ชัยฏอนเเละญินคือใคร? ดุอาป้องกันญินจากท่านนบี


26,494 ผู้ชม

ญิน  คือ  สิ่งถูกสร้างประเภทหนึ่งที่อยู่ต่างมิติไปจากมนุษย์เฉกเช่นมะลาอิกะห์แต่ก็มิใช่มะลาอิกะห์ ญินและมนุษย์มีส่วนคล้ายกันบ้างเช่นมีปัญญารับรู้และได้รับสิทธิในการเลือกเฟ้น แต่ก็ต่างกันหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุของแต่ละฝ่าย


ชัยฏอนเเละญินคือใคร? ดุอาป้องกันญินจากท่านนบี

ญินคือใคร ?

ญิน  คือ  สิ่งถูกสร้างประเภทหนึ่งที่อยู่ต่างมิติไปจากมนุษย์เฉกเช่นมะลาอิกะห์แต่ก็มิใช่มะลาอิกะห์ ญินและมนุษย์มีส่วนคล้ายกันบ้างเช่นมีปัญญารับรู้และได้รับสิทธิในการเลือกเฟ้น แต่ก็ต่างกันหลายประการโดยเฉพาะอย่างยิ่งธาตุของแต่ละฝ่าย

คำว่า “ญิน” มีความหมายในเชิงปกปิดซ่อนเร้นจากสายตามนุษย์ กล่าวคือมนุษย์ไม่สามารถมองเห็น “ญิน”ได้ (หากเขามิได้จำแลงให้เห็น) อัลลอฮ์กล่าวว่า

(إِنَّهُ يَرَاكُمْ هُوَ وَقَبِيلُهُ مِنْ حَيْثُ لاَ تَرَوْنَهُمْ) سورة الأعراف / 27

“แท้จริงเขาเห็นพวกเจ้า ทั้งเขาและผู้ที่เป็นประเภทเดียวกับเขา โดยที่พวกเจ้าไม่เห็นพวกเขา” อัลอะอ์ร๊อฟ / 27

ธาตุของ ญิน

อัลลอฮ์ทรงบอกเราว่าพระองค์ทรงสร้างพวกเขามาจากไฟ แต่มนุษย์เรานั้นพระองค์ทรงสร้างมาจากดิน ซึ่งหมายถึงธาตุเดิมของแต่ละฝ่าย อัลลอฮ์ตรัสว่า

: (وَالْجَانَّ خَلَقْنَاهُ مِنْ قَبْلُ مِنْ نَارِ السَّمُومِ) " سورة الحجر / 27

“และญาน (บิดาของญิน) เราสร้างเขามาก่อนหน้านั้นจากไฟที่ร้อนแรง” อัลฮิจร์ 7 27

(وَخَلَقَ الْجَانَّ مِنْ مَارِجٍ مِنْ نَارٍ) سورة الرحمن / 15

“และพระองค์ทรงสร้างญาน (บิดาของญิน) จากมาริจจากไฟ” อัรเราะห์มาน / 15

ท่านอิบนุอับบาส ท่านอิกริมะห์ ท่านมุญาฮิด และท่านอัลฮะซัน กล่าวว่า “มาริจจากไฟ” หมายถึงจากเปลวไฟ (ที่ร้อนแรง) ในฮะดีษที่บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิมระบุว่า

وفى الحديث الذي أخرجه مسلم عن عائشة ، عن النبي صلى الله عليه وسلم قال :
(خُلِقَتِ الْمَلاَئِكَةُ مِنْ نُوْرٍ وَخُلِقَ الْجَانُّ مِنْ مَارِجٍ مِنْ نَارٍ وَخُلِقَ آدَمُ مِمَّا وُصِفَ لَكُمْ)


รายงานจากท่านหญิงอาอิชะห์ว่า ท่านนะบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า “มะลาอิกะห์ถูกสร้างมาจากรัศมี ญาณ (บิดาของญิน) ถูกสร้างมาจากไฟ และอาดำถูกสร้างตามที่ถูกบอกลักษณะไว้แก่พวกท่าน” บันทึกโดยมุสลิม

พวกเขา (ญิน) ถูกสร้างเมื่อใด ?

ปรากฏในอัลกุรอ่านว่าพวกเขาถูกสร้างมาก่อนมนุษย์ อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า 

(وَلَقَدْ خَلَقْنَا ْالإِنْسَانَ مِنْ صَلْصَالٍ مِنْ حَمَإٍ مَسْنُونٍ ، وَالْجَانَّ خَلَقْنَاهُ مِنْ قَبْلُ مِنْ نَارِ السَّمُومِ ) الحجر / 26-27

“และสาบานว่าเราได้สร้างมนุษย์มาจากดินแห้งที่มาจากดินตมที่นิ่ม ส่วนญานเราได้สร้างมันก่อนหน้านั้นจากไฟอันร้อนแรง” อัลฮิจร์ / 26-27

ชัยฏอนเเละญินคือใคร? ดุอาป้องกันญินจากท่านนบี


ชัยฏอนคือใคร ?

ชัยฏอนหมายถึงผู้ชั่วร้ายไม่ว่าจะมาจากมนุษย์หรือญินก็ตาม เพราะอัลลอฮ์ทรงตรัสว่า

(وَكَذَلِكَ جَعَلْنَا لِكُلِّ نَبِيٍّ عَدُوًّا شَيَاطِينَ اْلإِنْسِ وَالْجِنِّ) الأنعام / 112

“และทำนองเดียวกันนั้น เราได้ทำให้นะบีทุกคนมีศัตรูคือชัยฏอนจากมนุษย์และญิน” อัลอันอาม / 112

ส่วน “อิบลีส” คือมารร้ายที่มาจาก “ญิน” ซึ่งบางทีก็เรียกมันว่า “ชัยฏอน” อัลลอฮ์ทรงตรัสว่า

(وَإِذْ قُلْنَا لِلْمَلاَئِكَةِ اسْجُدُوا ِلآِدَمَ فَسَجَدُوا إِلاَّّ إِبْلِيسَ كَانَ مِنَ الْجِنِّ) الكهف / 50

“และจงรำลึกถึงครั้งเมื่อเรากล่าวแก่มะลาอิกะห์ว่าจงกราบต่ออาดำ พวกเขาก็กราบยกเว้นอิบลีสผู้มาจากญิน” อัลกะห์ฟิ / 50

ญินบริโภคอาหารหรือไม่ ?

ในบันทึกของอิหม่ามบุคอรีมีรายงานระบุไว้ดังนี้

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ أَنَّهُ كَانَ يَحْمِلُ مَعَ النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِدَاوَةً لِوَضُوئِهِ وَحَاجَتِهِ فَبَيْنَمَا هُوَ يَتْبَعُهُ بِهَا فَقَالَ (مَنْ هَذَا فَقَالَ أَنَا أَبُو هُرَيْرَةَ فَقَالَ ابْغِنِي أَحْجَارًا أَسْتَنْفِضْ بِهَا وَلاَ تَأْتِنِي بِعَظْمٍ وَلاَ بِرَوْثَةٍ فَأَتَيْتُهُ بِأَحْجَارٍ أَحْمِلُهَا فِي طَرَفِ ثَوْبِي حَتَّى وَضَعْتُهَا إِلَى جَنْبِهِ ثُمَّ انْصَرَفْتُ حَتَّى إِذَا فَرَغَ مَشَيْتُ فَقُلْتُ مَا بَالُ الْعَظْمِ وَالرَّوْثَةِ قَالَ هُمَا مِنْ طَعَامِ الْجِنِّ وَإِنَّهُ أَتَانِي وَفْدُ جِنِّ نَصِيبِينَ وَنِعْمَ الْجِنُّ فَسَأَلُونِي الزَّادَ فَدَعَوْتُ اللَّهَ لَهُمْ أَنْ لاَ يَمُرُّوا بِعَظْمٍ وَلاَ بِرَوْثَةٍ إِلاَّ وَجَدُوا عَلَيْهَا طَعَامًا) رواه البخاري

