ประวัติ ทุ่งอารอฟะห์


32,333 ผู้ชม

ประวัติ ทุ่งอารอฟะห์ อารอฟัต ความหมาย...


ประวัติ ทุ่งอารอฟะห์

ประวัติ ทุ่งอารอฟะห์

อารอฟะห์ หรื อารอฟาต คือ ชื่อของทุ่งหรือที่ราบที่เป็นสถานที่ที่ต้องเข้าไปอย่างน้อยชั่วครู่ในนั้นเพื่อขอดุอาอฺ ในวันที่ 9 เดิอนซุลฮิญญะห์ สำหรับผู้ที่ทำฮัจญ์เท่านั้น อื่นจากวันนั้นก็ไม่จำเป็นต้องไปอีกเลย การเข้าไปในทุ่งอารอฟะห์ในวันดังกล่าวนั้นเรียกว่า การวูกูฟ ซึ่งเป็นหนึ่งในรูกุนของการทำฮัจญ์ ถ้าผู้ใดไม่วูกุฟ ฮัจญ์ของเขาก็ใช้ไม่ได้

คำว่า “อารอฟะห์” ในภาษาอาหรับแปลว่า พบและรู้จัก สาเหตุที่ทุ่งแห่งนี้มีคนเรียกว่า “อารอฟะห์” เพราะว่า เป็นวันที่พระองค์อัลลอฮ์ได้สาบานในอัล-กุรอาน

วันอะเราะฟะฮ์ใช่ว่ามีความสำคัญสำหรับผู้ที่ไปประกอบพิธีฮัจญ์อย่างเดียว แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้ไปประกอบพิธีถือว่ามีความสำคัญเช่นเดียวกัน เพราะเราะซูล  ได้สนับสนุนให้บรรดามุสลิมที่ไม่ได้ไปประกอบพิธีให้พวกเขาถือศีลอดในวันนี้ ท่านได้กล่าวว่า

صِيامُ يومِ عرفَةَ أحْتَسِبُ على اللهِ أن يكفِّرَ السنةَ التي قبْلَه والسنةَ التي بعدَه (رواه مسلم رقم الحديث 2747)
 

“การถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮ์ฉันหวังผลบุญจากพระองค์อัลลอฮ์  ลบล้างบาปหนึ่งปีที่ผ่านมาและอีกหนึ่งปีหลังจากนั้น”

ประวัติ ทุ่งอารอฟะห์

ในช่วงแรก ๆของเดือนญุลฮิจญะฮ์มีความสำคัญทางศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งวันที่ 9 ของเดือนญุลฮิจญะฮ์ของทุกปี เป็นวันที่บรรดาผู้ไปประกอบพิธีฮัจญได้ไปรวมตัวกัน ณ ที่ทุ่งอะเราะฟะฮ์  และการไปวุกูฟที่ทุ่งอะเราะฟะฮ์ ซึ่งเป็นหลักสำคัญในการทำฮัจญ์ ใครที่ไม่ได้วุกูฟที่ทุ่งอะเราะฟะฮ์ถือว่า ไม่ได้ประกอบพิธีฮัจญ์ ดังนั้น ความสำคัญของการทำฮัจญ์อยู่ที่วันอะเราะฟะฮ์ 

มุสลิมที่ไปประกอบพิธีฮัจญ์ทุกคนจะต้องไปวุกูฟที่ทุ่งอะเราะฟะฮ์ ซึ่งการวุกูฟนี้เป็นรูปภาพจำลองของวันที่มนุษย์ทุกคน รวมทั้งผู้ที่ไม่เชื่อจะถูกฟื้นคืนชีพอีกครั้ง และไปรวมตัวกันที่ทุ่งมะหฺซัรเพื่อฟังคำตัดสินจากพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.)

