มุสลิมะฮ์ “แต่งหน้า-ทาคิ้ว” อาบน้ำละหมาดได้หรือไม่


4,490 ผู้ชม

ถ้าแต่งหน้า เขียนคิ้ว เวลาอาบน้ำละหมาดต้องล้าง คิ้ว ออกหมด


คำถาม : ถ้าแต่งหน้า เขียนคิ้ว เวลาอาบน้ำละหมาดต้องล้าง คิ้ว ออกหมดเกลี้ยงไหมคะ?

คำตอบ : ก่อนอื่นต้องขอเรียนก่อนว่า การแต่งหน้า หรือ เสริมสวย สำหรับผู้หญิงนั้น “ทำได้” ในอิสลาม

โดยมีเงื่อนไขว่า

1. ต้องไม่แต่งหน้าเพื่อโอ้อวด (หากแต่งเพราะรักสวยรักงาม หรือ แต่งเพื่อให้สามีรัก ทำได้ และควรทำในกรณีหลัง ซึ่ง ทั้งคู่ ต่างจาก “การแต่งเพื่อโอ้อวด”) เพราะการโอ้อวดถือเป็น บาปใหญ่ถึงขั้น “ชีริกเล็ก” (ภาคีเล็ก)

2. ไม่ได้แต่งหน้าโดยมีเจตนาเลียนแบบผู้ที่อัลลอฮฺรังเกียจ เพราะ “ผู้ใดเลียนแบบใคร เขาก็อยู่ในกลุ่มนั้นด้วย” (บันทึกโดยอิมามอะฮฺมัด และอบูดาวุด)

3. การแต่งหน้านั้นไม่มีผลเสียที่เป็นอันตรายต่อใบหน้า หรืออวัยวะที่ทำการเสริมสวยนั้น เช่น เล็บ หรือ ผม เป็นต้น (ห้ามทำร้ายใคร และห้ามทำร้ายตน) บันทึกโดยอิบนุมาจะฮฺทีนี้มาประเด็นของ การทำน้ำละหมาด

ซึ่งนักวิชาการอิสลามเห็นพ้องกันว่า การทำน้ำละหมาด โดยปกติแล้ว ต้องทำให้ น้ำ ถึงอวัยวะทุกส่วน ตามที่อิสลามกำหนดไว้เมื่อมารวมกัน ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า การแต่งหน้า หรือ การเสริมสวย เป็นการเคลือบอวัยวะที่ทำให้น้ำไม่สามารถเข้าถึงอวัยวะนั้นๆ หรือเปล่า?

ตามการค้นคว้า วัสดุที่ใช้ในการเสริมสวย แบ่งได้เป็นสองประเภท

1. วัสดุที่กันน้ำไม่ให้สัมผัสกับอวัยวะได้เลย (water proof) เช่น รองพื้น มัสคาร่า อายน์ไลเนอร์ “บางประเภท”

2. วัสดุที่น้ำสามารถเข้าถึงอวัยวะได้อยู่ เช่น รองพื้น มัสคาร่า อายน์ไลเนอร์ ส่วนใหญ่ เป็นต้นหมายความว่า ดีที่สุด ควรทำน้ำละหมาดให้เรียบร้อยก่อนแต่งหน้า และควรเลือกแต่งหน้าโดยวัสดุที่ไม่กันน้ำ (หากคิดว่ามีโอกาสทำน้ำละหมาดใหม่ “สูง” ในช่วงระหว่างวัน)

ซึ่ง หากทำได้ตามนี้ เวลาทำน้ำละหมาดใหม่ก็ทำตามปกติ ไม่ต้องเช็ดสิ่งเหล่านั้นออกแต่หากใช้วัสดุที่น้ำไม่สามารถเข้าถึงผิวได้เลย ก็ต้องเช็ดสิ่งเหล่านั้นออก่กอนทำน้ำละหมาด

เพิ่มเติม:

ในกรณีของการเสริมสวยที่ทิ้งเพียงคราบสี แต่ไม่ทิ้ง “ตัว” เช่น การย้อมสีผม การย้อมเล็บ (ที่ล้างเอาตัวเฮนน่าที่หมักออกหมดแล้ว และเหลือเพียง “สี”) ถือว่า สามารถทำน้ำละหมาดได้เลย โดยไม่ต้องขัดออก เช่นเดียวกับที่ว่า ไม่จำเป็นต้องถอดคอนแทคเลนส์ออก เวลาทำน้ำละหมาดครับ เพราะ การล้างตาไม่ใช่เงื่อนไขของการทำน้ำละหมาด ตามความเห็นของนักวิชาการส่วนใหญ่

