ดินแดนแห่งความตาย - ชีวิตหลังความตายในอิสลาม


71,680 ผู้ชม

 และเมื่อถึงวันหนึ่ง  ซึ่งเป็นวันแห่งการสิ้นสุด  ทุกสิ่งทุกอย่างและ ทุกชีวิตจะถูกทำให้ฟื้นขึ้น เพื่อ รอรับการตัดสินการกระทำที่เขาได้ทำไว้   ในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่  ในโลกนี้  ชีวิตที่แท้จริงของเขาจะเป็นอย่างไรนั้น จึงขึ้นอยู่กับการงานที่เขาได้กระทำเอาไว้


ดินแดนแห่งความตาย - ชีวิตหลังความตายในอิสลาม

  ดินแดนแห่งความตาย - ชีวิตหลังความตายในอิสลาม

อิสลามกับความตาย    


"ทุกชีวิตต้องได้ลิ้มรสความตาย"  
นี่คือสัจธรรม จาก คัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งเป็น คัมภีร์ทางนำ 
 ที่อัลลอฮฺ ทรงประทานให้แก่มนุษย์ชาติ  
ในอิสลาม ความตายมิได้เป็นการสิ้นสุดหรือเป็นจุดสุดท้ายของชีวิต  
หากแต่มันเป็นจุดเริ่มต้น  ของการที่มนุษย์ จะก้าวไปสู่ชีวิตที่แท้จริงและนิรันดร
 
    ในอิสลาม มนุษย์ จะไม่กลับชาติมาเกิดอีกหลังจากที่เขาตายไปแล้ว   
แต่อิสลามถือว่า ชีวิตในโลกนี้
 คือการเตรียมตัวสำหรับชีวิตในโลกหน้าอันถาวร
    เมื่อเขาสิ้นชีวิตลง วิญญาณของเขา  จะไปรวมกันอยู่  ในอีกโลกหนึ่ง
ซึ่งเรียกว่าโลก  "บัรซัค"  
 อันเป็น โลกที่คั่นกลาง  ระหว่างโลกนี้ กับ โลกหน้า
     และเมื่อถึงวันหนึ่ง  ซึ่งเป็นวันแห่งการสิ้นสุด  ทุกสิ่งทุกอย่างและ ทุกชีวิตจะถูกทำให้ฟื้นขึ้น
 เพื่อรอรับการตัดสินการกระทำที่เขาได้ทำไว้   ในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่  ในโลกนี้  ชีวิตที่แท้จริงของเขาจะเป็นอย่างไรนั้น จึงขึ้นอยู่กับการงานที่เขาได้กระทำเอาไว้
   
 เมื่อได้รับข่าวการตาย ของพี่น้องมุสลิม  มุสลิม จะกล่าวว่า
" อินนา  ลิลลาฮิ  วะอินนา  อิลัยฮิ  รอญิอูน
  (แปลว่า แท้จริงเราเป็นของอัลลอฮฺและยังพระองค์ที่เราต้องคืนกลับ)
 
หลังจากนั้นก็จะไปเยี่ยมครอบครัว หรือ ญาติของผู้ตาย
และร่วม นมาซศพตลอดจนไปส่งที่สุสานเพื่อทำการฝังศพ
       เมื่อมีการตายเกิดขึ้น อิสลามได้กำหนดให้ญาติใกล้ชิด หรือ ครอบครัวของผู้ตาย
จัดการเรื่องฝังศพ ให้เสร็จเรียบร้อยโดยเร็ว และ ประหยัดที่สุด
ทั้งนี้เพื่อที่จะไม่เป็นภาระและสร้างความยุ่งยากลำบาก ให้แก่คนที่อยู่ข้างหลัง 
โดยปกติแล้วพิธีการฝังศพของมุสลิมจะเสร็จสิ้นภายใน  24 ชั่วโมง 
 โดยมีเงื่อนไขสำคัญและเป็นสิ่งจำเป็นในการจัดการเกี่ยวกับศพดังนี้คือ 

