ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า มุสลิมะฮฺไม่สามารถอวดโฉมของนางได้ ไม่ว่าจะอวดโฉมตัวเองโดยนำรูปลงเฟสบุ๊ค
มุสลิมะฮฺถ่ายรูปลงเฟสบุ๊คได้หรือไม่ ?
โดย : อ.มุรีด ทิมะเสน
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า มุสลิมะฮฺไม่สามารถอวดโฉมของนางได้ ไม่ว่าจะอวดโฉมตัวเองโดยนำรูปลงเฟสบุ๊ค, แสดงบนเวที, แสดงละคร หรือแม้กระทั่งออกหน้าจอทีวี ล้วนอยู่ในเงื่อนไขของการอวดโฉมหรอืโชว์หน้าตาความสะสวยของตัวเองทั้งสิ่้น หรือพวกนางจะอ้างเหตุผลใดก็ช่าง ทุกสิ่งก็ต้องจบด้วยหลักการ ศาสนาอิสลามว่าอย่างไรเกี่ยวกับการแสดงหรือโชว์ความสวยของมุสลิมะฮฺ
พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงตรัสว่า
"และจงอย่าเที่ยวอวดความสวยงาม เฉกเช่นการอวดความสวยงามแห่งสมัยยุคงมงานก่อนหน้านี้ (1)" (ซูเราะฮฺอัลอะหฺซาบ อายะฮฺที่ 33)
พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงห้ามมุสลิมะฮฺเปิดเผย หรืออวดความสวยงามให้เพศตรงข้าม เฉกเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยญาฮีลียะฮฺ ฉะนั้นการที่มุสลิมะฮฺปัจจุบันโชว์รูปตัวเองในเฟสบุ๊ค นั่นก็เท่ากับว่าเปิดเผยความสวยงาม ไม่ต่างอะไรกับสมัยญาฮีลียะฮฺ
พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงตรัสว่า
"และ (มุหัมมัด) จงกล่าวแก่หญิงผู้ศรัทธาทั้งหลายให้พวกนางลดสายตาของพวกนางลงต่ำ (อย่าชม้อยตาแลผู้ชาย)" (ซูเราะฮฺอันนูรฺ อายะฮฺที่ 31)
พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงสั่งใช้บรรดาผู้ศรัทธาให้ก้มหน้าลดสายตาลงต่ำ ไม่ให้แลมองผู้ชาย ฉะนั้นการที่มุสลิมะฮฺโพสรูปตัวเองลงเฟสบุ๊คนั่นเท่ากับว่า นางแสดงออกถึงการไม่ลดสายตา แต่กลับเงยหน้าเพื่อแสดงออกถึงการอวดโฉมให้เพศตรงข้ามมองนาง
พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงตรัสว่า
"และจงอย่างใหนางกระทืบเท้าของพวกนาง เพื่อเครื่องประดับของพวกนางที่ปกปิดไว้ (เปิดเผย) เป็นที่รู้กัน" (สูเราะฮฺอันนูรฺ อายะฮฺที่ 31)
อายะฮฺข้างต้นท่านอิบนุ อับบาสกล่าวว่า สตรีในสมัยญาฮีลียะฮฺเมื่อเดินผ่านฝูงชน นางจะกระทืบเท้า เพื่อให้ผู้คนได้ยินเสียงกำไลเท้าของนาง ดังนั้นพระองค์อัลลอฮฺจึงทรงห้ามมิให้สตรีกระทำเช่นนั้น เพราะนั่นเป็นการกระทำของชัยฏอน
พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงกำชับสตรีมิให้แสงดอากัปกิริยาแสดงออกถึงการเรียกร้องความสนใจของเพศตรงข้าม แม้กระทั่งกำไลข้อเท้าที่สตรีสวมใส่อยู่นั้น ศาสนาอนุญาต เพียงแต่ไม่อนุญาตให้เปิดเผย หรือส่งสัญญาณเชิญชวนให้เพศตรงข้ามมอง หรือเป็นจุดสนใจแก่เพศตรงข้าม นั่นแม้จะเป็นกำไลข้อเท้า ศาสนายังไม่ให้โชว์เพื่อแสดงออกถึงจุดสนใจ นับประสาอะไรกับใบหน้าของมุสลิมะฮฺที่โพสลงเฟสบุ๊คโชว์ความสวยงาม, ความสาว, เรียกร้องความสนใจหรือแม่กระทั่งต้องการให้มีผู้กดไลค์ตนเองก็ตาม ย่อมมีความผิดมากกว่า การโชว์กำไลข้อเท้าในสมัยญาฮีละยะฮฺไม่รู้กี่เท่าต่อกี่เท่า
พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงตรัสว่า
“ภริยาทั้งหลายของนบีเอ๋ย พวกเธอไม่เหมือนผู้ใดในหมู่หญิงอื่นถ้าพวกเธอสำรวมตนจากความชั่ว ก็จงอย่า (ดัดเสียง) พูดจาเพราะพริ้งนัก (จนเกินงามกับชายแปลกหน้า) มิเช่นนั้นผู้ที่ในดวงใจของเขามีโรคจะเกิดความโลภ (เพราะเสียงของสตรี) แต่จงพูดด้วยถ้อยคำที่เหมาะสม” (ซูเราะฮฺอัลอะหฺซาบ อายะฮฺที่ 32)
อายะฮฺข้างต้นได้กำชับเหล่าภริยาของท่านนบี (ซ.ล.) และมุสลิมะฮฺทั่วไปให้ทราบว่า อย่าดัดเสียงจนเพราะพริ้ง หรือพูดมีจริตจกร้านกับชายแปลกหน้า เพราะผู้ชายบางคนเวลาได้ยินเสียงสตรี อาจกระตุ้นเร้าอารมณ์ใฝ่ต่ำของเขา ฉะนั้นมุสลิมะฮฺเวลาคุยกับบุรุษที่แต่งงานกับนางได้ ก็ให้คุยด้วยวาจาที่เหมาะสม ไม่ดัดเสียง ไม่จริตจกร้าน ยกเว้นสามีของนาง
นี่แค่เสียงของผู้หญิง พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงปรามไว้ไม่ให้พูดจาอ่อนหวาน เพราะผู้ชายบางครั้งเป็นโรค เวลาได้ยินเสียงผู้หญิงแล้วไปกระตุ้นอารมณ์ใฝ่ต่ำของเขา แล้วสำมะหาอะไรกับใบหน้าของมุสลิมะฮฺที่โพสลงเฟสบุ๊คด้วยใบหน้าที่สวยงาม หรือแต่งจนสวยงาม นึกรึว่าจะไม่มีผู้ชายที่เป็นโรค ? แค่คำพูด ศาสนายังให้ระมัดระวัง แล้วยิ่งใบหน้าด้วยแล้ว ยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เป็นความสมเหตุสมผลอันเพียงพอแล้ว ที่มุสลิมะฮฺจะเลิกพฤติกรรมโพสรูปตัวเองลงเฟสบุ๊ค
อนึ่ง หลักการอิสลามระบุว่ หู, ปาก, มือ และดวงตา สามารถทำซินา (ละเมิดประเวณี) ได้ทั้งสิ้น ซึ่งท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวไว้ว่า
“การทำซินาทางดวงตาทั้งสองคือ การมอง” (หะดีษเศาะหี้หฺ, บันทึกโดยเฏาะบะรอนีย์ หะดีษที่ 14436)
ฉะนั้น มุสลิมะฮฺที่ลงรูปใบหน้าของตนในเฟสบุ๊ค นั่นเท้ากับนางสร้างฟิตนะฮฺว่าด้วยเรื่องเป็นต้นเหตุให้เพศตรงข้ามมอง เพราะความตั้งใจที่นางนำรูปลงเฟสบุ๊คก็เพราะต้องการให้เพศตรงข้ามมอง นางมีมความผิดที่เป็นเหตุให้บุรุษมองนาง ส่วนชายใดที่มองนางอย่างตั้งใจ แล้วจินตนาการต่าง ๆ นานาเช่นนี้ ศาสนาถือว่าเขาได้ทำซินาทางดวงตาแล้วนั่นเอง