มีรายงานจากอะบูฮุรอยเราะห์ (ร.ด.) :  ว่าเขาทำหน้าที่ถือภาชนะใส่น้ำเพื่อทำวุฎูวอ์และทำธุระส่วนตัวของท่าน (นะบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เสมอ ในขณะที่เขา(อะบูฮุรอยเราะห์) ถือภาชนะเดินตามท่าน  (นบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ไปนั้น ท่าน(นะบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) ถามว่า “ผู้นี้คือใคร?” เขา (อะบูฮุรอยเราะห์) ตอบว่า “ฉันคือ อะบูฮุรอยเราะห์” ท่าน(นะบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) จึงกล่าวว่า “นำหินหลายๆ ก้อนมาให้ฉันหน่อย เพื่อนำมันมาชำระ (สิ่งสกปรก) และอย่าได้นำกระดูกหรือมูล(สัตว์)มาให้ฉัน” (อะบูฮุรอยเราะห์เล่าต่อไปว่า) “ฉันจึงนำหินหลายก้อนใส่ไว้ชายผ้าของฉันและนำมันมาให้ท่าน โดยวางไว้ข้างๆ ท่าน แล้วฉันถอยห่างออกมา เมื่อท่านเสร็จภารกิจแล้ว ฉันจึงเดินไปหาแล้วถามท่านว่า “เหตุใดถึงเว้นมิให้นำกระดูกและมูล(สัตว์) มาให้” ท่านตอบว่า “เพราะทั้งสองเป็นอาหารของญินและเคยมีตัวแทนญินจาก “นะศีบีน” ซึ่งเป็นญินที่ดีมาก มาหาฉันและขอเสบียงจากฉัน ฉันจึงได้ขอต่ออัลลอฮ์เพื่อพวกเขาว่า ไม่ว่าที่ใดที่พวกเขาผ่านไปพบกระดูกหรือมูล(สัตว์) พวกเขาจะพบอาหาร ณ ที่นั่น”   

รายงานบางบทระบุว่ามูลสัตว์มิใช่อาหารของญินโดยตรงหากแต่เป็นอาหารของสิ่งที่ญินใช้เป็นพาหนะ 

เป็นที่น่าสังเกตว่า ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ห้ามมิให้ทำลายอาหารของญิน ดังนั้นการทำลายอาหารของมนุษย์ย่อมเป็นที่ต้องห้ามเช่นกัน

นอกเหนือจากกระดูกและมูลสัตว์ ญินยังสามารถกินในสิ่งที่มนุษย์กินได้เช่นกัน ดังปรากฏรายงาน

عَنْ جَابِرِ بْنِ عَبْدِ اللَّهِ أَنَّهُ سَمِعَ النَّبِيَّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَقُولُ (إِذَا دَخَلَ الرَّجُلُ بَيْتَهُ فَذَكَرَ اللَّهَ عِنْدَ دُخُولِهِ وَعِنْدَ طَعَامِهِ قَالَ الشَّيْطَانُ لاَ مَبِيتَ لَكُمْ وَلاَ عَشَاءَ وَإِذَا دَخَلَ فَلَمْ يَذْكُرْ اللَّهَ عِنْدَ دُخُولِهِ قَالَ الشَّيْطَانُ أَدْرَكْتُمْ الْمَبِيتَ وَإِذَا لَمْ يَذْكُرْ اللَّهَ عِنْدَ طَعَامِهِ قَالَ أَدْرَكْتُمْ الْمَبِيتَ وَالْعَشَاءَ) رواه مسلم

มีรายงานจากท่านญาบิร อิบนุ อับดิลลาห์ ว่าเขาได้ยินท่านนะบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า “เมื่อผู้หนึ่งผู้ใดเข้าบ้านตนและเขาได้รำลึกถึงอัลลอฮ์ขณะที่เข้าไปหรือขณะที่ทานอาหาร ชัยฎอนจะกล่าว (แก่พวกของมันว่า) พวกเจ้าไม่มีที่พักค้างคืนและไม่มีอาหารค่ำแล้ว แต่ถ้าผู้นั้นเข้าบ้านโดยไม่รำลึกถึงอัลลอฮ์เลยในขณะที่เข้าไป ชัยฏอนก็จะกล่าว (แก่พวกของมันว่า) พวกเจ้ามีที่ค้างคืนแล้ว และหากเขาไม่รำลึกถึงอัลลอฮ์ขณะท่านอาหาร มันก็กล่าว (แก่พวกของมันว่า) พวกเจ้ามีที่ค้างคืนและมีอาหารค่ำแล้ว” บันทึกโดยมุสลิมและท่านอื่นๆ 

ส่วนว่ามันจะมีวิธีการกินอยู่อย่างไรนั้นเรามิอาจทราบได้เพราะสิ่งดังกล่าวเป็นเรื่องเร้นลับ และที่เราพอจะทราบได้นั้นก็เพราะมีตัวบทระบุไว้เท่านั้น

ญินมีการสืบเผ่าพันธุ์หรือไม่ ?

นักวิชาการมุสลิมส่วนใหญ่เชื่อว่าญินมีการสืบเผ่าพันธุ์เฉกเช่นมนุษย์ โดยอาศัยเนื้อความจากอัลกุรอ่านที่กล่าวถึงสาวสวรรค์ว่า

(لَمْ يَطْمِثْهُنَّ إِنْسٌ قَبْلَهُمْ وَلاَ جَانٌّ) الرحمن / 56

“ไม่มีมนุษย์และญินใดเคยล่วงล้ำ (พรมจารี) เหล่านางมาก่อน”

เพราะคำว่า “ฏ่อมัษ” หมายถึงเลือดจากพรมจารีซึ่งรวมถึงเลือดประจำเดือนด้วยเช่นกัน แต่สาวสวรรค์ไม่มีประจำเดือน อีกอายะห์หนึ่งระบุว่า

(إِلاَّ إِبْلِيسَ كَانَ مِنَ الْجِنِّ فَفَسَقَ عَنْ أَمْرِ رَبِّهِ أَفَتَتَّخِذُونَهُ وَذُرِّيَّتَهُ أَوْلِيَاءَ مِنْ دُونِيْ) الكهف / 50
“(อัลลอฮ์มีบัญชาให้ทั้งมะลาอิกะห์และญินกราบอาดำ เหล่ามะลาอิกะห์ต่างก้มลงกราบอาดำ) ยกเว้นอิบลีส มันมาจากญิน (มันคือญิน) มันฝ่าฝืนบัญชาของพระผู้อภิบาลของมัน (ดังนั้น) พวกเจ้าทั้งหลายจะยึดมันและลูกหลานของมันเป็นผู้ปกปักรักษาอื่นจากฉัน (อัลลอฮ์) กระนั้นหรือ” อัลกะห์ฟิ / 50

จากสองอายะห์ข้างต้น นักวิชาการส่วนใหญ่จึงเห็นว่า “ญิน” มีการสืบเผ่าพันธุ์และมีอายุขัยเฉกเช่นมนุษย์ เพียงแต่อายุขัยของอิบลีสนั้นยาวนานถึงวันอาคิเราะห์ ส่วนญินอื่นๆ ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีอายุยืนยาวเช่นอิบลีส เพียงแต่เราไม่ทราบว่าพวกเขามีอายุขัยยาวนานเท่าใด

ญินมีกี่ประเภท ?