1.  อาบน้ำศพ คือ
** อาบน้ำทำความสะอาดศพตลอดร่างกาย 
** โดย ศพชายก็ให้ญาติที่เป็นผู้ชายจัดการ
** และศพหญิงก็ให้ญาติที่เป็นผู้หญิงจัดการอาบให้
  2.  ห่อศพ ด้วยผ้า
  3.  นมาซ ให้ ศพ
  4.  ฝัง  ตามแนวนอน
** *มิใช่ในแนวยืนอย่างที่หลายคนเข้าใจผิด

           ในการปฎิบัติต่อศพนั้น 
อิสลามได้กำหนด  ให้ปฎิบัติต่อศพอย่างนิ่มนวล ให้เกียรติ และ
 จะต้องไม่ให้ ศพเป็นที่เปิดเผยในสภาพอุจาดตา หรือ อนาจาร
นอกจากนั้นแล้ว  อิสลามยังไม่อนุญาติให้เผาศพด้วย  
เพราะถือว่าไฟนั้นเป็นสิ่งที่ใช้ในการลงโทษผู้ทำบาปในนรก
     มุสลิมสามารถไปร่วมงานศพของคนต่างศาสนิกได้
ในเงื่อนไขที่ว่า ไปเพื่อปลอบทุกข์  หรือ
  เพื่อ แสดงความเห็นใจแก่ครอบครัวหรือ ญาติ ของผู้ตาย
     แต่จะร่วมทำพิธีทางศาสนา  เช่น   
การ พนมมือระหว่าง พระสวด     การจุดธูปเทียนเคารพศพ
  หรือ การวางดอกไม้จันทน์ และ อื่นๆ ไม่ได้ทั้งสิ้น

แนวคิดศาสนาอิสลามที่เกี่ยวข้องกับความตาย

อ.ปราโมทย์  มีสุวรรณ อาจารย์สอนศาสนาอิสลาม (วิทยากร) และ สุชาดา  โตสิตระกูล (บันทึกการประชุม)

ที่มา : การสรุปสาระสำคัญจาการเสวนา ครั้งที่ 3  เรื่อง "ศาสนากับการดูแลผู้ป่วยใกล้ตาย"


หลักศาสนาอิสลามมีความเชื่อว่าพระเจ้า (อัลลอฮ์) เป็นผู้สร้างมนุษย์ขึ้นในโลก โดยกำหนดเวลาเกิด เวลาตายไว้ให้แล้ว มนุษย์มีหน้าที่ต้องเคารพ ศรัทธา สักการะอัลลอฮ์ด้วยการทำความดี นอกจากนี้ยังเชื่อเรื่องโลกหน้าว่าเป็นโลกแท้จริงที่พึงปรารถนา เป็นชีวิตที่จีรัง ยั่งยืน ชีวิตในโลกนี้เป็นเพียงทางผ่านสู่โลกหน้าเท่านั้น ความตายจึงไม่ใช่การสิ้นสุดชีวิตแต่เป็นการย้ายชีวิตจากโลกนี้ไปยังโลก หน้าที่สุขสบายกว่า ยั่งยืนกว่า ศาสนาอิสลามจึงสอนให้มนุษย์ระลึกถึงความตายอยู่เสมอจะได้ไม่ทำความชั่ว ให้ทำแต่ความดี และอดทนต่อความทุกข์ ความเจ็บป่วยที่ผ่านเข้ามา เพราะนั่นเป็นเพียงบททดสอบถึงความศรัทธาที่มีต่อพระเจ้า ผู้ที่ท้อแท้ สิ้นหวังกับชีวิตพึงระลึกไว้เสมอว่าพระเจ้าเป็นที่พึ่ง และทรงมีเมตตา ให้อภัยมนุษย์เสมอ ดังนั้น มนุษย์จึงควรทำความดีเพื่อจะได้ใช้ชีวิตในโลกหน้าอย่างมีความสุข

