วันอาชูรออ์ในประวัติศาสตร์ ที่คุณควรรู้!


3,508 ผู้ชม

เมื่อครั้งที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เดินทางถึง นครมะดินะห์ ท่านได้เห็นชาวยะฮูดีถือศีลอดในวันอาชูรออ์ ท่านจึงถามว่า....


คำเหนียตถือศีลอดสุนัตวันอาชูรอ ว่า  "ข้าพเจ้าถือศีลอดสุนัตวันอาชูรอในวันพรุ่งนี้เพื่ออัลลอฮ์ ตะลาอา"

วันอาชูรออ์ในประวัติศาสตร์ 

อิบนูอับบาสเล่าว่า : 

“เมื่อครั้งที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เดินทางถึง นครมะดินะห์ ท่านได้เห็นชาวยะฮูดีถือศีลอดในวันอาชูรออ์ ท่านจึงถามว่า “วันนี้วันอะไร?” พวกเขาตอบว่า “วันนี้เป็นวันที่ดี เป็นวันที่อัลลอฮฺทรงทําให้ชนเผ่าอิสรออีลรอดพ้นจากศัตรูของพวกเขา ดังนั้น ท่านนบีมูซาจึงได้ถือศีลอดใน วันนี้ เพื่อเป็นการชุโกรต่อพระองค์)”

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า “ถ้าเป็นเช่นนั้น ฉันย่อมมีสิทธิ์ ในมูซามากกว่าพวกเจ้า” แล้วท่านก็ถือศีลอด(ในวันนั้น) และสั่งให้(ชาวมุสลิม)ถือศีลอดในวันนั้นด้วยศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม (บันทึก โดยอัส-บุคอรีย์ เลขที่ 1865)

ในรายงานของอิบนุ อับบาส อีกจสำนวนหนึ่งกล่าวว่า :

“เมื่อครั้งที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เดินทางถึง นครมะดีนะห์ท่านพบว่า ชาวยะฮูดีได้ถือศีลอดในวันอาชูรออ์ ดังนั้นท่านจึงถามพวกเขาว่า “วันที่พวกเจ้าต่างถือศีลอดกันนั้นเป็นวันอะไร ?” พวกเขาตอบว่า “วันนั้นเป็นวันที่ยิ่งใหญ่ เป็นวันที่อัลลอฮฺทรงทําให้นบีมูซาและประชาชาติของท่านรอดพ้น(จากศัตรูของพวกเขา) และเป็นวันที่พระองค์ทรงทําให้ฟิรเอาน์และประชาชาติของเขาจมทะเล ท่านนบีมูซาจึงถือศีลอดในวันนั้น เพื่อเป็นการชุโกรต่อพระองค์ ดังนั้น พวกเราจึงถือศีลอดในวันนั้นด้วย” ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า “ถ้าเป็นเช่นนั้นพวกเราชาวมุสลิม) ก็ย่อมมีสิทธิในมูซามากกว่าพวกเจ้า” แล้วท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ก็ถือศีลอดในวันอาชูรออ์ และสั่งให้ (ซาวมุสลิมถือศีลอดในวันนั้นด้วย”

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ เลขที่ 3155, มุสลิม เลขที่ 1451)

วันอาชูรออ์ในประวัติศาสตร์ ที่คุณควรรู้!

อิบนุ อับบาส ได้เล่าในอีกสำนวนหนึ่งว่า  :

“หลังจากที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ เดินทางไปยังนครมะดีนะห์ ท่านพบว่าชาวยะฮูดีได้ถือศีลอดในวันอาชูรออ์ ดังนั้น พวกเขาจึงถูกถามเกี่ยวกับ (สาเหตุของการถือศีลอด) ดังกล่าว พวกเขาตอบว่า “วันนั้นคือวันที่อัลลอฮฺทรงทําให้นบีมูซาและเผ่าอิสรออีลได้รับชัยชนะเหนือฟิรเอาน ดังนั้น พวกเราจึงถือศีลอดในวันนี้ เพื่อเป็นการเชิดชูและให้เกียรติมัน”

