ความเห็นนักวิทยาศาสตร์ กับปาฏิหาริย์ทางวิทยาศาสตร์ในคำภีร์กุรอาน


1,419 ผู้ชม

ความคิดเห็นบางประการของนักวิทยาศาสตรที่เกี่ยวกับปาฏิหาริย์ทางวิทยาศาสตร์ในคำภีร์กุรอาน


ความคิดเห็นบางประการของนักวิทยาศาสตรที่เกี่ยวกับปาฏิหาริย์ทางวิทยาศาสตร์ในคำภีร์กุรอาน ความเห็นทั้งหมดเหล่านี้ได้นำมาจากวีดีโอเทปในหัวข้อเรื่อง This is the Truth ในวีดีโอเทปชุดนี้ ท่านจะได้ชมและได้ฟังนักวิทยาศาสตร์ท่านต่างๆ กล่าวข้อคิดเห็นดังต่อไปนี้

1) Dr. T. V. N. Persaud ศาสตราจารย์สาขากายวิภาควิทยา ศาสตราจารย์สาขากุมารเวชศาสตร์และสุขภาพเด็ก และศาสตราจารย์สาขาสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา และวิทยาศาตร์เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของมหาวิทยาลัยมานิโบตา (University of Manitoba) ,วินนิเพค , มานิโบตา ประเทศแคนาดา ณ ที่แห่งนั้น เขาได้ดำรงตำแหน่งประธานแผนกกายวิภาควิทยาถึง 16 ปี . เขามีชื่อเสียงโด่งดังอยู่ในสาขาวิชานี้ เขาเป็นนักเขียนหรือบรรณาธิการให้กับตำราเรียนถึง 22 เล่ม อีกทั้งยังจัดพิมพ์เอกสารทางวิทยาศาสตร์ถึง 181 ชิ้น ในปี พ.ศ. 2534 เขาได้รับรางวัลบุคคลที่น่าชื่นชมที่สุดในสาขากายวิภาคของประเทศแคนนาดา นั่นคือรางวัล J.C.B Grant Award จากสมาคมนักกายวิภาควิทยาแคนนาดา (Canadian Association of Anatomists) เมื่อเขาถูกถามเกี่ยวกับปาฏิหาริย์ทางวิทยาศาสตร์ในคำภีร์กุรอานซึ่งเขาได้ทำการวิจัยมาแล้ว เขากล่าวดังต่อไปนี้ :

“ที่ข้าพเจ้าเข้าใจก็คือว่า มูหะหมัดเป็นเพียงมนุษย์ปุถุชนธรรมดาเท่านั้นเอง องค์อ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือไม่ได้ แท้ที่จริงแล้ว องค์เป็นคนไม่รู้หนังสือ และเรากำลังจะพูดถึงเรื่องราวเมื่อหนึ่งพันสองร้อยปี (จริงๆ แล้วต้องหนึ่งพันสี่ร้อยปี) มาแล้ว ท่านเคยพบกับผู้ได้ที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ แต่แถลงและกล่าวถ้อยคำได้อย่างน่าทึ่ง อีกทั้งยังตรงกับลักษณะทางวิทยาศาสตร์อย่างน่าฉงนอีกด้วย และโดยส่วนตัวแล้ว ข้าพเจ้าไม่อาจมองเรื่องนี้ว่าเป็นเพียงเรื่องบังเอิญได้ เนื่องจากมีความถูกต้องแม่นยำสูง และอย่างที่ Dr. Moore ได้กล่าวไว้ ข้าพเจ้าเชื่อได้อย่างสนิทใจว่าเรื่องนี้เป็นการดลใจหรือเป็นการเปิดเผยจากผู้เป็นเจ้า ซึ่งทำให้องค์ทรงทราบถึงถ้อยแถลงเหล่าน.

ศาสตราจารย์ Persaud ได้นำโคลงบางบทที่อยู่ในคำภีร์กุรอานและดำรัสของศาสดามูหะหมัด iมารวมไว้ในหนังสือบางเล่มของเขาด้วย อีกทั้งยังนำเสนอโคลงและดำรัสของศาสดามูหะหมัด ในที่ประชุมอีกหลายแห่งด้วย.