หลักปฏิบัติทางศาสนาอิสลามสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้ายเพื่อการตายอย่างสงบ

  1. ถ้าผู้ป่วยยังมีสติให้พยายามนึกถึงพระเจ้าในทางที่ดี ระลึกไว้ว่าพระเจ้าเป็นผู้ซึ่งมีเมตตา และหวังว่าท่านจะให้อภัยในบาปต่างๆที่ได้ทำลงไป ไม่ลงโทษ
  2. ให้ญาติจับผู้ป่วยนอนตะแคงทับสีข้างด้านขวา (หากทำไม่ได้ให้จับนอนหงาย) หันใบหน้าไปทางทิศกิบลัต คือทิศที่ตั้งของบัยติลละอ์ในนครมักกะฮ์ สำหรับประเทศไทยคือทิศตะวันตก
  3. ให้ญาติสอนการปฏิญาณตน ให้ผู้ป่วยกล่าวคำว่า "ลาอิลา ฮาอิลลาลลอฮ์" ซึ่งมีความหมายว่า "ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์" โดยสอนเบาๆไม่เร่งเร้าที่ข้างหูขวา เพื่อผู้ป่วยจะเกิดความสงบ เพราะคำนี้เป็นคำที่ประเสริฐสุด หากก่อนตายใครได้กล่าวคำนี้เป็นคำสุดท้ายจะได้ขึ้นสวรรค์โดยไม่ถูกสอบสวน
  4. อ่านคัมภีร์อัลกุรอ่าน บท "ญาซีน" ให้ผู้ป่วยใกล้ตายฟังไม่ว่าเขาจะรู้สึกตัวหรือไม่ก็ตาม การอ่านคัมภีร์บทนี้ พระเจ้าจะส่งความเมตตามายังสถานที่แห่งนั้น ทำให้วิญญาณออกจากร่างอย่างสงบ สบาย ไม่เจ็บปวด

การปฏิบัติต่อศพของมุสลิม

  1. จัดท่าให้ศพนอนเหมือนคนนอนหลับสบายๆ ถ้าขางออยู่ให้เอาลง ถ้าอ้าปากให้เอาเส้นผ้ามามัดไว้ไม่ให้ปากอ้า มือวางข้างลำตัว หรือกอดอกเอามือขวาทับมือซ้าย
  2. เนื่องจากความตายในทัศนะศาสนาอิสลามไม่ใช่การสิ้นสุดชีวิต แต่เป็นการย้ายชีวิตจากโลกนี้ไปยังโลกหน้า วิญญาณของชาวมุสลิมจะมีความรู้สึกตลอดจนกว่าโลกหน้าจะอุบัติขึ้น ดังนั้น ศพที่เสียชีวิตจะยังมีความรู้สึกเหมือนคนเป็น จึงห้ามทำให้ศพเจ็บปวดในทุกกรณี  การปฏิบัติต่อศพจะต้องทำอย่างทะนุถนอม แผ่วเบา ไม่รุนแรง
  3. ศพยังมีความละอายอยู่ การเปลี่ยนเสื้อผ้าให้ศพจะต้องทำอย่างมิดชิด มิให้อวัยวะที่พึงสงวนเปิดเผยให้ผู้อื่นเห็น

 

การจัดพิธีศพตามหลักศาสนาอิสลาม

เมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตแล้ว ให้รีบจัดการศพอย่างรวดเร็ว ก่อนที่ศพจะเปลี่ยนสภาพ เพราะหากปล่อยไว้จนศพเปลี่ยนสภาพ เหม็นเน่า จะเป็นบาปทั้งกับผู้ตายและทายาทผู้จัดการศพ การจัดพิธีศพจะทำ ๔ ประการ ต่อไปนี้

  1. อาบน้ำให้ศพ
  2. ห่อศพด้วยผ้าสะอาด
  3. เอาศพไปละหมาดที่มัสยิด
  4. เอาศพไปฝัง

          Link   https://portal.in.th

อัพเดทล่าสุด