ฉันถือศีลอด แต่ฉันไม่ละหมาด จะได้บุญไหม?


48,195 ผู้ชม

ฉันถือศีลอดในเดือนรอมฎอนแต่ฉันไม่ได้ละหมาด  การถือศีลอดของฉันนั้นจะเป็นที่ยอมรับหรือไม่?


 ฉันถือศีลอด แต่ฉันไม่ละหมาด จะได้บุญไหม?

“การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน” ไม่เป็นที่ยอมรับ หากผู้ถือศีลอดละทิ้งการละหมาด

คำถาม: ฉันถือศีลอดในเดือนรอมฎอนแต่ฉันไม่ได้ละหมาด  การถือศีลอดของฉันนั้นจะเป็นที่ยอมรับหรือไม่?

คำตอบ: การสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ

การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน และการกระทำความดีงามอื่นๆ นั้น จะไม่ได้รับการยอมรับ หากท่านละทิ้งการละหมาด  นั่นเป็นเพราะว่า “การละทิ้งละหมาด” ถือเป็น กุฟรฺ (การปฏิเสธอัลลอฮฺ ปฏิเสธความโปรดปรานของอัลลอฮฺและสาส์นของพระองค์ (คืออิสลาม))  ดังที่ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะศัลลัม กล่าวว่า “ความแตกต่างระหว่างบุรุษคนหนึ่ง และชิริก และกุฟรฺ คือการละทิ้งละหมาด” รายงานโดยมุสลิม 82

ไม่มีซึ่ง “การกระทำที่ดีงามใด” จะได้รับการตอบรับจากบรรดากาเฟรฺ ด้วยเพราะอัลลอฮฺตรัสว่า  (อันมีความหมายว่า) “เราจะนำ “การกระทำต่างๆ” ที่พวกเขากระทำ (ผู้ปฏิเสธ ผู้นับถือพระเจ้าหลายองค์ และผู้กระทำชั่ว) กลับคืนสู่พวกเขา และเราจะทำให้การงานเหล่านั้นไร้คุณค่าดังเช่นผงธุลีที่ปลิวว่อน” (อัล ฟุรกอน 25:23)

 ฉันถือศีลอด แต่ฉันไม่ละหมาด จะได้บุญไหม?

“หากพวกเจ้าทำการสักการะสิ่งอื่นใด ร่วมกับอัลลอฮฺ แน่นอนการงาน (ทั้งหลาย) ของเจ้าย่อมสูญเปล่า และแน่นอนเจ้าจะอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน” (อัซซุมัร 39:65)

อัลบุคอรียฺ รายงานว่า ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะศัลลัม กล่าวว่า

“ผู้ใดก็ตามที่ละทิ้งการละหมาดอัศรี การงานทั้งหลายของเขาย่อมสูญเปล่า”  (อัลบุคอรียฺ 553)

ความหมายของถ้อยคำที่ว่า “การงานทั้งหลายของเขาย่อมสูญเปล่า” หมายความว่า “การงาน การกระทำความดีงามทั้งหลายของเขากลายเป็นโมฆะ ใช้ไม่ได้ และมันจะไม่ก่อผลประโยชน์ใดๆ แก่เขา”

จากฮะดีษบทนี้บ่งบอกว่า ในกรณีที่บุคคลหนึ่งไม่ทำการละหมาด อัลลอฮฺจะมิทรงตอบรับการงานใดๆ จากเขา ดังนั้นผู้ที่ละทิ้งการละหมาดย่อมไม่ได้รับผลบุญ หรือการตอบแทนใดๆ จากการงานทั้งหลายของเขา และไม่มีการงานที่ดีใดๆ ของเขาจะไป ณ ที่อัลลอฮฺ

ท่านอิบนุล ก็อยยิม (รอฮิมาฮุลลอฮฺ) กล่าวไว้เกี่ยวกับความหมายของฮะดีษบทนี้ไว้ว่า “สิ่งที่ปรากฎในความหมายของฮะดีษบทนี้คือ บรรดาผู้ที่ละทิ้งการละหมาดนั้นมีอยู่สองประเภท”