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า “ถ้าเป็นเช่นนั้นพวกเรา(ชาวมุสลิม) ก็ย่อมมีสิทธิ์ในมูซามากกว่าพวกเจ้า” แล้วท่านก็สั่งให้ (ซาวมุสลิม) ถือศีลอดในวันนั้นด้วย”

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ เลขที่ ๓๖๕๓, มุสลิม เลขที่ 1910)

มีรายงานเพิ่มเติมจากอิบนุ อับบาส ในอีกสํานวนหนึ่งว่า  :

“ดังนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวแก่บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านว่า “พวกเจ้ามีสิทธิ์ในนบีมูซามากกว่าพวกเขา ดังนั้นพวกเจ้าจงถือศีลอดในวันนั้นด้วย” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ เลขที่ 4312)

อบู ฮุร็อยเราะฮฺได้รายงานเพิ่มเติมว่า  :

“พวกเขาตอบว่า “และวันนี้เป็นวันที่เรือ(ของนบีนูห์)ได้ จอดยังภูเขาญูดีย์ด้วย ดังนั้นนบีนูห์และนบีมูซาจึงถือศีลอดในวันนี้เพื่อเป็นการขอบคุณอัลลอย”

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าวว่า “ถ้าเป็นเช่นนั้น นั้นย่อมมีสิทธิในมูซามากกว่าพวกเจ้า และมีสิทธิ์ในการถือศีลอดในวันนี้ (มากกว่าพวกเจ้า)” แล้วท่านก็สั่งให้เศาะหาบะฮฺของท่านถือศีลอดในวันนั้น” (บันทึกโดย อะหมัด เลขที่ 8360)

การถือศีลอดในวันอาซูรอย์เป็นที่รู้จักกัน แม้กระทั่งในยุคญาฮิลียะฮฺก่อนที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะถูกแต่งตั้งให้เป็นนบี

ได้มีรายงานที่ถูกต้องจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวว่า :

“แท้จริงชาวฮิลียะฮฺ(ก่อนอิสลาม)เคยถือศีลอดในวัน อาชูรออ์ด้วย” (บันทึกด้วยสํานวนที่ใกล้เคียงโดย อัล-บุคอรีย์ เลขที่ 1483, 1760, มุสลิม เลขที่ 1300, 11911. 1903, 1904 จากรายงานของอิบนุ อุมัร)

อัล-กุรฎบีย์ กล่าวว่า บางทีชาวกุเรชอาจจะพาดพิงที่มาของการถือศีลอดของพวกเขายังบัญญัติของชนรุ่นก่อน อย่างเช่นบัญญัติของนบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสสลาม เป็นต้น และแท้จริงได้มีรายงานที่ ถูกต้องว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยถือศีลอดวันอาชูรออ์ ที่มักกะฮฺก่อนที่ท่านจะอพยพไปยังนครมะดีนะห์

อาอิชะห์เล่าว่า : 

“ชาวกุเรชเคยถือศีลอดในวันอาชูรออ์ในสมัยญาฮิลียะห์ และท่านรสูลุลลอฮฺก็เคยถือศีลอดในวันนั้นเช่นกัน หลังจากที่ท่านได้อพยพไปยังนครมะดีนะห์ ท่านก็ยังคงถือศีลอดในวันนั้นและได้สั่งให้ (บรรดาเศาะหาบะฮฺของท่าน) ถือศีลอดในวันนั้นด้วย” (บันทึกโดยมุสลิม เลขที่ 1349)

หลังจากที่ท่านเดินทางอพยพไปยังนครมะดีนะห์ ท่านพบว่าชาวยะฮูดีได้จัดงานรื่นเริงและเฉลิมฉลองในวันนั้น ดังนั้นท่านจึงถามพวกเขาถึงเหตุผลดังกล่าว พวกเขาก็ตอบท่านดังที่มีระบุในหะดีษที่ผ่านมา และ ท่านได้สั่งให้ปฏิบัติที่ค้านกับพวกเขาในเรื่องของการยึดเอาวันนั้นเป็นวัน รื่นเริง ดังที่มีระบุในคํากล่าวของอบูมูซาว่า

