ผู้หญิงหมดประจำเดือนในอัสริวายิบต้องชดใช้ดุฮฺริหรือไม่?


12,054 ผู้ชม

ผู้หญิงหมดประจำเดือนในอัสริวายิบต้องชดใช้ดุฮฺริหรือไม่? ประเด็นนี้เป็นที่ถกเถียงระหว่างบรรดานักวิชาการอิสลาม


ผู้หญิงหมดประจำเดือนในอัสริวายิบต้องชดใช้ดุฮฺริหรือไม่?

ผู้หญิงหมดประจำเดือนในอัสริวายิบต้องชดใช้ดุฮฺริหรือไม่?

ผู้หญิงหมดประจำเดือนในอัสริวายิบต้องชดใช้ดุฮฺริหรือไม่? ประเด็นนี้เป็นที่ถกเถียงระหว่างบรรดานักวิชาการอิสลาม 

คำถาม :   หากหมดประจำเดือนช่วงเวลาละหมาดอัศริ ต้องกอฎอละหมาดดุฮฺริที่ขาดไปหรือไม่ ?

ตอบโดย :   อาจารย์ อารีฟีน แสงวิมาน 

สำคัญมากสำหรับสตรีมุสลิมะฮ์
หากสตรีที่มีประจำเดือนได้เกลี้ยงประจำเดือนในช่วงเวลาอัสริ ก็จำเป็นต้องละหมาดชดใช้ดุฮฺริในเวลาอัสริด้วย โดยละหมาดอัสริก่อนแล้วชดใช้ละหมาดดุฮฺริ และหากเกลี้ยงในช่วงเวลาอิชาอฺ ก็จำเป็นต้องละหมาดมัฆริบชดใช้ในเวลาอิชาอฺโดยละหมาดอิชาอฺก่อนแล้วชดใช้ละหมาดมัฆริบ
แต่หากเกลี้ยงช่วงเวลาดุฮฺริก็ให้ละหมาดดุฮฺริอย่างเดียว หรือเกลี้ยงช่วงเวลามัฆริบ ก็ให้ละหมาดมัฆริบอย่างเดียว หรือเกลี้ยงเวลาซุบห์ ก็ให้ละหมาดซุบห์อย่างเดียว
ท่านอิหม่ามอันนะวาวีย์ ได้กล่าวว่า
وَالْأَظْهَرُ وُجُوبُ الظُّهْرِ بِإِدْرَاكِ تَكْبِيرَةٍ آخِرَ الْعَصْرِ، وَالْمَغْرِبِ آخِرَ الْعِشَاءِ.
“ที่ชัดเจนยิ่ง คือ จำเป็นต้องละหมาดดุฮฺริ (ชดใช้พร้อมละหมาดอัสริ) ขณะที่ (มีเวลาพอ) ทันตักบีรช่วงท้ายเวลาอัสริและจำเป็นต้องละหมาดมัฆริบ(ชดใช้พร้อมละหมาดอิชาอฺ)ในท้ายเวลาอิชาอฺ(ที่เหลืออยู่)” อันนะวาวีย์, มินฮาจญุฏฏอลิบีน, หน้า 9
หลักเหตุผล ก็เพราะการมีประจำเดือนนั้นเป็นอุปสรรคที่มายับยั้งการละหมาด ดังนั้นเมื่อมีอุปสรรคที่มาห้ามละหมาดในช่วงเวลาดุฮฺริ ก็ถือว่าเวลาอัสริเป็นเวลาของดุฮฺริด้วย ซึ่งเหมือนกับการเดินทาง หากมีอุปสรรคช่วงเวลาดุฮฺริ ก็ให้ไปทำรวมและย่อในเวลาอัสริ เหมือนกับว่าเวลาอัสริเป็นเวลาของละหมาดดุฮฺริด้วย เพราะฉะนั้นการรอคอยการเกลี้ยงประจำเดือนในช่วงเวลาดุฮฺริ ถือว่า มีอุปสรรคที่ไม่สามารถละหมาดซุฮ์ริได้ เมื่อถึงเวลาอัสริปรากฏว่าเกลี้ยงประจำเดือน ก็ให้ละหมาดอัสริก่อนแล้วละหมาดดุฮฺริชดใช้ เป็นต้น

----------------------------------------------------------------------------------

คำถาม:   เมื่อสตรีมาประจำเดือนได้7วันแล้วเลือดก็ได้หยุดเวลาประมาณปลายๆของ เวลาละหมาดอัสรี และนางก็ได้อาบน้ำยกฮาดัษ และละหมาดอัสรีได้ทันในเวลา อยากถามว่า แล้วละหมาดดุฮฺริ นางต้องกอฎอ (ชดใช้)หรือไม่และอีกคำถามนึง ก็เป็นลักษณะเดียวกันและนางได้อาบน้ำยกฮาดัษ และละหมาดไม่ทันในเวลา อย่างนี้นางต้องละหมาดชดใช้เวลาอัสรี อย่างเดียว หรือว่า ดุฮฺริ ด้วย?