1. ท่านนะบีอะดัมได้พบกับกับภรรยาของท่านที่ชือว่าเฮาวาอ์ ณ ที่แห่งนี้หลังจากที่พระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ.)ได้นำทั้งสองลงมาจากสวรรค์

2. ท่านนะบีอิรอฮีมได้เจอกับภรรยาของท่านและลูกชายของท่านนะบีอิสมาอีลหลังจากนะบีอิบรอฮีมได้ทิ้งทั้งแม่และลูก ณ นครมักกะฮ์ที่แห้งแล้ง ไม่มีต้นไม้และน้ำ และกลับได้ยังถิ่นเดิมคือปาเลสไตน์

ก่อนวันอะเราะฟะฮ์ คือวันที่ 8 ญุลฮิจญะฮ์ เราเรียกวันนี้ว่า วันตัรวิยะฮ์   يوم التَّرْوِيَة  ซึ่งแปลว่า วันตรึกตรอง เพราะท่านนะบีอิบรอฮีม ได้นั่งคิดตรึกตรองและวิเคราะห์คำสั่งของพระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ.) ที่ใช้ให้เชือดลูกชาย จนเกระทั่งข้าใจวัตถุประสงค์ของคำสั่งดังกล่าวนั้น

สภาพการรวมตัวกันของมุสลิมที่ทุ่งอะเราะฟะฮ์ได้แสดงถึงการยอมจำนนตนต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงองค์เดียวในเวลาเดียวกัน วันเดียวกันและสถานที่เดียวกันด้วยกริยาท่าทางที่นอบน้อมถ่อมตน เช่นเดียวกันในเครื่องนุ่งห่มสีขาวแบบเดียวกัน ไม่มีใครเด่นกว่าใคร ไม่มีใครใหญ่กว่าใคร ไม่มีใครประเสริฐกว่าใคร นอกจากด้วยลักษณะของการยำเกรงต่อพระองค์อัลลอฮ์(ซ.บ.)เท่านั้น ที่แตกต่างกัน มุสลิมที่ประเสริฐที่สุด ณ พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) คือผู้ที่สำรวมตนและปฏิบัติคุณงามความดีบนโลกนี้เพื่อโลกหน้า และมีความยำเกรงต่อพระองค์ทุกขณะเวลา

ประวัติ ทุ่งอารอฟะห์

ที่ตั้งทุ่งอารอฟะห์

อยู่ห่างจากจากมักกะห์ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 22 กิโลเมตร 

ภารกิจในทุ่งอารอฟะห์

อาบน้ำที่ นามีเราะห์เพื่อเนียตจะวูกูฟ , เข้าไปในอารอฟะห์หลังจากละหมาดซุฮรีกับอัสรี , ทันฟังคุตบะห์ และรวมละหมาดซุฮรีกับอัสรี , ไปวูกูฟทันทีเมื่อเส็รจละหมาด , ไม่ถือศีลอด แม้ว่าจะมีแรงก็ตาม ,ไปวูกุฟด้วยการมีน้ำละหมาด , เวลาวูกุฟให้หันกิบลัต , ให้ใจว่างจากทุกอย่างที่จะรบกวนการดูอา , ถ้าเป็นหัวหน้าคณะ ให้ขี่สัตว์เช่นอูฐเพื่อเห็นได้ง่าย , ขอดูอา อิสติฆฟัร ซีกิร ตัลบียะห์ อ่านกุรอ่านให้มาก พยายามวูกุฟที่ที่ท่านนบีวูกูฟ นั่นคือ บริเวณที่มีก้อนหินโตๆ

ประวัติ ทุ่งอารอฟะห์

ข้อพึงระวัง อีหม่ามนาวาวีกล่าวว่า:  การขึ้นภูเขาญาบัลเราะมะห์ที่ตั้งอยู่ตรงกลางของอาราฟัตนั้นไม่มีคุณค่าใดๆ ไม่มีความประเสิรฐใดๆ ที่จริงแล้วตำแหน่งใหนก็ตามในอารอฟะห์ มีคุณค่าเท่ากัน นอกจากแถวก้อนหินที่นบีวูกูฟ ณ ที่นั้น การอ้างว่าภูเขานั้นเป็นที่ที่เหล่านบีทั้งหลายขอดูอาบนนั้น ไม่มีมูลเหตุมายืนยัน และไม่มีฮาดิษมาสนับสนุน

อัพเดทล่าสุด