การกินปูทะเล หูฉลาม ร้านอิสลามแล้วจะฮาลาล จริงหรือ ?


1,491 ผู้ชม

"ปู" นั้นสามารถกินได้ เนื่องจากจุดกำเนิดเดิมๆ ของปูนั้น คือ ในทะเล


"ปูทะเล" นั้น ปราชญ์ฟิกฮฺ (ปราชญ์นิติศาสตร์อิสลาม) มีทัศนะที่แตกต่างกัน แยกออกเป็น 2 ทัศนะ คือ

ทัศนะที่หนึ่ง : มีความเห็นว่า "ปู" นั้น กินไม่ไ่ด้ เนื่องจากเป็นสัตว์ที่มีชีวิตอยู่ได้ ทั้งบนบก และในน้ำ ซึ่งถูกห้ามตามบัญญัติศาสนา

ทัศนะที่สอง : มีความเห็นว่า "ปู" นั้นสามารถกินได้ เนื่องจากจุดกำเนิดเดิมๆ ของปูนั้น คือ ในทะเล และมันก็ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในทะเล และก็ไม่ได้มีหลักฐานใดที่มาห้ามเลยว่า "ปู" นั้นเป็นสัตว์ต้องห้าม นี่คือ ทัศนะของท่านอิมามอัช-ชาฟิอีย์ และท่านอิมามอัซ-ซัรกะชีย์ ปราชญ์มัซฮับชาฟิอีย์ และท่านอิมาม อัด-ดะมีรีย์ ปราชญ์มัซฮับชาฟิอีย์ เช่นกัน

ซึ่งท่านอิมาม อัช-ชาฟิอีย์ ได้กล่าวว่า "แท้จริง สัตว์ทะเลที่มันจะไม่อาศัยอยู่ในที่อื่น นอกจากในทะเล ดังนั้น สามารถนำมารับประทานได้ ตามนัยยะของอายะฮฺ อัล-กุรอานว่า..."

أحل لكم صيد البحر وطعامه

"ได้ถูกอนุมัติแก่พวกท่าน ซึ่งสัตว์ที่ล่ามาในทะเล และอาหารจากทะเล" ซูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ : 96

ดู ตำรา มุฆนิลมุห์ตาจ โดย ท่านเชค อัล-คอตีบ อัช-ชัรบินีย์ เล่มที่ 4 หน้าที่ 343

ดังนั้น หากถือตามนัยยะโดยรวมๆ ของอายะฮฺนี้ ก็แสดงว่าปูนั้นกินได้ เนื่องจากเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ในทะเลและหากินในทะเล


แต่เรามาดูในกรณีของเหตุผลที่ว่า "ปู เป็นสัตว์ที่มีชีวิตอยู่ได้ ทั้งบนบก และในน้ำ จะกินได้หรือ .. ในเมื่ออิสลามห้ามกินสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ??"

ปราชญ์นิติศาสตร์อิสลาม มีความเห็นว่า "ปู" นั้น แยกออกเป็น 2 จำพวก คือ

1. "ปู" ที่กินอาหารที่อยู่ในทะเลเพียงอย่างเดียว ถึงแม้ว่ามันจะขึ้นมาอยู่บนบกได้ แต่ทว่ามันจะไม่กินอาหารที่อยู่บนบกทั้งหลาย นอกสะจากว่ามันจะต้องลงไปหากินในทะเลเท่านั้น

ซึ่ง "ปู" ชนิดนี้นั้น คือ ปูม้า เป็นต้น ที่บ้านเรานำมาต้มกินกันนั่นแหละ ..สังเกตดูง่ายๆ คือ ปูชนิดนี้ จะมีเท้าคู่สุดท้ายเป็นเหมือนใบพายแบนๆ ดังนั้น ถ้าเห็นปู ที่มีเท้าคู่หลังแบนๆ เหมือนไม้พาย แสดงว่า "ปูชนิดนั้น กินได้ .."


2. "ปู" ที่สามารถหากินได้ทั้งบนบกและในน้ำ อยู่บนบกก็หากินอาหารที่อยู่บนบกได้ พอลงไปในน้ำก็หากินอาหารที่อยู่ในน้ำได้อีก ดังเช่น ปูนาตัวดำๆ (ที่เค้าชอบนำมาใส่ในส้มตำ) เป็นต้น

ซึ่งปูนานั้น สามารถอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก เมื่อมันอยู่บนบกมันก็จะกินหญ้า หรือซากสัตว์ตาย .. และเมื่อมันลงไปในน้ำมันก็จะกินสัตว์ที่อยู่ในน้ำได้อีกเช่นกัน ดังนั้น "ปูนา" นั้น นำมารับประทานไม่ไ่ด้

สังเกตดูง่ายๆ คือ ปูชนิดที่กินไม่ไ่ด้นั้น ขาของมันจะเป็นขาแหลมๆ หมด ไม่มีขาใด ที่มีลักษณะคล้ายใบพายอยู่เลย ปูลักษณะเช่นนี้นั้น "นำมารับประทานไม่ได้นะครับ"


สรุป คือ .. ปราชญ์นั้นได้แบ่งแยก ว่า ..ถ้าเป็น "ปู" ที่มันสามารถหากินเองได้แค่เฉพาะในน้ำอย่างเดียวเท่านั้น

ก็แสดงว่า "ปู" นั้น เรากินได้ครับ.. เช่น ปูม้า ปูดำ เป็นต้น

แต่ถ้าเป็นปูที่มันหากินเองได้ทั้งบนบกและในน้ำนั้น ถือว่า "ปู นั้น ..กินไม่ไ่ด้ครับ" เช่น ปูนา เป็นต้น


ขอบคุณข้อมูลจาก : sunnahstudent.com

บทความที่น่าสนใจ

อัพเดทล่าสุด