คำสั่งเสียของบรรดานบีที่มีต่อลูกๆ


1,740 ผู้ชม

มาดูคำสั่งเสียของบรรดานบีที่มีต่อลูกๆ แต่ละท่านจะกล่าวไว้ว่าอย่างไร


สิ่งที่ได้จากโองการต่างๆของอัลกุรอาน

1. มีบัญญัติให้พ่อสั่งเสียลูก ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ลูก ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า 

2. ให้ เริ่มด้วยการให้เอกภาพแก่อัลลอฮฺและห้ามไม่ให้ตั้งภาคีต่อพระองค์ เพราะว่าการตั้งภาคีนั้น เป็นความอธรรมที่ทำให้การงานต่างๆเสียหายเป็นโมฆะ 

3. จำเป็นจะต้องกตัญญูต่ออัลลอฮฺและพ่อแม่ และจำเป็นจะต้องทำดีต่อท่านทั้งสอง และมีการติดต่อสัมพันธ์กับท่านทั้งสอง 

4. จำเป็นจะต้องเชื่อฟังพ่อแม่ ในเรื่องที่ไม่ขัดคำสั่งของอัลลอฮฺ เนื่องจากคำกล่าวของท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ที่ว่า 

“ไม่มีการเชื่อฟังคนหนึ่งคนใด ในการฝ่าฝืนอัลลอฮฺแท้ที่จริงการเชื่อฟังนั้น ให้เชื่อฟังในสิ่งที่ดีเท่านั้น”  (บันทึกโดย บุคอรีย์ และมุสลิม) 

5. จำเป็นจะต้องดำเนินตามหนทางของบรรดาผู้ศรัทธา และห้ามไม่ให้ดำเนินตามบรรดาผู้ทำอุตริกรรมทั้งหลาย 

6. จะต้องสำนึกเสมอว่า อัลลอฮฺทรงรู้เห็นการกระทำของเรา ทั้งที่ลับและที่แจ้ง ถึงแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม 

7. จำเป็นจะต้องดำรงการละหมาด โดยเคร่งครัดตามกฎเกณฑ์ต่างๆของการละหมาด พร้อมกับมีความนอบน้อมขณะทำการละหมาด 

8. จำเป็นจะต้องใช้ให้ทำความดี และห้ามไม่ให้ทำความชั่วโดยใช้ความรู้และความอ่อนโยน เท่าที่เขาสามารถจะทำได้ ท่านนบีมุฮัมมัดคำสั่งเสียของบรรดานบีที่มีต่อลูกๆได้กล่าวไว้ว่า 

“ผู้ใดได้เห็นสิ่งที่ชั่ว ช้า จากพวกเจ้าก็ให้เขาได้เปลี่ยนแปลงมัน(ให้ดี)ด้วยมือของเขา แล้วหากเขาไม่สามารถ ก็ด้วยให้ใช้คำพูด(ลิ้น)ของเขา แล้วหากเขาไม่สามารถอีก ก็ด้วยหัวใจของเขา และอันนั้น ก็เป็นการศรัทธาที่อ่อนแอที่สุด” (บันทึกโดย มุสลิม) 

9. จะต้องมีการอดทนต่อสิ่งที่มาประสบกับผู้ใช้ให้ทำความดี ผู้ที่ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว จากสิ่งที่เป็นอันตราย และถือว่าความอดทนต่อสิ่งดังกล่าวเป็นเรื่อง ที่ต้องอาศัยความหนักแน่น 

10. ห้ามเดินอย่างเย่อหยิ่ง ทรนง 

11. ไม่เดินเร็วหรือช้าเกินไป

12. ไม่ส่งเสียงดังเกินความจำเป็น  

คำสั่งเสียของบรรดานบีที่มีต่อลูกๆ

มีรายงานจากอิบนุ อับบ๊าส ขออัลลอฮฺได้ทรงพอพระทัยต่อเขาทั้งสองด้วย กล่าวว่า 

“วันหนึ่ง ฉันอยู่หลังท่านนบีมุฮัมมัด (บนสัตว์พาหนะ) แล้วท่านนบีได้กล่าวแก่ฉันว่า โอ้เด็กเอ๋ย แท้จริง ฉันนี้จะสอนเรื่องราวต่างๆให้แก่เจ้า ดังต่อไปนี้” 

