5 เคล็ดลับ รับมือเมื่อรู้สึกท้อใจ (อิสลาม)


20,349 ผู้ชม

หากท้อใจไม่ว่าจะเรื่องอะไร ทั้งการงาน ธุรกิจ หรือครอบครัว อิสลามก็มีแนวทางรับมือ


5 เคล็ดลับ รับมือเมื่อรู้สึกท้อใจ

หากท้อใจไม่ว่าจะเรื่องอะไร ทั้งการงาน ธุรกิจ หรือครอบครัว อิสลามก็มีแนวทางรับมือ โดยเราดูตัวอย่างจากนบีมุฮัมมัด ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เพราะเมื่อครั้งนบีท้อแท้ใจ ที่เมื่อสอนอิสลามไปแล้ว คนไม่ใส่ใจ ไม่สนใจ ไม่ฟัง ไม่รับเอาไปปฏิบัติ นบีก็เลยเป็นทุกข์ ท้อใจ ซึ่งเมื่อท่านนบีท้อใจ ท่านทำ 5 ประการต่อไปนี้

5 เคล็ดลับ รับมือเมื่อรู้สึกท้อใจ (อิสลาม)

1. ละหมาดซุนนะฮฺ 2 รอกาอัต

เมื่อนบีทุกข์ใจ นบีจะไปเข้าเฝ้าอัลลอฮฺ  ท่านจะไปอาบน้ำละหมาด แล้วละหมาดซุนนะฮฺ 2 รอกาอัต (ละหมาดซุนนะฮฺเนื่องจากการอาบน้ำละหมาด) นบีจะทำแบบนี้ทุกครั้ง

2. การมอบหมายต่ออัลลอฮฺ

การมอบหมายต่ออัลลอฮฺคือสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้เราไม่ผิดหวัง เพราะอาการท้อใจ มักเกิดจากการที่หวังแล้วไม่เป็นดั่งหวัง ดังนั้น หากเราทำการงานทุกอย่าง ไม่ว่าจะงานศาสนาหรืองานส่วนตัว แล้วเรามอบหมายทุกการงานต่ออัลลอฮฺจะสำเร็จหรือล้มเหลว ก็ไม่เครียดหรือทุกข์ใจเราก็จะไม่ท้อใจ ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นเช่นไร

ยกตัวอย่างกรณีของท่านนบีมุฮัมมัด ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เมื่อสอนอิสลามแล้วคนไม่ตอบรับ อัลลอฮฺปลอบใจท่านนบีว่า อย่าทุกข์เลย อัลลอฮฺสามารถเปลียนให้คนทั้งโลกศรัทธาในพระองค์ภายในเวลาไม่ถึงวินาที แต่อัลลอฮฺไม่ทำ 

ดังนั้น นบีไม่ต้องทุกข์ การที่อัลลอฮฺสร้างคนมาแบบนี้ ให้คนไม่เหมือนกัน ทั้งหมดนี้เป็นอำนาจของอัลลอฮฺ นบีมีหน้าที่แค่สอน มีหน้าที่แค่ตักเตือนเท่านั้น

ส่วนใครจะรับอิสลามหรือไม่นบีมอบหมายทุกการงานต่ออัลลอฮฺ

5 เคล็ดลับ รับมือเมื่อรู้สึกท้อใจ (อิสลาม)

3.  อดทน

เมื่อท้อใจเวลาเจอปัญหาต่างๆ นบีจะใช้ความอดทน เพราะความอดทนเป็นอาวุธที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

4. ไม่บ่น

เมื่อท้อใจอย่าบ่น เพราะนี่คือบททดสอบของเราให้ดูตัวอย่างนบี 

 - นบีไม่เคยต่อว่าใครเลย

- เวลาทุกข์ใจไม่เคยด่าใคร

- เวลาทุกข์ใจท้อใจ นบีจะใช้ระบบนิ่งๆ ไม่ตอบโต้

5 เคล็ดลับ รับมือเมื่อรู้สึกท้อใจ (อิสลาม)

5. ขอดุอาอฺ

และเครื่องมือสำคัญที่สุดสำหรับมุสลิมทุกคน เพื่อให้ผ่านพ้นความทุกข์ใจท้อใจไปได้ก็คือดุอาอฺ เพราะดุอาอฺคืออาวุธของผู้ศรัทธา

เมื่อท่านท้อแท้ อ่านบทนี้ ทำให้มีกำลังใจขึ้นมาเป็นกอง

อัลกุรอาน บทที่ 94 ซูเราะฮฺ อัลอินซิรอฮฺ (Al-Sharh)

 أَلَمْ نَشْرَحْ لَكَ صَدْرَكَ 

1. เรามิได้เปิดหัวอกของเจ้าแก่เจ้าดอกหรือ ?