“เมื่อก่อนชาวยะฮูดีถือว่าวันอาชูรออ์เป็นวันอีด (วันรื่นเริง ของพวกเขา” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ เลขที่ 1866)

ในสํานวนของมุสลิมระบุว่า

“เมื่อก่อนวันอาชูรออ์ เป็นวันที่ชาวยะฮูดีเชิดชูและให้เกียรติ และพวกเขายืดเอาวันนั้นเป็นวันอีด (สําหรับพวกเขา)” (บันทึกโดยมุสลิม เลขที่ 1912)

และในอีกสำนวนหนึ่งระบุว่า

“เมื่อก่อนชาวยิวค็อยบัรจะยึดเอาวันนั้นเป็นวันอีด(สําหรับพวกเขา) พวกเขาจะให้บรรดาสตรีของพวกเขาแต่งกายด้วยเครื่องประดับที่สวยงาม” (บันทึกโดยมุสลิม เลขที่ 1913)

ดังนั้นท่านรสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จึงกล่าว ว่า “พวกเจ้าก็จงถือศีลอด(อย่างเดียวพอ)”

ตามความหมายโดยผิวเผินของหะดีษนี้ทําให้เข้าใจว่า) เหตุผล ที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม สั่งให้ถือศีลอดในวันนั้น เพราะท่านชอบที่จะให้ค้านกับชาวยะฮูดี แม้กระทั่งให้ถือศีลอดในวันที่พวกเขาละศีลอด เพราะวันอีดเป็นวันที่ไม่มีการถือศีลอด” (ข้อความโดยสรุปจาก ค่าพูดของอัล-หาฟิช อิบนุ หะญัร ในฟิตหุลบารีย์)

ความประเสริฐของการถือศีลอดวันอาชูรออ์

อิบนุ อับบาส เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า:

“ฉันไม่เคยเห็นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม พยายามมุ่งมั่นเจาะจงเพื่อที่จะถือศีลอดในวันใดๆ ที่จริงจัง มากกว่าวันอื่นๆ นอกจากวันนี้ วันอาชูรออ์ และเดือนนี้ หมายถึง เดือนเราะมะฎอน” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ เลขที่ 1867)

คําว่า “ยะตะหัรรอ”  (มุ่งมั่น) หมายถึง ตั้งใจและขอบที่จะถือศีลอด เพื่อที่จะได้รับผลบุญจากการถือศีลอดในวันนั้น

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า :

“การถือศีลอดในวันอาชูรออ์ ฉันหวังว่าอัลลอฮฺจะทรงลบล้าง(บาปต่างๆ ที่ได้กระทําไว้เมื่อ)หนึ่งปีที่ผ่านมา”  (บันทึก โดย มุสลิม หมายเลข 1976)

นี่คือความเมตตาของอัลลอฮฺต่อพวกเราที่พระองค์ทรงประทาน การถือศีลอดเพียงวันเดียวให้แก่พวกเราเพื่อเป็นการลบล้างบาปต่างๆ (ที่เราได้กระทําไว้) เป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม

ฮุก่มการถือศีลอดในวันอาชูรออ์เพียงวันเดียว

อิบนุ ตัยมิยะฮฺ กล่าวว่า การถือศีลอดวันอาชูรออ์สามารถลบล้างความผิดบาปหนึ่งปี และไม่ถือว่าการถือศีลอดในวันนั้นเพียงวันเดียว เป็นการปฏิบัติที่มักรูฮฺ (น่ารังเกียจ) แต่อย่างใด” (อัล-ฟะตาวา อัล-กุบรอ เล่ม 5)

มีระบุในหนังสือตุหฺฟะฮฺ อัล-มุห์ตาจญ์ ของอิบนุ หะญัร อัลฮียตะมีย์ว่า “อนุญาตให้ถือศีลอดวันอาชูรออ์เพียงวันเดียว” (เล่ม 3 เรื่อง การถือศีลอดสุนัต)

ที่มา:  www.islamhouse.com

อัพเดทล่าสุด