ขาดละหมาด 1 วักตู คำกล่าวละหมาดชดใช้


19,221 ผู้ชม

ขาดละหมาด 1 วักตู (เวลา) อยากทราบคำกล่าวละหมาดชดใช้ ช่วยตอบที


ขาดละหมาด 1 วักตู คำกล่าวละหมาดชดใช้

การละหมาด คือ ศาสนกิจอย่างหนึ่งในศาสนาอิสลาม มีเวลาละหมาด 5 เวลาต่อวัน เป็นการแสดงออกถึงความเคารพต่ออัลลอฮฺทั้งทางร่างกายและจิตใจ ด้วยความสงบและความสำรวม อีกทั้งยังนับว่าเป็นศาสนกิจประจำวันที่สำคัญที่สุดในศาสนาอิสลามด้วย อัลลอฮฺได้ทรงบัญญัติข้อปฏิบัติเกี่ยวกับเวลาละหมาดไว้ในคัมภีร์อัลกุรอ่าน มีใจความสำคัญว่า ก่อนเริ่มการละหมาดจะต้องอาบน้ำละหมาดทุกครั้ง

แต่หากในกรณีที่ไม่มีน้ำ สามารถใช้ ตายัมมุม คือ ฝุ่นดินที่มีความสะอาดทดแทนได้ ละหมาด มีความหมายถึงการขอพร ซึ่งในทางศาสนาแล้วการละหมาด หมายถึง การกล่าวและการกระทำอันประกอบไปด้วยการตักบีร และจบลงด้วยสะลาม การละหมาดเป็นการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของมุสลิมทั่วโลก

ขาดละหมาด 1 วักตู (เวลา) อยากทราบคำกล่าวละหมาดชดใช้ ช่วยตอบที

คำถาม: 

1.   พลาดละหมาดสามเวลา

2.   รู้สึกตัวเมื่อตอนเข้าเวลาละหมาดอิชาอฺ

3.   พลาดละหมาดเพราะมีเหตุอุปสรรค

กรณีดังกล่าวอุละมาอฺส่วนใหญ่มีทรรศนะว่า "วาญิบต้องละหมาดชดโดยไล่เวลาตามลำดับเวลาละหมาดก่อน-หลัง"  นั่นคือ ให้ละหมาดซุฮฺรี อัศรี มัฆริบ และละหมาดอิชาอฺตามลำดับ

ดังหะดีษที่เล่าโดยท่านญาบิรฺ อิบนุ อับดิลลาฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า:

ความว่า: "ครั้นเมื่อในสงครามค็อนดักท่านอุมัรฺ อิบนุ อัลค็อฏฏอบได้เข้ามาหลังจากดวงอาทิตย์ได้ลับขอบฟ้า พลันท่านก็ตำหนิติเตียนชาวกุฟฟารฺ(ผู้ปฏิเสธ)ของกุร็อยชฺ แล้วท่านก็กล่าวว่า: 

โอ้! ท่านเราะสูลุลลอฮฺฉันเกือบจะไม่ได้ละหมาดอัศรีจนกระทั่งดวงอาทิตย์เกือบจะลับขอบฟ้าไปแล้ว  ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม  จึงเอ่ยขึ้นว่า ฉันยังไม่ละหมาดอัศรีเลย แล้วท่านก็ลุกไปยังบุฏหาน(ลำธารหนึ่งในนครมะดีนะฮฺ)  แล้วท่านก็เอาน้ำละหมาด และพวกเราก็เอาน้ำละหมาดเช่นกัน แล้วท่านก็ละหมาดอัศรีหลังจากที่ดวงอาทิตย์ได้ลับขอบฟ้าไปแล้ว  หลังจากนั้นท่านก็ละหมาดมัฆริบตาม

(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์  หะดีษที่596)

และท่านอิบนุมัสอูด –เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ- ได้กล่าวว่า:

