การฝังกระดูกสัตว์กุรบาน


8,811 ผู้ชม

กระดูกสัตว์กุรบานต้องนำไปฝัง ในเรื่องนี้มีหลักฐานให้มุสลิมปฏิบัติหรือเปล่าครับ พอดีมีคนบอกมาว่า กระดูกของสัตว์กุรฺบานนั้น ศาสนาสั่งใช้ให้นำไปเศาะดะเกาะฮฺ....


การฝังกระดูกสัตว์กุรบาน 

กระดูกสัตว์กุรบานต้องนำไปฝัง ในเรื่องนี้มีหลักฐานให้มุสลิมปฏิบัติหรือเปล่าครับ พอดีมีคนบอกมาว่า กระดูกของสัตว์กุรฺบานนั้น ศาสนาสั่งใช้ให้นำไปเศาะดะเกาะฮฺ (แจกจ่าย) ให้หมด ไม่ใช่ให้เอาไปฝัง ซึ่งท่านนบีสั่งให้ท่านอลีย์นำกระดูก และหนังของสัตว์กุรฺบานไปเศาะดะเกาะฮฺ ฉะนั้น กระดูกของสัตว์กุรฺบานนั้นมีสุนนะฮฺให้นำไปเศาะดะเกาะฮฺให้หมด

การฝังกระดูกสัตว์กุรบาน

ส่วนการนำไปฝังไม่มีแบบอย่าง  ผมงง มากเลย กระดูกของสัตว์กุรฺบานนั้น ศาสนาสั่งใช้ให้นำไปเศาะดะเกาะฮฺ แล้วอีกอย่างกระดูกของสัตว์กุรบานห้ามแมวกินจิงไหมคับ  พอดีมีคนบอกว่า กระดูกของสัตว์กรุบานห้ามแมวกิน

ตอบโดย:   อาลี เสือสมิง

เรื่องการฝังกระดูก และหนังของสัตว์ที่ถูกเชือดกุรบาน (อุฎหิยะฮฺ) นั้นไม่พบในตำรานิติศาสตร์อิสลาม ที่เป็นตำรามาตรฐานในการอ้างอิงแต่อย่างใด และไม่พบหลักฐานจากสุนะฮฺของท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม) ที่ระบุให้กระทำเช่นนั้น ที่ปรากฏชัด คือ ห้ามขาย ห้ามมอบเป็นค่าจ้างแก่ผู้เชือดกุรบาน แต่ให้เอาประโยชน์จากหนังสัตว์นั้นได้ เช่น ทำรองเท้า หรือเครื่องใช้สอย เป็นต้น 

การกล่าวว่า ให้นำกระดูกไปฝัง หรือนำหนังไปฝังดินนั้น น่าจะเป็นความเข้าใจของผู้คนในอดีต เพราะเกรงว่า อาจจะมีคนเอาไปขาย เลยให้ฝังดินเสีย เพื่อตัดปัญหา ผู้ใหญ่บางท่านก็ว่าให้เอากระดูกไปฝังโคนต้นไม้ที่ให้ผล เป็นต้น ส่วนการแจกจ่ายทำเศาะดะเกาะฮฺนั้นก็ขึ้นอยู่กับประเภทของกุรบานที่เชือด ถ้าเป็นกุรบาบานวาญิบ ก็ให้แจกจ่ายแก่คนยากจน ซึ่งน่าจะหมายถึงเนื้อของสัตว์เป็นสำคัญ แต่ถ้าเป็นกุรบานสุนนะฮฺก็มีทั้งที่ว่าเก็บเอาไว้กินก็ได้ แจกก็ดี ตามความเหมาะสม กล่าวคือไม่วาญิบว่าต้องแจกทำเศาะดะเกาะฮฺไปเสียทุกกรณี ส่วนเรื่องที่ว่าห้ามแมวกินนั้นก็ไม่พบเช่นกัน   

การฝังกระดูกสัตว์กุรบาน

ฮิกมะห์ในการบัญญัติเรื่องการเชือดกรุบาน (อุฎหิยะฮฺ) 

สิ่งที่ควรทราบก็ คือ อุฎหิยะฮฺนั้นเป็นอิบาดะห์ และนอกจากการเชือดอุฎหิยะฮฺจะเป็นการยอมจำนนต่อคำบัญชาของอัลเลาะห์ตาอาลาในความหมายของความเป็น : บ่าว แล้วในอุฎหิยะฮฺนี้ก็ยังมีฮิกมะห์และประโยชน์อื่นๆ อีก