หากพิจารณาตามความเชื่อศรัทธา ญินแบ่งได้เป็นสองประเภทคือ ญินที่ศรัทธาซึ่งมีความดีเลวแตกต่างกันไปเฉกเช่นมนุษย์ และญินที่ไม่ศรัทธา ซึ่งมีความชั่วร้ายแตกต่างกันไป อิบลีสคือญินที่ชั่วร้ายและไม่ศรัทธา ส่วนญินและ มนุษย์ที่ชั่วร้ายทั้งหลายคือพลพรรคของมัน ความรู้นี้เป็นที่ทราบดีจึงขอเว้นไม่กล่าวถึงหลักฐาน

แต่หากแบ่งตามสภาพของญินแล้ว มีปรากฏในฮะดีษบทหนึ่งดังนี้

وقال النبي صلى الله عليه وسلم ( الجن ثلاثة أصناف : صنف لهم أجنحة يطيرون في الهواء وصنف حيات وعقارب وصنف يحلون ويظعنون - أي يقيمون ويرتحلون ) رواه الطبراني والحاكم وغيرهما بإسناد صحيح 

ท่านนะบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า “ญินนั้นมีสามประเภท ประหนึ่งมีปีกและบินไปในอากาศ ประเภทหนึ่งอยู่ในคราบของงูและแมลงป่อง (บางกระแสระบุว่าเป็นสุนัข) และอีกประเภทหนึ่งประจำอยู่ (ในสถานสถานที่ต่างๆ) และโยกย้ายสถานที่” บันทึกโดยอัฏฏ๊อบรอนี, อัลฮาเก่ม, และท่านอื่นๆ ด้วยสายรายงานที่ศ่อเฮี๊ยห์

ความสามารถของญิน

ญินมีความสามารถแตกต่างจากมนุษย์ อัลกุรอ่านได้เล่าถึง “อิฟรีต” ผู้เป็นญินที่รับใช้ท่านนะบีสุลัยมานว่าสามารถย้ายบัลลังก์ของ “บัลก๊อยส์” มาให้ท่านนะบีสุลัยมานได้ในพริบตา (ดูซูเราะห์ อัลนัมลุ / 38-39) อีกทั้งสามารถจำแลงตนเป็นรูปร่างต่างๆ ได้ มนุษย์จึงสามารถเห็นญินได้ นอกเหนือจากนี้ญินยังสามารถทำร้ายมนุษย์ได้ด้วยวิธีการต่างๆ ดังจะได้กล่าวในลำดับต่อไป

ชัยฏอนเเละญินคือใคร? ดุอาป้องกันญินจากท่านนบี

อิบลีส และพลพรรคของมันทำร้ายมนุษย์ได้หรือไม่?

อิบลีส ผู้ฝ่าฝืนอัลลอฮ์ ได้ขอต่ออัลลอฮ์ไว้ดังนี้

(قَالَ أَنْظِرْنِيْ إِلَى يَوْمِ يُبْعَثُونَ (14) قَالَ إِنَّكَ مِنَ الْمُنْظَرِيْنَ (15) قَالَ فَبِمَا أَغْوَيْتَنِيْ َلأَقْعُدَنَّ لَهُمْ صِرَاطَكَ الْمُسْتَقِيمَ (16) ثُمَّ َلآتِيَنَّهُمْ مِنْ بَيْنِ أَيْدِيْهِمْ وَمِنْ خَلْفِهِمْ وَعَنْ أَيْمَانِهِمْ وَعَنْ شَمَائِلِهِمْ وَلاَ تَجِدُ أَكْثَرَهُمْ شَاكِرِينَ (17)) الأعراف

“มันกล่าว (แก่พระองค์) ว่า โปรดประวิงเวลาให้ข้าฯ (อยู่ยาวต่อไป) ถึงวันที่พวกเขา (มนุษย์) ถูกฟื้นคืนชีพ พระองค์ตรัสว่า แท้จริงเจ้าจะเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการประวิงเวลา (คือจะยังไม่ตาย) มันกล่าวว่า ด้วยสิ่งที่พระองค์ทำให้ข้าฯวิบัติ ข้าฯจะนั่ง (ขัดขวางพวกเขา) บนหนทางอันเที่ยงตรงของพระองค์ท่าน หลังจากนั้นข้าฯจะมาหาพวกเขาทั้งทางด้านหน้า ด้านหลัง ด้านขวา ด้านซ้าย และพระองค์จะไม่พบว่าพวกเขาส่วนใหญ่รู้คุณ (พระองค์)” อัลอะอ์ร๊อฟ /14-17

(قَالَ رَبِّ فَأَنْظِرْنِي إِلَى يَوْمِ يُبْعَثُونَ (79) قَالَ فَإِنَّكَ مِنَ الْمُنْظَرِينَ (80) إِلَى يَوْمِ الْوَقْتِ الْمَعْلُومِ (81) قَالَ فَبِعِزَّتِكَ َلأُغْوِيَنَّهُمْ أَجْمَعِينَ (82) إِلاَّّ عِبَادَكَ مِنْهُمُ الْمُخْلَصِيْنَ (83)) ص / 79-83 

“มันกล่าว (แก่พระองค์) ว่า โปรดประวิงเวลาให้ข้าฯ (อยู่ยาวต่อไป) ถึงวันที่พวกเขา (มนุษย์) ถูกฟื้นคืนชีพ พระองค์ตรัสว่า แท้จริงเจ้าจะเป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการประวิงเวลา (คือจะยังไม่ตาย) มันกล่าวว่า ด้วยเดชานุภาพของพระองค์ท่าน ข้าฯจะหลอกลวงพวกเขาให้หมดยกเว้นปวงบ่าวของพระองค์ ผู้ได้รับคุ้มครองให้ปลอดภัย” ศ๊อด / 79-83

อิบลีส ประกาศชัดเจนว่าจะหลอกลวงมนุษย์ทั้งหมดให้ไปสู่นรก การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นการทำร้ายที่รุนแรงที่สุด มันสัญญาว่าจะมาหามนุษย์ทุกทิศทุกทางเพื่อลวงหลอกมนุษย์ ดังนั้นผู้ที่จะรอดพ้นจากมันได้ก็คือบ่าวผู้ได้รับการคุ้มครอง เพราะคำว่า “มุคละศีน” ในตำราตัฟซีรอธิบายว่าหมายถึงปวงบ่าวที่อัลลอฮ์เลือกให้ภักดีต่อพระองค์เพื่อให้พ้นจากความหลงผิด 
นอกเหนือจากการลวงล่อให้หลงผิดแล้ว มันและพลพรรคของมันสามารถทำร้ายมนุษย์ได้ด้วยวิธีการอื่นอีก เช่นทำให้เสียสติ เจ็บป่วย และตายได้ในที่สุด เพียงแต่เราไม่ทราบวิธีการของมันโดยละเอียดเท่านั้น ที่เราทราบได้ว่ามันสามารถทำร้ายมนุษย์ได้ดังทีกล่าวนั้นก็เพราะมีตัวบทหลักฐานยืนยันเช่นนั้นดังจะได้กล่าวในลำดับต่อไป

รูปแบบการทำร้ายมนุษย์ของอิบลีสและพลพรรคของมัน

การทำร้ายของอิบลีสและพลพรรคของมันต่อมนุษย์ เท่าที่เราทราบจากหลักฐานและหลักการของศาสนานั้น มีอยู่ด้วยกันหลายทาง ดังนี้

การเข้าครอบงำมนุษย์

มีฮะดีษบทหนึ่งระบุไว้ดังนี้

قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ ( إِنَّ الشَّيْطَانَ يَجْرِي مِنَ اْلإِنْسَانِ مَجْرَى الدَّمِ) رواه البخاري ومسلم

ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า “แท้จริงชัยฏอนวิ่งแล่นจากมนุษย์ (ในตัวเขา) ตามกระแสเลือด” บันทึกอัลบุคอรีและมุสลิม

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ أَنَّ رَجُلاً شَتَمَ أَبَا بَكْرٍ وَالنَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ جَالِسٌ فَجَعَلَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَعْجَبُ وَيَتَبَسَّمُ فَلَمَّا أَكْثَرَ رَدَّ عَلَيْهِ بَعْضَ قَوْلِهِ فَغَضِبَ النَّبِيُّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ وَقَامَ فَلَحِقَهُ أَبُو بَكْرٍ فَقَالَ يَا رَسُولَ اللَّهِ كَانَ يَشْتُمُنِي وَأَنْتَ جَالِسٌ فَلَمَّا رَدَدْتُ عَلَيْهِ بَعْضَ قَوْلِهِ غَضِبْتَ وَقُمْتَ قَالَ إِنَّهُ كَانَ مَعَكَ مَلَكٌ يَرُدُّ عَنْكَ فَلَمَّا رَدَدْتَ عَلَيْهِ بَعْضَ قَوْلِهِ وَقَعَ الشَّيْطَانُ فَلَمْ أَكُنْ ِلأَقْعُدَ مَعَ الشَّيْطَانِ . أخرجه أحمد وقال الألباني وإسناده جيد