หากเขามองเพียงแค่ครั้งเดียว โดยไม่ได้เจตนา เช่นนี้เขาไม่มีบาป แต่ถ้าเขามองนาน หรือมองซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่นนี้ความผิดก็จะเกิดขึ้นกับเขาอย่างต่อเนื่อง
ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวแก่ท่านอะลีย์ว่า
“โอ้ ท่านอะลีย์เอ๋ย การมองจะไม่เกิดขึ้นซ้ำสอง (อนุญาต) สำหรับท่านเพียงครั้งแรกเท่านั้น ส่วน (การมอง) ครั้งที่สองไม่อนุญาตสำหรับท่าน” (หะดีษเศาะหี้หฺ, บันทึกโดย อบูดาวูด หะดีษที่ 2151)
เมื่อเป็นเช่นนี้ เป็นอันเข้าใจตรงกันว่า ผู้ชายจะมองผู้หญิงที่แต่งงานกันได้โดยอนุญาตเพียงแค่ครั้งแรกที่พบเห็นโดยไม่ได้เจตนา ถือว่าไม่มีความผิดอันใด แต่ถ้าหันกลับไปมองซ้ำอีกครั้งหนึ่ง หรือมองซ้ำแล้วซ้ำแก หรือมองครั้งเดียวแต่มองนาน เช่นนี้ถือว่าเป็นบาปเช่นกัน (ตามทัศนะของอุมละมาอฺ ด้วยหลักฐานของหะดีษข้างต้น)
ถ้าเช่นนั้น มุสลิมะฮฺที่โพสรูปหน้าตัวเองลงเฟสบุ๊ค ถามว่าเพศตรงข้ามจะมองกี่ครั้ง ยิ่งมุสลิมะฮฺท่านนั้นมีใบหน้าสวยงาม จะมองกี่ครั้ง นี่คือความผิดที่ผู้มองจะได้บาป ส่วนมุสลิมะฮฺที่โพสก็มีความผิดอันเป็นต้นตอในการลงรูปของตนเอง
มุสลิมะฮฺที่โพสรูปตนเองมีความผิดแค่ไหน ? ก็มากเท่านกับจำนวนที่ผู้ชายมองนั่นแหละ ไม่ต้องถามว่ารูป ๆ หนึ่งจะมีคนดูกี่คน แล้วแต่ละคนก็จะมีเพื่อนในเฟสบุ๊คที่จะได้มองเห็นรูปของนางอีกต่างหาก ฉะนั้นความผิดของนางจะทวีคูณไม่มีที่สิ้นสุด ยิ่งไปกว่านั้น บุคคลที่มากดไลค์ (ชื่นชอบ) ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย จักมีความผิดนั้นด้วย อันเนื่องจากเห็นดีเห็นงามกับสิ่งที่ผิดซึ่งสวนทางกับคำสอนของศาสนา
“และสูเจ้าจงอย่าช่วยเหลือกันในเรื่องบาป และการเป็นศัตรู” (ซูเราะฮฺอัลมาอิดะฮฺ อายะฮฺที่ 2)
ยิ่งไปกว่านั้น มุสลิมะฮฺที่โพสรูปตัวเอง แล้วมีผู้มากดไลค์ (ชื่นชอบ) จะกดกี่พัน กี่หมื่น หรือกี่แสนคนก็ตาม ความผิดเท่ากับจำนวนคนที่กดไลค์ จะถูกถ่ายเทไปยังมุสลิมะฮฺที่โพสลงเฟสบุ๊คอย่างไม่มีที่สิ้นสุดเช่นกัน
ท่านรสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) กล่าวไว้ว่า
“บุคคลใดที่ปฏิบัติแนวทางที่ชั่ว (ผิดหลักศาสนา) แล้วถูกปฏิบัติตามความนั้น เช่นนี้ความผิดจะปรากฏขึ้นแก่เขา (ผู้ทำผิดคนแรก) และเช่นเดียว ความผิดของบุคคลทีปฏิบัติตามเขา ซึ่งความผิดของเขา (ผู้ตาม) จะไม่ลดหย่อนไปกว่า (ความผิดของ) ผู้ทำความผิด (คนแรก) เลยแม้แต่น้อย” (หะดีษเศาะหี้หฺ, บันทึกโดยมุสลิม หะดีษที่ 2890)
เมื่อรู้ว่า ความผิดมีมากมายถึงเพียงนี้ บรรดามุสลิมะฮฺยังคิดจะทำความผิดอันมากมายด้วยการโพสรูปตัวเองลงเฟสบุ๊ค หรือแสดงบนเวทีอีกกระนั้นหรือ ? (วัลลอฮุอะลัม)