ถ้าสามีให้นะฟะเกาะฮฺภรรยา ไม่พอใช้จ่าย ขอหย่าได้ไหม?


4,742 ผู้ชม

ถ้าสามีให้นะฟะเกาะฮฺภรรยา ไม่พอใช้จ่าย เช่น สามีจ่ายให้ภรรยาเดือนละ 1,000 บาท ทั้งที่ภรรยาต้องใช้จ่ายในแต่ละเดือนประมาณ 3,000 บาท เช่นนี้ภรรยาจะขอหย่าจากสามีได้หรือไม่...


ถ้าสามีให้นะฟะเกาะฮฺภรรยา ไม่พอใช้จ่าย ขอหย่าได้ไหม?

คำถาม: ถ้าสามีให้นะะเกาะฮฺภรรยา ไม่อใช้จ่าย เช่น สามีจ่ายให้ภรรยาเดือนละ 1,000 บาท ทั้งที่ภรรยาต้องใช้จ่ายในแต่ละเดือนประมาณ 3,000 บาท เช่นนี้ภรรยาจะขอหย่าจากสามีได้หรือไม่ และการหย่ามีข้อดี ข้อเสียอย่างไร?

ตอบโดย อ.มุรีด ทิมะเสน

"การจ่ายนะฟะเกาะฮฺ (ค่าใช้จ่ายเลี้ยงดู) จำเป็นสำหรับสามีที่จะต้องจ่ายให้แก่ภรรยาและลูกๆ ของเขา ดังหลักฐานที่ชายคนหนึ่งมาถามท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) ว่า

“อะไรคือสิทธิที่ภรรยาจะได้รับจากสามี? ท่านรสูล (ซ.ล.) กล่าว ตอบว่า ท่านจะต้องให้อาหารแก่นางเมื่อท่านได้อาหาร และท่านจะต้องให้เครื่องนุ่งห่มแก่นาง เมื่อท่านได้สวมใส่เครื่องนุ่งห่ม ท่านอย่าตบใบหน้า (ภรรยา) อย่าใช้ถ้อยคำหยาบคาย และท่านอย่าปล่อยนางให้อยู่บ้านตามลําพัง (หมายถึง เมื่อทะเลาะกับนางเขาก็หนีออกไปนอนนอกบ้าน”

(เล่าโดยมุอาวิยะฮ์ อัลกุชัยรีย์ บันทึกโดยอบูดาวูด หะดีษที่ 2142, อะหมัด หะดีษที่ 19523 และบัยหะกีย์ หะดีษที่ 15146)

ถ้าสามีให้นะฟะเกาะฮฺภรรยา ไม่พอใช้จ่าย ขอหย่าได้ไหม?

ส่วนสามีคนใดที่ไม่ยอมจ่ายนะฟะเกาะฮฺให้แก่ภรรยา มีสิทธิที่จะฟ้องร้องกับกอฎีย์ (ผู้ตัดสินเกี่ยวกับเรื่องของศาสนา) ให้บังคับสามีของตนจ่ายนะฟะเกาะฮฺ หากยังไม่ปฏิบัติตาม กอฎีย์มีสิทธิที่จะฟะซัค (ยกเลิกการแต่งงาน) ระหว่างบุคคลทั้งสองได้

กรณีที่สามียากจนแต่ภรรยาร่ำรวย ซึ่งนางยอมรับความยากจนของสามีที่ไม่ต้องจ่ายนะฟะเกาะฮฺให้แก่นาง (เพราะนางมีความพอเพียงแล้ว) เช่นนี้ถือว่า สามีไม่มีความผิดแต่อย่างใด

อนึ่ง อนุญาตให้ฝ่ายภรรยาเอานะฟะเกาะฮฺของสามีโดยมีสามีไม่รู้เนื่องจากสามีจ่ายนะฟะเกาะฮฺไม่พอเพียง โดยมีหลักฐานดังนี้

จากท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าว่า นางฮินด์ บุตรสาวของอุตบะฮฺ ได้กล่าวว่า

“โอ้ท่านรสูลของอัลลอฮฺ แท้จริง ท่านอบู สุฟยานเป็นคนตระหนี่ เขาไม่ยอมให้สิ่งที่ฉันและลูกของฉันพอเพียง เว้นไว้แต่ว่าฉันจะหยิบเอา (ค่าใช้จ่าย) จากเขาโดยที่เขาไม่รู้ จะได้หรือไม่ ท่านรสูล (ซ.ล.) กล่าวตอบว่า เธอจงหยิบเอาสิ่งที่ทำให้เธอและลูกของเธอพอเพียงด้วยดีเถิด”

(บันทึกโดยบุคอรีย์ หะดีษที่ 277 และหะดีษที่ 413)

ส่วนประเด็นที่ถามว่า การหย่าร้างมีข้อดีข้อเสียอย่างไรนั้น ตอบว่า ศาสนาไม่สนับสนุนให้กระทำเลยแม้แต่น้อย

ท่านรสูล (ซ.ล.)  กล่าวไว้ว่า “สิ่งที่พระองค์อัลลอฮฺทรง อนุมัติในศาสนา) ซึ่งทำให้โกรธกริ้วที่สุด คือการหย่าร้าง”

(เล่าโดยอิบนุ อุมัร บันทึกโดยอบู ดาวูด หะดีษที่ 2178, อิบนุ มาญะฮฺ หะดีษที่ 2018 และ บัยหะกีย์ หะดีษที่ 15268)

ถ้าสามีให้นะฟะเกาะฮฺภรรยา ไม่พอใช้จ่าย ขอหย่าได้ไหม?

ดังนั้น ข้อดีของการหย่าร้างแทบจะไม่พบเลย ยกเว้นบางคู่ที่ไม่สามารถใช้ชีวิตร่วมกันได้อีกต่อไป แต่โดยรวมแล้วการหย่าร้าง สร้างความเสียหายให้แก่สถาบันครอบครัวมากกว่า อีกทั้งความเสียหายดังกล่าวยังส่งผลกระทบต่อสังคมส่วนใหญ่อีกด้วย

และด้วยเหตุผลการหย่าร้างนำไปสู่ความหายนะดังที่กล่าวมา แล้วข้างต้นกระมัง ศาสนาจึงกำชับให้ฝ่ายสามีระมัดระวังคำพูดใดๆ ที่ ส่งผลให้เกิดการหย่าร้าง ถึงแม้จะเป็นคำพูดที่ล้อเล่นก็ตาม

ท่านอบู ซุร็อยเราะฮฺเล่าว่า ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวว่า

“สามประการเมื่อพูดแล้วเป็นจริง และพูดล้อเล่นถึงสิ่งดังกล่าวก็เป็นจริงตามนั้น อันได้แก่การแต่งงาน, การหย่าร้าง และการ กลับคืนดี”

(บันทึกโดยอบู ดาวูด หะดีษที่ 2194, ติรฺมีซีย์ หะดีษที่ 1184, อิบนุ มาญะฮฺ หะดีษที่ 2039, หากิม หะดีษที่ 2800, สะอีด บุตรของมันศูรฺ หะดีษที่ 1603, บัยหะกีย์ หะดีษที่ 15370 และ อัดดารุล กุฏนีย์ หะดีษที่ 45, 47, 48, 50)

อัพเดทล่าสุด