มีรายงานจากอะบูฮุรอยเราะห์ว่า มีชายผู้หนึ่งด่าอะบูบักร์ในขณะที่ท่านนะบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมนั่งอยู่ด้วย ท่านนะบีรู้สึกประทับใจ(ต่อความอดทนของอะบูบักร์) ท่านจึงยิ้ม เมื่อชายผู้นั้นด่ามากขึ้น ท่านอะบูบักร์จึงได้ตอบโต้ไปบ้าง ท่านนะบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม โกรธ ท่านจึงลุกขึ้นและจากไป ท่านอะบูบักร์รีบวิ่งตามไปจนทันพลางกล่าวขึ้นว่า “โอ้ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เขาด่าฉันท่านก็นั่งอยู่ แต่พอฉันตอบโต้ไปบ้างท่านกับรู้สึกไม่พอใจพร้อมกับลุกขึ้น (และจากมา)” (ท่านนะบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมจึง) กล่าวว่า “ในขณะนั้นเจ้ามีมะลัก (มะลาอิกะห์) คอยตอบโต้ให้อยู่แล้ว แต่พอเจ้าตอบโต้ไปบ้าง ชัยฏอนก็เกิดขึ้น (ก็มาครอบงำ) ดังนั้นฉันจึงไม่ต้อง (การ) นั่งกับชัยฏอน” บันทึกโดยอะห์หมัด อัลบานีกล่าวว่าเป็นสายรายงานที่ดีเยี่ยม

ในที่นี้มิได้มีประสงค์จะกล่าวถึงวิธีการครอบงำของชัยฏอนโดยละเอียด หากเพียงแต่ต้องการชี้ให้เห็นว่าชัยฏอนนั้นสามารถครอบงำมนุษย์ได้และประตูสำคัญที่เปิดรับมันคือความโกรธ ในฮะดีษข้างต้นหากผู้ใดสังเกตให้ดีจะพบว่ามีความโกรธอยู่สองประเภทคือโกรธเพราะเรื่องส่วนตัวและโกรธเพราะมีผู้กระทำผิดหลักการ ความโกรธประเภทแรกเปิดประตูให้ชัยฏอนแต่ความโกรธประเภทหลังมิได้เปิดโอกาสให้ชัยฏอนแต่อย่างใด

ผลของการครอบงำของชัยฏอนคือ คิดผิด เชื่อผิด และทำผิดในที่สุด ซึ่งเป็นอันตรายใหญ่หลวงต่อมนุษย์ เราขอความคุ้มครองจากอัลลอฮ์ให้พ้นจากสิ่งดังกล่าวด้วยเทอญ อามีน

อาศัยความริษยาและสายตาที่ชื่นชมของมนุษย์

ท่านนะบี ศ้อลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า

عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللَّهُ عَنْهُ قَالَ قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ (الْعَيْنُ حَقٌّ وَنَهَى عَنْ الْوَشْمِ) أخرجه البخاري ومسلم

มีรายงานจากอะบูฮุรอยเราะห์ว่า ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า “ตา (ริษยาและชื่นชม) นั้นมีจริง และท่านก็ห้ามมิให้สัก (ตามร่างกาย)” บันทึกโดยอัลบุคอรีและมุสลิม
คำว่าตาในฮะดีษข้างต้นคือดวงตามที่มองด้วยความริษยา อาฆาต หรือมุ่งร้าย ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ถูกมองมีอันเป็นไปในทางไม่ดี หากเขามิได้ป้องกันใดๆไว้ก่อนหน้านั้น ความไม่ดีที่เกิดขึ้นเป็นไปได้หลายทางเช่น เจ็บป่วย รู้สึกรันทดหดหู รู้สึกไม่สบายและรวมถึงเกิดอุบัติเหตุต่างๆ เพราะความริษยาและมุ่งร้ายเป็นการเปิดประตูให้กับชัยฎอนเพื่อเล่นงานอีกฝ่ายหนึ่ง ท่านนะบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวไว้ในฮะดีษบทหนึ่งว่า

(أكثر من يموت من أمتي من بعد قضاء الله وقدره بالعين - وفي رواية بالأنفس) رواه البزار وغيره بسند رجاله ثقات عن جابر رفعه ، وحسنه الألباني

“บรรดาผู้ตายมากที่สุดจากประชาชาติของฉันหลังจากการกำหนดสภาวการณ์ของอัลลอฮ์แล้ว (กล่าวคือหากไม่กล่าวถึงกำหนดสภาวการณ์แล้ว) (ล้วนมีสาเหตุมาจาก) ตา (ริษยาและชื่นชม)” บันทึกโดยท่านบัซซารและอีกหลายท่าน จากรายงานของท่านญาบิร บุคคลในสายรายงานล้วนเป็นที่น่าเชื่อถือ ท่านอัลบานีกล่าวว่าเป็นฮะดีษฮะซัน

คำว่า “ประชาชาติของฉัน” มีความหมายสองนัยคือ อาจหมายถึงประชาติที่ตอบรับคำเรียกร้องของท่านซึ่งหมายถึงมุสลิม อีกนัยหนึ่งคือใครก็ตามที่อยู่ในยุคของนะบีมุฮัมหมัด ศ้อลลัลลอฮุอะลัยอิวะซัลลัม ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือไม่ก็ตาม ฮะดีษข้างต้นกินความทั้งสองนัย

ส่วนคำว่า “ริษยาและชื่นชม” เป็นลักษณะสายตาที่มนุษย์มองซึ่งกันและกัน ซึ่งอาจมีทั้งริษยา มุ่งร้าย อาฆาตแค้น หรืออันเนื่องมาจากประทับใจ ชื่นชม และยินดีปรีดา ไม่ว่าจะเป็นการมองในลักษณะใดก็เป็นเปิดประตูให้ชัยฏอนเล่นงานอีกฝ่ายหนึ่งได้เสมอ ยกเว้นกรณีชื่นชมหากผู้ชื่นชมขอดุอาอ์ให้แก่ผู้ถูกชื่นชม มารร้ายก็มิอาจทำอันตรายได้ ซึ่งจะได้กล่าวถึงในลำดับต่อไป
การล่วงเกินและท้าทาย

ดังที่กล่าวแล้วว่าญินและมนุษย์ที่ไม่ดี ศาสนาเรียกว่า “ชัยฏอน” และพวกมันคือพลพรรคของอิบลีส ทั้งมันและพลพรรคของมันมุ่งร้ายผู้ศรัทธาตลอดเวลาเมื่อสบโอกาส หนึ่งในโอกาสดังกล่าวคือการที่มนุษย์ไปล่วงเกินโดยมิได้ตั้งใจหรือท้าทายมันโดยมิได้ขอดุอาอ์คุ้มครองต่ออัลลอฮ์ ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ กล่าวว่า

(لاَ تَقُلْ تَعِسَ الشَّيْطَانُ فَإِنَّكَ إِذَا قُلْتَ ذَلِكَ تَعَاظَمَ حَتَّى يَكُونَ مِثْلَ الْبَيْتِ وَيَقُولُ بِقُوَّتِي وَلَكِنْ قُلْ بِسْمِ اللَّهِ فَإِنَّكَ إِذَا قُلْتَ ذَلِكَ تَصَاغَرَ حَتَّى يَكُونَ مِثْلَ الذُّبَابِ) رواه أبو داود وغيره بسند صحيح وصححه الألباني

“เจ้าอย่าได้กล่าวว่า “ชัยฏอน” จงวิวัติ เพราะหากเจ้ากล่าวเช่นนั้น มันก็จะพองโตขึ้นจนเท่าบ้านหลังหนึ่ง และมันกล่าวว่า ด้วยพลังของข้าฯ (ข้าฯจะสู้กับเจ้า) แต่จงกล่าวว่า “บิสมิลลาห์-ด้วยพระนามของอัลลอฮ์” มันก็จะเล็กลงจนเท่าแมลงวัน” บันทึกโดยอะบูดาวูดและท่านอื่นๆ โดยสายรายงานที่ศ่อเฮี๊ยห์ และท่านอัลบาบีบอกว่าเป็นฮะดีษที่มีสายรายงานศ่อเฮี๊ยห์