ตอบโดย:  อาจารย์ อาลี เสือสมิง

ให้ถือเอาช่วงเวลาการละหมาดที่เลือดประจำเดือนหมดลง ดังนั้นในกรณีแรกเลือดประจำเดือนหมดลงในตอนท้ายเวลาละหมาดอัศริ ก็จำเป็นต้องอาบน้ำยกหะดัษใหญ่และละหมาดอัศริในเวลาหากยังมีเวลาเหลือ แต่ถ้าหากไม่ทันก็วาญิบต้องละหมาดชดใช้ (เกาะฏออฺ) การละหมาดอัศรินั้น ส่วนการละหมาดดุฮฺรินั้น ไม่ต้องชดใช้ (เกาะฎออฺ) ทั้ง 2 กรณีเพราะในช่วงเวลาของละหมาดดุฮฺริยังเป็นช่วงที่มีเลือดประจำเดือนอยู่

----------------------------------------------------------------------------------

ประเด็นนี้เป็นที่ถกเถียงระหว่างบรรดานักวิชาการอิสลาม ซึ่งมีอยู่ 2 ทัศนะหลักๆ

โดย:  อาจารย์ ริฎอ อะหมัด สมะดี
ทัศนะแรก เมื่อเข้าเวลาละหมาด โดยนางสะอาดอยู่แล้วผ่านพ้นเวลาอันเพียงพอที่จะละหมาดจำนวน 2 หรือ 4 ร็อกอะฮฺ แล้วก็มีเลือดประจำเดือนออกมาหลังจากนั้น จะต้องชดใช้เวลาละหมาดนั้นๆ ซึ่งเป็นทัศนะของอิมามชาฟิอียฺและอิมามอะหมัด
หลักฐานที่ทัศนะนี้อ้างอิงคือ หลักฐานทุกบนที่ใช้ให้ละหมาด เพราะถือว่านางได้ปรากฏตัวในเวลาละหมาด ครบซึ่งคุณสมบัติของผู้ที่ต้องดำรงซึ่งการละหมาด
ทัศนะที่สอง เป็นทัศนะของอิมามอบูหะนีฟะฮฺและอิมามมาลิก เห็นว่าไม่ต้องชดใช้การละหมาดในเวลานั้น เนื่องจากว่าการชดใช้จะต้องมีหลักฐานสั่งใช้และนางมิได้บกพร่องที่ไม่ได้ละหมาดในช่วงแรกของเวลา
ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ ได้ให้น้ำหนักในทัศนะที่สอง ด้วยเหตุผลที่ระบุข้างต้น และบรรดาอุละมาอฺที่ซาอุดิอาระเบียส่วนมากก็จะให้ทัศนะเหมือนชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะฮฺ ทั้งนี้ทัศนะที่บอกว่าไม่ต้องชดใช้นั้น กำชับว่าถ้านางชดใช้จะเป็นการดี เพื่อให้ความรับผิดชอบได้ปราศจากการสอบสวน และเพื่อให้พ้นจากความขัดแย้งระหว่างบรรดาอุละมาอฺทั้งหลาย

ทั้งนี้ทั้งนั้นความผิดของนางที่ไม่ละหมาดช่วงแรกของเวลานั้น ต่อเมื่อไม่มีอุปสรรคใดๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เช่น ถ้ารู้หรือทราบว่าน้ำจะขาดช่วงปลายของเวลา ก็จะต้องรีบละหมาดต้นเวลา เช่นเดียวกัน หากนางคาดว่าประจำเดือนจะมาช่วงปลายเวลาละหมาด ก็จะเป็นปัจจัยจำกัดเวลาสำหรับนางเท่านั้น ให้ละหมาดต้นเวลาเป็นพิเศษ หากนางคาดว่าจะมีประจำเดือนตอนปลายเวลาและนางตั้งใจล่าช้าการละหมาดจนเลือดประจำเดือนออก ก็ถือว่าไม่ปฏิบัติเท่าที่สามารถปฏิบัติได้ ทั้งๆที่ อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา กล่าวว่า


"ฟัตตะกุลลอฮะ มัสตะเฏาะอฺตุม" หมายความว่า "พวกเจ้าจงยำเกรงอัลลอฮฺ เท่าที่พวกเจ้าปฏิบัติได้"


----------------------------------------------------------------------------------

อัพเดทล่าสุด