ประการที่สอง เรื่องนี้เป็นประเด็นคิลาฟียะฮฺ (มีความเห็นขัดแย้งในหมู่นักวิชาการ) ซึ่งไม่ใช่มติเอกฉันท์ ดังนั้นจึงไม่แปลกหากจะมีผู้เห็นต่าง ส่วนตัวผมยึดตามที่ผมคิดว่าน่าจะถูกต้องที่สุดจากหลักฐานและเหตุผลของฝ่ายที่ว่ามา

สำหรับคำถามในส่วนของอ้างอิง ซึ่งจากบทความมีส่วนที่ต้องอ้างอิงอย่างน้อย 5 ที่ ดังนี้

ประเด็นที่ว่า “การแต่งหน้า” หรือ “การเสริมสวย” สำหรับผู้หญิงทำได้ในอิสลาม อันนี้จากตัวบทที่ว่า

(ولا يبدين زينتهن إلا ما ظهر منها وليضربن بخمرهن على جيوبهن ولا يبدين زينتهن إلا لبعولتهن..الآية) [النور: 31]

และจากกฎอุศูลที่ว่า “เรื่องการดำเนินชีวิตทุกอย่างเป็นที่อนุญาตจนกว่าจะมีหลักฐานเป็นอื่น”

ซึ่งรายละเอียดการเสริมสวยที่อนุญาตสามารถกลับไปดูที่หนังสือหลักของแต่ละมัซฮับได้ เช่น หนังสือ المجموع ของ อิมาม النووي (ขออัลลอฮฺเมตตาท่าน) 3/148 ที่ท่านอิมามอันนะวะวีได้ระบุเงื่อนไขเพิ่มว่า ต้องได้รับการอนุญาตจากคู่ครอง หรือ เจ้านายก่อน ซึ่งแต่ละมัซฮับอาจมีรายละเอียดที่แตกต่างกันบ้าง แต่โดยรวมคือ อนุญาตให้เสริมสวยได้อย่างมีเงื่อนไข (วัลลอฮุอะอฺลัม)ประเด็นที่พูดถึงเงื่อนไขทั้ง 3 ที่จะทำให้แต่งหน้าได้ ตรงนี้อ้างอิงจากตัวบทที่ผมคิดว่าชัดเจนที่สุด แต่อย่างที่เรียนไว้แล้วว่า แต่ละทัศนะอาจมีเงื่อนไขมากกว่าที่ว่ามาอ เช่น ทัศนะของผู้ที่มองว่าการปิดหน้าเป็นวาจิบ เป็นต้น

ประเด็นที่ว่า นักวิชาการอิสลามเห็นพ้องกันว่า การทำน้ำละหมาด โดยปกติแล้วต้องทำให้ น้ำ ถึงอวัยวะทุกส่วน ส่วนนี้ผมคิดว่าคงไม่ต้องการอ้างอิง เพราะหลักฐานจากอัลกุรอาน และฮะดิษ เกี่ยวกับเรื่องนี้ค่อนข้งชัดเจน (วัลลอฮุอะอฺลัม)

ทีนี้มาประเด็นที่ว่า หากน้ำสามารถเข้าได้ ถือว่า ทำได้ แต่หากมีการทิ้งตัวต้องล้างก่อน ผู้ที่ออกความเห็นอย่างนี้โดยตรง มีเช่น ชัยคฺฮัลอุษัยมีน (ขออัลลอฮฺเมตตาท่าน) ในหนังสือ ฟะตาวา ของท่าน

ส่วนเรื่องประเด็น คอนแทคเลนส์ อันนี้ เอามาจากนักวิชาการหลายท่านครับ เช่น ที่อิมาม ชาฟิอีกล่าวไว้ในหนังสือ อัลอุม ที่ว่า

” فلم أعلم مخالفاً في أن الوجه المفروض غسله في الوضوء : ما ظهر ، دون ما بطن ؛ وأن ليس على الرجل أن يغسل عينيه ، ولا أن ينضح فيهما ” .انتهى من ” الأم ” (1/40) .
กับ ชัยคฺ อิบนุกุดามะฮฺ จากมัซฮับฮะนะฟีที่ว่า

” والصحيح أن هذا – أي : غسل داخل العينين – ليس بمسنون في وضوء ولا غسل ; لأن النبي صلى الله عليه وسلم لم يفعله , ولا أمر به , وفيه ضرر , وما ذكر عن ابن عمر فهو دليل على كراهته ; لأنه ذهب ببصره ؛ وفِعلُ ما يُخاف منه ذهاب البصر ، أو نقصه ، من غير ورود الشرع به : إذا لم يكن محرماً , فلا أقل من أن يكون مكروها ”

انتهى من ” المغني ” (1/77)

อัพเดทล่าสุด