1. “จงรักษา (คำสั่งของ) อัลลอฮฺ แล้วอัลลอฮฺจะทรงรักษาเจ้า” 

จงปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของอัลลอฮฺ และจงออกห่างคำสั่งห้ามของพระองค์ แล้วพระองค์จะทรงรักษาเจ้าในโลกนิ้และในโลกหน้า 

2. “จงรักษาอัลลอฮฺ แล้วเจ้าจะพบพระองค์อยู่ต่อหน้าเจ้า” 

จงรักษาขอบเขตของอัลลอฮฺที่ทรงกำหนดไว้ และจงระวังสิทธิของพระองค์ อย่าละเลย แล้วเจ้าจะพบว่า พระองค์จะทรงประทานความสำเร็จให้แก่เจ้า และให้ความช่วยเหลือแก่เจ้า 

3. “เมื่อเจ้าขอ เจ้าก็จงขอต่ออัลลอฮฺ และเมื่อเจ้าขอความช่วยเหลือ เจ้าก็จงขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ” 

 อิมาม นะวะวียฺ และฮัยษะมีย์ กล่าวว่า 

เมื่อเจ้าขอความช่วยเหลือให้ทำกิจการหนึ่ง กิจการใดของโลกนี้ และโลกหน้า เจ้าก็จงขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจการต่างๆที่ไม่มีใครสามารถทำได้ นอกจากอัลลอฮฺเท่านั้น เช่น การขอให้หายป่วย และขอปัจจัยยังชีพ ซึ่งเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺ ได้ทรงเก็บรักษามันไว้เพียงผู้เดียว 

4. “และจงรู้ไว้ ด้วยว่า หากประชาชนได้รวมหัวกัน เพื่อที่จะให้สิ่งที่เป็นคุณอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เจ้า พวกเขาก็ไม่สามารถให้สิ่งที่เป็นคุณแก่เจ้าได้ นอกจากด้วยสิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงกำหนดมันให้กับเจ้าแล้วเท่านั้น พวกเขาก็ไม่สามารถให้สิ่งที่เป็นโทษแก่เจ้าได้ นอกจากด้วยสิ่งนั้นที่อัลลอฮฺได้ทรงกำหนดมันให้กับเจ้าแล้วเท่านั้น” 

การศรัทธาต่อการกำหนดสภาวะที่อัลลอฮฺได้ทรงกำหนดไว้ให้มนุษย์ทั้งดี และชั่ว 

5. “ปากกาถูกยกแล้ว และแผ่นบันทึกแห้งแล้ว”  (บันทึกโดย ติรมีซีย์ และกล่าวว่า เป็นฮะดีษ ฮะซัน ซ่อฮี๊ฮฺ) 

การมอบหมายต่ออัลลอฮฺพร้อมกับการขวนขวายหาสาเหตุมาเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.)ได้กล่าวแก่เจ้าของอูฐว่า 

“จงผูกมันไว้ก่อน แล้วค่อยมอบหมายต่ออัลลอฮฺ” 

และในอีกบันทึกหนึ่งไม่ใช่ของอิมาม ติรมิซีย์กล่าวว่า 

6. “เจ้าจงนึกถึงอัลลอฮฺในยามสุข แล้วอัลลอฮฺจะทรงนึกถึงเจ้าในยามทุกข์” 

เจ้าจงปฏิบัติสิทธิต่างๆจองอัลลอฮฺ ขณะที่ผู้คนทั้งหลายมีความสุข แล้วอัลลอฮฺจะทรงให้ท่านรอดพ้น ในยามที่มีความทุกข์ 