หนึ่ง        บรรดาผู้ที่ไม่ทำการละหมาดเลย ซึ่งทำให้การงานทั้งหมดทั้งมวลของเขานั้นเป็นโมฆะ (ใช้ไม่ได้)

สอง         บรรดาผู้ที่ไม่ทำการละหมาดบางวัน ซึ่งทำให้การงานของเขาในวันนั้นเป็นโมฆะ (ใช้ไม่ได้)

ดังนั้น “การสูญเสียของการงานที่ดีทั้งหมด” จะประสบต่อบรรดาผู้ที่ไม่ทำการละหมาดเลย และ “การสูญเสียของการงานบางอย่าง” จะประสบต่อบรรดาผู้ที่ละทิ้งการละหมาดบางช่วงเวลา” (จากกิตาบ อัล ศอลาฮฺ หน้า 65)

ดังนั้นคำแนะนำของเราต่อผู้ที่ถามคำถามนี้คือ การกลับเนื้อกลับตัวต่ออัลลอฮฺ และรู้สึกเสียใจต่อการละเลยในหน้าที่ที่ควรกระทำต่ออัลลอฮฺ สำหรับการนำมาซึ่งความโกรธกริ้ว และการลงโทษของพระองค์ และอัลลอฮฺทรงตอบรับการกลับเนื้อกลับตัวของบรรดาบ่าวที่สำนึกผิดต่อพระองค์ และพระองคจะทรงอภัยโทษต่อความผิดบาปของเขา แท้จริงแล้ว อัลลอฮฺทรงปลื้มปิติเป็นอย่างยิ่งต่อการสำนึกในความผิดของปวงบ่าว ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะศัลลัม ได้แจ้งข่าวดีต่อบรรดาผู้กลับเนื้อกลับตัวว่า “บรรดาผู้ที่กลับเนื้อกลับตัวจากความผิดบาปนั้น เปรียบเสมือนกับผู้ที่มิได้ทำความผิดบาปใดๆ เลย” รายงานโดย อิบนุ มาญะฮฺ 4250ถูกจัดว่าเป็นฮะดีษฮะซัน โดยอัล อัลบานียฺ ในศอเฮี้ยฮฺ อิบนุ มาญะฮฺ 3424

ดังนั้น เธอจำต้องเร่งรีบที่จะทำการฆุซลฺ (อาบน้ำตามศาสนบัญญัติ) และละหมาด เพื่อที่เธอจะได้มีความบริสุทธิ์ทั้งภายในและภายนอก เธอไม่ควรที่จะล่าช้าในการสำนึกผิดและกล่าวว่า “ฉันจะกลับเนื้อกลับตัววันพรุ่งนี้ หรือหลังจากวันพรุ่งนี้ เพราะเธอไม่มีทางที่จะทราบได้ว่า “ความตาย” จะมาประสบกับเธอเมื่อไหร่” เธอควรจะทำการสำนึกผิดต่ออัลลอฮฺ ก่อนที่ความเสียใจของเธอจะไม่มีก่อผลประโยชน์ใดๆ แก่เธอ

“และวันที่ผู้อธรรมจะกัดมือของเขาแล้วจะกล่าวว่า “โอ้! หากฉันได้ยึดแนวทางร่วมกับอัลร่อซูลก็จะเป็นการดี”  “โอ้ความวิบัติแก่ฉัน! หากฉันไม่คบคนนั้นเป็นเพื่อน” “แน่นอน เขาได้ทำให้ฉันหลงผิดจากการตักเตือน (อัลกุรอาน) หลังจากที่มันได้มันมายังฉัน และชัยฏอนมารร้ายนั้น มันเป็นผู้เหยียดหยามมนุษย์เสมอ” (อัลฟุรกอน 27-29)

www.islaminthailand.org

https://islamhouse.muslimthaipost.com/article/21778

บทความที่น่าสนใจ

อัพเดทล่าสุด