ดุอาอฺให้พ่อแม่ที่เสียชีวิต ดุอาอฺขอให้บิดามารดา คำขอดุอาอฺให้พ่อแม่


46,408 ผู้ชม

ดุอาอฺให้พ่อแม่ที่เสียชีวิต ดุอาอฺขอให้บิดามารดา คำขอดุอาอฺให้พ่อแม่ กล่าวว่าอย่างไร?


ดุอาอฺให้พ่อแม่ที่เสียชีวิต ดุอาอฺขอให้บิดามารดา คำขอดุอาอฺให้พ่อแม่

رَبِّ اغْفِرْ لِيَّ وَلِوَالِدَيَّ وَارْحَمْهُمَا كَمَا رَبَّيَانِيْ صَغِيْرًا

อ่านว่า  :  ร็อบบิฆฺฟิรฺลี วะลิวาลิดัยย่า วัรฺฮัมฮุมา กะมาร็อบบ้ายานี ศ้อฆีรอ

ความว่า  :  โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน โปรดอภัยโทษให้ฉัน และให้แก่บิดามารดาของฉัน และโปรดให้ความเมตตาท่านทั้งสองเหมือนที่ทั้งสองได้เอ็นดูเลี้ยงฉันมาในวัยเด็ก

(ให้อ่านทุกวัน เป็นดุอาอฺที่ขอให้บิดามารดา ทั้งที่สิ้นชีวิตและที่ยังมีชีวิตอยู่)

ดุอาอฺให้พ่อแม่ที่เสียชีวิต ดุอาอฺขอให้บิดามารดา คำขอดุอาอฺให้พ่อแม่

การของดุอาอฺของลูกให้แก่ให้พ่อแม่ที่เสียชีวิตไปแล้วเป็น ดุอาอฺที่อัลเลาะห์ทรงตอบสนอง (มุสตะญาบ) ดังปรากฎในฮะดีษของท่านนบี (ซ.ล.) ที่ว่าเมื่อผู้หนึ่งตายลงอะมั้ล (ความดีต่างๆ) จะขาดตอนลง เว้นแต่ 3 ประการ

1. ซอดาเกาะห์ญารียะห์ ที่นักวิชาการกล่าวว่า คือ การวะกัฟ หมายถึง การอุทิศสิ่งที่เป็นสาธารณกุศลโดยสิ่งที่อุทิศไว้จะไม่สูญสลายไปในเวลาอันรวดเร็ว ผลบุญของการอุทิศ ดังกล่าว จะยังคงหลั่งไหลสู่ผู้ตายอย่างต่อเนื่อง ตราบใดที่สิ่งที่อุทิศไว้ยังคงอยู่ เช่น คนที่อุทิศโรงเรียนไว้ตัวเองตายไปแล้ว แต่ผลบุญก็ยังไม่ขาดตอน เพราะโรงเรียนยังเป็นประโยชน์

2. วิชาการที่เป็นประโยชน์คนหนึ่งได้ศึกษาวิชาการที่เป็นประโยชน์ และนำวิชาการนั้นไปสอนต่อแก่ผู้อื่น เมื่อเขาเสียชีวิตไปลูกศิษย์ที่เขาได้สั่งสอนไว้นำวิชาการนั้นไปสั่งสอนต่อไป ผลบุญก็จะยังคงหลั่งไหลไปยังครูที่ได้สั่งสอนวิชาการนั้นไว้

3. บุตรที่ดี หมายถึงบุตรเป็นมุสลิม ขอดุอาให้แก่บิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว บิดามารดาก็จะได้รับประโยชน์จากดุอาที่บุตรขอให้

แต่มีนักวิชาการได้กล่าวไว้ว่า ความดีอะไรก็ตามที่บุตรได้ทำขึ้น อัลเลาะห์ ตาอาลา ได้ตอบแทนผลบุญให้แก่บุตรเท่าไหร่ อัลเลาะห์ก็จะตอบแทนผลบุญให้แก่บิดามารดาเท่านั้น เพราะพ่อแม่เป็นผู้ให้กำเนิดบุตรและอบรมสั่งสอนให้บุตรเป็นคนดี

คำถามถามว่า บุตรควรทำอะไรในการเป็นอิหม่ามนำในละหมาดญะนาซะห์พ่อแม่ของคนที่เสียชีวิต? การที่บุตรเป็นอิหม่ามนำในละหมาดญะนาซะห์พ่อแม่ของตนที่เสียชีวิตถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เพราะมีสุนัตให้เอาวงศ์ญาติที่เป็นชายและใกล้ชิดกับผู้ตายมากที่สุดเป็นอิหม่าม และบุตรถือว่าเป็นคนใกล้ชิดที่สุดของผู้ตายในการขอดุอา ให้แก่พ่อแม่ที่เสียชีวิตไปแล้วถ้าหากบุตรสามารถกระทำได้ด้วยตนเองย่อมเป็นการดีที่สุด ส่วนในกรณีที่บุตรขอร้องให้คนอื่นเป็นคนดีขอดุอาแทนตน เพราะถือว่าเขาขอได้ดีกว่าตน และขอได้มากกว่าตน โดยบุตรเชื่อว่าคนที่ตนขอร้องนั้นดีกว่าตนเอง และบุตรก็กล่าว “อามีน” ก็ถือว่าเป็นการ

กระทำถูกต้องเช่นเดียวกัน ส่วนใครจะดีกว่าใคร เราไม่สามารถทราบได้ แต่โดยความสำนึกของคนเราทุกคนนั้น จะต้องว่ามีคนหนึ่งดีกว่าเรา ถ้าบุตรขอเอง บางทีอัลเลาะห์อาจยังไม่ตอบสนอง แต่ถ้าคนที่บุตรขอร้องเขา ขอดุอาให้ เขาเป็นบุคคลที่ทำความดีมาก เขาใกล้ชิดกับอัลเลาะห์ พระองค์อาจตอบรับคำของเขาทันทีก็ได้ ดังนั้นการที่บุตรจะเป็นอิหม่ามด้วยตนเอง หรือขอร้องบุคคลที่มีความรู้มากกว่าตนเป็นอิหม่ามแทน ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องแม้บุตรจะมีหน้าที่เป็นอิหม่าม โดยตรงก็ตาม เพราะเมื่อบุตรมอบให้คนอื่นทำหน้าที่แทน คนที่รับมอบนั้น ก็เป็นเสมือนตัวของผู้มอบเอง ในเรื่องนี้ควรดูความเหมาะสม บุตรจะทำหน้าที่เป็นอิหม่าม และขอดุอาด้วยก็ได้ หรือจะมอบให้คนที่เหมาะสมเป็นอิหม่าม และขอดุอาอฺก็ได้

โดย อดีตจุฬาราชมนตรี (นายประเสริฐ มะหะหมัด) และ อาจารย์อาดัม มะหะหมัด

https://islamhouse.muslimthaipost.com/

อัพเดทล่าสุด