حَدِيثُ قَتَادَةَ عَنْ عَبْدِ اللَّهِ بْنِ سَرْجِسَ : ( نَهَى رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَنْ يُبَالَ فِي الْجُحْرِ ، قَالُوا لِقَتَادَةَ : مَا يَكْرَهُ مِنْ الْبَوْلِ فِي الْجُحْرِ ؟ قَالَ : يُقَالُ : إنَّهَا : مَسَاكِنُ الْجِنِّ ) رواه أحمد والطبراني صححه جماعة وضعفه جماعة 


มีรายงานจากก่อตาดะห์จาก อับดุลลอฮ์ อิบนุ ซัรญิส ว่า“ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมห้ามมิให้ปัสสาวะลงไปในรู (ตามพื้นดิน)” มีผู้ถามท่านก็ตาดะห์ว่าเหตุใดท่านร่อซู้ลถึงรังเกียจการปัสสาวะลงรู ท่านตอบว่าเพราะว่ามันเป็นที่อยู่หนึ่งของญิน...บันทึกโดยอะห์หมัดและอัฏฏอบรอนี รายงานนี้นักฮะดีษมีความเห็นแตกต่างกัน บ้างก็ว่าศ่อเฮี๊ยห์ บ้างก็ว่าฎ่ออี๊ฟ

ชัยฏอนเเละญินคือใคร? ดุอาป้องกันญินจากท่านนบี

จากทางเวทมนต์ไสยศาสตร์

ในภาษาอาหรับเรียกสิ่งดังกล่าวว่า “เสี๊ยห์รุ” การกล่าวถึงเรื่องดังกล่าวโดยละเอียดต้องเขียนตำราเล่มโต ดังนั้นในที่นี้ขอกล่าวถึงโดยสรุปเท่านั้น 

สิ่งดังกล่าวมีกล่าวในอัลกุรอ่านไว้หลายแห่งและยืนยันว่ามันมีอยู่จริง นักวิชาการซุนนะห์แบ่งมันออกเป็นสองประเภทใหญ่คือ หนึ่งภาพลวงตาคือเป็นแค่ภาพลวงตาเช่นการกระทำของนักมายากลทั้งหลาย สองมนต์ดำที่ทำร้ายผู้คนได้โดยอาศัยพลังของชัยฏอนมารร้าย ในบันทึกของอัลบุคอรีมีรายงานระบุว่าผู้เป็นมิตรกับยะฮู๊ดชื่อว่าละบี๊ด อิบนุ อะอ์ศอม ได้ใช้มนต์ดำทำร้ายท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม แต่ก็มีผลต่อท่านเพียงเล็กน้อยและมะลาอิกะห์ก็ช่วยรักษาท่านให้พ้นจากสิ่งชั่วร้ายดังกล่าว ต่อมาท่านได้รับการประทานอัลกุรอ่านเพื่อมีไว้ปกป้องสิ่งดังกล่าว ซึ่งก็คือซูเราะห์ อัลอิคลาศ(กุ้ลฮุวัลฮุอะฮัด) อัลฟะลัก(กุ้ลอะอูซุ บิรอบ บิลฟะลัก) และอันนาส(กุ้ลอะอูซุบิรอบ บินนาส)

เวทมนต์และไสยศาสตร์ มิได้มีพลังโดยตัวของมันเองหากแต่อาศัยพลังของซาตานมารร้าย ดังนั้นผู้ที่จะเป็นนักไสยศาสตร์ได้ก็ต้องปฏิเสธอัลลอฮ์และร่อซู้ลเสียก่อนด้วยวิธีการต่างๆ ตามที่ซาตานกระซิบบอก เช่น เขียนอัลกุรอ่านด้วยเลือดสุนัข ด้วยเลือดประจำเดือนของสตรี นำอัลกุรอ่านไปทิ้งลงในที่ๆ สกปรกที่สุด หรือร้องขอต่อชัยฏอน อย่างนี้เป็นต้น

เราจะพ้นจากสิ่งชั่วร้ายเหล่านี้ได้อย่างไร?

นักวิชาการได้สรุปให้เราได้ทราบว่าวิธีการทำร้ายของ “อิบลีส” และพลพรรคของมันต่อมนุษย์นั้นว่า แบ่งได้เป็นสองประเภทคือ

• หลอกลวงให้หลงผิด

• ทำร้ายโดยอาศัยลู่ทางที่กล่าวแล้ว

การหลอกลวงให้หลงผิดนั้นมีหกขั้นตอนเริ่มตั้งแต่สูงสุดถึงต่ำสุด หากมันไม่สามารถลวงหลอกให้ทำสิ่งที่ใหญ่สุดได้ มันก็จะพยายามให้กระทำในลำดับรองลงไป ดังนี้

1) ชักชวนให้ปฏิเสธอัลลอฮ์และตั้งภาคีต่อพระองค์
2) ชักชวนให้ทำบิดอะห์
3) ชักชวนให้กระทำบาปใหญ่
4) ชักชวนให้กระทำบาปเล็ก
5) ชักชวนให้ติดยึดอยู่กับสิ่ง “มุบาห์”
6) ชักชวนให้ติดยึดอยู่กับสิ่งดี เว้นสิ่งที่ดีกว่า


ส่วนการทำร้ายด้วยวิธีการต่างๆ ของมัน ได้กล่าวแล้วพอสังเขป ดังนั้นการที่เราจะรอดพ้นจากความชั่วร้ายของมัน เราต้องปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดตามที่อัลลอฮ์และร่อซูลุ้ลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บอกและสอนไว้ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

1) ศึกษาจนมีความเชื่อศรัทธาที่ถูกต้อง 
2) ศึกษาจนมีความรู้เพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้อง
3) เข้มงวดในการปฏิบัติหน้าที่จำเป็นต่างๆ
4) เข้มงวดในการละเว้นสิ่งต้องห้ามต่างๆ
5) พยายามละเว้นบาปเล็กบาปน้อย
6) พยายามทำในสิ่งดีๆ ที่ศาสนาส่งเสริม และหากสามารถทำสิ่งที่ดีกว่าได้ก็ให้รีบกระทำ
7) เว้นจากกลลวงของมารร้าย เช่น การนิยมไสยศาสตร์ หมอดู โกรธง่าย สุรุยสุร่าย เป็นต้น
8) อ่านและศึกษาอัลกุรอ่านเป็นนิจ
9) สุดท้ายขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮ์และมอบหมายต่อพระองค์ เช่นการขอดุอาอ์ตามสถานที่และวาระต่างๆ ตามที่ท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมสอนไว้

หากเมื่อเกิดอันตรายหรือถูกทำร้ายจะทำอย่างไร ?

ได้กล่าวแล้วว่าซาตานมารร้ายหรือชัยฏอนนั้น ปองร้ายมนุษย์ตลอดเวลาโดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย หากเป็นการทำร้ายในกรณีแรกคือเป็นการหลอกลวงให้หลงทาง ก็ต้องมุ่งมั่นศึกษาอัลกุรอ่านและอัซซุนนะห์ให้ถ่องแท้เพื่อจะได้เข้าใจศาสนาอย่างถูกต้องและเป็นการป้องกันมิให้หลงทาง แต่ถ้าเป็นกรณีหลังก็ต้องใช้ดุอาอ์ของท่านนบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และอ่านอัลกุรเพื่อรักษาไปพร้อมๆ กับการรักษาทางยาหากมีอาการทางกายภาพด้วย

โรคภัยที่เกิดแก่มนุษย์นั้น เกิดขึ้นได้ทั้งสามทางคือ ทางกาย ทางใจ และทางสมอง ส่วนสาเหตุนั้นก็มาจากหลายทางเช่น จากเชื้อโรค อุบัติเหตุ ความอ่อนแอ หรือจากการทำร้ายของชัยฏอนโดยตรง เช่น เข้าครอบงำร่างกาย จิตใจ และสมองของมนุษย์ 

