีอุปสรรคต่อเนื่อง แต่ให้กอฎอชดใช้อย่างเดียวเท่านั้น รายละเอียดมีดังนี้

1. เมื่อหญิงที่ตั้งครรภ์และหญิงที่ให้นมทารกละศีลอด บางครั้งนางอาจกลัวเป็นอันตรายกับตนเองหรืออาจกลัวเป็นอันตรายกับทารกถ้าหาก นางกลัวจะเกิดอันตรายกับตนเอง ก็จำเป็นต้องชดใช้การถือศีลอดที่ขาดเท่านั้นก่อนที่ร่อมะฎอนหน้าจะมาถึง รายงานจากท่านอะนัส บิน มาลิก ความว่า มีชายคนหนึ่งจากบะนีอับดุลลอฮ์ บิน กะอับ เขากล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

 إِنَّ اللَّهَ تَعَالَى وَضَعَ عَنْ الْمُسَافِرِ الصَّوْمَ وَشَطْرَ الصَّلَاةِ وَعَنْ الْحَامِلِ أَوْ الْمُرْضِعِ الصَّوْمَ

“ความจริงอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ผ่อนปรนการถือศีลอด และครึ่งหนึ่งของละหมาดให้คนเดินทางและได้ผ่อนปรนการถือศีลอดให้แก่หญิงมีครรภ์ และหญิงที่ให้นมทารก” รายงานโดยติรมีซีย์ (649) คือผ่อนผันให้ย่อละหมาด และละศิลอดพร้อมทั้งต้องชดใช้ภายหลัง

หญิงตั้งครรภ์แต่ชดใช้ศีลอดยังไม่หมดจนรอมฎอนปีหน้ามาถึงต้องทำอย่างไร?

2. และถ้าหากนางละศีลอดเพราะกลัวจะเป็นอันตรายต่อทารกโดยนางกลัวว่าจะแท้งถ้าหากถือศีลอด หรือกลัวว่าจะมีน้ำนมน้อยไม่พอเลี้ยงทารก นางจำเป็นต้องชดใช้การถือศีลอดในวันที่นางละศีลอดและจำเป็นต้องจ่ายอาหารที่คนส่วนใหญ่ใช้รับประทานอีกวันละหนึ่งมุดเป็นทาน จากท่านอิบนิอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า :

 وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ قَالَ كَانَتْ رُخْصَةً لِلشَّيْخِ الْكَبِيرِ وَالْمَرْأَةِ الْكَبِيرَةِ وَهُمَا يُطِيقَانِ الصِّيَامَ أَنْ يُفْطِرَا وَيُطْعِمَا مَكَانَ كُلِّ يَوْمٍ مِسْكِينًا وَالْحُبْلَى وَالْمُرْضِعُ إِذَا خَافَتَا

“เหนือผู้ ที่ ( ไม่ ) สามารถถือศิลอด ต้องจ่ายฟิตยะห์ เป็นอาหารแก่คนยากจน” [อัลบากอเราะห์: 184]

อิบนุอับบาส กล่าวว่า : มันเป็นข้อผ่อนผันสำหรับคนชราทั้งชายและหญิงที่ไม่สามารถถือศีลอดได้ ให้เขาละศิลอดและจ่ายอาหารแทนทุกวันต่อทุกคนหนึ่งคนยากจน หญิงที่มีครรภ์และหญิงที่ให้นมทารกเมื่อกลัวทารกจะเป็นอันตราย ให้ละศีลอด ( ต้องชดใช้ ) และจ่ายอาหาร” รายงานโดยอบูดาวูด (1974)

3. ท่านอิมามอัลค่อฏีบ อัชชัรบีนีย์ กล่าวว่า “ผู้ใดที่ล่าช้าการชดใช้ศีลอดร่อมะฎอนทั้งที่เขามีความสามารถถือศีลอดและไม่มีอุปสรรคอันใดจากการเดินทางหรืออื่น ๆ จนกระทั่งร่อมะฎอนปีหน้ามาถึง ก็จำเป็นบนเขาต้องทำการชดใช้และเสียค่าปรับ 1 มุดในทุก ๆ วัน…ดังนั้นหากเขาไม่สามารถกอฎอชดใช้ได้เพราะมีอุปสรรคอย่างต่อเนื่อง เช่น เขาเป็นผู้เดินทางอย่างต่อเนื่อง หรือป่วยเป็นประจำตลอดทั้งปี หรือเป็นหญิงตั้งครรภ์ หรือเป็นหญิงให้นมบุตร จนกระทั่งร่อมะฎอนปีหน้ามาถึง ก็ไม่ต้องเสียค่าปรับใด ๆ ด้วยกับสาเหตุการล่าช้า(ที่มีอุปสรรคต่อเนื่อง)นี้” หนังสือมุฆนิลมัวะห์ตาจญ์, เล่ม 2, หน้า 177

อัพเดทล่าสุด