อาบน้ำละหมาดในขัน ทำได้หรือไม่?


5,998 ผู้ชม

การอาบน้ำละหมาด โดยเอามือลงไปล้างในขันอาบน้ำเลยนั้น มีหะดีษรับรองหรือไม่...


อาบน้ำละหมาดในขัน ทำได้หรือไม่?

คำถาม: การอาบน้ำละหมาด โดยเอามือลงไปล้างในขันอาบน้ำเลยนั้น มีหะดีษรับรองหรือไม่ หรือ อุลามาอ์ ได้กล่าวทัศนะไว้อย่างไร แต่ที่เรียนมานั้น การกระทำแบบนี้ จะกลายเป็นน้ำมุสตะมัล

ตอบโดย: admin อาลี เสือสมิง

อาบน้ำละหมาดในขัน ทำได้หรือไม่?

กรณีอาบน้ำละหมาดจากภาชนะ เช่น หม้อหรือขัน เป็นต้น อันเป็นภาชนะที่ต้องจุ่มมือลงไปในภาชนะนั้น และมีน้ำไม่ถึง 2กุลละฮฺ ก็ให้พิจารณาว่า

ถ้าสงสัยว่ามือเปื้อนนะยิส ก็ถือว่ามักรูฮฺ กะรอฮะฮฺตันซีฮฺ แต่ไม่ทำให้น้ำนั้นเป็นน้ำมุตะนัญญิส น้ำยังคงสภาพสะอาดและอนุญาตให้ทำเฏาะฮาเราะฮฺได้ (กิตาบ อัล-มัจญมูอฺ เล่มที่ 1 หน้า 390) 

ดังนั้นจึงมีสุนนะฮฺให้ล้างมือก่อนจุ่มลงในภาชนะใส่น้ำ 3 ครั้งตามอัล-หะดีษที่รายงานโดยอัล-บุคอรียฺและมุสลิม

และเหตุที่ไม่ทำให้น้ำเสียคุณสมบัติในการทำเฏาะฮาเราะฮฺเมื่อจุ่มมือลงไปในภาชนะขณะสงสัยนั้นถือตามกฎนิติศาสตร์ที่ว่า

เดิมนั้นน้ำสะอาดและสิ่งที่มั่นใจจะไม่หมดไปด้วยการสงสัย (لايزال اليقين بالشك)  อ้างแล้ว 1/389 

ส่วนถ้ามั่นใจว่ามือสะอาด ทัศนะที่ถูกต้องคือ ผู้ทำน้ำละหมาดมีสิทธิเลือกเอาว่าจะล้างมือก่อนหรือจุ่มมือลงไปในน้ำซึ่งอยู่ในภาชนะหรือจะจุ่มลงไปแล้วล้างก็ได้ (อ้างแล้ว 1/389)

อาบน้ำละหมาดในขัน ทำได้หรือไม่?

ประเด็นต่อมาก็คือ ถ้าหากผู้ทำน้ำละหมาดจุ่มมือลงไปในภาชนะที่มีน้ำน้อยกว่า 2 กุลละฮฺ ก็ให้พิจารณาว่า

ถ้าหากการจุ่มมือนั้นอยู่ก่อนการล้างใบหน้า (ในการอาบน้ำละหมาด) น้ำนั้นจะไม่กลายสภาพเป็นน้ำมุสตะอฺมัล แต่อย่างใด ไม่ว่าเขาจะเหนียตยกหะดัษหรือไม่ก็ตาม 

แต่ถ้าการจุ่มมือลงในภาชนะอยู่ภายหลังการล้างใบหน้าแล้ว ฉะนั้น นี่ก็เป็นเวลาของการล้างมือซึ่งมีรายละเอียดความเห็นต่างกันถ้าถือตามมัซฮับก็ถือว่าการยกหะดัษนั้นใช้ได้  

ในส่วนอวัยวะของมือถึงข้อศอก และถ้าหากเขามีเจตนาจะเอาน้ำขณะจุ่มมือลงในภาชนะก็ไม่ทำให้น้ำนั้นเป็นน้ำมุสตะอฺมัลเหมือนอย่างที่ตำราฟิกฮฺบางเล่มระบุว่าถ้าเกาะศ็อด (มุ่งหมาย) ให้มือที่จุ่มลงในภาชนะเป็นเหมือนอุปกรณ์ตักน้ำนั่นเอง

(ดูรายละเอียดในกิตาบ อัล-มัจญมูอฺ เล่มที่ 1 หน้า 215-218) 

ส่วนหะดีษที่ระบุถึงการวักน้ำจากภาชนะด้วยน้ำนั้นก็เช่น หะดีษที่รายงานโดยอบูดาวูดและอัน-นะสาอียฺ ด้วยสายรายงานที่เศาะฮีหฺมีใจความสรุปว่าให้หญิงและชาย (ซึ่งเป็นสามีภรรยากัน) วักน้ำจากภาชนะเดียวกันทั้งคู่ (คือให้ทำในเวลาเดียวกัน) อิบานะตุล อะหฺกาม ; เล่มที่ 1/40 –

และหะดีษของอับดุลลอฮฺ อิบนุ ซัยดฺ รายงานโดยบุคอรียฺและมุสลิม

ซึ่งระบุว่า : ต่อมาเขาก็เอามือทั้งสองเข้าไป (หมายถึงเข้าไปในภาชนะใส่น้ำ) – อิบานะตุลอะหฺกาม เล่มที่ 1/140 – เป็นต้น

อัพเดทล่าสุด