สาวมุสลิมปลื้มดาราชาย ถึงขั้นส่งรูปให้ดู บาปไหม?


2,437 ผู้ชม

ถ้าเราปลื้มดาราชายคนหนึ่ง แล้วเราส่งรูปของเราให้เขา สมมุติว่าเขาเก็บรูปของเราไว้ ไม่ทราบว่า มีผลอย่างไรคะ?


ถ้าเราปลื้มดาราชายคนหนึ่ง แล้วเราส่งรูปของเราให้เขา สมมุติว่าเขาเก็บรูปของเราไว้ ไม่ทราบว่า มีผลอย่างไรคะ?

ตอบโดย: อ.มุรีด ทิมะเสน

ประการแรก อนุญาตให้มุสลิมะฮฺดูการละเล่นหรือแสดงละครของผู้ชาย ท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าว่า

“ฉันขอสาบานต่อพระองค์อัลลอฮฺ ฉันเห็นท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) ยืนบริเวณมัสญิด ซึ่งท่านรสูล (ซ.ล.) ยืนบังฉันด้วยผ้าคลุมของท่าน (โดยยืน) ระหว่างใบหูกับบ่าทั้งสองของท่าน ทั้งนี้เพื่อทำให้ฉันได้แลเห็นการละเล่นของพวกเขา (ซึ่งหมายถึงการเล่นหอก รำดาบของเผ่าหะบะซีย์) จากนั้นท่านรสูล (ซ.ล.) ยังคงยืน (ณ สถานที่นั้น) เนื่องจาก (ความต้องการดูการแสดงของ) ฉัน” (บันทึกโดยบุคอรีย์ และมุสลิม)

อนึ่ง การที่บรรดาสตรีดูการแสดงหรือการละเล่น จะต้องนั่งชมในสถานที่เฉพาะสตรีเท่านั้น โดยไม่ปะปนกับบรรดาผู้ชาย หรือจะต้องมีสามีของนาง หรือมะหฺร็อมอยู่ร่วมกับนางด้วย หากสถานที่นั้นมีการปะปนกันระหว่างชายหญิง ดังตัวบทหะดีษข้างต้น

สาวมุสลิมปลื้มดาราชาย ถึงขั้นส่งรูปให้ดู บาปไหม?

ประการที่สอง กรณีที่ชมการแสดงดังกล่าวแล้วเกิดความประทับใจผู้แสดงชาย จากนั้นจึงส่งรูปของตนเองให้แก่เขา เช่นนั้น ถือว่าไม่อนุญาตเพราะการกระทำดังกล่าวส่งผลทำให้เกิดฟิตนะฮฺ

ท่านอับดุลลอฮฺเล่าว่า “ฉันถามท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) ถึงการมอง (สตรีที่แต่งงานกันได้) โดยบังเอิญ (คือไม่เจตนา) ดังนั้น ท่านรสูล (ซ.ล.) จึงสั่งใช้ให้ฉัน ละสายตาหนี (โดยไม่มองเป็นครั้งที่สอง)

(บันทึกโดยติรฺมิซีย์ หะดีษที่ 2926 บทว่าด้วยการมองโดยบังเอิญ)

ท่านอลีย์ จากท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวว่า “โอ้อาลี เจ้าอย่ามองซ้ำสองครั้ง เพราะที่จริงครั้งแรกถือว่าอนุญาต (ถือว่าไม่เจตนา) ส่วนการมองครั้งที่สองถือว่าไม่อนุญาต”

(บันทึกโดยอบู ดาวูด และติรฺมิซีย์)

ฉะนั้น การที่เราส่งรูปให้กับดาราที่เราชื่นชอบ จึงเป็นการสร้างฟิตนะฮฺให้เกิดขึ้นจากการมองของเขา เนื่องจากนำเสนอความสวยงามของใบหน้าให้แก่ผู้ชายที่แต่งงานกับเราได้ โดยไม่ใช่เป็นการเสนอเพื่อนำไปสู่การสู่ขอและแต่งงาน แต่เป็นการนำเสนอเพราะชื่นชอบเป็นการส่วนตัว

และอีกประการหนึ่ง หากเป็นรูปภาพของเราที่ไม่ได้คลุมฮิญาบ เท่ากับว่าเราเปิดเผยเอาเราะฮฺให้กับบุคคลที่แต่งงานกับเราได้ ซึ่งถือว่า หะรอม ส่วนกรณีที่เป็นรูปภาพคลุม ฮิญาบ ก็เท่ากับว่าเราได้สร้างความเข้าใจผิดให้แก่เขาว่าศาสนาอิสลามอนุญาตให้กระทำเช่นนั้นได้

อัพเดทล่าสุด