2) Dr. Joe Leigh Simpson ผู้ซึ่งเป็นประธานแผนกสูติวิทยาและนรีเวชวิทยา ศาสตราจารย์ในสาขาสูติวิทยาและนรีเวชวิทยา อีกทั้งยังเป็นศาตราจารย์ในสาขาวิชาโมเลกุลและพันธุศาสตร์ของมนุษย์ที่วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์เบย์เลอร์ (Baylor College of Medicine), ฮุสตัน, เท็กซัส สหรัฐอเมริกา อดีตเคยเป็นศาสตราจารย์ในสาขาสูติ-นรีเวชวิทยาและประธานแผนกสูติ-นรีเวชวิทยาที่มหาวิทยาลัยเทนเนสซี่ (University of Tennessee), เม็มพิส, เทนเนสซี่, สหรัฐอเมริกา. อีกทั้งยังเคยเป็นประธานสมาคมการเจริญพันธุ์ของแห่งอเมริกา (American Fertility Society) อีกด้วย เขาได้รับรางวัลเกียรติยศมากมาย รวมทั้งรางวัลบุคคลดีเด่นจากสมาคมศาสตราจารย์ด้านสูติวิทยาและนรีเวชวิทยา (Association of Professors of Obstetrics and Gynaecology) ในปี พ.ศ. 2535 ศาตราจารย์ Simpson ได้ทำการศึกษาดำรัสของศาสดามูหะหมัด สองประโยคดังนี้:

{พวกเจ้าทุกคน ส่วนประกอบทั้งหมดที่ก่อกำเนิดขึ้นเป็นตัวพวกเจ้านั้นมาจากการหล่อหลอมเข้าด้วยกันในมดลูกของมารดาโดยใช้เวลาสี่สิบวัน...}2

{เมื่อตัวอ่อนผ่านพ้นไปเป็นเวลาสี่สิบสองคืนแล้ว ผู้เป็นเจ้าจะทรงส่งเทพเจ้าไปที่ตัวอ่อนดังกล่าว เพื่อตบแต่งรูปทรงและสร้างสรรหู ตา ผิวหนัง เนื้อ และกระดูก....}3

เขาได้ทำการศึกษาดำรัสทั้งสองของศาสดามูหะหมัด อย่างละเอียด ได้ความว่า ในสี่สิบวันแรกของการก่อตัว เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นช่วงกำเนิดตัวอ่อน เขารู้สึกประทับใจเป็นอย่างมากในความถูกต้องและแม่นยำของดำรัสของศาสดามูหะหมัด . หลังจากนั้น ในระหว่างการประชุมที่แห่งหนึ่ง เขาได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวดังต่อไปนี้:

“ดังนั้นฮาดีธส์ (hadeeths) ทั้งสอง (ดำรัสของศาสดามูหะหมัด ) ที่กล่าวถึงนี้ ได้ทำให้เราทราบถึงตารางเวลาที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนในเรื่องพัฒนาการที่สำคัญของตัวอ่อนก่อนระยะเวลาสี่สิบวัน. และอีกครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าคิดว่ามีวิทยากรท่านอื่นๆ ได้กล่าวถึงประเด็นนี้ซ้ำไปแล้วเมื่อเช้านี้ว่า ฮาดีธส์เหล่านี้ได้ไม่อาจได้มาโดยอาศัยความรู้ในทางวิทยาศาสตร์ซึ่งมีอยู่ในยุคสมัยที่เขียนถ้อยคำเหล่านี้ขึ้นมา..........เขาพูดต่อว่า. . . . ข้าพเจ้าคิดว่า นอกจากจะไม่มีความขัดแย้งกันระหว่างเรี่องราวเกี่ยวกับพันธุศาสตร์และศาสนาแล้ว ศาสนายังสามารถชี้ทางให้กับเรื่องทางวิทยาศาสตร์ได้ด้วยการเปิดเผยสิ่งที่เกี่ยวกับด้านวิทยาศาสตร์บางเรื่องในสมัยโบราณได้อีกด้วย อย่างเช่นข้อความที่จารึกไว้ในคำภีร์กุรอาน ซึ่งได้แสดงให้เห็นในอีกหลายศตวรรษต่อมาว่าเป็นความจริง ซึ่งเป็นการสนับสนุนว่าองค์ความรู้ที่อยู่ในคำภีร์อัลกุรอานนั้น ได้รับการถ่ายทอดมาจากผู้เป็นเจ้า .”