โดยทั่วไปมักเชื่อเพียงว่ายาเท่านั้นคือเหตุแห่งการหายจากโรคภัยไข้เจ็บ แต่สำหรับมุสลิมแล้วเชื่อว่ายาเป็นเพียงเหตุหนึ่งที่ทำให้หายแต่ไม่ใช่ทั้งหมดที่เป็นเหตุแห่งการหาย การหายขาดอย่างแท้จริงนั้นต้องปฏิบัติตามเหตุตามผลสามประการดังนี้

1) ทางกาย เช่น ทานยา กายภาพ หรือผ่าตัด หากโรคนั้นๆ ต้องการสิ่งดังกล่าว
2) ใช้การอ่านอัลกุรอ่านรักษา
3) ใช้การขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮ์

นักวิชาการบอกว่าอัลกุรอ่านและดุอาอ์ของท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นอีกเหตุหนึ่งที่จะทำให้หายจากโรคต่างๆ ตามที่กล่าวแล้ว มิใช่เพียงแค่การผ่าตัด ทานยา ทำกายภาพเท่านั้น ซึ่งมันอาจทำให้หายจากโรคภัยได้ แต่เป็นการหายที่ไม่สมบูรณ์ อัลลอฮ์ตรัสว่า 

(وَنُنَزِّلُ مِنَ الْقُرْآَنِ مَا هُوَ شِفَاءٌ وَرَحْمَةٌ لِلْمُؤْمِنِينَ) الإسراء /82

“และเราได้ประทานจากอัลกุรอ่าน สิ่งที่เป็นการรักษาให้หายและเป็นเมตตาแก่ปวงผู้ศรัทธา” อัลอิสรออ์ / 82

การรักษาด้วยดุอาอ์และอัลกุรอ่าน

ผู้เป็นมุสลิมทุกคนสามารถกระทำได้ด้วยตัวเอง ซึ่งมีทั้งเป็นเพียงการอ่านอย่างเดียว หรือเป่าลงในฝ่ามือแล้วลูบทั่วกาย หรือเป่าลงในน้ำให้ดื่มกินเล็กน้อยและที่เหลือให้นำไปอาบ หรือให้เอาฝ่ามือของตนปิดไว้ตรงที่เจ็บปวดในขณะที่อ่านดุอาอ์ อย่างนี้ เป็นต้น ซึ่งต้องลงลึกในรายละเอียดตามที่มีตัวบทและหลักฐาน แต่ในที่นี้มีประสงค์เพียงแนะนำดุอาอ์ของร่อซูลุ้ลลฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และกุรอ่านบางบทเพื่อการป้องกันและรักษาในเวลาเดียวกัน เท่านั้น

การรักษาด้วยดุอาอ์และอัลกุรอ่านนั้นต้องมีองค์ประกอบสามประการ ดังนี้

• ต้องมีความศรัทธามั่นคงว่าอัลลอฮ์ทรงทำให้ท่านหายได้
• ต้องอ่านอย่างมีสมาธิ หากรู้ความหายก็ให้นึกถึงความหมายทุกตัวอักษร แต่หากไม่รู้ความหมายก็ให้รำลึกถึงอัลลอฮ์ตลอดเวลา
• ต้องละเว้นสิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย ทั้งทางกายและใจและเข้มงวดกับสิ่งที่เป็นหน้าที่จำเป็นทั้งหลาย

ชัยฏอนเเละญินคือใคร? ดุอาป้องกันญินจากท่านนบี

ดุอาอ์ของร่อซูลุ้ลลฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

ดุอาอ์ที่หนึ่ง

ท่านนะบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บอกว่าหากผู้ใดไปเยี่ยมผู้ป่วยที่ยังไม่ถึงอะญัล(หมดอายุขัย) แล้วอ่านดุอาอ์ดังต่อไปนี้เจ็ดครั้ง ผู้ป่วยนั้ยจะหายเป็นปกติ ดุอาอ์ดังกล่าวคือ

أَسْأَلُ اللَّهَ الْعَظِيمَ رَبَّ الْعَرْشِ الْعَظِيمِ أَنْ يَشْفِيَكَ

คำอ่าน

(อัสอะลุ้ลลอฮั้ลอะซีม ร๊อบบัลอัรชิ้ลอะซีม อัยยัชฟียะก้า) 

ความหมาย

(ฉันขอต่ออัลลอฮ์ผู้ทรงยิ่งใหญ่ เจ้าของบัลลังก์อันยิ่งใหญ่ รักษาท่านให้หาย(จากความเจ็บป่วย)

 
ดุอาอ์ที่สอง

เมื่อมีผู้หนึ่งผู้ใดเจ็บป่วยหรือร้องเรียนท่านถึงความเจ็บปวด ท่านจะสอนว่าให้เอามือวางลงบนที่เจ็บปวดแล้วอ่านดุอาอ์ดังต่อไปนี้

قُلْ بِاسْمِ اللَّهِ ثَلاَثًا وَقُلْ سَبْعَ مَرَّاتٍ أَعُوذُ بِاللَّهِ وَقُدْرَتِهِ مِنْ شَرِّ مَا أَجِدُ وَأُحَاذِرُ

คำอ่าน

(บิสมิลลาห์ –อ่านสามครั้งและอ่านดังต่อไปนี้อีกเจ็ดครั้ง- อะอูซุ บิ้ลลาฮิ วะกุดร่อติฮี มินชัรริมาอะญิด วะอุฮาซิร)

คำแปล

“ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ ฉันขอความคุ้มครองต่ออัลลอฮ์และต่อเดชานุภาพของพระองค์ ให้พ้นจากความลำบากที่ประสพอยู่และอาจประสพ(ในวันข้างภายหน้า)” 


ดุอาอ์ที่สาม

เมื่อท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไปเยี่ยมผู้ป่วยหรือผู้ป่วยถูกนำมาหาท่าน ท่านจะอ่านดุอาอ์ให้ดังนี้ พร้อมกับลูบผู้ป่วยด้วยมือขวาของท่าน

اللَّهُمَّ أَذْهِبْ الْبَاسَ رَبَّ النَّاسِ اشْفِ وَأَنْتَ الشَّافِي لاَ شِفَاءَ إِلاَّ شِفَاؤُكَ شِفَاءً لاَ يُغَادِرُ سَقَمًا

คำอ่าน

(อัลลอฮุมม่า อัซฮิบิ้ลบะอ์สะ ร๊อบบัลนาส อิชฟิ วะอันตัชชาฟี ลาชิฟาอ่า อิ้ลลาชิฟาอุก้า ชิฟาอัน ลายุฆอดิรุสะก่อมา)

คำแปล

“โอ้อัลลอฮ์ โปรดขจัดสิ่งไม่ดีให้หมดไป โอ้พระผู้อภิบาลของมนุษย์ชาติ โปรดให้หาย (จากโรคภัย) พระองค์ท่านคือผู้ทรงให้หาย ไม่มีการหายใดๆ ยกเว้นการให้หายของพระองค์ท่าน เป็นการหายที่ไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ตามมา” 

ดุอาอ์ที่สี่

ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ ขอความคุ้มครองป้องกันต่ออัลลอฮ์ให้หลานทั้งสองคือท่านอัลฮะซันและอัลฮุเซน ให้พ้นจากสิ่งไม่ดีงามดังหลายดังนี้

أَعُوذُ بِكَلِمَاتِ اللَّهِ التَّامَّةِ مِنْ كُلِّ شَيْطَانٍ وَهَامَّةٍ وَمِنْ كُلِّ عَيْنٍ لاَمَّةٍ

คำอ่าน

(อะอูซุ บิกะลิมาติ้ลลาฮิตตามะห์ มิงกุ้ลลิชัยฏอนนินวะฮามะห์ วะมิงกุ้ลลิอันนินลามะห์)

คำแปล

“ฉันขอความคุ้มครองต่อดำรัสอันสมบูรณ์ยิ่งของอัลลอฮ์ ให้พ้นจากทุกชัยฏอน (มารร้าย) สัตว์มีพิษร้ายทั้งหลาย และพ้นจากทุกๆ สายตาประทุษร้าย” 