ความว่า:  "ครั้นในสงครามค็อนดัก บรรดามุชริกีนได้ทำให้ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไม่ว่างที่จะละหมาดถึงสี่เวลาจนกระทั่งลุล่วงเวลากลางคืน  ซึ่งเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺทรงประสงค์- แล้วท่านก็สั่งบิล้าล แล้วท่านบิล้าลก็อะซานหลังจากนั้นก็อิกอมะฮฺแล้วท่านก็ละหมาดซุฮฺรี  (เมื่อละหมาดซุฮฺรีเสร็จ) หลังจากจากนั้นก็อิกอมะฮฺแล้วละหมาดอัศรี (เมื่อละหมาดอัศรีเสร็จ) หลังจากนั้นก็อิกอมะฮฺแล้วละหมาดมัฆริบ 
(เมื่อละหมาดมัฆริบเสร็จ)หลังจากนั้นก็อิกอมะฮฺแล้วละหมาดอิชาอฺ"

(บันทึกโดยอัตติรฺมิซีย์ เรื่อง: อัศเศาะลาฮฺ , บรรพ: เมื่อคนหนึ่งพลาดละหมาดหลายเวลา เขาจะเริ่มละหมาด(ชด)อันไหนก่อน เล่มที่ 1 , หน้า337, ลำดับหะดีษที่179, และอันนะสาอีย์  เรื่อง: อัลอะซาน , บรรพ: อัลอิจญ์ติซาอฺ ลิ ซาลิก กุลลิฮฺ, หน้าที่111 หะดีษที่662 )

จากหะดีษข้างต้น บงชี้ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮวะสัลลัม ได้ละหมาดชดโดยไล่เวลาตามลำดับเวลาละหมาดก่อน-หลัง  และท่านก็ได้กล่าวไว้ในหะดีษบทหนึ่งว่า:

صلوا كما رأيتموني أصلي

ความว่า:  "พวกท่านจงละหมาดเสมือนทีท่านเห็นฉันละหมาด"

(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ ในเรื่อง: อัลอะซาน,บรรพ: การอะซานสำหรับผู้เดินทาง,ลำดับหะดีษที่631, อัลบัยหะกีย์ในหนังสืออัสสุนันอับกุบรอ 3/120 หะดีษที่ 5076 , อัดดารุกุฏนีย์ในอัสสุนัน 1/272, อัดดาริมีย์1/318 หะดีษที่ 1253, อิบนุหิบบาน 4/541  หะดีษที่1958)

ส่วนในมัซฮับอัชชาฟิอีย์มีทรรศนะว่าไม่วาญิบที่จะต้องไล่เวลาตามลำดับเวลาละหมาดก่อน-หลัง เพียงแต่เป็นสิ่งที่สุนัตเท่านั้น โดยให้ทรรศนะว่า :

"การละหมาดชดเสมือนกับการใช้หนี้ จึงไม่จำเป็นต้องทำตามลำดับ" (อันนะวะวีย์, อัลมัจญ์มูอฺ, ซาอุดีอารเบีย: มักตะบะฮฺ อัลอิรฺชาด: ม.ป.ป เล่มที่3 หน้า 76)

แต่ทางที่ดีแล้วสมควรที่จะละหมาดชดตามลำดับเวลาละหมาดก่อน-หลัง ดังหลักฐานของอุละมาอฺส่วนใหญ่ที่ได้กล่าวมาข้างต้น 
อีกทั้งยังเป็นการออกจากพิสัยของการคิลาฟของบรรดาอุละมาอฺอีกด้วย
 

อนึ่งหากเกรงว่า ถ้าละหมาดชดทั้งสามเวลา-ซุฮฺรี,อัศรี,และมัฆริบ- ก่อน อาจทำให้เวลาละหมาดอิชาอฺหมดไปก่อน หรือ อาจจะละหมาดญะมาอะฮฺอิชาอฺไม่ทัน  กรณีนี้ให้ละหมาดอิชาอฺก่อน แล้วค่อยละหมาดชดทั้งสามตามลำดับเวลาละหมาด

อัพเดทล่าสุด