3) Dr. E. Marshall Johnson ศาตราจารย์กิตติมศักดิ์ในสาขากายวิภาควิทยาและการพัฒนาทางด้านชีววิทยา ณ มหาวิทยาลัยธอมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson University), ฟิลาเดลฟีย, เพนน์ซิลเวอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ที่แห่งนั้น เขาเป็นศาสตราจารย์ในสาขากายวิภาควิทยาเป็นเวลา 22 ปี เป็นประธานแผนกกายวิภาควิทยาและผู้อำนวยการของสถาบันแดเนียล โบห์ (Daniel Baugh Institute) อีกทั้งเขายังเป็นประธานของสมาคมวิทยาเทราโต (Teratology 0f the Society) เขามีงานเขียนมากกว่า 200 ชิ้น ในปี พ.ศ. 2524 ในระหว่างการประชุมทางการแพทย์ในกรุงแดมแมม ประเทศซาอุดิอาระเบีย ศาสตราจารย์ Johnson ได้กล่าวถึงการนำเสนอที่เกี่ยวกับงานค้นคว้าของเขาว่า:

“พอสรุปได้ว่า คำภีร์กุรอานไม่ได้อธิบายไว้แต่เพียงการพัฒนารูปร่างภายนอกเท่านั้น แต่ยังเน้นย้ำถึงช่วงระยะการพัฒนาอวัยวะภายใน ระยะต่างๆ ภายในตัวอ่อน ทั้งการสร้างและการพัฒนาของตัวอ่อน โดยเน้นย้ำถึงขั้นตอนสำคัญๆ ซึ่งได้รับการยอมรับจากวิทยาศาสตร์ร่วมสมัยอีกด้วย.”

เขายังได้กล่าวอีกด้วยว่า “ในฐานะที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ข้าพเจ้าจึงสามารถดำเนินงานกับสิ่งที่ข้าพเจ้ามองเห็นได้เท่านั้น ข้าพเจ้าเข้าใจชีววิทยาของตัวอ่อนและการพัฒนาการได้ ข้าพเจ้าเข้าใจดำรัสที่แปลมาจากคำภีร์กุรอานได้ อย่างที่ข้าพเจ้าได้เคยยกตัวอย่างไปก่อนหน้านี้แล้ว ถ้าข้าพเจ้าจำต้องสับเปลี่ยนตัวของข้าพเจ้าเองกลับไปยังยุคสมัยก่อนนั้น โดยที่มีความรู้ดังเช่นในปัจจุบันนี้ และเมื่อให้ข้าพเจ้าอธิบายสิ่งต่างๆ ข้าพเจ้าก็ไม่อาจอธิบายสิ่งต่างๆ ที่ได้อธิบายไปแล้วได้อีก. ข้าพเจ้ายังไม่เห็นพยานหลักฐานใดที่จะใช้หักล้างแนวความคิดที่ว่า ปัจเจกชนอย่างเช่น มูหะหมัด ต้องได้รับการพัฒนาข้อมูลเหล่านี้มาจากสถานที่แห่งหนึ่งแห่งใด ดังนั้น ข้าพเจ้ายังไม่เห็นมีอะไรในที่นี้ที่จะขัดแย้งกับแนวความคิดที่ว่า ในงานเขียนขององค์ ต้องมีผู้เป็นเจ้าเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเป็นแน่แท้.”4 (View the RealPlayer video of this comment Video Clip)

4) Dr. William W. Hey เป็นนักวิทยาศาสตร์ด้านทะเลที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง เขาเป็นศาสตราจารย์ในสาขาวิทยาศาสตร์ทางธรณีวิทยาของมหาวิทยาลัยโคโลราโด (University of Colorado), โบลเดอร์, โคโลราโด สหรัฐอเมริกา อดีตเคยดำรงตำแหน่งคณบดีของคณะวิทยาศาสตร์ทางทะเลและสภาพบรรยากาศ ณ มหาวิทยาลัยไมอามี่ (University of Miami), ไมอามี่, ฟลอริด้า, สหรัฐอเมริกา หลังจากที่ได้หารือกับศาสตราจารย์ Hey เกี่ยวกับข้อความในคำภีร์กุรอานซึ่งกล่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทะเลที่มีการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ เขากล่าวว่า:

