ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยเป่าในอาหารและเครื่องดื่ม และท่านจะไม่หายใจในภายชนะหรือเป่าในภายชนะ"
ทำไมอิสลามสอนไม่ให้เป่าอาหารขณะร้อนๆ
รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา ว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า
اَلْنَفْخُ فَي الطَّعَامِ يََذْهَبُ بِالْبَرَكَةِ
"การเป่าในอาหารนั้น มันจะหายไปซึ่งบะรอกัต(ความศิริมงคล)"
ท่านอิมามอัสสะยูฏีย์ : กล่าวว่า "ฮะดีษนี้ มีตัวบทมาสนับสนุน ซึ่งนำเสนอรายงานออกมาโดยท่านอิบนุ มาญะฮ์ และท่านอัลบัยฮะกีย์ ในหนังสือชุอะบุลอีหม่าน จากท่านอิบนุอับบาส
ซึ่งท่านได้กล่าวว่า
لَمْ يَكُنْ رَسُوْلُ اللهِ صَلّي اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَنْفُخُ فِيْ طَعَامٍ وَلاَ شَراَبٍ ، وَلاَ يَتَنَفَّسُ فِيْ إِنَاءٍ أَوْ يَنْفَخُ فِيْهِ
"ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยเป่าในอาหารและเครื่องดื่ม และท่านจะไม่หายใจในภายชนะหรือเป่าในภายชนะ"
ท่านอิมามอัสสะยูฏีย์ กล่าวว่า : ได้นำเสนอรายงานและตัดสินว่าเป็นฮะดีษซอฮิห์ (และท่านอัซซะฮะบีย์ได้มีความเห็นพร้อง , หนังสือมุสตัดร็อก 4/139) และท่านอัลบัยฮะกีย์ จากท่านอะบี สะอีด อัลคุฏรีย์ ท่านกล่าวว่า : ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ห้ามจากการเป่าในเครื่องดื่ม" จากหนังสือ อันนุกัต อัลบะดีอาต หน้า 169-170 ของท่านอิมามอันสะยูฏีย์
ดังนั้น การเป่าอาหารถือว่าไม่ควรทำ(มักโระฮ์) แต่ถ้าหากกระทำ อนุญาตให้กระทำได้โดยไม่มีโทษแต่ประการใด
จากฮาดิษดังกล่าว ได้สอดคล้องกับข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ว่า
“เมื่อเราหายใจออกซึ่งเป็นการนำกาซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ออก เมื่อสารเหล่านี้ผสมกับน้ำ H2O ก็จะกลายเป็น H2CO3 ซึ่งจะมีค่าเท่ากับ น้ำส้มสายชูและสามารถทำให้เครื่องดื่มเป็นกรดได้ในที่สุด
ในขณะเดียวกับกับการเป่าอาหารขณะที่ร้อน จะทำให้ไอน้ำจากอาหารที่ร้อนนั้นออกมา ซึ่งจะมีปฏิกิริยาหรือการก่อตัวของกรดคาร์บอนเนต H2CO3 และเรียกได้ว่าก่อให้เกิดโรคชนิดหนึ่งซึ่งไม่เป็นผลเสียต่อร่างกายแต่อย่างใด เพียงแต่อาหารนั้นจะไม่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งสอดคล้องกับอิสลามที่สนับสนุนกินอาหารที่ฮาลาลและมีประโยชน์
จะอย่างไรก็ตาม สิ่งที่อิสลามไม่สนับสนุนในเรื่องนี้เพราะเป็นสิ่งที่มักรุฮฺ (หลีกเลี่ยงได้บุญ, ทำไม่เป็นไรแต่จะไม่ได้บุญ) ซึ่งไม่ได้บาปแต่อย่างใด เพียงแค่ไม่สนับสนุนให้ทำเพราะจะทำให้อาหารหรือเครื่องดื่มนั้นไม่มีคุณค่าทางโภชนาการแม้เราจะรับประทานเข้าไปจะรู้สึกอิ่มก็ตาม หากแต่ไม่มีคุณประโยชน์อิสลามก็ไม่สนับสนุน ด้วยเหตุนี้เป็นที่มาว่าอิสลามให้กินอาหารที่ฮาลาลและมีประโยชน์
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับบริบทว่าจะเป็นมักรุฮฺหรือไม่แล้วเเต่บริบทของผู้กระทำเช่นกันเพราะจะมีบางทัศนคติจากฮาดิษ *ข้อมูลเพิ่มเติมจาก Mtty Ibnu Fatim Hammady "หากจำเป็นต้องทานเลยเพราะอาหาร้อน รอไม่ไหว ก็สามารถเป่าได้โดยที่ไม่มักรุฮฺแต่อย่างใด คำกล่าวของบางอุลามะ เช่น คำกล่าวของท่าน อัรมัรดาวีย์ อ้างอิงคำพูดของท่าน อัลอะมาดีย์ ในตำรา อับอิศอฟ เล่มที่ 8 หน้าที่ 328
قال العلامة المرداوي الحنبلي في "الإنصاف" (8/328) : " قال الآمدي : لا يكره النفخ في الطعام إذا كان حاراً . قلت (المرداوي) وهو الصواب ، إن كان ثَمَّ حاجة إلى الأكل حينئذ
ทั้งหมดทั้งมวลเหตุผลของ อิสลามจะสอนวิธีการดำรงชีวิตอย่างถูกต้อง ไม่เพียงแค่เรื่องนี้อย่างเดียวแต่รวมไปถึงทางด้านอื่นๆอีกด้วยเช่นกัน เพราะคำสอนจะสอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวันซึ่งไม่ยุ่งยากแต่อย่างใด ในทางกลับกับ “สำหรับผู้ที่ไม่เข้าใจอิสลามต่างหากที่จะรู้สึกว่าทำไมอิสลามถึงได้ห้ามโน่นห้ามนี่” หากเมื่อได้รู้เหตุผลแล้วจะรู้ว่าสอดคล้องกับความเป็นจริงเสมอ เพราะสิ่งที่ห้ามจะเป็นการป้องกันจากสิ่งที่ไม่ดีและสิ่งที่ให้ทำจะเป็นการดีต่อชีวิต อินชาอัลลอฮฺมาเข้าใจอิสลามกันเถิด…
- กำไลข้อเท้า สร้อยข้อเท้า หญิงมุสลิมใส่ได้ไหม?
- กรณีอิมามดื่มน้ำท่อม มะมูมละหมาดตามได้ไหม?
- ละหมาดที่บ้านเพื่อนต่างศานิก มีหิ้งพระด้วย ละหมาดนั้นใช้ได้หรือไม่?
- ทำไม? อิสลามห้ามออกนอกบ้านขณะดวงตะวันลับขอบฟ้า
- ประเภทของชิริก การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ
- ชื่อของนรกแต่ละชั้นในอิสลาม
ขอบคุณข้อมูลส่วนหนึ่งจาก: beritamuslimmag.com
islamhouse.muslimthaipost.com