وَوَضَعْنَا عَنكَ وِزْرَكَ

2. และเราได้ปลดเปลื้องภาระหนักของเจ้าออกจากเจ้าแล้ว

الَّذِي أَنقَضَ ظَهْرَكَ 

3. ซึ่งเป็นภาระหนักอึ้งบนหลังของเจ้า

وَرَفَعْنَا لَكَ ذِكْرَكَ

4. และเราได้ยกย่องให้แก่เจ้าแล้ว ซึ่งการกล่าวถึงเจ้า (*1*)

(1) ความโปรดปรานอีก 3 ประการ ที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงประทานให้แก่ร่อซูลของพระองค์คือ1. การเปิดหัวอกให้ได้รับการฮิดายะฮุ และการอีมาน และแสงสว่างแห่งอัลกุรอาน2. การยกโทษเล็ก ๆ น้อยให้แก่ท่าน ส่วนการทำบาปใหญ่ ๆ นั้นจะไม่เกิดขึ้นกับท่านเพราะอัลลอฮฺ ตะอาลา ทรงคุ้มครองท่านอยู่ตลอดเวลา การปลดเปลื้องภาระหนักหมายถึงการอภัยโทษให้แก่ท่าน3. การยกย่องให้แก่ท่านหมายถึงการกล่าวถึงชื่อของท่านในเวลากล่าวตะชะฮุดในเวลานั้นตะฮียาตในวเลาอะซานในเวลาอิกอมะฮฺ และในการแสดงคุตบะฮฺ

فَإِنَّ مَعَ الْعُسْرِ يُسْراً

5. ฉะนั้นแท้จริงหลังจากความยากลำบากก็จะมีความง่าย

إِنَّ مَعَ الْعُسْرِ يُسْراً

6. แท้จริงหลังจากความยากลำบากก็จะมีความง่าย (*1*)

(1) ในสองอายะฮฺนี้คือ ข่าวดีว่าการปลดเปลื้อง หรือการผ่อนคลายจากภาระอันหนักนั้นใกล้เข้ามาแล้วสำหรับท่าน และบรรดาสาวกของท่าน ทั้งนี้หลังจากพวกเขาได้ประสบกับความเหนื่อยยากอย่างโชกโชน

فَإِذَا فَرَغْتَ فَانصَبْ

7. ดังนั้นเมื่อเจ้าเสร็จสิ้น (จากงานหนึ่งแล้ว) ก็จงลำบากต่อไป

وَإِلَى رَبِّكَ فَارْغَبْ

8. และยังพระเจ้าของเจ้าเท่านั้นก็จงมุ่งปรารถนาเถิด (*1*)

(1) นี่คือแนวทางแห่งการดำเนินชีวิตของมุสลิมได้ถูกกำหนดให้แก่ท่านนะบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เพื่อให้ท่านและบรรดามุสลิมยึดถือปฏิบัติ จนกระทั่งจะบรรลุชัยชนะคือได้รับสวนสวรรค์เป็นการตอบแทน และให้พ้นจากไฟนรกคือเมื่อเจ้าเสร็จสิ้นจากกิจกรรมทางด้านศาสนาก็จงลำบากต่อไปในการกิจกรรมเกี่ยวกับโลกดุนยา และเมื่อเสร็จสิ้นจากกิจกรรมทางโลกดุนยาก็จงลำบากต่อไปเพื่อกิจกรรมทางด้านศาสนาเพื่อโลกอาคิเราะฮฺ กล่าวคือ เช่นเมื่อเจ้าเสร็จสิ้นจากการทำละหมาดแล้วก็จงลำบากต่อไปด้วยการซิกรุลลอฮฺ และการวิงวอนขอดุอาอฺ หลังจากนั้นก็จงลำบากต่อไปเพื่อการทำมาหากิน ดังกล่าวนี้เจ้าจงตั้งเจตนาและความมุ่งมาตรปรารถนาเพื่ออัลลอฮฺ ตะอาลา องค์เดียวเท่านั้น มิใช่เพื่อหวังการมีชีวิตอยู่ในโลกดุนยาแต่เพียงอย่างเดียว

#ช่วยกันแชร์ให้คนที่คุณห่วงใยได้อ่าน

ที่มา:   Muslimah life

https://islamhouse.muslimthaipost.com/article/21928

อัพเดทล่าสุด