ดุอาอ์ที่ห้า

ท่านร่อซูลุ้ลลอฮ์ ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า หากผู้ใดพักค้างแรมที่ใดแล้วกล่าวดุอาอ์ดังต่อไปนี้ จะไม่มีสิ่งชั่วร้ายใดๆ มาพบพานเขาจนกว่าเขาจะจากที่นั้นไป 

أَعُوذُ بِكَلِمَاتِ اللَّهِ التَّامَّاتِ مِنْ شَرِّ مَا خَلَقَ

คำอ่าน

(อะอูซุบิกะลิมาติ้ลลาฮิตตามาต มินชัรริมาค่อลัก)

คำแปล

“ฉันขอความคุ้มครองต่อดำรัสอันสมบูรณ์ยิ่งของอัลลอฮ์ ให้พ้นจากอันตรายทั้งปวงที่พระองค์ทรงสร้างไว้”

การปกป้องและรักษาตนเองด้วยอัลกุรอ่าน

1. ให้ตื่นขึ้นยามดึกประมาณหลังเที่ยงคืนไปแล้ว ทั้งนี้มิได้หมายความเวลาอื่นจะกระทำมิได้ เพียงแต่ในยามนี้เราสามารถละหมาดตะฮัจญุ๊ดได้ และเป็นเวลาเราสามารถอ่านอัลกุรอ่านได้อย่างมีสมาธิที่สุด

2. อาบน้ำละหมาดให้เรียบร้อย

3. ให้ละหมาดตะฮัจญุ๊ดครั้งละสองร๊อกอะห์ หรือเท่าที่ต้องการ ต่อท้ายด้วยการละหมาดวิตริตามที่ต้องการตั้งแต่หนึ่ง สาม ห้า เจ็ด และเก้า คือให้ละหมาดเป็นจำนวนคี่ และหากละหมาดไปแล้วตั้งแต่หลังละหมาดอิชาอ์ ก็ให้ทำแต่เพียงละหมาดตะฮัจญุ๊ดเท่านั้น

4. ให้ตั้งเจตนาว่าการอ่านดังต่อไปนี้เพื่อเป็นการรักษาจากโรคร้ายต่างๆ ทั้งทางกาย ทางใจ ทางจิต และจากการทำร้ายของเวทย์มนต์ไสยศาสตร์ ผีห่าซาตาน ตลอดจนสิ่งชั่วร้ายทั้งหลายทั้งปวง

5. ให้อ่านอายาตอัลกุรอ่านดังต่อไปนี้ ทั้งนี้มิได้หมายความว่าอายาตอื่นๆ จะอ่านมิได้ โดยนำใบพุทราสดมาเจ็ดใบและทุบหรือตำให้ละเอียด แล้วนำไปใส่ในภาชนะที่สะอาดพร้อมกับเทน้ำที่สะอาดลงไปพอที่จะนำไปอาบได้ โดยให้ผู้ป่วยทานน้ำดังกล่าวสามอึกก่อนที่จะอาบ กล่าวคือหลังจากที่อ่านอัลกุรอ่านดังต่อไปนี้อย่างน้อยสามจบและเป่าลงไปในน้ำนั้นแล้ว ทั้งนี้หากยังไม่หายเป็นปกติก็สามารถทำซ้ำหลายๆ ครั้งได้จนกว่าจะหายเป็นปกติ ทั้งหมดที่กล่าวนี้ต้องกระทำด้วยความเชื่อมั่นและตั้งใจจริงและอ่านอย่างมีสมาธิ หาไม่แล้วก็ไม่อาจเห็นผลได้

أعوذ بالله من الشيطان الرجيم

بسم الله الرحمن الرحيم

َالْحَمْدُ لِلَّهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ * الرَّحْمَنِ الرَّحِيْمِ * مَالِكِ يَوْمِ الدِّيْنِ * إِيَّاكَ نَعْبُدُ وَإِيَّاكَ نَسْتَعِيْنُ * اهْدِنَا الصِّرَاطَ الْمُسْتَقِيْمَ * صِرَاطَ الَّذِينَ أَنْعَمْتَ عَلَيْهِمْ غَيْرِ الْمَغْضُوْبِ عَلَيْهِمْ وَلاَ الضَّالِّينَ

بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ

الم * ذَلِكَ الْكِتَابُ لاَ رَيْبَ فِيْهِ هُدًى لِلْمُتَّقِيْنَ * الَّذِيْنَ يُؤْمِنُوْنَ بِالْغَيْبِ وَيُقِيْمُوْنَ الصَّلاَةَ وَمِمَّا رَزَقْنَاهُمْ يُنْفِقُوْنَ * وَالَّذِينَ يُؤْمِنُوْنَ بِمَا أُنْزِلَ إِلَيْكَ وَمَا أُنْزِلَ مِنْ قَبْلِكَ وَبِالآخرَةِ هُمْ يُوقِنُوْنَ * أُوْلَئِكَ عَلَى هُدًى مِنْ رَبِّهِمْ وَأُوْلَئِكَ هُمْ الْمُفْلِحُوْنَ ( البقرة : 1-5 )

إِنَّ فِي خَلْقِ السَّمَوَاتِ وَالأَرْضِ وَاخْتِلافِ اللَّيْلِ وَالنَّهَارِ وَالْفُلْكِ الَّتِي تَجْرِي فِي الْبَحْرِ بِمَا يَنْفَعُ النَّاسَ وَمَا أَنزَلَ اللَّهُ مِنَ السَّمَاءِ مِنْ مَاءٍ فَأَحْيَا بِهِ الأَرْضَ بَعْدَ مَوْتِهَا وَبَثَّ فِيهَا مِنْ كُلِّ دَابَّةٍ وَتَصْرِيفِ الرِّيَاحِ وَالسَّحَابِ الْمُسَخَّرِ بَيْنَ السَّمَاءِ وَالأَرْضِ لآيَاتٍ لِقَوْمٍ يَعْقِلُون ( البقرة : 164)

اللَّهُ لا إِلَهَ إِلاَّ هُوَ الْحَيُّ الْقَيُّومُ لا تَأْخُذُهُ سِنَةٌ وَلا نَوْمٌ لَهُ مَا فِي السَّمَوَاتِ وَمَا فِي الأَرْضِ مَنْ ذَا الَّذِيْ يَشْفَعُ عِنْدَهُ إِلاَّ بِإِذْنِهِ يَعْلَمُ مَا بَيْنَ أَيْدِيْهِمْ وَمَا خَلْفَهُمْ وَلا يُحِيْطُوْنَ بِشَيْءٍ مِنْ عِلْمِهِ إِلاَّ بِمَا شَاءَ وَسِعَ كُرْسِيُّهُ السَّمَوَاتِ وَاْلأَرْضَ وَلا يَئُوْدُهُ حِفْظُهُمَا وَهُوَ الْعَلِيُّ الْعَظِيْمُ ( البقرة : 225)

آمَنَ الرَّسُولُ بِمَا أُنْزِلَ إِلَيْهِ مِنْ رَبِّهِ وَالْمُؤْمِنُوْنَ كُلٌّ آمَنَ بِاللَّهِ وَمَلاَئِكَتِهِ وَكُتُبِهِ وَرُسُلِهِ لا نُفَرِّقُ بَيْنَ أَحَدٍ مِنْ رُسُلِهِ وَقَالُوْا سَمِعْنَا وَأَطَعْنَا غُفْرَانَكَ رَبَّنَا وَإِلَيْكَ الْمَصِيْرُ * لا يُكَلِّفُ اللَّهُ نَفْساً إِلاَّ وُسْعَهَا لَهَا مَا كَسَبَتْ وَعَلَيْهَا مَا اكْتَسَبَتْ رَبَّنَا لا تُؤَاخِذْنَا إِنْ نَسِيْنَا أَوْ أَخْطَأْنَا رَبَّنَا وَلاَ تَحْمِلْ عَلَيْنَا إِصْراً كَمَا حَمَلْتَهُ عَلَى الَّذِيْنَ مِنْ قَبْلِنَا رَبَّنَا وَلا تُحَمِّلْنَا مَا لاَ طَاقَةَ لَنَا بِهِ وَاعْفُ عَنَّا وَاغْفِرْ لَنَا وَارْحَمْنَا أَنْتَ مَوْلاَنَا فَانْصُرْنَا عَلَى الْقَوْمِ الْكَافِرِيْنَ ( البقرة : 185-186) 

بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ

إِنَّ رَبَّكُمْ اللَّهُ الَّذِي خَلَقَ السَّمَوَاتِ وَاْلأَرْضَ فِي سِتَّةِ أَيَّامٍ ثُمَّ اسْتَوَى عَلَى الْعَرْشِ يُغْشِي اللَّيْلَ النَّهَارَ يَطْلُبُهُ حَثِيْثاً وَالشَّمْسَ وَالْقَمَرَ وَالنُّجُوْمَ مُسَخَّرَاتٍ بِأَمْرِهِ أَلاَ لَهُ الْخَلْقُ وَالأَمْرُ تَبَارَكَ اللَّهُ رَبُّ الْعَالَمِينَ ( الأعراف : 54)

بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ

إِنَّ فِي خَلْقِ السَّمَوَاتِ وَالأَرْضِ وَاخْتِلافِ اللَّيْلِ وَالنَّهَارِ َلآيَاتٍ لأُوْلِي اْلأَلْبَابِ * الَّذِينَ يَذْكُرُوْنَ اللَّهَ قِيَاماً وَقُعُوْداً وَعَلَىْ جُنُوْبِهِمْ وَيَتَفَكَّرُوْنَ فِي خَلْقِ السَّمَوَاتِ وَالأَرْضِ رَبَّنَا مَا خَلَقْتَ هَذَا بَاطِلاً سُبْحَانَكَ فَقِنَا عَذَابَ النَّارِ (آل عمران (190-191)

بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ

أَفَحَسِبْتُمْ أَنَّمَا خَلَقْنَاكُمْ عَبَثاً وَأَنَّكُمْ إِلَيْنَا لا تُرْجَعُوْنَ * فَتَعَالَى اللَّهُ الْمَلِكُ الْحَقُّ لاَ إِلَهَ إِلاَّ هُوَ رَبُّ الْعَرْشِ الْكَرِيمِْ * وَمَنْ يَدْعُ مَعَ اللَّهِ إِلَهاً آخَرَ لاَ بُرْهَانَ لَهُ بِهِ فَإِنَّمَا حِسَابُهُ عِنْدَ رَبِّهِ إِنَّهُ لاَ يُفْلِحُ الْكَافِرُوْنَ * وَقُلْ رَبِّ اغْفِرْ وَارْحَمْ وَأَنْتَ خَيْرُ الرَّاحِمِيْنَ ( المؤمنون : 115-118)

بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ

وَأَوْحَيْنَا إِلَى مُوْسَى أَنْ أَلْقِ عَصَاكَ فَإِذَا هِيَ تَلْقَفُ مَا يَأْفِكُوْنَ * فَوَقَعَ الْحَقُّ وَبَطَلَ مَا كَانُوا يَعْمَلُوْنَ * فَغُلِبُوْا هُنَالِكَ وَانقَلَبُوْا صَاغِرِيْنَ ( الأعراف :115- 121)

بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ

وَقَالَ فِرْعَوْنُ ائْتُونِي بِكُلِّ سَاحِرٍ عَلِيْمٍ * فَلَمَّا جَاءَ السَّحَرَةُ قَالَ لَهُمْ مُوسَى أَلْقُوْا مَا أَنْتُمْ مُلْقُونَ * فَلَمَّا أَلْقَوْا قَالَ مُوسَى مَا جِئْتُمْ بِهِ السِّحْرُ إِنَّ اللَّهَ سَيُبْطِلُهُ إِنَّ اللَّهَ لا يُصْلِحُ عَمَلَ الْمُفْسِدِينَ * وَيُحِقُّ اللَّهُ الْحَقَّ بِكَلِمَاتِهِ وَلَوْ كَرِهَ الْمُجْرِمُوْنَ (يونس: 79-82)

بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ

قَالُوْا يَا مُوسَى إِمَّا أَنْ تُلْقِيَ وَإِمَّا أَنْ نَكُوْنَ أَوَّلَ مَنْ أَلْقَى * قَالَ بَلْ أَلْقُوْا فَإِذَا حِبَالُهُمْ وَعِصِيُّهُمْ يُخَيَّلُ إِلَيْهِ مِنْ سِحْرِهِمْ أَنَّهَا تَسْعَى * فَأَوْجَسَ فِي نَفْسِهِ خِيْفَةً مُوْسَى * قُلْنَا لا تَخَفْ إِنَّكَ أَنْتَ الأَعْلَى * وَأَلْقِ مَا فِي يَمِيْنِكَ تَلْقَفْ مَا صَنَعُوْا إِنَّمَا صَنَعُوْا كَيْدُ سَاحِرٍ وَلا يُفْلِحُ السَّاحِرُ حَيْثُ أَتَى ( طه :65-69)

بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ

وَالصَّافَّاتِ صَفّاً * فَالزَّاجِرَاتِ زَجْراً * فَالتَّالِيَاتِ ذِكْراً * إِنَّ إِلَهَكُمْ لَوَاحِدٌ * رَبُّ السَّمَوَاتِ وَالأَرْضِ وَمَا بَيْنَهُمَا وَرَبُّ الْمَشَارِقِ * إِنَّا زَيَّنَّا السَّمَاءَ الدُّنْيَا بِزِيْنَةٍ الْكَوَاكِبِ * وَحِفْظاً مِنْ كُلِّ شَيْطَانٍ مَارِدٍ * لا يَسَّمَّعُونَ إِلَى الْمَلإٍ الأَعْلَى وَيُقْذَفُوْنَ مِنْ كُلِّ جَانِبٍ * دُحُوْراً وَلَهُمْ عَذَابٌ وَاصِبٌ * إِلاَّ مَنْ خَطِفَ الْخَطْفَةَ فَأَتْبَعَهُ شِهَابٌ ثَاقِبٌ ) الصفات : 1-10

بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ

هُوَ اللَّهُ الَّذِي لاَ إِلَهَ إِلاَّ هُوَ عَالِمُ الْغَيْبِ وَالشَّهَادَةِ هُوَ الرَّحْمَنُ الرَّحِيْمُ * هُوَ اللَّهُ الَّذِي لاَ إِلَهَ إِلاَّ هُوَ الْمَلِكُ الْقُدُّوسُ السَّلامُ الْمُؤْمِنُ الْمُهَيْمِنُ الْعَزِيْزُ الْجَبَّارُ الْمُتَكَبِّرُ سُبْحَانَ اللَّهِ عَمَّا يُشْرِكُوْنَ * هُوَ اللَّهُ الْخَالِقُ الْبَارِئُ الْمُصَوِّرُ لَهُ الأَسْمَاءُ الْحُسْنَى يُسَبِّحُ لَهُ مَا فِي السَّمَوَاتِ وَالأَرْضِ وَهُوَ الْعَزِيْزُ الْحَكِيْمُ ( الحشر : 22-24

بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ

(قُلْ هُوَ اللَّهُ أَحَدٌ * اللَّهُ الصَّمَدُ * لَمْ يَلِدْ وَلَمْ يُولَدْ * وَلَمْ يَكُنْ لَهُ كُفُوًا أَحَدٌ)

بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ

(قُلْ أَعُوْذُ بِرَبِّ الْفَلَق * مِنْ شَرِّ مَا خَلَقَ * وَمِنْ شَرِّ غَاسِقٍ إِذَا وَقَبَ * وَمِنْ شَرِّ النَّفَّاثَاتِ فِي الْعُقَدِ * وَمِنْ شَرِّ حَاسِدٍ إِذَا حَسَدَ


بِسْمِ اللَّهِ الرَّحْمَنِ الرَّحِيمِ

(قُلْ أَعُوذُ بِرَبِّ النَّاسِ * مَلِكِ النَّاس * إِلَهِ النَّاسِ * مِنْ شَرِّ الْوَسْوَاسِ الْخَنَّاسِ * الَّذِي يُوَسْوِسُ فِي صُدُوْرِ النَّاسِ * مِنْ الْجِنَّةِ وَالنَّاسِ)

ที่มา:   Thai Salafi

อัพเดทล่าสุด