ความหมายที่ชัดเจนและยิ่งใหญ่ที่สุดเกี่ยวข้องกับอุฎหิยะฮฺก็คือ เป็นการฟื้นฟูความหมายของการเสียสละอันยิ่งใหญ่ที่สุดที่ท่านนบีอิบรอฮีม(อ.ล)ได้กระทำไว้ขณะที่อัลเลาะห์ตาอาลาทรงทดลองนบีอิบรอฮีม โดยมีบัญชาให้เชือดบุตรชายของตน และต่อมาอัเลาะห์ก็ได้ไถ่ตัวบุตรชายของเขาด้วยแกะที่พระองค์ได้ประทานลงมา และมีคำสั่งให้เชือดแกะตัวนั้นแทนบุตรชาย

หลังจากนนั้น นบีอิบรอฮีมและบุตรชายได้พยายามปฎิบัตฺตามคำบัญชาของพระองค์ให้เป็นความจริงอย่างถึงที่สุด และที่เกินไปกว่านั้นก็คือ เป็นความเอื้อเฟื้อแก่คนยากไร้และคนที่ขัดสนและทำให้คนในครอบครัวมีความดีใจและปิติยินดีในวันอีด และเป็นการเสริมสร้างความผูกพันระหว่างสมาชิกในสังคมมุสลิมให้เกิดความมั่นคงอย่างแน่นเหนียว   

เวลาของการเชือด   เวลาเชือดอุฎหิยะฮฺ คือ เริ่มตั้งแต่ตะวันขึ้นในวันอีดอัดฮา และผ่านไปช่วงหนึ่งที่พอจะละหมาดสองรอกาอัตและสองคุตบะห์ได้ เวลาการเชือดอุฎหิยะฮฺนี้จะยังคงอยู่เรื่อยไปจนถึงตะวันตกในวันสุดท้ายของวันตัชรีก

ส่วนคำว่า วันตัซรีกนั้น หมายถึง 3 วัน 3 คืน คือวันที่สิบเอ็ด สิบสอง สิบสาม หลังจากวันอีด ถ้าหากเชือดในกลางคืนของวันทั้ง 3 ถือว่ามักรูห์ (มักรูห์ คือ สิ่งที่น่าเกลียด ไม่สมควรกระทำ ผู้ที่กระทำจะไม่ได้รับโทษ แต่ผู้ที่ละทิ้งจะได้รับผลบุญ)

และคำว่า เพื่อเป็นการทำตนให้เข้าใกล้ชิดอัลลอฮ หมายถึงตามแนวทางที่จะเข้าใกล้ชิด อัลลอฮ.โดยที่ไม่เกี่ยวว่าเชือดเพื่อรับประทานหรือเชือดเพื่อขาย   เวลาของการเชือดอุดฮียะห์ที่ดีเลิศ   คือให้ล่าช้าการเชือดจนกระทั่งดวงอาทิตย์ของวันอีดสูงได้ระยะ 1 ด้ามหอก(โดยการประมาณด้วยสายตา) คือ ภายหลังจากเสร็จละหมาด อีด   เพราะฮะดีษบุคอรี(5225)และมุสลิม(1961)ว่า: 

 اَوَلُ مَا نَبْدَأُ بِهِ يَومَنَا هَذَانُصَلِي ثُمَ نَرْجِعُ فَنَنْحَرُ فَمَنْ    فَعَلَ ذَالِكَ فَقَدْ اَصَابَ سُنَتَنَا وَمَنْ ذَبَحَ قَبْلَ ذَالِكَ فَاِنَمَا هُوَلَحْمٌ قَدَّمَه‘   لاَهْلِهِ لَيْسَ مِنَ النُسُكِ فِيْ شَيْءٍ 

 สิ่งแรกที่เราได้เริ่มต้นในวันนี้ของเราคือ เราละหมาด จากนั้นเรากลับมาและเชือด ดังนั้น ผู้ใดปฎิบัติดังกล่าว เขาก็ทำถูกต้องตามซุนนะห์ของเรา และผู้ใดเชือดก่อนดังกล่าวนั้น มันก็เป็นเนื้อที่เขาหยิบยื่นให้แก่ครอบครัวของเขา ไม่ใช่เป้นพีธีการศาสนาแต่อย่างใด คำที่ว่า และผู้ใดเชือดก่อนดังกล่าวนั้น " หมายความว่า ก่อนเข้าละหมาดอีด และก่อนที่เวลาจะผ่านพ้นไปเท่ากับช่วงที่จะสามารละหมาดได้พอในช่วงนั้น และอินุฮิบบาน(1008)  ได้รายงานจากญุบัยร์บุตรมุตอิม(ร,ด)ได้กล่าวว่า: ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ได้กล่าวว่า   

(وَكُلُّ اَيّامِ الْتَشْرَيْقِ ذَبَحٌ)   : ทุกวันตัชรีกนั้นคือการเชือด หมายความว่าเป็นเวลาเชือด

อัพเดทล่าสุด