คำสั่งเสียจากท่านนบีมูฮัมหมัด แด่วัยหนุ่มสาว (โปรดอ่าน)


8,028 ผู้ชม

คำสั่งเสียของท่านนบีมูฮัมหมัด แด่วัยหนุ่มสาว อยากให้มุสลิมทุกท่านได้อ่านบทความนี้.....


คำสั่งเสียจากท่านนบีมูฮัมหมัด แด่วัยหนุ่มสาว (โปรดอ่าน)


عَنِ ابْنِ عُمَرَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُمَا قَالَ : أَخَذَ رسولُ اللهِ صلى الله عليه وسلم بِمَنْكِبَيَّ فَقَالَ : " كُنْ فِي الدُّنْيَا كَأَنَّكَ غَرِيْبٌ أَوْ عَابِرُ سَبِيْلٍ " وَكَانَ ابْنُ عُمَرَ رضي الله عنهُمَا يَقُوْلُ : إِذَا أَمْسَيْتَ فَلاَ تَنْتَظِرِ الصَّبَاحَ وَإِذَا أَصْبَحْتَ فَلاَ تَنْتَظِرِ الْمَسَاءَ وَخُذْ مِنْ صِحَّتِكَ لِمَرَضِكَ وَمِن حَيَاتِكَ لِمَوْتِكَ " رواه البخاري

อิบนุอุมัร (ร.ด.) ว่า ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล.) ได้จับไหล่ทั้งสองข้างของฉันแล้วกล่าวว่า "ท่านจงอยู่ในโลกดุนยานี้ เหมือนคนแปลกหน้า หรือคนที่เดินทางผ่านไป"

ท่านอิบนุ อุมัร (ร.ด.) เคยกล่าวว่า "เมื่อท่านอยู่ในเวลาเย็น อย่ารอเวลาเช้า และเมื่ออยู่ในเวลาเช้าอย่ารอเวลาเย็น จงฉวยโอกาสทำความดีในยามที่ท่านมีสุขภาพดี เพื่อยามเจ็บป่วยของท่าน และในยามที่ท่านมีชีวิต เพื่อยามที่ท่านตาย" รายงานโดยบุคอรี

ความหมายโดยสรุป

ท่านรอซูลุลเลาะห์ (ซ.ล.) ได้กำชับและสั่งเสียไว้กับอับดุลเลาะห์ บุตร อุมัร ว่า "ไม่ให้ยึดติดอยู่กับโลกนี้ และไม่ให้ถือว่าเป็นแหล่งพำนักถาวร และไม่ให้บอกแก่ตนเองว่าจะยังอยู่อีกนานในโลกนี้" ท่านได้กำชับเขาว่าให้ถือว่า ตนเองอยู่ในโลกนี้ เหมือนคนแปลกหน้า ที่จะต้องเดินทางกลับถิ่นเดิมหรือเหมือนคนเดินทาง ที่จะเดินทางทุกวัน จนกว่าจะถึงจุดหมายปลายทาง และจะต้องฉวยโอกาสทำความดีในยามที่ท่านมีสุขภาพดี เพราะท่านอาจเจ็บป่วยจนทำความดีไม่ได้อีก และทำความดีขณะที่ท่านมีชีวิต เพื่อจะได้รับผลตอบแทน ภายหลังจากเสียชีวิต เพราะเมื่อเสียชีวิตไปแล้วก็ไม่มีโอกาสที่จะทำความดีอีก

ดังนั้น มนุษย์ก็จะถูกสอบสวนและได้รับการตอบแทนถ้าหากสิ่งที่เขาทำไว้เป็นความดี ก็จะได้รับผลตอบแทนที่ดี ถ้าหากสิ่งที่เขาทำไว้เป็นความชั่ว ก็จะได้รับผลตอบแทนที่เป็นความชั่วร้าย

ประโยชน์ที่ได้รับจากหะดีษนี้

1. เป็นการให้คำแนะนำสั่งสอนแก่ผู้ที่ไม่ได้ขอรับคำแนะนำ 


2. กระตุ้นเตือนไม่ให้ยึดติดกับโลกดุนยานี้ 


3. ทำความดี เพื่อเตรียมไว้สำหรับชีวิตหลังความตาย 


4. รีบทำความดี ก่อนที่จะพลาดโอกาสด้วยอาการป่วยหรือตาย

และอีกเรื่องหนึ่งคือ  การเบี่ยงเบนทางเพศ และการดัดจริต

عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ  قَالَ : لَعَنَ رَسولُ اللهِ صلى الله عليه وسلم الْمُتَشَبِّهِيْنَ مِنَ الرِّجَالِ بِالنِّسَاءِ وَالْمُتَشَبِّهَاتِ مِنَ النِّسَاءِ بِالرِّجَالِ " رواه البخاري

เล่าจากอิบนิอับบาส (ร.ด.) ว่า  "ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล.) ได้สาปแช่งบรรดาผู้ชายที่ดัดจริตเป็นผู้หญิง และบรรดาผู้หญิงที่ดัดจริตเป็นผู้ชาย" รายงานโดยบุคอรี

ผู้รายงานหะดีษ คืออับดุลเลาะห์ บุตร อับบาส เขาเป็นลูกของลุงของท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล.) เขาเกิดก่อนการอพยพไปมะดีนะห์สามปี ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ (ซ.ล.) ได้ขอดุอาให้เขามีความเข้าใจในคัมภีร์อัลกุรอาน เขาเสียชีวิตที่ เมืองตออิฟปี ฮ.ศ. 68

ความหมายโดยสรุป

เป็นความหยั่งรู้ของอัลเลาะห์ และเป็นความประณีตในการสร้างของพระองค์ ที่ได้ทรงจัดคุณสมบัติต่างๆที่เหมาะสมให้แก่เพศชายและเพศหญิง และทรงประณามความเบี่ยงเบนทางเพศที่เกิดขึ้นกับทั้งสองเพศนั้น เพราะเป็นการผิดไปจากธรรมชาติที่อัลเลาะห์ ตาอาลาทรงกำหนดไว้ และพระองค์จะเอาผิดกับผู้ที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางเพศด้วยการขับออกจากความเมตตาของพระองค์ เป็นการตอบแทนที่เขาไม่พอใจการสร้างของพระองค์

ดังนั้น จึงไม่อนุญาตให้ดัดจริตเป็นอีกเพศหนึ่งในเรื่องเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สวมใส่ อากัปกิริยา การนั่ง การเดิน และอื่นๆ ผู้ใดระทำเช่นนั้น ถือว่าเขาทำบาปใหญ่ ที่จะต้องได้รับการลงโทษอย่างร้ายแรงจากอัลเลาะห์ ผู้ทรงยิ่งใหญ่และเกรียงไกร

ประโยชน์ที่ได้รับจากหะดีษ

1. เตือนให้ผู้ชายระวังการดัดจริตเป็นผู้หญิง และผู้หญิงดัดจริตเป็นผู้ชาย


2. สัญญาลงโทษอย่างรุนแรง สำหรับผู้ที่กระทำเช่นนั้น


3. เป็นความงดงามแห่งบทบัญญัติของอิสลาม ที่ได้กำหนดให้แต่ละเพศอยู่ในสถานะที่เหมาะสมกับตน

อัพเดทล่าสุด