“ข้าพเจ้าพบว่ามันเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากจริงๆ ที่ว่าข้อมูลชนิดดังกล่าวพบอยู่ในคัมภีร์ที่เก่าแก่อย่างคำภีร์กุรอาน และข้าพเจ้าไม่มีทางที่จะทราบว่าข้อมูลเหล่านั้นมาจากที่ใด แต่ข้าพเจ้าคิดว่า มันน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งที่มีข้อมูลดังกล่าวนี้อยู่ในคัมภีร์นั้น และงานนี้ยังคงเดินหน้าค้นหาความหมายที่อยู่ในบางตอนของคัมภีร์ต่อไป” และเมื่อเขาถูกถามเกี่ยวกับแหล่งที่มาของคำภีร์กุรอาน เขาตอบว่า “เอ่อ ข้าพเจ้าคิดว่าคัมภีร์นั้นคงจะต้องเป็นเทวโองการอย่างแน่นอน”

5) Dr. Gerald C. Goeringer ผู้อำนวยการหลักสูตรและรองศาสตราจารย์ในสาขาตัวอ่อนวิทยาทางการแพทย์ประจำแผนกชีววิทยาด้านเซลล์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ (Georgetown University), วอชิงตัน, โคลัมเบีย, สหรัฐอเมริกา ในระหว่างการประชุมทางการแพทย์แห่งซาอุดิอารเบีย ครั้งที่แปด ในกรุงริยาดห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ศาสตราจารย์ Goeringer ได้กล่าวดังต่อไปนี้ในการนำเสนอผลงานทางด้านวิจัยของเขา:

“มีอะยาห์ (aayahs) (โคลงในคำภีร์กุรอาน) อยู่เพียงไม่กี่บทเท่านั้นที่มีคำอธิบายที่ค่อนข้างครอบคลุมทุกด้านของการพัฒนาของมนุษย์ตั้งแต่ระยะที่มีการปฏิสนธิไปจนถึงระยะการพัฒนาอวัยวะ ไม่เคยมีการบันทึกที่เกี่ยวกับการพัฒนาการของมนุษย์ที่มีความชัดเจนและสมบูรณ์แบบมาก่อน อย่างเช่น การแบ่งประเภท คำศัพท์เฉพาะทาง และคำอรรถาธิบาย “ ตัวอย่างส่วนใหญ่ แต่ไม่ทั้งหมด คือการอรรถาธิบายนั้นเป็นการคาดการณ์ล่วงหน้าไว้หลายศตวรรษ ไม่ว่าจะเป็นการบันทึกที่เกี่ยวกับระยะต่างๆ ของตัวอ่อนมนุษย์และการพัฒนาการของทารกในครรภ์ซึ่งได้บันทึกไว้ในวรรณกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์สมัยโบราณ.”

6) Dr. Yoshihide Kozai ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยโตเกียว (Tokyo University), ฮองโกะ, โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และเป็นผู้อำนวยการหอดาราศาสตร์แห่งชาติ (National Astronomical Observatory), มิตากะ, โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เขาได้กล่าวว่า:

“ข้าพเจ้ารู้สึกประทับใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้พบกับข้อเท็จจริงด้านดาราศาสตร์ที่มีอยู่ในคำภีร์กุรอาน และสำหรับพวกเราบรรดานักดาราศาสตร์สมัยใหม่ได้ศึกษาค้นคว้าเพียงแค่เสี้ยวเล็กๆ ของจักรวาลเท่านั้น เราได้มุ่งมั่นเพียรพยายามเพื่อทำความเข้าใจเพียงส่วนเล็กๆ เท่านั้น เนื่องจากการใช้กล้องโทรทรรศน์ ทำให้เราสามารถมองเห็นเพียงแค่เศษเสี้ยวของท้องฟ้า โดยไม่ได้คำนึงถึงทั้งจักรวาลเลย ดังนั้น เมื่ออ่านคำภีร์กุรอาน และเมื่อได้ตอบคำถามต่างๆ ข้าพเจ้าจึงคิดว่า ข้าพเจ้าค้นพบวิถีทางที่จะเสาะแสวงหาเรื่องราวของจักรวาลในอนาคตได้แล้ว”