7. “และจงรู้ไว้เถิดว่า สิ่งที่มันได้พลาดเจ้าไปนั้น มันจะไม่มาประสบกับเจ้า และสิ่งที่ได้ประสบกับเจ้า มันจะไม่พลาดจากเจ้าไปได้” 

เมื่ออัลลอฮฺไม่ประสงค์ให้สิ่งใดมาประสบกับเจ้า สิ่งนั้นมันก็จะไม่มาถึงตัวเจ้า และเมื่ออัลลอฮฺได้ทรงให้สิ่งหนึ่งประสบแก่เจ้า ก็ไม่มีคนหนึ่งคนใดที่จะมาขัดขวางได้

8. “และเจ้าจงรู้ไว้ด้วยว่า ชัยชนะนั้น จะมาพร้อมกับความอดทน”

การชนะข้าศึก และชนะจิตใจนั้น ขึ้นอยู่กับความอดทน

9. “และแท้จริง  ความขับขันนั้นจะมาพร้อมกับทางออก” 

และว่า ความขับขันที่มาเกิดขึ้นกับผู้ศรัทธานั้น จะมีทางออกหลังจากนั้น

10. “และแท้จริง ความลำบากนั้นจะมาพร้อมกับความสบาย”                                                                          

(ผู้ตรวจ ญามิอุลอุศูลฯ กล่าวว่า มันเป็นฮะดีษ ฮะซัน) หมายถึง ความลำบากที่ประสบกับมุสลิมนั้น จะมีความสบายตามมาเป็นลำดับ

 สิ่งที่ได้รับจากวจนะของท่านเราะซูล       

1. ความ รักของร่อซูลลุลลอฮฺที่มีต่อเด็กๆ และการให้อิบนุ อับบาสขี่พาหนะอยู่ด้านหลังท่านด้วย พร้อมกับเรียกชื่ออยู่เรื่อยๆเพื่อเป็นการกระตุ้นให้ตื่นตัวอยู่เสมอ   

2. การใช้ให้เด็กเชื่อฟังอัลลอฮฺ และออกห่างการฝ่าฝืนพระองค์ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับความสุขทั้งในโลกนี้ และโลกหน้า   

3. อัล ลอฮฺจะทรงให้ผู้ศรัทธารอดพ้น ขณะที่มีความทุกข์ยากต่างๆเมื่อเขาได้ปฏิบัติสิทธิของอัลลอฮฺ และสิทธิของผู้คนทั้งหลาย ขณะที่มีความสุขสบาย สุขภาพดี และมีเงินทอง   

4. การ ปลูกฝังหลักการให้เอกภาพแด่อัลลอฮฺด้วยการขออัลลอฮฺ การขอความช่วยเหลือต่อพระองค์เพียงองค์เดียว ในจิตใจของเด็กๆซึ่งมันเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ และบรรดาผู้มีหน้าที่เลี้ยงดูทั้งหลาย  

5. การปลูกฝังหลักการเชื่อมั่นการศรัทธาต่อกำหนดสภาวะทั้งที่ดี และที่ร้ายในตัวเด็กๆ ซึ่งมันก็อยู่ในหลักใหญ่ของการศรัทธา   

6. การ เลี้ยงเด็กให้มีความรู้สึกนึกคิดที่ดี เพื่อที่เขาจะได้เผชิญกับชีวิตด้วยความกล้าหาญ และความหวัง และเพื่อเขาจะได้เป็นบุคคลที่ให้ประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองของเขา      

“และเจ้าจงรู้ไว้เถิด ว่า ชัยชนะนั้นอยู่กับความอดทน และแท้จริงทางออกนั้นอยู่กับความคับขัน และแท้จริง พร้อมกับความลำบากนั้น มีความสบายอยู่"

อัพเดทล่าสุด