ที่มาของการถือศีลอด ทำเพื่ออะไร?


9,484 ผู้ชม

หากเราได้ศึกษาอัลกุรอานแล้วจะพบว่า คำสั่งใช้และคำสั่งห้ามในศาสนานั้น เป็นคำสั่งที่ใช้ให้ผู้ศรัทธาปฏิบัติและห้ามผู้ศรัทธามิให้ปฏิบัติ...


ที่มาของการถือศีลอด ทำเพื่ออะไร

โดย อ.ฟารีด เฟ็นดี้

หากเราได้ศึกษาอัลกุรอานแล้วจะพบว่า คำสั่งใช้และคำสั่งห้ามในศาสนานั้น เป็นคำสั่งที่ใช้ให้ผู้ศรัทธาปฏิบัติและห้ามผู้ศรัทธามิให้ปฏิบัติ ฉะนั้นเมื่อเราอ่านอัลกุรอานและพบคำว่า

يَأيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوا

“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย”

คำสั่งถัดมาไม่เป็นคำสั่งใช้ก็จะเป็นคำสั่งห้าม เช่นเรื่องสั่งใช้ให้ผู้ศรัทธาถือศีลอด ดังอายะห์ต่อไปนี้

يَأيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلىَ الَّذِيْنَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُوْن

“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย การถือศีลอดได้ถูกบัญญัติแก่พวกเจ้า ดังที่เคยบัญญัติให้แก่ชนก่อนหน้าพวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ยำเกรง”

ซูเราะห์อัลบะกอเราะห์ อายะห์ที่ 183

ที่มาของการถือศีลอด ทำเพื่ออะไร?

ในอายะห์อัลกุรอานข้างต้นนี้ได้บอกถึงเป้าหมายของการถือศีลอดด้วยว่า การถือศีลอดนั้นเพื่อก่อเกิดการสำรวมตนต่ออัลลอฮ์ หรืออย่างเช่นฮะดีษที่ท่านนบีได้บอกว่า

فَاِنَّهُ لَهُ وِجَاء

“เพราะการถือศีลอดนั้นเป็นเกราะป้องกันในการถลำไปในความชั่ว”

ศอเฮียะห์บุคคอรี ฮะดีษเลขที่ 1772

เราจะเห็นได้ว่าบรรดาผู้ศรัทธานั้น ไม่ว่าพระองค์อัลลอฮ์จะทรงบัญญัติให้เขากระทำสิ่งใดก็ตาม เขาจะกระวีกระหวาดมุ่งมั่นทำด้วยความตั้งใจ ด้วยหัวใจที่จงรักภักดี ถึงแม้บางเรื่องเขาจะไม่ทราบว่า สิ่งที่เขาทำนั้นจะมีผลดีแก่เขาในดุนยาเช่นไร ดังแบบอย่างของบรรพชนของเราในอดีต

แต่แน่นอนว่า สิ่งใดที่พระองค์อัลลอฮ์ได้สั่งแก่ผู้ศรัทธากระทำนั้นย่อมเกิดผลดีต่อผู้ศรัทธาเองทั้งดุนยาและอาคิเราะห์ ดังนั้นคนในยุคหลังๆ จึงจับประเด็นวิเคราะห์ถึงผลดีของการอดหารทั้งในด้านการแพทย์ และอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันมีการเข้าครอสอดอาหารเพื่อสุขภาพเป็นต้น แต่คนที่ไม่ศรัทธาเขาอดอาหารเพื่อสุขภาพ หรือเพื่อรักษาโรค เขาได้รับประโยชน์ของการอดเพียงแค่นั้นจริงๆ ต่างจากผู้ศรัทธาที่อดตามคำสั่งของพระเจ้า นอกจากเขาจะได้รับประโยชน์ของการอดในดุนยาแล้ว เขายังได้รับผลจากการอดของเขาในอาคิเราะห์อีกด้วย

บทความที่น่าสนใจ

อัพเดทล่าสุด