7) ศาสตราจารย์ เตชทัศน์ เตชเสน (Tejatat Tejasen) ประธานแผนกกายวิภาควิทยาแห่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย อดีตเคยดำรงตำแหน่งคณะบดีคณะแพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยดังกล่าว ในระหว่างการประชุมทางการแพทย์แห่งซาอุดิอารเบีย ครั้งที่แปด ในกรุงริยาดห์ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ศาสตราจารย์เตชทัศน์ได้ยืนขึ้นและกล่าวว่า :

“ในช่วงระยะสามปีที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้ให้ความสนใจในคำภีร์กุรอาน.........จากการศึกษาของข้าพเจ้าและจากสิ่งที่ข้าพเจ้าได้เรียนรู้จากการประชุมในครั้งนี้ ทำให้ข้าพเจ้ามีความเชื่อว่าทุกสิ่งที่จารึกไว้ในคำภีร์กุรอานเมื่อหนึ่งพันสี่ร้อยปีมาแล้วนั้นจะต้องเป็นความจริง ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากว่าศาสดามูหะหมัดนั้นทรงอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้,มูหะหมัดจะต้องทรงเป็นผู้นำสารซึ่งถ่ายทอดความจริงนี้ ซึ่งต้องมีใครที่มีความเหมาะสมอย่างเช่น ผู้สร้างเป็นผู้เปิดเผยความรู้นี้ให้แก่องค์เพื่อเป็นวิทยาธาน ผู้สร้างที่ว่านี้จะต้องเป็นผู้เป็นเจ้าอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าคิดว่าถึงเวลาแล้วที่จะกล่าว La ilaha illa Allah ไม่มีผู้เป็นเจ้าองค์ใดอีกแล้วที่จะควรเคารพบูชานอกเสียจากอัลเลาะห์ (ผู้เป็นเจ้า) Muhammadur rasoolu Allah มูหะหมัดคือผู้นำสาร (ศาสดา) ของอัลเลาะห์ (ผู้เป็นเจ้า) สุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าคงจะต้องขอแสดงความยินดีกับการดำเนินการจนประสบกับความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่และยอดเยี่ยมสำหรับการประชุมในครั้งนี้ ...ข้าพเจ้าไม่ได้รับเพียงแต่ความคิดเห็นทางวิทยาศาสตร์และทางศาสนาเท่านั้น แต่ยังได้มีโอกาสพบกับนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง และได้สร้างมิตรใหม่ๆ กับบรรดาผู้เข้าร่วมประชุมอีกด้วย สิ่งที่มีค่าที่สุดที่ข้าพเจ้าได้จากกับมายัง ณ ที่แห่งนี้คือ La ilaha illa Allah, Muhammadur rasoolu Allah และการได้เข้ามาเป็นชาวมุสลิมคนหนึ่ง.”

หลังจากที่เราได้เห็นตัวอย่างเกี่ยวกับปาฏิหาริย์ทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่ในคำภีร์กุรอานและข้อคิดเห็นของบรรดานักวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว ขอให้พวกเราลองถามคำถามเหล่านี้กับตัวเราเอง:

- เป็นเรื่องบังเอิญได้หรือไม่ว่าข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ในหลากหลายด้านที่ถูกค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ ได้กล่าวไว้ในคำภีร์กุรอานซึ่งถูกเปิดเผยเมื่อสิบสี่ศตวรรษที่ผ่านมา?

- มูหะหมัด หรือมนุษย์คนอื่นๆ อาจเป็นผู้ประพันธ์คำภีร์กุรอานนี้ได้หรือไม่?

คำตอบที่เป็นไปได้มีเพียงคำตอบเดียวว่า คำภีร์กุรอานฉบับนี้นั้นจะต้องเป็นดำรัสของผู้เป็นเจ้าโดยแท้ ซึ่งเปิดเผยโดยองค์เอง.

บทความที่เกี่ยวข้อง:

อัพเดทล่าสุด